ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
แนวทางและความเป็นไปได้ ของประเทศไทย กับระบบขนส่งมวลชนสาธารณะดีๆ Streetcar



แนวทางและความเป็นไปได้ในการใช้ Streetcar ในประเทศไทย

โดย ฐาปนา บุณยประวิตร นักวิชาการด้านผังเมือง


บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมาย ของ นักวิชาการผังเมือง อ.ฐาปนาบุณยประวิตร ซึ่งผมรู้จักผ่านทาง Facebook //www.facebook.com/SmartGrowthThailand ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด(Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิด ข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebookของอาจารย์ และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียนโดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย CaseStudy ครับ (เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆเกี่ยวกับผังเมืองในอนาคต ที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาลและแน่นอนทีเดียวหลายอย่าง ก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน....


“นักผังเมืองทั่วโลก” ยกให้รถไฟฟ้า Streetcar เป็นระบบการขนส่งที่ดีที่สุดในโลกขณะนี้

ตามลิ้งก์เดิม //www.oknation.net/blog/smartgrowth/2012/03/20/entry-1


เข้าสู่บทความกันเลยครับ

บทความ : แนวทางและความเป็นไปได้ในการใช้ Streetcar ในประเทศไทย

โดย ฐาปนา บุณยประวิตร


เนื่องจาก Smart Growth Thailand (SGT) ได้นำเสนอข้อเขียนความเหมาะสมในการนำรถไฟฟ้า Streetcar สำหรับประเทศไทยออกเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลังจากการเผยแพร่เพื่อนๆสมาชิกได้มีคำถามเข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการรายละเอียดที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวทางและความเป็นไปได้ในการนำรถไฟฟ้า Streetcar มาใช้ในประเทศไทย ดังนั้น ในวันนี้ SGT จึงขอตอบบางสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้

1. ความรับผิดชอบด้านวิชาชีพในการศึกษาความเป็นไปได้  ในการนำ LRTหรือ Streetcar  ไปใช้นั้น การศึกษาทั้งหมดควรเป็นความร่วมมือกันระหว่างนักผังเมือง สถาปนิกชุมชนเมืองวิศวกรโยธา วิศวกรคมนาคมขนส่งและจราจร นักเศรษฐศาสตร์ ฯลฯ  โดยมีนักผังเมืองคมนาคมขนส่ง (Transportation  Planner) เป็นผู้ประสานโครงการ (Transportation Planner  เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมืองสาขาคมนาคมขนส่ง  ซึ่งจำแนกโดย AICP สหรัฐอเมริกา ประเทศที่จดทะเบียนนักผังเมืองในสาขานี้เป็นวิชาชีพเฉพาะได้แก่ สหรัฐฯอังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฯลฯ  ซึ่งกลุ่มประเทศเหล่านี้ได้แบ่งวิชาชีพการผังเมืองออกเป็น2 สาขารับอนุญาตได้แก่ Environmental Planner และ Transportation Planner) เหตุที่ต้องใช้นักผังเมืองคมนาคมขนส่งเป็นผู้ประสานงานนั้น  เนื่องจากจะสามารถนำองค์ความรู้ด้านการผังเมืองผสมผสานเข้ากับแนวทางการศึกษาด้านวิศวกรรมขนส่งและจราจรนอกจากนี้ ยังสามารถกำหนดกรอบการวางผังและพัฒนาพื้นที่โครงการทั้งพื้นที่รอบสถานีขนส่งและพื้นที่ตามแนวรางรถไฟฟ้า  ซึ่งจะให้การศึกษาความเป็นไปได้หรือการศึกษาออกแบบมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

2. การศึกษาความเป็นไปได้ เนื่องจากถนนในประเทศไม่ได้ออกแบบตามแนวทางของถนนแบบสมบูรณ์(Complete Street)  ดังนั้น  จึงไม่อาจนำรถไฟฟ้า Streetcar  ลงใช้ได้ทันที  อย่างไรก็ตาม หากหน่วยงานใดมีความต้องการลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้า Streetcar  ควรดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

2.1 การศึกษาความเป็นไปได้ทางกายภาพ โดยการสำรวจศึกษาข้อมูลด้านกายภาพและโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่อย่างครบถ้วนและให้ความสำคัญเป็นกรณีพิเศษกับการศึกษา การใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคาร โครงสร้างการสัญจร ระบบการระบายน้ำและระบบสาธารณูปโภค ฯลฯ

2.2 การศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ การศึกษาและออกแบบโครงสร้างทางเศรษฐกิจรอบสถานีขนส่งและตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมจากการลงทุนของโครงการ

2.3 การให้ข้อมูลรายละเอียดโครงการและการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อร่วมกันกำหนดอนาคตของพื้นที่ ทั้งนี้ จะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติและความเข้าใจของประชาชนที่มีต่อโครงการว่า การลงทุนโครงการ Streetcarนั้นมีเป้าหมายในการสร้างสรรค์เศรษฐกิจภายในพื้นที่รอบสถานีขนส่งและตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ซึ่งมีค่าเทียบเท่ากันกับการขนมวลคน การบรรเทาปัญหาการคับคั่งการจราจร โดยรถไฟฟ้าที่ไม่ใช้ความเร็ว

3. ความเหมาะสมของประเภทรถไฟฟ้า  รถไฟฟ้าแต่ละประเภทไมว่าจะเป็นCommuter Rail, Rapid Rail, LRT Monorail หรือ Streetcar มีความเหมาะสมกับพื้นที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะความต้องการและความเหมาะสมด้านกายภาพ  ซึ่ง  Streetcar นั้นเป็นรถรางไฟฟ้าที่เล็กที่สุดในบรรดารถไฟฟ้าด้วยกัน ใช้เชื่อมต่อระหว่างย่านในเส้นทางที่มีระยะไม่มาก  ขนคนได้ไม่เกิน 80 คนทั้งนั่งและยืน  เดินรถในระดับความลาดชันสูงสุดไม่เกินร้อยละ35  ดังนั้น  จึงไม่เหมาะกับการใช้สัญจรระหว่างเมืองและระหว่างภาค  และไม่สามารถนำไปใช้ได้กับทุกสถานที่

4. ความเหมาะสมของ Streetcar  กับการพัฒนาเมือง  ระบบขนส่งมวลชนทางรางมีอิทธิพลโดยตรงต่อการสร้างรูปทรงของเมือง  และต่อการกำหนดโครงสร้างพื้นฐานของเมืองและภาค  ในขณะที่มีค่าการลงทุนต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับรถไฟฟ้าประเภทอื่นๆ  ดังนั้น นักผังเมืองส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญกับรถไฟฟ้า  Streetcar  เนื่องจากสามารถตอบสนองต่อเป้าหมายในการพัฒนารูปทรงของเมืองและเศรษฐกิจเมืองได้ด้วยปัจจัยที่โดดเด่นดังนี้

4.1 ศักยภาพในการลดความจำเป็นการครอบครองและใช้รถยนต์ส่วนบุคคลของประชาชน

4.2 สามารถใช้พื้นผิวจราจรร่วมกับยวดยานอื่นๆ โดยที่เมืองไม่มีความจำเป็นต้องลงทุนเวนคืนที่ดินในการสร้างสถานีและสาธารณูปโภคสนับสนุน เช่นเดียวกับรถไฟฟ้ายกระดับและรถไฟฟ้าใต้ดิน

4.3 ใช้โอกาสในการออกแบบก่อสร้างระบบรางเพื่อปรับปรุงกายภาพถนนให้เป็นแบบสมบูรณ์ ซึ่งเมืองจะได้รับทั้งทางเดิน ทางจักรยาน และทางรถขนส่งมวลชน พร้อมสถานีรถไฟฟ้าตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้เมืองยังจะได้รับพื้นที่ภูมิทัศน์ที่มีความงดงามอยู่ในบริเวณใจกลางเมืองและย่านการค้าสำคัญที่รถไฟฟ้าวิ่งผ่านอีกด้วย

4.4 ลดค่าใช้การเดินทางให้กับประชาชนเมื่อเทียบกับการสัญจรด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล

4.5 สร้างระบบการสัญจรและโครงข่ายที่สามารถคาดการณ์ปริมาณการเดินทางทิศทาง และค่าใช้จ่ายของประชาชนและของเมืองได้

4.6 ใช้ผลการศึกษาออกแบบเพื่อการวางแผนส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เกิดความหนาแน่นรอบสถานีขนส่งเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชน เช่น การกำหนดแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยรอบสถานีขนส่งและตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเป็นต้น


สำหรับความห่วงใยในประเด็นปลีกย่อย เช่น ประเด็นปัญหาน้ำท่วมขังและความเหมาะสมด้านกายภาพนั้น สามารถสรุปได้ดังนี้

1. การขนส่งมวลชนทางรางทุกชนิด (ยกเว้นระบบรถไฟของบางประเทศ) มีระบบควบคุมการเดินรถซึ่งมีศักยภาพในการประเมินความเสี่ยงการเดินรถในแต่ละสภาพการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะอุทกภัย (ไม่รวมกรณีภัยพิบัติบางชนิดเช่น ซึนามิและแผนดินไหว)

2. ระบบควบคุมไฟฟ้าของ Streetcar ได้รับการออกแบบป้องกันที่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับรถไฟฟ้าประเภทอื่น ส่วนระบบส่งกำลังไฟฟ้านั้น โดยทั่วไปวางพาดตามแนวรางสูงจากผิวถนนมากกว่า 20 ฟุต (ยกเว้นระบบรางบางรุ่นของจีนซึ่งฝังท่อร้อยสายส่งกำลังตามแนวราง)

3. ในภาวะน้ำท่วมขังช่วงฤดูฝน สามารถเดินรถ Streetcar ได้ตามปกติเช่นเดียวกับยวดยานทั่วไป


……………………………………..

ชมวีดีโอครับ Streetcarเป็นระบบขนส่งมวลชนสาธารณะที่ได้รับความนิยมมาก ในประเทศต่างๆ https://www.youtube.com/watch?v=vE11M_uUxYg







Create Date : 15 ตุลาคม 2555
Last Update : 15 ตุลาคม 2555 10:27:42 น. 0 comments
Counter : 2107 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.