ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
จะเชื่อมั่น...หรือจะไม่เชื่อมั่น...”ผังเมืองไทยกับศักยภาพในการยกระดับทางเศรษฐกิจ” ลองอ่านบทความกันดู

บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมาย ของ นักวิชาการผังเมือง อ.ฐาปนา บุณยประวิตร ซึ่งผมรู้จักผ่านทาง Facebook //www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิด ข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์ และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ (เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคต ที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่าง ก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน

Copy//Thapana Bunyapravitra

ผังเมืองไทยกับศักยภาพในการยกระดับทางเศรษฐกิจ

วันนี้เราจะหาคำตอบว่า ทำไมการผังเมืองของไทยจึงไม่มีศักยภาพในการยกระดับทางเศรษฐกิจ และด้วยเหตใดประชาชนส่วนใหญ่จึงเข้าใจว่า การผังเมืองเป็นเพียงแค่การกำหนดสีลงบนแผนที่และบังคับให้ประชาชนทำตาม แท้จริงแล้ว การผังเมืองหรือการวางแผนเมืองนั้นเป็นนโยบายสาธารณะที่อาศัยปัจจัยทางกายภาพสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาคน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมให้มีความยั่งยืน หรืออีกนัยหนึ่ง การผังเมืองก็คือศาสตร์ที่สร้างสรรค์กายภาพบังคับให้คนมีพฤติกรรมการใช้พื้นที่เพื่อให้เกิดความประหยัด มีประสิทธิภาพ เกิดความยั่งยืนและประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ประโยคแรกที่กล่าวว่าทำให้เกิดความยั่งยืนนั้นเชื่อว่าทุกคนคงจะเข้าใจ แต่สำหรับประโยคที่ว่า “ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” นั้น ประชาชนโดยทั่วไปคงจะนึกไม่ออกว่า การผังเมืองจะมีความสัมพันธ์กับการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีได้อย่างไร และหากคุณภาพชีวิตที่ดีเกิดจากการเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจ ประชาชนก็จะยิ่งมีคำถามต่ออีกว่า แล้วการผังเมืองหรือการออกแบบกายภาพเมืองมันจะเกี่ยวข้องอะไรกับการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ง่ายในการตอบคำถาม อันดับแรก เราลองมาดูพัฒนาการของระบบการผังเมืองของโลกและความสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจ

อันดับต่อมา เราจะพิจารณากันว่า ไทยเราใช้ได้ใช้วิชาการผังเมืองอย่างเต็มตามรูปแบบหรือไม่ และอะไรคือปัญหาที่ทำให้การผังเมืองของไทยไม่ได้ตอบสนองต่อภารกิจในการพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน



ภาพการวางผังให้เกิดความกระชับในพื้นที่ขั้นในเพื่อความคึดคักมีชีวิตชีวาของพื้นที่

(ภาพแนวคิดศูนย์พาณิชยกรรมชานเมืองพอร์ตแลนด์จาก The Atlantic Cities)


อันดับแรก ได้แบ่งพัฒนาการการผังเมืองออกเป็น 3 กลุ่มตามช่วงเวลา ประกอบด้วย

กลุ่มแรก การผังเมืองที่ใช้กฎหมายควบคุมกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดิน กลุ่มนี้เป็นผังในยุคเริ่มแรกปัจจุบันยังพบการใช้เฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา ข้อกำหนดของผังจะไม่กล่าวถึงระบบการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ (ยกเว้นการกล่าวไว้ในวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์) แต่จะพบการกำหนดประเภทอาคารและลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินไว้แต่ละย่าน

ข้อด้อยที่เห็นได้ชัดของผังในกลุ่มนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนโดย
ส่วนแรก การใช้กฎหมายบังคับครอบคลุมไปทั่วทุกพื้นที่ซึ่งขาดการจำแนกรายละเอียดทางกายภาพ และอัตลักษณ์ที่สำคัญของแต่ละชุมชน

ส่วนที่สอง การใช้กฎหมายไปเอื้อประโยชน์เฉพาะบางชนชั้นและผู้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจให้สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้ตามที่ต้องการ และ

ส่วนที่สาม การใช้กฎหมายบังคับการใช้จนก่อให้เกิดภาวะการชะงักงันทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้ประชาชนไม่สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินให้เกิดความคุ้มค่า



ภาพการวางผังชุมชนที่ควบคุมพื้นที่ทำให้ขาดที่โล่ง พื้นที่สีเขียว และที่สาธารณะ

ภาพแนวคิดการวางบล๊อกอาคารจาก Smart Growth BC


กลุ่มที่สอง ผังการส่งเสริมเศรษฐกิจ ผังในกลุ่มนี้พัฒนาต่อเนื่องจากกลุ่มแรก แต่มีแนวคิดแบบสวนทางกัน กล่าวคือ ระบบการผังเน้นการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นประเด็นหลัก ไม่ได้คำนึงถึงปัญหาผลกระทบด้านอื่นๆ ที่ตามมา เดิมมีหลายประเทศในทวีปอเมริกานิยมใช้ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากมีปัญหาด้านสภาวะแวดล้อมและเกิดการบุกรุกทำลายพื้นที่ธรรมชาติอย่างหนักซี่งเกิดจากการแผ่ขยายของที่อยู่อาศัยและพื้นที่เมือง ข้อด้อยของผังในกลุ่มนี้เห็นได้ชัดจาก การปล่อยปละละเลยให้ใช้ประโยชน์ที่ดินในกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่ได้คำนึงถึงการสูญเสียสภาพสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดต้นทุนในการบำรุงรักษาแหล่งธรรมชาติและการรักษาสภาพแวดล้อมในชุมชนสูงขึ้น



การส่งเสริมการแผ่ขยายของที่อยู่อาศัยแบบกระจัดกระจาย บ้านเรือนไม่มีความสัมพันธ์กัน ภาพจาก Congress for the New Urbanism


กลุ่มที่สาม ผังการผสมผสาน ผังในกลุ่มนี้ได้นำเอาประสบการณ์ที่ดีจากผังทั้งสองกลุ่มมาผสมผสานให้เกิดความสมดุลในการใช้ประโยชน์ที่ดิน มีการสร้างแผนการลงทุนและกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้สอคล้องกับสภาพการใช้ประโยชน์พื้นที่ ในขณะเดียวกันได้กำหนดขอบเขตการแผ่ขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ให้รุกล้ำไปในพื้นที่การเกษตรและพื้นที่ธรรมชาติ รวมทั้งยังกำหนดรายะเอียดประเภทอาคารและกิจกรรมการใช้ประโยชน์ให้สอดคล้องกับระบบการพัฒนาที่ต้องการให้เกิดความหนาแน่นของพื้นที่ ปัจจุบันประเทศที่พัฒนาแล้วแทบทั้งหมดได้ใช้ผังในกลุ่มนี้

เนื่องจากปรัชญาของการผังเป็นเครื่องกำหนดรายละเอียดการปฎิบัติ ดังนั้น ประเภทผังที่ใช้บังคับในผังเมืองรวมของแต่ละกลุ่มจึงมีจำนวนไม่เท่ากัน ซึ่งได้จำแนกตามกลุ่มผังไว้ดังนี้



จะเห็นได้ชัดเจนว่า ไทยเรายังคงใช้ผังกลุ่มแรกในระบบการพัฒนาเมือง โดยอาศัยผังการควบคุมพื้นที่จำนวน 4 ผังซึ่งไม่ปรากฎรายละเอียดแผนการพัฒนาในมิติที่ครบถ้วน แตกต่างจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่ได้ปรับเปลี่ยนมาใช้ผังในกลุ่มที่สามซึ่งมีจำนวนผังพร้อมรายละเอียดการพัฒนาครอบคลุมทุกมิติส่วนอย่างสมบูรณ์

อันดับต่อมา จากผังแรกได้แสดงให้เห็นว่า พระราชบัญญัติการผังเมืองของไทยไม่ได้ระบุให้มีประเภทผังที่ครบถ้วน มีจำนวนผังและรายละเอียดการศึกษาน้อยกว่ากลุ่มผังที่สามเกือบสามเท่าตัว นอกจากนั้นยังขาดผังที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจดังเช่น ผังการพัฒนาเศรษฐกิจ ผังการพัฒนาที่อยู่อาศัย ตลอดจนผังการพัฒนาพื้นที่ จึงทำให้เกิดช่องว่างในการบังคับใช้กรณีการสงวนรักษาและการอนุรักษ์ และการส่งเสริมกรณีการกระตุ้นและยกระดับทางเศรษฐกิจ



ภาพผังการ Retrofit พื้นที่กระจัดเกระจายให้แปรสภาพสู่ความกระชับเพื่อสร้างสรรค์เศรษฐกิจ ภาพจาก Smart Core Modul


แต่ที่เป็นจุดอ่อนสำคัญประการแรกได้แก่ การกำหนดวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์การพัฒนาเศรษฐกิจไว้ในผังแต่ไม่ปรากฎรายละเอียดแผนงานโครงการที่สามารถนำไปสู่การปฎิบัติ ประการต่อมา การกำหนดรายละเอียดผังโดยขาดพื้นฐานทางวิชาการที่ถูกต้องรองรับ ดังเช่น กรณีการกำหนดประเภทอาคารตามแต่ละย่านการใช้ประโยชน์ และการกำหนดค่าร้อยละสำหรับการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ซึ่งไม่ทราบที่มาที่ไปอย่างชัดเจน ซึ่งการกำหนดในลักษณะนี้นอกจากจะสร้างความสับสนวุ่นวายในการปฎิบัติแล้ว ยังได้ก่อให้เกิดช่องทางการทุจริตคอรัปชั่นแสวงหาผลประโยชน์ของผู้ปฎิบัติอีกด้วย



ภาพความมีชีวิตชีวาบริเวณศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ : ภาพจาก PPS


ผลจากการขาดผังการพัฒนาทางเศรษฐกิจและผังอื่นๆ ได้ทำให้นักผังเมืองขาดการบูรณาการข้อมูลที่ครบถ้วน และยังทำให้ผังขาดความเชื่อมต่อระหว่างการใช้ประโยชน์ที่ดินกับระบบการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนากายภาพเมืองกับวิถีชีวิตและระบบเศรษฐกิจของชุมชน ประชาชนไม่สามารถใช้ผังเป็นที่พึ่งในการยกระดับรายได้ การสร้างงานและสร้างคุณภาพชิวิต ซึ่งแนวปฎิบัติการผังเมืองของไทยดังที่ได้กล่าวมาล้วนสวนทางกับแนวคิดและวิธีปฎิบัติของการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) อย่างสิ้นเชิง

กล่าวโดยสรุป การผังเมืองของไทยจัดอยู่ในกลุ่มผังประเภทแรก ซึ่งผังในกลุ่มนี้ไม่มีศักยภาพเพียงพอในการสร้างสรรค์และยกระดับทางเศรษฐกิจ แนวทางแก้ไขจำเป็นจะต้องยกระดับทางวิชาการผังเมือง และยกเครื่องกระบวนการพัฒนานักผังเมืองเริ่มตั้งแต่ในสถาบันการศึกษา นอกจากนั้นควรทำการปรับปรุงพระราชบัญญติการผังเมืองอย่างเร่งด่วน ด้วยการบรรจุประเภทของผังให้ถูกต้องครบถ้วน และเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง ผู้กำหนดรายละเอียดผังจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การระบุข้อกำหนดใดๆ เป็นกฎหมายโดยขาดข้อมูลพื้นฐานทางวิชาการรองรับ เท่ากับเป็นการโกหกหลอกลวงโดยใช้ระเบียบกฎหมายเป็นเครื่องมือ ซึ่งถือว่าเป็นตราบาปที่ร้ายแรงสำหรับวิชาชีพนี้

video จาก Better Block Project แสดงการใช้ผังปรับปรุงกายภาพถนนให้เป็น public space เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและสร้างความคึดคักมีชีวิตชีวาแก่ downtown; https://www.youtube.com/watch?v=VC5EFcD5aCM






ท่านใดสนใจแนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ //www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall






Create Date : 12 มีนาคม 2555
Last Update : 12 มีนาคม 2555 10:11:45 น. 1 comments
Counter : 1517 Pageviews.

 
ขอบคุณครับที่นำมาฝาก เป็นบทความที่ดีมากเลยครับ
สนใจเรื่องดวงชะตาอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี้


โดย: ไกรศรี (ไกรศรี ) วันที่: 12 มีนาคม 2555 เวลา:10:33:20 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.