ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
เรื่องดีๆ ที่ไม่น่ายาก..แต่รู้สึกว่าจะยากเย็นสำหรับเราน่ะ!!.....



Dan Burden


ผู้อำนวยการของ Walkable and Livable Communities Institute (ในฐานะนักออกแบบชุมขนเมือง (Urban Design) ที่นิตยสาร Times Magazine ได้ยกย่องให้เป็น 1 ใน 6 ของโลกด้าน Civic Innovators ปี ค.ศ.2001 ได้เสนอผลงานเรื่อง New Public Health attended a walkability audit of downtown San diego ในงานประชุมประจำปี New Partner for Smart Growth Conference 2012)


บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมาย ของ นักวิชาการผังเมือง อ.ฐาปนา บุณยประวิตร ซึ่งผมรู้จักผ่านทาง Facebook //www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิด ข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์ และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ (เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคต ที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่าง ก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน

Copy//Thapana Bunyapravitra (13 กุมภาพันธ์ 2555) ตามลิ้งก์ //www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=228260777266076&id=355237181167341



กายภาพเมืองที่งดงามและกายภาพถนนที่ปลอดภัยท้ังคนเดินและขี่จักรยาน


วันนี้ผมขอกล่าวถึงประเด็นคุณภาพชีวิตของประชาชนที่เกิดจากกายภาพเมืองอีกครั้ง หากท่านยังจำได้ หลายๆ บทความของผมได้ชี้ให้เห็นมหันตภัยที่เกิดจากการกระจัดกระจายของเมือง หรือที่เรียกทับศัพท์กันว่า Urban Sprawl กายภาพเมืองที่กระจัดกระจายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชุมชนตั้งอยู่เป็นหย่อมๆ ไม่ต่อเนื่องกัน หรือกระจัดกระจายตามแนวถนนจนมองหาศูนย์กลางชุมชนที่แท้จริงไม่ได้ หรือกระจัดกระจายไปรุกล้ำพื้นที่เกษตรกรรมแหล่งผลิตอาหารและพื้นที่ทางธรรมชาติ หลายท่านคงคิดว่าเป็นเรื่องปกติเมื่อประชากรมีมากขึ้นเมืองก็ต้องแผ่ขยายไปเป็นธรรมดา หากเป็นวิธีคิดแบบเก่าก็คงไม่ผิดครับ แต่สำหรับทศวรรษนี้ ยุคสมัยของการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) เมืองจะแผ่กระจายแบบไร้การควบคุมเช่นนั้นอีกไม่ได้ ระบบการผังเมืองที่ชาญฉลาดจะต้องบังคับยับยั้งด้วยทุกกลยุทธ์ให้เมืองที่มีอยู่กลับมากระชับ คำว่า “เมืองกระชับ” หรือ “Compact City” นั้น ไม่ใช่แนวคิด แต่เป็นยุทธศาสตร์ที่ทำให้บริเวณใจกลางเมืองมีความหนาแน่นและครบถ้วนบริบูรณ์ไปด้วยสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก แล้วเมืองกระชับจะช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนดีขึ้นได้อย่างไร ผมขอชี้ให้เห็นข้อดีข้อเสียของกายภาพเมืองกระจัดกระจายกับกายภาพเมืองกระชับ ดังนี้



กายภาพเมืองที่งดงามและกายภาพถนนที่ปลอดภัยท้ังคนเดินและขี่จักรยาน


เมืองกระจัดกระจาย

1) ไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนโครงการระบบขนส่งมวลชน เพราะประชาชนตั้งบ้านเรือนอยู่ห่างไกลไม่เป็นกลุ่ม ไม่มีศูนย์ชุมชนที่มีความหนาแน่นซึ่งประชาชนอยู่อาศัยเป็นจำนวนมากจนสามารถตั้งเป็นสถานีขนส่ง

2) ผลจากข้อแรก ทำให้ประชาชนไม่มีทางเลือกในการเดินทาง จำเป็นต้องใช้รถยนต์ส่วนบุคคลแต่เพียงอย่างเดียว การใช้รถยนต์ในปริมาณที่มากเพื่อเดินทางเข้าสู่แหล่งงานบริเวณใจกลางเมืองได้ก่อให้เกิดปัญหาการคับคั่งการจราจร ปัญหามลพิษและกระตุ้นให้โลกร้อน

3) ไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนสาธารณูปโภคสาธารณูปการทำให้ประชาชนขาดแคลนหน่วยบริการที่จำเป็น เช่น ศูนย์บริการสาธารณสุข โรงเรียน สนามกีฬา ฯลฯ

4) ไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนด้านกายภาพที่เป็นพื้นฐานของเมืองน่าอยู่ เช่น การลงทุนก่อสร้างทางเดินและทางจักรยานที่มีมาตรฐาน การลงทุนพัฒนาภูมิทัศน์ถนน การลงทุนร้านค้าบริการที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน

5) ความสัมพันธ์ของผู้คนภายในชุมชนมีน้อย เนื่องจากบ้านเรือนตั้งอยู่ห่างไกลกันและไม่มีศูนย์ชุมชนที่ชัดเจน ทำให้ประชาชนขาดโอกาสในการทำความรู้จักและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งเป็นอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่



กายภาพเมืองที่งดงามและกายภาพถนนที่ปลอดภัยท้ังคนเดินและขี่จักรยาน


เมืองกระชับ

1) มีความคุ้มค่าในการลงทุนระบบขนส่งมวลชน เนื่องจากประชาชนตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มก้อนและหนาแน่น

2) ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางหลากหลายรูปแบบทั้งการเดิน การใช้จักรยาน ระบบขนส่งมวลชน หรือแม้แต่รถยนต์ส่วนบุคคล

3) มีความคุ้มค่าในการลงทุนสาธารณูปโภคสาธารณูปการเนื่องจาก ในการลงทุนต่อหนึ่งหน่วยมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก

4) รัฐและเอกชนมีความคุ้มค่าในการลงทุนด้านกายภาพและบริการพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนก่อสร้างทางเดิน ทางจักรยาน และภูมิทัศน์ถนนที่มีมาตรฐาน หรือแม้แต่กการลงทุนของภาคเอกชนในธุรกิจบริการที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน

5) มีโอกาสมากในการพัฒนาเป็นชุมชนซึ่งประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเนื่องจากการอยู่กันอย่างกระชับทำให้เกิดการรู้จักสัมพันธ์แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้วยกัน




กายภาพเมืองที่งดงามและกายภาพถนนที่ปลอดภัยท้ังคนเดินและขี่จักรยาน




กายภาพเมืองที่งดงามและกายภาพถนนที่ปลอดภัยท้ังคนเดินและขี่จักรยาน


สำหรับการออกแบบปรับปรุงกายภาพในเมืองที่กระชับเพื่อให้เป็นเมืองน่าอยู่นั้น Dan Burden ผู้อำนวยการของ Walkable and Livable Communities Institute (ในฐานะนักออกแบบชุมขนเมือง (Urban Design) ที่นิตยสาร Times Magazine ได้ยกย่องให้เป็น 1 ใน 6 ของโลกด้าน Civic Innovators ปี ค.ศ.2001 ได้เสนอผลงานเรื่อง New Public Health attended a walkability audit of downtown San diego ในงานประชุมประจำปี New Partner for Smart Growth Conference 2012) กล่าวไว้ว่า ทางเดิน ทางจักรยาน และถนนของเมืองน่าอยู่นั้นจะต้องออกแบบปรับปรุงให้ได้ตามเกณฑ์ 5 ข้อ ได้แก่

1) ความรู้สึกปลอดภัยของคนเดิน ความเป็นมิตรของรถยนต์ส่วนบุคคล (ที่ไม่ใช้ความเร็ว) การปกป้องทางเดินด้วยต้นไม้และสาธารณูปโภคบนทางเท้า

2) ความสะดวกสบายที่เกืดจากพื้นผิวทางเดิน ทางลาด และอุปกรณ์ประกอบถนน

3) ประสิทธิภาพ ได้แก่ ประสิทธิภาพของการสัญจรด้วยรถเข็นเด็กที่ต่อเนื่องในเส้นทางยาวไกลได้ ระบบสัญลักษณ์การจราจร ระบบลดความเร็วรถยนต์ การยกระดับผิวทางบริเวณสี่แยกและสามแยก ที่จอดรถยนต์และจักรยานริมถนน สถานีรถขนส่งมวลชน ฯลฯ

4) ความสะดวกในการเข้าถึงบริการและการเชื่อมต่อเป็นโครงข่ายไปยังสถานที่สำคัญๆ และ

5) จูงใจให้เกิดการใช้จากสภาพแวดล้อมที่ห่อหุ้มด้วยต้นไม้ใหญ่ไม้พุ่ม ร้านค้าหลากหลายบริการที่ตกแต่งสวยงาม ฯลฯ

เนื่องในโอกาสช่วงเทศกาลแห่งความรัก หากผู้บริหารเมืองท่านใดต้องการแสดงถึงความรักและความห่วงใยที่ท่านมีต่อประชาชน Smart Growth Asia ขอให้ท่านจงมอบกายภาพเมืองที่น่าอยู่เป็นของขวัญแก่พวกเขา ตามภาพกายภาพเมืองดัง vdo ของ Dan Burden ที่ท่านจะได้รับชมต่อไปนี้ ;ตามลิ้งก์ //vimeo.com/35259036

ท่านใดสนใจแนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ //www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall






Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2555 8:34:57 น. 0 comments
Counter : 1287 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.