ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
องค์ความรู้เกณฑ์ความเป็นผู้นำการออกแบบด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมระดับย่านเพื่อลดการใช้พลังงานและทรัพยากรเมือง


บทความ: เกณฑ์ความเป็นผู้นำการออกแบบด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมระดับย่านเพื่อลดการใช้พลังงานและทรัพยากรเมือง(LEED ND for Reducing the Energy and Resources for Neighborhoods)

บทความ โดย

อ.ฐาปนา บุณยประวิตร (Thapana Bunyapravitra) ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง

//asiamuseum.co.th/

//www.facebook.com/SmartGrowthThailand

Email address :asiamuseums@hotmail.com

บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมาย ของ ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง อ.ฐาปนาบุณยประวิตร บน Facebook //www.facebook.com/SmartGrowthThailand ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่อง การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด(Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิดข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคตที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่างก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน

บทนำ

เกณฑ์ความเป็นผู้นำการออกแบบด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมในระดับย่านหรือ Leadership in Energy andEnvironmental Design –LEED ND ก่อตั้งในปี ค.ศ. 2006 โดยคณะกรรมการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติสหรัฐอเมริกา(Natural Resources Defense Council-NRDC) คณะกรรมการอาคารเขียวสหรัฐอเมริกา (U.S. GreenBuilding Council) และสภาลัทธิชุมชนเมืองยุคใหม่ (Congressfor the New Urbanism) LEED ND สร้างขึ้นจากเกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart GrowthPrinciples) เพื่อใช้ในการวางผังปรับปรุงฟื้นฟูเมืองให้เกิดการประหยัดการใช้ทรัพยากรและพลังงานโดยเฉพาะ โดยแบ่งเกณฑ์การวางผังและออกแบบออกเป็น 3ส่วน ประกอบด้วย

1)เกณฑ์ด้านที่ตั้งและการเชื่อมต่อที่ชาญฉลาด

2) เกณฑ์ด้านรูปลักษณ์ย่านและการออกแบบ และ 

3)เกณฑ์ด้านอาคารและโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว ซึ่งทุกเกณฑ์มีความสำคัญต่อการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองและมีระดับคะแนนที่แตกต่างกัน(กรณีการขอรับรองความเป็นย่านหรือโครงการเขียว) ขึ้นอยู่กับประเภทของการวางผังและขนาดของโครงการที่นำ LEED ND ประยุกต์ใช้




ภาพโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยหลายระดับราคาเมืองพอร์ตแลนด์ที่ใช้เกณฑ์LEEN ND สำหรับการวางผังและออกแบบ

แนวทางการสร้างย่านและโครงการตามเกณฑ์ LEED ND

ในการนำ LEED ND สร้างย่านเพื่อให้ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดการประหยัดการใช้พลังงานนั้น หน่วยงานหรือโครงการต้องนำเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อประยุกต์ใช้ในการจัดวางยุทธศาสตร์ การออกแบบแผนงานและโครงการรวมทั้งการกำหนดรายละเอียดการออกแบบด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ทั้งนี้อาจจำแนกนโยบายออกเป็น 6 กลุ่มประกอบด้วย

1) กลุ่มการบูรณาการกับแผนการพัฒนาพื้นที่

2) กลุ่มเครื่องมือในการจัดทำบทบัญญัติและข้อกำหนดการจัดการย่าน

3) กลุ่มการวางผังโครงการและการออกข้อกำหนดการจัดสรร

4) กลุ่มการสร้างมาตรฐานสนับสนุนการพัฒนา

5) กลุ่มการบริหารโครงการที่ไม่ต้องใช้ข้อกำหนด และ

6) กลุ่มการเพิ่มประสิทธิภาพโครงการและการให้รางวัลสนับสนุน รายละเอียดสรุปได้ ดังนี้





ในภาพ : ดร.สุภาพร แก้วกอเลี่ยวไพโรจน์และรองนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรีกำลังรวบรวมรายละเอียดการออกแบบโครงการ

1.กลุ่มการบูรณาการกับแผนหรือผังการพัฒนาพื้นที่

กำหนดให้ใช้ LEED ND เป็นส่วนประกอบในผังแม่บท (MasterPlan) หรือผังเมืองรวม (Comprehensive Plan) ได้แก่ผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน ผังการสาธารณูปโภค ผังการคมนาคมและขนส่ง ผังการปรับปรุงฟื้นฟูที่อยู่อาศัย ผังการบริการสาธารณะ ผังการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผังการสงวนรักษาทรัพยากรทางวัฒนธรรมและผังการพัฒนาเศรษฐกิจ

2.กลุ่มเครื่องมือจัดทำบทบัญญัติและข้อกำหนดการจัดการย่าน

LEED ND กำหนดให้สร้างเครื่องมือในรูปข้อกำหนดลงไปในผังแม่บทหรือผังเมืองรวมเพื่อบังคับหรือกระตุ้นให้เกิดผลที่เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนา รายละเอียด ดังนี้

2.1 การกำหนดการใช้ประโยชน์ ความหนาแน่น การกำหนดพื้นที่อาคาร

ประกอบด้วย ข้อกำหนดการใช้ที่ดินแบบผสมผสาน การสร้างความหลากหลายรูปแบบอาคารการสงวนรักษาพื้นที่การเกษตร การใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ การสร้างโอกาสการเข้าถึงที่อยู่อาศัย การกำหนดความสูงอาคาร ฯลฯ

2.2 การจัดการที่จอดรถและที่จอดรถริมถนน

ประกอบด้วย ข้อกำหนดการลดพื้นที่จอดรถริมทาง การแบ่งปันที่จอดรถยนต์ การจัดการความต้องการคมนาคมและขนส่ง และการจัดหาที่จอดรถจักรยาน




ภาพการออกแบบระบบการซึมน้ำลงดินและการระบายน้ำฝนภายในโครงการตามเกณฑ์LEED ND

3.กลุ่มการวางผังโครงการและการออกข้อกำหนดการจัดสรร

ข้อกำหนดในกลุ่มนี้ใช้สำหรับการวางผังทางกายภาพในระดับย่านและโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยเป็นข้อกำหนดที่ลงลึกในรายละเอียดการออกแบบทางสถาปัตยกรรมภูมิสถาปัตยกรรม และวิศวกรรม รายละเอียดดังนี้

3.1 การออกแบบระบบการสัญจรและถนน

ประกอบด้วย ข้อกำหนดการคัดเลือกใช้วัสดุผิวทางที่ยั่งยืน การออกแบบไฟฟ้าถนนและการประหยัดพลังงาน การเชื่อมต่อโครงข่ายถนนการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชน โครงข่ายทางจักรยานและที่จอด ถนนสีเขียว ภูมิทัศน์ถนน ทางเดินและทางจักรยานฯลฯ

3.2 การจัดการระบายน้ำฝนและสาธารณูปโภค

ประกอบด้วย ข้อกำหนดการจัดการน้ำฝนอย่างยั่งยืน การใช้โครงสร้างพื้นฐานเขียวเพื่อลดผลกระทบจากการไหลบ่าการลดต้นทุนการจัดการโครงการระบายน้ำฝน

3.3 การจัดการสภาพแวดล้อมเมือง

ประกอบด้วย ข้อกำหนดการสร้างประสิทธิภาพการจัดการน้ำในภูมิทัศน์ การลดมลภาวะจากแสง การจัดการที่ตั้งอาคารและการใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์

3.4 มาตรฐานงานก่อสร้าง

ประกอบด้วย ข้อกำหนดการควบคุมการพังทะลายของดินและการตกตะกอนการสงวนรักษาและการปกป้องต้นไม้ใหญ่ และการกำหนดพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้าง

3.5 การสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

ประกอบด้วย ข้อกำหนดการหลีกเลี่ยงการใช้ประโยชน์ในพื้นที่น้ำท่วมถึงการอนุรักษ์แหล่งน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำ การปกป้องพื้นที่ลาดชันสูง และการอนุรักษ์ที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าในเขตเมือง

3.6การจัดการที่โล่งและการรื้อถอนโครงสร้างพื้นฐาน

ประกอบด้วย ข้อกำหนดความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะและข้อกำหนดการรื้อถอนโครงสร้างพื้นฐาน




ภาพใบประกาศรับรอง LEED ND จากU.S.Green Building สำหรับโครงการพัฒนาตามเกณฑ์

(บุคคลในภาพด้านซ้าย นายฉัตรนุชัย สมบัตรศรีรองปลัดเทศบาลนครระยอง และด้านขวาอดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองคลองแห)

4.กลุ่มการสร้างมาตรฐานสนับสนุนการพัฒนา

ข้อกำหนดในกลุ่มนี้เป็นการสร้างมาตรฐานการวางผัง การออกแบบกายภาพและการบริหารจัดการในระดับย่านเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาด รายละเอียด ดังนี้

4.1 มาตรฐานการออกแบบ

ประกอบด้วย ข้อกำหนดและมาตรฐานการเข้าถึงและการจัดการด้านหน้าอาคาร มาตรฐานพื้นที่ค้าปลีก การออกแบบด้านหน้าอาคารการออกแบบที่จอดรถ

4.2 การสงวนรักษาและออกข้อกำหนดควบคุมพื้นที่ย่านประวัติศาสตร์

ประกอบด้วย ข้อกำหนดและมาตรฐานการสงวนรักษาและการควบคุมพื้นที่ย่านประวัติศาสตร์ พื้นที่สถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าและพื้นที่ภูมิทัศน์ประวัติศาสตร์

4.3 อาคารที่อยู่อาศัยหลายระดับราคา

ประกอบด้วย ข้อกำหนดและมาตรฐานการวางผังย่าน การวางผังเพิ่มแรงจูงใจสำหรับอาคารที่อยู่อาศัยหลายระดับราคา และการวางผังเพื่อให้เกิดการผสมผสานที่อยู่อาศัยหลายระดับราคากับการพาณิชยกรรมและการนันทนาการ

4.4 ข้อกำหนดการจัดการน้ำเสีย

ประกอบด้วย ข้อกำหนดและมาตรฐานการจัดการน้ำเสีย การจัดการมลภาวะ และการสร้างระบบการบริการสิ่งแวดล้อม

4.5 มาตรฐานการพัฒนาอาคาร พลังงาน ระบบสูบน้ำ และระบบดับเพลิง

ประกอบด้วย ข้อกำหนดและมาตรฐานความสามารถในการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ อาคารเขียวหลังคาเขียวและหลังคาสะท้อนแสง การรวบรวมน้ำฝน ระบบการจัดการน้ำใช้ การสร้างประสิทธิภาพการใช้น้ำ การสร้างประสิทธิภาพการใช้พลังงานอาคาร ความกว้างถนนและระบบความปลอดภัยจากเพลิงใหม้

5.กลุ่มการใช้บริหารโครงการที่ไม่ต้องใช้ข้อกำหนด

LEED ND ได้จัดสร้างแนวทางการบริหารจัดการโครงการที่กระตุ้นให้ย่านและโครงการประหยัดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน โดยผนวกกลยุทธ์ตามเกณฑ์ในผังแม่บทหรือผังเมืองรวม รายละเอียด ดังนี้

5.1 แผนการยกระดับการใช้ทรัพย์สิน

ประกอบด้วย แนวทางการดูรักษาพื้นที่เสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและกระบวนการปรับปรุงฟื้นฟู การฟื้นฟูทางกายภาพในการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้ประหยัดการใช้พลังงาน และการส่งเสริมให้เกิดอาคารเขียวสาธารณะ

5.2 การสร้างนโยบายภายในองค์กรที่ไม่ใช่ข้อกำหนด

ประกอบด้วย แนวทางการจัดการความต้องการการคมนาคมและขนส่งการจัดทำแผนแม่บทการจัดการน้ำเสียการจัดการอาหารท้องถิ่นและการสร้างเครือข่ายอาหารท้องถิ่น การปรับปรุงฟื้นฟูสถานที่สาธารณะ การจัดการอาคารว่างและอาคารทิ้งร้าง การจัดการทางเดินและทางจักรยานที่เชื่อมต่อไปยังโรงเรียน




ภาพการสร้างสวนเขียวสาธารณะสำหรับการนันทนาการและพื้นที่รองรับน้ำฝนใจกลางย่านพาณิชยกรรมเมืองพอร์ตแลนด์

6.กลุ่มการเพิ่มประสิทธิภาพโครงการและการให้รางวัลสนับสนุน

LEED ND สร้างนโยบายนี้ขึ้นเพื่อกระตุ้นให้หน่วยงานและผู้ประกอบการนำแนวทางตามข้อ1-5 ลงสู่การปฏิบัติ ซึ่งกำหนดให้มีการทบทวนกระบวนการดำเนินโครงการ และการบริหารจัดการ โดยให้ผลตอบแทนประเภทต่างๆ เป็นแรงจูงใจ รายละเอียด ดังนี้

6.1 การทบทวนโครงการและการปรับปรุงกระบวนการ

ประกอบด้วย วิธีการทบทวนแนวทางการดำเนินงานและการทบทวนกระบวนการ การทบทวนค่าใช้จ่ายโครงการ การทบทวนผลประโยชน์ของชุมชนและแนวทางการปรับปรุง และการทบทวนมาตรฐานโครงการ

6.2 การให้รางวัลและผลตอบแทน

ประกอบด้วย การมอบผลตอบแทนในรูปของโซนนิ่ง (Zoning Bonus) และโบนัสความหนาแน่น(Density Bonus) การเพิ่มผลประโยชน์ด้านภาษีการปรับปรุงภาษีที่ดิน และการให้สินเชื่อในทางตรง

สรุป

จะเห็นได้ว่า ข้อกำหนดและแนวทางตามนโยบายของ LEED ND สามารถนำมาใช้ในการควบคุมทางกายภาพ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ดินและโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดความประหยัดมีประสิทธิภาพ และเกิดศักยภาพอย่างมากในการลดการใช้ทรัพยากรและพลังงานซึ่งเกิดขึ้นด้วยโครงสร้างทางกายภาพที่ผ่านการออกแบบ ท่านที่สนใจรายละเอียดแนวทางการวางผังและออกแบบตามเกณฑ์ของLEED ND ขอให้รอศึกษาจากบทความฉบับต่อไป

เอกสารอ้างอิง

Land Use Law Center, Technical Guidance Manual for SustainableNeighborhoods, August, 6 2006, Available

from: //www.usgbc.org/resources/technical-guidance-manual-sustainable-neighborhoods


ท่านใดสนใจแนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด)เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebookนี้ครับ //www.facebook.com/smartgrowththailand


อ่านเนื้อเรื่อง “ย้อนหลัง” ลิ้งก์ตามที่อยู่ด้านล่างนี้(เพื่อจะได้รับทราบข้อมูล “ผังเมือง” ในระดับโลกเค้าไปถึงไหนกันแล้ว //www.oknation.net/blog/smartgrowth 





Create Date : 06 สิงหาคม 2556
Last Update : 6 สิงหาคม 2556 1:03:13 น. 0 comments
Counter : 1156 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.