ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
เชื่อหรือไม่? ในอีกไม่เกิน 2 ทศวรรตประเทศไทยจะสูญเสียความเป็นประเทศผลิตอาหารของโลก

คุณเชื่อหรือไม่? ในอีกไม่เกิน 2 ทศวรรษประเทศไทยจะสูญเสียความเป็นประเทศผลิตอาหารและจะไม่มีสิทธิ์ใช้คำว่า “ครัวของโลก” อีกต่อไป....
บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมาย ของ นักวิชาการผังเมือง อ.ฐาปนา บุณยประวิตร ซึ่งผมรู้จักผ่านทาง Facebook //www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิด ข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์ และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ (เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคต ที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่าง ก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน



“(ภาพด้านบน)-นิคมอุตสาหกรรม” บ้านเราแก้ผังเมือง เอาที่รองรับน้ำ กลายเป็นพื้นที่ชุมชน และอุตสาหกรรม ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาวิกฤตอุทกภัยอันเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว หรือการใช้เป็นที่ตั้งของสถาบันราชการ สาธารณูปโภคสาธารณูปการซึ่งเป็นเครื่องดึงดูดให้มีชุมชนเกิดใหม่และสร้างปัญหาด้านกายภาพที่รัฐต้องจัดสรรงบประมาณปรับปรุงฟื้นฟูไม่มีวันจบสิ้น

Copy//Thapana Bunyapravitra

วันนี้ผมขอแสดงให้ท่านเห็นความพยายามในการปกป้องคุ้มครองพื้นที่การเกษตรและพื้นที่ผลิตอาหารของสหรัฐฯ และแคนาดา ซึ่งจะเป็นหลักฐานยืนยันว่า ในกลุ่มประเทศโลกที่ 1 แม้จะมีความก้าวหน้าด้านนวัตกรรมเกือบทุกๆ ด้าน แต่ก็ยังมองเห็นความสำคัญในการสงวนรักษาแหล่งผลิตอาหาร โดยพบการใช้มาตรการทางกฎหมายและการผังเมืองเพื่อให้คงพื้นที่การเกษตร และควบคุมการกระจัดกระจายของเมือง (Urban Sprawl) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้สูญเสียพื้นที่การเกษตรมามากแล้ว

ส่วนของประเทศไทยนั้น พบว่ากฎหมายยังเปิดช่องให้มีการใช้ประโยชน์กิจกรรมอื่นที่ไม่ใช่การเกษตร และไม่พบมาตรการในการยับยั้งการกระจัดกระจายของเมืองที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งถ้าคาดการณ์ตามสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หากไม่มีการปรับปรุงระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายการผังเมืองซึ่งมีบทบาทหน้าที่โดยตรงในการสงวนรักษาและปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่การเกษตร ตลอดจนการจัดการสำรองพื้นที่เพื่อการผลิตอาหารแล้ว ในอีกไม่เกิน 2 ทศวรรษประเทศไทยจะสูญเสียความเป็นประเทศผลิตอาหารและไม่มีสิทธิ์ใช้คำว่า “ครัวของโลก” อีกต่อไป



(ภาพจากวีดีโอ)กรณีศึกษานั้นในอเมริกา ได้แสดงถึงปัญหาการกระจัดกระจายของเมืองซึ่งเป็นสาเหตุของการสูญเสียพื้นที่การเกษตรย่างถาวร


U.S.FDA รายงานว่าในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้สูญเสียพื้นที่การเกษตรไปแล้วมากกว่าร้อยละ 35 และทำให้ประเทศต้องสูญเสียเงินในการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารและอาหารสดมากกว่าล้านล้านเหรียญ ขณะที่ Vancouver Food Policy Council แจ้งว่าในช่วง 2 ทศวรรษแห่งการพัฒนาเมือง ทั่วทั้งมลรัฐ British Columbia ได้สูญเสียพื้นที่การเกษตรไปแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 24 ซึ่งเกิดจากการกระจัดกระจายของเมืองหรือภาวะ Unplanned Development นอกจากสหรัฐฯ และแคนาดาจะต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากแล้ว การลดลงของพื้นที่การเกษตรยังเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ระดับราคาของอาหารเพิ่มขึ้น เฉพาะสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ต่อปี และแคนาดาประมาณร้อยละ 20 ต่อปี จากประมาณการของ Vancouver Food Policy Council ในปี ค.ศ.2020 หากรัฐฯ ไม่สามารถลดการสูญเสียพื้นที่การเกษตรและเพิ่มปริมาณการผลิตอาหารในพื้นที่ที่เหลืออยู่ ระดับราคาของอาหารโดยรวมจะสูงกว่าปัจจุบัน (ปีที่รายงาน ค.ศ. 2010) ประมาณ 2 เท่าตัว



(ภาพจากวีดีโอ)กรณีศึกษานั้นในอเมริกา ได้แสดงถึงปัญหาการกระจัดกระจายของเมืองซึ่งเป็นสาเหตุของการสูญเสียพื้นที่การเกษตรย่างถาวร






ผลจากการศึกษาทำให้มหานคร Vancouver ออกกฎหมายคุ้มครองพื้นที่การเกษตรในปี ค.ศ. 1985 และปัจจุบัน (ค.ศ. 2012) อยู่ระหว่างการยกร่างแผน Regional Growth Strategy (RGS) เพื่อเตรียมการออกเป็นกฎหมายห้ามการขยายตัวด้านกายภาพที่กระจัดกระจาย (Urban Sprawl) และคุ้มครองพื้นที่การเกษตร (The Protection of Agriculture Lands) โดยเพิ่มมาตรการคุ้มครองและสงวนรักษาพื้นที่การเกษตรให้มากขึ้น ซึ่งจะประกาศเป็นกฎหมายในช่วงปลายปีนี้ (รายละเอียด: //wcel.org/resources/environmental-law-alert/metro-vancouver-growth-strategy-thin-legal-ice) ส่วนสหรัฐได้ออกกฎหมาย Farmland Protection Policy Act ในปี ค.ศ. 1981 และมีผลให้ทุกมลรัฐต้องออกกฎหมายลูกเพื่อการสงวนรักษาพื้นที่การเกษตร (อ่านรายละเอียด: //www.farmlandinfo.org/index.cfm?function=article_view&articleID=29480)













สำหรับประเทศไทย ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า กฎหมายการผังเมืองได้อนุญาตให้ใช้พื้นที่ไปในกิจกรรมอื่นที่ไม่ใช่การเกษตร เช่น การอนุญาตให้จัดสรรที่ดินเพื่อการเกษตรในประเภทที่ดินชนบทและเกษตรกรรมพบปรากฎอยู่ในกฎกระทรวงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ไปสู่จัดสรรทิ่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย และปรากฎในผังเมืองรวมของจังหวัดต่างๆ ที่อนุญาตและยกเว้นให้ใช้ประโยชน์ในกิจกรรมอื่นที่ไม่ใช่การเกษตรหรือเกี่ยวเนื่องกับการเกษตร >ดังเช่น การอนุญาตให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ในการใช้พื้นที่เกษตรกรรมไปเป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม และกิจกรรมการจัดสรรที่ดิน นอกจากนั้นยังพบการยกเว้นและอนุญาตให้ใช้ในกิจกรรมอื่นๆ อีกมาก ซึ่งการอนุญาตให้ใช้พื้นที่นอกเหนือจากการเกษตรนอกจากจะไม่สอดคล้องกับแนวทางการฟื้นฟูและพัฒนาพื่นที่ผลิตอาหารและนโยบายความมั่นคงด้านอาหารแล้ว ยังก่อให้เกิดความผิดเพี้ยนด้านกายภาพทั้งในระดับเมืองและระดับภาค ดังเช่น การเปลี่ยนแปลงกายภาพจากพื้นที่การเกษตรและรองรับน้ำให้เป็นพื้นที่ชุมชนและอุตสาหกรรมซึ่งก่อให้เกิดปัญหาวิกฤตอุทกภัยอันเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว หรือการใช้เป็นที่ตั้งของสถาบันราชการ สาธารณูปโภคสาธารณูปการซึ่งเป็นเครื่องดึงดูดให้มีชุมชนเกิดใหม่และสร้างปัญหาด้านกายภาพที่รัฐต้องจัดสรรงบประมาณปรับปรุงฟื้นฟูไม่มีวันจบสิ้น



“(ภาพด้านบน)-ชุมชนน้ำท่วม” บ้านเราแก้ผังเมือง เอาที่รองรับน้ำ กลายเป็นพื้นที่ชุมชน และอุตสาหกรรม ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาวิกฤตอุทกภัยอันเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว หรือการใช้เป็นที่ตั้งของสถาบันราชการ สาธารณูปโภคสาธารณูปการซึ่งเป็นเครื่องดึงดูดให้มีชุมชนเกิดใหม่และสร้างปัญหาด้านกายภาพที่รัฐต้องจัดสรรงบประมาณปรับปรุงฟื้นฟูไม่มีวันจบสิ้น

ที่กล่าวมาทั้งหมด ท่านคงมองเห็นแล้วว่า ปัจจัยด้านกายภาพและการผังเมืองมีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างไร เฉพาะการสงวนรักษาพื้นที่เกษตรกรรมเพียงประเด็นเดียวหากไม่มีการวางแผนด้านกายภาพที่ถูกต้องผลกระทบก็จะเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง และผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมก็คือประชาชน ดังนั้น การเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) จึงได้กำหนดเป็นนโยบายให้เมืองและชุมชนต้องร่วมกันแสวงหาแนวทางในการสงวนรักษาพื้นที่เกษตรกรรมให้มีความอุดมสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา ดังในช่วงภาวะวิกฤต จะเห็นได้ว่าพื้นที่แหล่งผลิตอาหารจะเป็นพื้นที่แรกที่ได้รับการปกป้อง ทั้งนี้เพราะแหล่งผลิตอาหารคือแหล่งที่มาของ “ชีวิต” นั่นเอง

สำหรับ video ที่นำมาเป็นกรณีศึกษานั้น ชุดแรกได้แสดงถึงปัญหาการกระจัดกระจายของเมืองซึ่งเป็นสาเหตุของการสูญเสียพื้นที่การเกษตรย่างถาวร ชุดที่สองได้แสดงให้เห็นความสำคัญในการสงวนรักษาพื้นที่การเกษตร

สำหรับบทความต่อจากนี้ เราจะมาดูกันต่อว่า ประชาชนจะมีบทบาทอย่างไรในการสงวนรักษาแหล่งผลิตอาหาร

vdo เรื่องแรก; ชุดแรกได้แสดงถึงปัญหาการกระจัดกระจายของเมืองซึ่งเป็นสาเหตุของการสูญเสียพื้นที่การเกษตรย่างถาวร



vdo เรื่องที่สองครับ; แสดงให้เห็นความสำคัญในการสงวนรักษาพื้นที่การเกษตร



ท่านใดสนใจแนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ //www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall



ขอขอบคุณภาพถ่ายจากอินเตอร์เน็ต ที่ใช้ประกอบเล่าเรื่อง มา ณ ที่นี้ครับ....



Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2555 0:12:33 น. 3 comments
Counter : 1518 Pageviews.

 
ปลูกผลไม้ ลงทุนลงแรงเยอะ มีความเสี่ยงสูง ใช้เวลามาก กำไรน้อย
สู้ขายทำห้องเช่าไม่ได้ อนาคต ข้าวแกงธรรมดาจาน 200+ อาจาร์ย บอกไว้ตั้งแต่ ป.5


โดย: เสือย้อมแมว วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:0:55:03 น.  

 
สังคมเราเปลี่ยนไป .... อีกหน่อยเป็นงัยไม่รู้




ขอฝากดอกไม้แทนใจ อาจช้าไป ขอโทษด้วยนะ

ก็เป็นคนโสดที่ไม่ค่อยว่างเลย....อิอิ


*~*~*~*..แวะมาทักทายจ๊ะ..ขอให้มีความสุข สดใส..หัวใจเบิกบาน..*~*~*~*



เดือนแห่งความรัก คนโสดก็ยังโสดต่อไป เพราะครูภาษาไทย สอนแต่

สระอิ,สระอา, สระอุ, สระอู แต่ไม่ยอมสอนให้เรา .. "สละโสด"


..HappY BrightDaY..








โดย: *~ต้นกล้า...ของหัวใจ~* วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:16:36:14 น.  

 
สงสารลูกหลานในอนาคต มันเป็นไปตามกรรม ของความโลภและผู้มีอำนาจ


โดย: Wirin Anthakhaek IP: 1.46.46.254 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:10:36:48 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.