ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ระดมสมอง (Brainstorm) จากผู้มีความรู้ มีประสบการณ์ เพื่อรากฐาน สู่ “เมืองจักรยาน” ที่ “ถาปัด ลาดกระบัง”



บทความประกอบการสัมมนาเรื่องการลดการใช้พลังงานในการเดินทางในเมืองคร้ังที่ 2 "เมืองจักรยาน"วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2555 จัดโดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังกับกลุ่มเมืองจักรยาน

โดย ฐาปนา บุณยประวิตร นักวิชาการผังเมือง

บทความดีๆ   ที่มีประโยชน์มากมายของ นักวิชาการผังเมือง อ.ฐาปนา บุณยประวิตร ซึ่งผมรู้จักผ่านทาง Facebook https://www.facebook.com/SmartGrowthThailand ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด(Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิด ข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebookของอาจารย์ และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ(เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคตที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่างก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน

………………………………………………………………………………..

เข้าบทความ สาระกันเลยครับ...

บทความประกอบการสัมมนาเรื่อง การลดการใช้พลังงานในการเดินทางในเมืองครั้งที่2 "เมืองจักรยาน" วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2555จัดโดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังกับกลุ่มเมืองจักรยาน

โดย ฐาปนา บุณยประวิตร

//www.asiamuseum.co.th/

//www.facebook.com/smartgrowththailand/


แนวความคิดการเจริญเติบโตอย่างชาญฉลาด



การปรับปรุงกายภาพให้เป็นเมืองจักรยานตามแนวความคิดการเจริญเติบโตอย่างชาญฉลาด ( Smart Growth)

บทนำ

การเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) จัดให้เมืองจักรยานเป็นส่วนหนึ่งของเมืองเขียว(Green City) ในการทำให้เกิดภาวะความเป็นเมืองเขียวนั้นจะต้องฟื้นฟูทางกายภาพเมืองให้สนับสนุนระบบการเดินทางเขียว(Green Transportation) ซึ่งกายภาพดังกล่าวได้แก่ กายภาพของทางเดิน กายภาพทางจักรยาน และกายภาพของระบบการขนส่งมวลชน นอกจากนั้นยังพุ่งความสำคัญไปที่การปรับปรุงกายภาพดึงดูดให้เกิดการใช้งานที่เป็นกิจวัตรเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย(Physical Activities) อันเป็นเป้าหมายสำคัญของเมืองเขียวและเมืองจักรยาน เพื่อให้เข้าใจแนวทางการเป็นเมืองจักรยาน บทความนี้จะเสนอ 2 กลยุทธ์การปรับปรุงฟื้นฟูกายภาพพร้อมแสดงผลประโยชน์ที่ได้รับโดยจะกล่าวเฉพาะภาพรวม ท่านที่สนใจรายละเอียดขอให้ติดตามอ่านจากบทความฉบับต่อไป



ปรัชญาการเติบโตอย่างชาญฉลาด

การเติบโตอย่างชาญฉลาดกำหนดให้การวางผังเป็นไปตามเกณฑ์ 10 ข้อเพื่อดึงดูด/ จูงใจ/ บังคับ ให้ประชาชนประหยัดในการใช้ที่ดินอยู่ในย่านหรือชุมชนที่กระชับ ส่งเสริมกิจกรรมร่วมกันในสถานที่สาธารณะสงวนรักษาพื้นที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ใช้กายภาพที่ปรับปรุงฟื้นฟูแล้วในการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สร้างสรรค์กิจกรรมเศรษฐกิจ เพื่อความยั่งยืนในอนาคต



เมืองจักรยานตามความหมายของการเจริญเติบโตอย่างชาญฉลาด

กลยุทธ์การเดินทางสู่ความเป็นเมืองจักรยาน

การเติบโตอย่างชาญฉลาด จัดให้เมืองจักรยานเป็นส่วนหนึ่งของเมืองเขียว (Green City) ซึ่งต้องฟื้นฟูกายภาพเมืองให้สนับสนุนระบบเดินทางเขียว (Green Transportation) ได้แก่

- กายภาพทางเดิน

- กายภาพทางจักรยาน

- กายภาพระบบขนส่งมวลชน

และพุ่งความสำคัญให้กายภาพดึงดูดให้เกิดการใช้งานที่เป็นกิจวัตร เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (Physical Activities) โดยกลยุทธ์สำคัญที่จะนำไปสู่ความเป็นเมืองจักรยาน ประกอบด้วย

- การปรับปรุงกายภาพให้เกิดเส้นทางปลอดภัยสำหรับนักเรียน(Safe Route to SchoolProgram)

- การปรับปรุงกายภาพให้เกิดทางจักรยานสำหรับการสัญจรไปทำงาน(Bike to Work Program)



ผลประโยชน์จากการปรับปรุงฟื้นฟูกายภาพ

ผลประโยชน์ 4 ด้าน ของเส้นทางปลอดภัยสำหรับนักเรียนและเส้นทางสัญจรด้วยจักรยานไปทำงาน ประกอบด้วย

1. ความปลอดภัยของนักเรียน และคนทำงาน

2. การส่งเสริมสุขภาพ

3. การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและสภาวะแวดล้อม

4. สร้างทางเลือกสีเขียวแก่ชุมชน

ความปลอดภัยของนักเรียนและคนทำงาน

- การฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานทางเดิน และทางจักรยาน ให้เป็นมิตรกับผู้ใช้

- ประกาศลดความเร็วของทุกยวดยานในย่าน

- ให้การศึกษาแนวทางการสร้างความปลอดภัยแก่ประชาชน

การส่งเสริมสุขภาพ

- ให้นักเรียน และคนทำงาน มีกิจกรรมทางกาย วันละไม่น้อยกว่า 60 นาที

- ส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน จากการใช้กายภาพ เพื่อสุขภาพและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

- ลดความจำเป็นในการใช้รถยนต์ และน้ำมัน

การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและสภาวะแวดล้อม

- สร้างความสำนึกรักพื้นที่

- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับโรงเรียน

- เสริมสร้างเศรษฐกิจสองข้างทาง

สร้างทางเลือกสีเขียวแก่ชุมชน

- ลดการสัญจรภายในย่าน และเพิ่มความปลอดภัยแก่ชุมชน

- ลดการใช้รถยนต์ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

- เพิ่มกิจกรรมทางกายทั้งนักเรียนและคนทำงาน

กลยุทธ์การปรับปรุงฟื้นฟูกายภาพ

เพื่อให้เกิดการใช้โครงสร้างพื้นฐานเขียวเป็นกิจวัตร จึงได้กำหนดการปรับปรุงฟื้นฟูกายภาพเมืองด้วยการส่งเสริมกายภาพเส้นทางปลอดภัยสำหรับนักเรียนและการส่งเสริมกายภาพให้เกิดการใช้จักรยานไปทำงาน (Bike toWork) โดยทั้งสองกลยุทธ์ให้เริ่มต้นจากการกระชับชุมชนและกำหนดขอบเขตโครงการ ต่อจากนั้นจึงเริ่มทำการฟื้นฟูกายภาพทางเดินและทางจักรยานให้ได้มาตรฐาน การจัดทำโครงการความร่วมมือจากทุกหน่วยงาน และการเสนอปรับปรุงข้อกำหนดการจัดการกายภาพสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สาระสำคัญประกอบด้วย



การกระชับชุมชนและกำหนดขอบเขตพื้นที่โครงการ

1.การใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน

2.การกระชับกลุ่มอาคาร และชุมชนการจัดการศูนย์ชุมชน

3.การกำหนดขอบเขตพื้นที่โครงการตามกายภาพจริง


การฟื้นฟูกายภาพทางเดินทางจักรยาน และสภาพแวดล้อม

1.กำหนดตาม Form-Based Codes-FBCs

2.กำหนดตามแนวทาง Complete Streets



การจัดทำโครงการความร่วมมือจากทุกหน่วยงานและประชาชน

1.คัดเลือกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกลุ่มเป้าหมาย

2.สื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อน และระหว่างงาน ตามแนวทางPlace making

3.จัดทำ Hand-on Public Workshop กับกลุ่มเป้าหมายบนกายภาพจำลอง

4.จัดทำข้อตกลงและลงนามร่วมกัน



การปรับปรุงข้อกำหนดการจัดการกายภาพและกิจกรรม

1.ยกร่างข้อกำหนดตามมาตรฐาน Complete Streets

2.นำข้อกำหนด เข้าสู่การรับฟังความเห็นและ Place making

3.ทดสอบข้อกำหนดจากสถานที่จริงในสถานการณ์จำลอง

4.มอบหมายให้หน่วยงาน ประกาศเป็นข้อกำหนดหรือเทศบัญญัติ

5.การประกาศให้เส้นทางปลอดภัย สำหรับนักเรียนเป็นเส้นทางที่ปลอดภัยที่สุดของเมือง


สรุป

การจัดการเมืองที่ดี ต้องไม่ทำให้ประชาชนสูญเสียโอกาสในการมีสุขภาพดี และต้องสร้างกายภาพ ให้เกิดความสมบูรณ์เพื่อกระตุ้นประชาชนให้รักษ์โลกอย่างยั่งยืน

เอกสารอ้างอิง

National Center for Safe Route to School, Connecting the Trip toSchool, Available from:

//www.saferoutesinfo.org/, 24 August, 2012

ชมวีดีโอครับ....

ขอขอบคุณ ภาพถ่ายประกอบเนื้อหามากมายจาก กลุ่มเมืองจักรยาน มาณ ที่นี้ครับ

ท่านใดสนใจแนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด)เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebookนี้ครับ https://www.facebook.com/SmartGrowthThailand

อ่านเนื้อเรื่อง “ย้อนหลัง” ลิ้งก์ตามที่อยู่ด้านล่างนี้(เพื่อจะได้รับทราบข้อมูล “ผังเมือง” ในระดับโลกเค้าไปถึงไหนกันแล้ว //www.oknation.net/blog/smartgrowth 





Create Date : 26 สิงหาคม 2555
Last Update : 26 สิงหาคม 2555 21:19:30 น. 0 comments
Counter : 2354 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.