ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
“รถไฟความเร็วสูง” กับแนวทาง Smart Growth ...สร้างการพัฒนาพื้นที่โดยรอบเต็มประสิทธิภาพอย่างไร

บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมายของ นักวิชาการผังเมืองอ.ฐาปนา บุณยประวิตร ซึ่งผมรู้จักผ่านทางFacebook //www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด(SmartGrowth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อBlog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิด ข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebookของอาจารย์ และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ(เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคตที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่างก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน


คุณประโยชน์ของรถไฟฟ้าความเร็วสูงไม่ได้จำกัดอยู่แค่การขนคนเป็นปริมาณมากและการย่นระยะเวลาการเดินทางเท่านั้นแต่รถไฟฟ้าความเร็วสูงได้ก่อให้เกิดผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจจำนวนมหาศาลในพื้นที่พัฒนารอบสถานีขนส่งมวลชน(TOD) โดยการพัฒนาดังกล่าวได้ส่งผลดีต่อการสร้างงาน สร้างรายได้และสร้างโอกาสให้กับประชาชน นอกจากนั้น การพัฒนาที่กระชับพื้นที่อยู่ในวงรอบของ TODได้ก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีความคุ้มค่ามีศักยภาพระดับสูงในการสร้างสรรค์กายภาพทางเดินและทางจักรยานให้มีคุณภาพ


พื้นที่พัฒนารอบสถานีขนส่งมวลชน(

Copy//Thapana Bunyapravitra

วันนี้จะกล่าวถึงอนาคตการพัฒนารถไฟฟ้าความเร็วสูงในบทบาทการพัฒนาเมืองและการพัฒนาเศรษฐกิจโดยอิงบทความเรื่อง Designing the High-SpeedFuture ของ Frank Fuller จาก NextAmerican City
ตามมุมมองของวิศวกรคมนาคมขนส่ง คุณค่าของรถไฟฟ้าความเร็วสูงคงจะโดดเด่นมากในการตอบสนองการขนคนเป็นจำนวนมากความปลอดภัยและการลดระยะเวลาการเดินทางซึ่งเชื่อว่าจะส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจในระดับจุลภาคและมหภาคแต่สำหรับมุมมองของนักผังเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักผังเมือง Smart Growth แล้ว ความโดดเด่นของรถไฟฟ้าความเร็วสูงยังมีมากกว่านั้นและทรงคุณค่ายิ่งต่อบริบทการพัฒนาเมืองในอนาคต

 



Fuller กล่าวว่าบทบาทหน้าที่ดั้งเดิมของสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงในสหรัฐฯเป็นแค่จุดเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างเมืองซึ่งเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนในเมืองที่วิ่งเข้าไปยังย่านธุรกิจพาณิชยกรรมและแหล่งที่พักอาศัยรอบๆพื้นที่สถานีไม่ได้มีความสำคัญในฐานะแหล่งเศรษฐกิจการค้าขนาดใหญ่เช่นเดียวกับพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนระบบรางเบา(Light Rail Transit Area) แวดล้อมด้วยกลุ่มอาคารสูงแหล่งพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยที่ได้รับการวางผังให้กระจุกตัวกันอย่างหนาแน่นแต่ปัจจุบันเริ่มมองเห็นแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ซึ่งกำลังจะกลับกลายเป็นศูนย์เศรษฐกิจแห่งใหม่ของเมือง



 

แนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ซึ่งกำลังจะกลับกลายเป็นศูนย์เศรษฐกิจแห่งใหม่ของเมือง


Fuller ได้ยกตัวอย่างพื้นที่รอบสถานีขนส่งรถไฟฟ้าความเร็วสูงของเมืองมิลานประเทศอิตาลี (รถไฟฟ้าสาย Turun-Naples ก่อสร้างระหว่างปีค.ศ. 1912-1931 ขณะนั้นมีประชากรประมาณ 7.4 ล้านคน) ปัจจุบันสถานีดังกล่าวรองรับผู้ใช้บริการประมาณวันละ 330,000คน พื้นที่รอบสถานีที่พัฒนาตามแนวทาง Transit OrientedDevelopment-TOD ครอบคลุม 72 เอเคอร์อันเป็นที่ตั้งของ3 ย่าน พื้นที่อาคารสำนักงาน 3.9 ล้านตารางฟุตรวมที่พักอาศัย ย่านการค้า ที่สาธารณะ และที่โล่งแม้เมืองจะยังเก็บรักษารูปทรงดั้งเดิมไว้แต่ก็ได้เพิ่มเติมพื้นที่สาธารณะเข้าไปใหม่เพื่อรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการนันทนาการของประชาชนตลอดจนผู้เดินทาง

 




อีกพื้นที่ที่ Fuller ได้นำมาเป็นตัวอย่างคือ ศูนย์การขนส่งกรุงเบอร์ลินประเทศเยอรมัน ที่ก่อสร้างสร็จในปี ค.ศ. 2006 โดยสถานีแห่งนี้มีเป้าหมายในการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างเยอรมันตะวันตกกับตะวันออกสถานีรองรับผู้ใช้บริการประมาณวันละ 350,000 คนพร้อมที่จอดรถใต้ดินจำนวน 860 คันตามจำนวนประชากรของเมืองประมาณ 5 ล้านคนพื้นที่รอบสถานีได้รับการวางผังและออกแบบให้เชื่อมต่อด้วยกับลานพลาซ่าขนาดใหญ่ซึ่งเชื่อมต่อกับศูนย์การพัฒนาใหม่ของกรุงเบลอร์ลินที่ตั้งอยู่ห่างออกไปประมาณหนี่งไมล์พื้นที่ขนาด 4.3 เอเคอร์นี้ได้ถูกวางผังให้เป็นแหล่งชอปปิ้งจับจ่ายใช้สอยโรงแรมที่พัก และหน่วยบริการประเภทต่างๆ นอกจากนั้น ในพื้นที่ TOD ด้านทิศเหนือขนาด 40 เอเคอร์ได้จัดทำผังแม่บทกำหนดให้เป็น Europa City เปิดโอกาสให้เอกชนลงทุนทางธุรกิจในพื้นที่6.5 ล้านตารางฟุตรวมอาคารสำนักงาน ที่พักอาศัย ร้านค้าปลีกและลานวัฒนธรรม


แนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ซึ่งกำลังจะกลับกลายเป็นศูนย์เศรษฐกิจแห่งใหม่ของเมือง


จากสองกรณีศึกษาได้ชี้ให้เห็นว่า
คุณประโยชน์ของรถไฟฟ้าความเร็วสูงไม่ได้จำกัดอยู่แค่การขนคนเป็นปริมาณมากและการย่นระยะเวลาการเดินทางเท่านั้นแต่รถไฟฟ้าความเร็วสูงได้ก่อให้เกิดผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจจำนวนมหาศาลในพื้นที่พัฒนารอบสถานีขนส่งมวลชน(TOD) โดยการพัฒนาดังกล่าวได้ส่งผลดีต่อการสร้างงาน สร้างรายได้และสร้างโอกาสให้กับประชาชน นอกจากนั้น การพัฒนาที่กระชับพื้นที่อยู่ในวงรอบของ TODได้ก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีความคุ้มค่ามีศักยภาพระดับสูงในการสร้างสรรค์กายภาพทางเดินและทางจักรยานให้มีคุณภาพ

 



 


ประสบการณ์จริงดังที่Fuller ได้ยกมาจึงเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่อยู่ระหว่างการวางแผนขนส่งมวลชนขนาดใหญ่เพื่อให้มองเห็นผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นพร้อมกับโอกาสทางเศรษฐกิจที่ประชาชนจะได้รับในอนาคต นอกจากนั้นยังได้ชี้ให้เห็นบทบาทและอนาคตของรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ทรงคุณค่ามากกว่าโครงข่ายการคมนาคมขนส่งทางถนนซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่าไม่ได้ช่วยยกระดับทางเศรษฐกิจโดยโครงข่ายคมนาคมขนส่งทางถนนยังเป็นเครื่องกระตุ้นให้เกิดปัญหาและพิษภัยประเภทต่างๆแก่เมืองและประชาชนซึ่งเทียบไม่ได้เลยกับคุณประโยชน์ที่ได้รับจากรถไฟฟ้าความเร็วสูง

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก :
//americancity.org/buzz/entry/2937/

ความคิดเห็นบางส่วนจาก Facebookผม ตามลิ้งก์ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=348766928509084&set=a.348766881842422.93416.100001273404825&type=1

ปาริมา เผือกบริสุทธิ์ การพัฒนาด้านระบบรางประเทศเราคงเราอีกยาวไกลค่ะ

กุหลาบ แสนสวย ไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่จนวันนั้นหรือป่าวอิอิ

ปาริมา เผือกบริสุทธิ์ ประเทศเราเริ่มระบบรางก่อนประเทศอื่นถ้าจำไม่ผิดในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศญี่ปุ่นต้องมาดูงานด้านรถไฟประเทศเราแต่เดี๋ยวนี้ ....

Roongpetch Thepsoontorn Hope to see this inThailand ka.

Prasit Rugsayos รถไฟความเร็วสูงเป็นเรื่องดีถ้ามีได้แต่ให้พิจารณาอย่างรอบคอบว่าควรจะเริ่มต้นที่ไหนอย่าลืมว่าก่อนที่เราจะเรียนในมหาวิทยาลัย เราเริ่มต้นจาก อนุบาล ประถมและมัธยมมาก่อน ในความเห็นของผมบ้านเราจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบรางแน่นอนปัจจุบันรถไฟเราแค่อนุบาลมีรางเดียว (ยังไม่ได้มาตรฐานตั้งแต่ระบบราง ตัวรถเส้นทางยังปะปนกับระบบอื่น พลังงานที่ใช้) วิ่งได้ไม่เกิน 100ก.ม./ช.ม.ยังต้องพัฒนาเพื่อรองรับชุมชนและคนรากหญ้าส่วนหนึงก็ต้องพัฒนาระบบรางคู่ในเส้นทางที่จำเป็นให้มีความเร็วพอสมควร 150-200ก.ม./ช.ม. สำหรับความเร็วสูงคงมีไม่มากในปัจจุบันที่พอจะเป็นไปได้ถ้าจะพัฒนาทุกเส้นทางก็คงไปไม่รอด อย่าไปน้อยเนื้อต่ำใจว่าลาวยังมีได้เพราะลาวไม่ได้ออกสตังค์ ถ้าเจ้งไปลาวไม่ขาดทุนแถมขุดรางไปขายได้อีกบ้านเราแม้แต่แอร์พอตร์ลิงค์ยังกระอักเลือดเลยจึงอยากเห็นการพัฒนาระบบรางอย่างชาญฉลาดเพราะคู่แข่งระบบรางมีหลายอย่างไม่ว่ารถยนต์ เครื่องบินหากมีรถไฟความเร็วสูงคงต้องปรับระบบการใช้ถนนที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อให้รถไฟอยู่รอดเหมือนอย่างประเทศญี่ปุ่นการเดินทางทางถนนจะต้องเสียค่าผ่านทางแพงประมาณว่าถ้าขับรถไปตามถนนทั่วญี่ปุ่นจะต้องเสียค่าผ่านทางอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าสี่ห้าหมื่นบาท

 


ท่านใดสนใจแนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ //www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall

 


อ่านเนื้อเรื่อง “ย้อนหลัง” ลิ้งก์ตามที่อยู่ด้านล่างนี้ (เพื่อจะได้รับทราบข้อมูล“ผังเมือง” ในระดับโลก เค้าไปถึงไหนกันแล้ว ส่วนผังเมืองบ้านเรา (เงียบเชียบ) ไม่ทราบว่ามีพัฒนาการเหมือน ผังเมือง ประเทศอื่นๆหรือเปล่า?

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=rattanakosin&group=2

 

 




Create Date : 29 มีนาคม 2555
Last Update : 29 มีนาคม 2555 16:08:00 น. 1 comments
Counter : 2108 Pageviews.

 
แวะมาเยี่ยมยามค่ำคืน...สวัสดีครับ

มาติดตามข้อมูลรถไฟความเร็วสูงด้วย นะครับ


โดย: **mp5** วันที่: 29 มีนาคม 2555 เวลา:21:49:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.