ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

การเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) “ภูเก็ตเมืองเขียว”เริ่มแล้วสำหรับเทศบาลนครภูเก็ต






PHUKETGREENEST CITY 2016

SmartGrowth for City of Phuket

การเติบโตอย่างชาญฉลาดเริ่มแล้วสำหรับเทศบาลนครภูเก็ต

เทศบาลนครภูเก็ตโดยนางสาวสมใจ สุวรรณศุภพนานายกเทศมนตรีได้ประกาศนำแนวคิดการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ลงสู่การปฏิบัติในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 3 ปี (2557-2559)โดยใช้วิสัยทัศน์ “ภูเก็ตเมืองเขียว” หรือ “PhuketGreenest City” เป็นแนวนโยบายหลักเพื่อพัฒนาและปรับปรุงฟื้นฟูเทศบาลนครภูเก็ตให้เป็นเมืองเขียวที่ยั่งยืนภายใต้เป้าประสงค์สำคัญ 6 ด้าน ประกอบด้วย

การวางผังและออกแบบกายภาพเมืองตามแนวทางSmart Growth & LEED ND

เพื่อลดการใช้พลังงานลดผลหระทบจากภัยพิบัติ และลดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก

การวางผังและออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูเมืองเพื่อสร้างนครภูเก็ตให้เป็นชุมชนแห่งการเดิน 

(Phuket Walkable Community)

การปรับปรุงฟื้นฟูย่านการค้าและสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกิสเพื่อสร้างเอกลักษณ์และ

ส่งเสริมการท่องเที่ยว

การออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูย่านพาณิชยกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัยรอบเมืองเก่า

ตามแนวทางForm-Based Codes เพื่อสร้างความมีชีวิตชีวาและมูลค่าเศรษฐกิจ

การออกแบบปรับปรุงสถานที่สาธารณะสวนสาธารณะ และพื้นที่สีเขียว

เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตและการเป็นเมืองแห่งสุขภาพ(Healthy City)

โดยยุทธศาสตร์ 3 ปี เทศบาลฯ ได้อนุมัติแผนการดำเนินงานตามโครงการ “ภูเก็ตเมืองเขียว” จำนวน 4 โครงการ ประกอบด้วย

1.โครงการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูคลองและพื้นที่สาธารณะคลองบางใหญ่ หรือ Pheket Greenway Revitalization Plan

2.โครงการวางผังและออกแบบโครงข่ายทางเดินและทางจักรยาน (Phuket Pedestrian & Bicycle Network Design Plan)

3.โครงการวางผังและออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูย่านพาณิชยกรรมรอบเมืองเก่า(Downtown & Residential Revitalization Plan)

4.โครงการศึกษาและออกแบบข้อกำหนดควบคุมอาคารและสภาวะแวดล้อมเมืองเก่าภูเก็ต (Building Codes & Ordinances for Phuket City)

ภาพการประชุมปฏิบัติการแผนพัฒนาพื้นที่ย่านการค้าเก่าเมืองภูเก็ตวันที่ 24 ธันวาคม 2556 เวลา 10.30-15.30น. ณ.ห้องประชุมใหญ่เทศบาลนครภูเก็ต


นางสาวสมใจ สุวรรณศุภพนานายกเทศมนตรีกล่าวเปิดการประชุม

และมอบนโยบายการวางแผนพัฒนาเมือง


นายแพทย์โกศล แตงอุทัย รองนายกเทศมนตรีดำเนินการประชุม

และกล่าวสรุปโครงการพัฒนาเมืองเก่า

และผลการปฏิบัติงานพัฒนาเมืองในช่วงเวลาที่ผ่านมา



ผศ.ดร.ยงธนิศวร์ พิมลเสถียร บรรยายแนวทางในการปรับปรุงข้อกำหนดอาคารเก่า

และแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าภูเก็ต



นายฐาปนา บุณยประวิตร อุปนายกสมาคมการผังเมืองไทย

บรรยายสรุปแนวทางการนำเกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาด

ลงสู่การปฏิบัติเพื่ออนุรักษ์เมืองและพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างมูลค่าให้กับพื้นที่



อาจารย์ยุทธการ จันทรกรานต์เลขานุการชมรมสถาปัตยกรรมภูเก็ต 

สรุปผลการประชุมกลุ่มย่อยด้านการพัฒนากายภาพเมือง

และการปรับปรุงข้อกำหนดการควบคุมอาคาร




 

Create Date : 25 ธันวาคม 2556    
Last Update : 25 ธันวาคม 2556 13:54:42 น.
Counter : 1348 Pageviews.  

ทิศทางในการพัฒนาองค์กรวิชาชีพการผังเมืองในอนาคต บทความ โดย อาจารย์ ปีดิเทพ อยู่ยืนยง


บทความโดย อาจารย์ ปีดิเทพ อยู่ยืนยง

สมาชิกสมาคมการผังเมืองไทย/ นักเรียนทุนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการอาจารย์(ผู้สอน) ระดับปริญญาเอกประเภททุนสำหรับบุคคลภายนอกตามความต้องการของคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อีเมลล์: pedithep.youyuenyong@email.dmu.ac.uk

การวางผังเมืองถือเป็นกิจกรรมสำคัญที่ภาครัฐและภาคเอกชนได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมากในศตวรรษที่21 เพราะการวางผังเมืองไม่เพียงแต่ทำให้ภาครัฐและภาคเอกชนทราบถึงทิศทางการพัฒนาเมืองและทิศทางการใช้ที่ดินในเมืองและพื้นที่อื่นๆที่เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่ทว่าการวางผังเมืองยังส่งผลให้ภาครัฐและภาคเอกชนสามารถทราบทิศทางในการพัฒนากิจกรรมอื่นๆให้สอดคล้องหรือเอื้อประโยชน์ต่อการจัดทำบริการสาธารณะโดยภาครัฐและการประกอบกิจกรรมต่างๆของภาคเอกชน ตัวอย่างเช่นการจัดระบบขนส่งมวลชนสาธารณะอันถือเป็นการจัดทำบริการสาธารณะด้านคมนาคมขนส่ง ที่ต้องอาศัยการวางผังเมืองให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชนิดหรือประเภทขนส่งมวลชนที่รัฐต้องพัฒนาขึ้นสำหรับตอบสนองความต้องการของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและพื้นที่โดยรอบเมืองการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยเอกชน ที่ต้องพิจารณาการก่อสร้างหรือการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้สอดคล้องกับเกณฑ์การวางผังเมืองที่รัฐหรือท้องถิ่นได้กำหนดเอาไว้และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อาจต้องอาศัยหลักการการวางผังเมืองเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อประโยชน์ในการจัดพื้นที่สำหรับอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชในท้องถิ่น เป็นต้น





ภาพการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยที่มีลักษณะ “การกระจัดกระจาย” ซึ่งผิดไปจากความมุ่งหมายของวิชาการผังเมือง

ที่มา: Architectural Newpaper

นอกจากนี้ การวางผังเมืองและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องยังถือเป็นวิชาชีพเฉพาะ(Profession) ที่มีการเรียน การสอนและการถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้งในระดับอุดมศึกษาและในระดับองค์กรวิชาชีพเฉพาะผ่านการเรียนรู้ ศึกษาและวิเคราห์บริบทของเมือง (Urban contexts) นอกจากนี้ศาสตร์ด้านการผังเมืองยังจำต้องอาศัยสหวิทยาการด้านต่างๆ (Multi-disciplinaryapproach) เพื่อประกอบการเรียนรู้ศึกษาและวิเคราะห์บริบทของผังเมืองทำให้การศึกษาศาสตร์ด้านการวางผังเมืองและการพัฒนาเมืองได้รู้และสามารถนำความรู้ด้านการผังเมืองในเชิงลึกและเชียวชาญเช่นการนำหลักการทางเศรษฐศาสตร์มาศึกษาปรากฎการณ์ของการพัฒนาชุมชนเมืองและการนำเอาหลักกฎหมายว่าด้วยการใช้ที่ดินมาประยุกต์ใช้กับกับแนวทางการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในชุมชนเมืองเป็นต้น




ที่มา: AmericanPlanning Association/AICP

ดังนั้น ในประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศ เช่น สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาได้มีการก่อตั้งองค์กรวิชาชีพด้านการผังเมือง (Planning bodies) ที่มีบทบาทและภารกิจหลักในการรักษามาตรฐานวิชาชีพด้านการผังเมือง(Professional standard maintenance) และกำหนดกรอบการรับรองคุณวุฒิระดับวิชาชีพการผังเมืองในระดับต่างๆ(Planning course accreditation) ซึ่งองค์กรวิชาชีพด้านการผังเมืองต้องจัดบริการและกิจกรรมต่างๆเพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจหลักที่องค์กรวิชาชีพด้านการผังเมืองได้กำหนดเอาไว้อนึ่ง องค์กรวิชาชีพการผังเมืองในประเทศที่พัฒนาแล้วไม่เพียงจะมีหน้าที่และภารกิจตามที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นหากแต่องค์กรวิชาชีพการผังเมืองยังมีหน้าที่ในการจัดทำกฎแห่งการปฏิบัติวิชาชีพการผังเมือง(Code of Professional Conduct) เพื่อควบคุมและกำหนดหลักเกณฑ์ให้สมาชิกของสถาบันสมาคมและองค์กรวิชาชีพผังเมืองได้ปฏิบัติตามทำให้การปฏิบัติงานการวางผังเมืองหรือประกอบกิจกรรมวางผังเมืองเป็นไปในแนวทางเดียวกันและสอดคล้องกันทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาตินอกจากนี้กฎแห่งการปฏิบัติวิชาชีพการผังเมืองยังถือเป็นแนวทางให้นักการผังเมืองหรือผู้ประกอบวิชาชีพการวางผังเมืองได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนภายใต้กรอบแห่งจริยธรรมวิชาชีพ(Planning Ethics) อันทำให้นักวางผังเมืองประกอบวิชาชีพของตนได้โดยที่ไม่ขัดต่อศีลธรรมจรรยาบรรณและกฎหมายที่สังคมนักการผังเมืองและกฎหมายของบ้านเมืองได้กำหนดเกณฑ์เอาไว้

สำหรับสมาคมการผังเมืองไทยที่พึ่งจัดตั้งขึ้นมานี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นอันดีสำหรับการพัฒนาองค์กรวิชาชีพด้านการผังเมืองที่อาจเป็นศูนย์รวมของนักการผังเมืองและผู้ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอื่นๆที่มีความสนใจในกิจการการวางผังเมือง รวมไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการวางผังเมือง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทต่างๆ ทำให้ผู้เกี่ยวข้องในระดับต่างๆได้หันมาสนใจและพัฒนาวิชาชีพการวางผังเมืองให้มีความเจริญรุ่งเรืองต่อไปในประเทศไทย

แม้ว่าสมาคมการผังเมืองไทยจะได้มีการจัดตั้งขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตามในการปฏิบัติงานของสมาคมการวางผังเมืองเพื่อพัฒนาวิชาชีพการผังเมืองในประเทศไทยนั้นจำต้องอาศัยการขับเคลื่อนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชนที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการวางผังเมืองรวมไปถึงการสนับสนุนของภาครัฐในการพัฒนาสมาคมการผังเมืองไทยให้กลายมาเป็นองค์กรวิชาชีพที่เข้มแข็งและสามารถกำกับดูแลตนเองต่อไปได้ในอนาคต

ผู้เขียนจึงขอเสนอแนวทางสองช่วง (Paradigm) แห่งการพัฒนาสำหรับพัฒนาสมาคมการผังเมืองไทยไปสู่การเป็นองค์กรวิชาชีพการผังเมืองที่เข้มแข็งต่อไปในอนาคตดังต่อไปนี้

ช่วงแรก สมาคมการผังเมืองไทยควรจัดกิจกรรมบูรณาการความรู้และให้ความรู้แก่นักการผังเมืองอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ความรู้ (Knowledge) แก่นักการผังเมืองและประชาชนทั่วไปให้มีความรู้ความเข้าใจในวิชาการการผังเมืองสหวิทยาการด้านผังเมืองและความรู้ทั่วไปด้านผังเมือง ผ่านกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ให้สังคมประเภทต่างๆตัวอย่างเช่น การวิจัย การจัดทำข้อเสนอแนะด้านผังเมืองการสร้างเครือข่ายวิชาการการผังเมือง และการตีพิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ นอกจากนี้สมาคมการผังเมืองไทยยังควรกำหนดกิจกรรมต่างๆในการกำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิทางวิชาชีพการวางผังเมืองและกำหนดกลไกในการรักษามาตรฐานการประกอบวิชาชีพการผังเมืองในประเทศไทยสำหรับเป็นเกณฑ์กลางให้สมาชิกสมาคมปฏิบัติตามกลไกหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่สมาคมได้วางเอาไว้ เช่นการกำหนดกลไกในการรักษามาตรฐานวิชาชีพการผังเมืองผ่านการประเมินความรู้ทางวิชาชีพการผังเมือง(Assessment of Professional Competence) การให้การศึกษาอบรมเพื่อพัฒนาวิชาชีพการผังเมืองอย่างต่อเนื่อง(Continuing Professional Development)และการออกมาตรฐานทางวิชาชีพเบื้องต้นในลักษณะที่เป็นหลักเกณฑ์ทางวิชาชีพ (SoftLaw) เพื่อให้สมาชิกสมาคมได้ปฏิบัติตาม เป็นต้น

ช่วงที่สอง เมื่อสมาคมการผังเมืองไทยได้มีการจัดกิจกรรมสนับสนุนหรือจัดกลไกรักษามาตรฐานวิชาชีพด้านการผังเมืองและสามารถกำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับวิชาชีพการผังเมืองในระดับประเทศได้แล้ว สมาคมการผังเมืองไทยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับกิจกรรมการผังเมือง อาจผลักดันให้รัฐออกกฎหมายกำหนดมาตรฐานทางวิชาชีพการผังเมือง (Planning Licensing Law & Regulations) เพื่อก่อตั้งสภาวิชาชีพการผังเมืองโดยกฎหมายในอนาคตดังกล่าวให้อำนาจคณะกรรมการสภาวิชาชีพการผังเมืองที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผังเมืองและสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับกิจการการผังเมืองมากำกับดูแลและควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพการผังเมืองไม่ให้กระทำการผิดแผกหรือฝ่าฝืนไปจากกฎหมายกำหนดมาตรฐานวิชาชีพการผังเมืองดังกล่าวนอกจากนี้ กฎหมายในอนาคตดังกล่าวยังอาจให้อำนาจแก่คณะกรรมการสภาวิชาชีพการผังเมืองหรืออนุกรรมการของสภาดังกล่าวในการสอบสวน สรุปข้อเท็จจริงพร้อมความเห็นเเละระดับของการลงโทษแก่ผู้ประกอบวิชาชีพการผังเมืองที่ทำการฝ่าฝืนต่อกฎหมายกำหนดมาตรฐานทางวิชาชีพการผังเมืองรวมไปถึงอำนาจในการออกคำสั่งอนุมัติ อนุญาต ยกเลิกและเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการผังเมืองอันถือเป็นกลไกที่กำหนดให้สภาวิชาชีพการผังเมืองเป็นองค์กรวิชาชีพเอกชนที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐ(specified government-approved professional agency)มาควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพให้ปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมวิชาชีพการผังเมืองที่รัฐได้กำหนดหลักเกณฑ์เอาไว้อนึ่ง ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการผังเมืองย่อมไม่สามารถประกอบวิชาชีพการผังเมืองได้หากฝ่าฝืนกฎหมายกำหนดมาตรฐานวิชาชีพการผังเมือง รัฐอาจกำหนดโทษทางอาญา เช่นจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำคุกและปรับเอาไว้ 




ที่มา : Urban LandInstitute

ในอนาคต ผู้เขียนคาดหวังว่าคณะผู้เชี่ยวชาญการผังเมืองนักวิชาการด้านผังเมืองผู้บริหารงานด้านกายภาพเมืองจากหน่วยงานส่วนกลางและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นรวมไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับกิจกรรมการวางผังเมืองอื่นๆอาจช่วยกันผลักดันสมาคมการผังเมืองไทยให้มีความเข้มแข็งและมีบทบาทในการสร้างคุณูปการต่อวงการวิชาชีพการผังเมืองไทยผ่านการส่งเสริมกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ที่ผู้เขียนเสนอแนะมาในข้างต้น





 

Create Date : 03 ธันวาคม 2556    
Last Update : 3 ธันวาคม 2556 20:35:04 น.
Counter : 1369 Pageviews.  

สัมมนาครั้งสำคัญ ครั้งแรกในประวัติศาสตร์การผังเมืองไทย จากผู้เกี่ยวข้อง 200 ท่านทั่วประเทศ


ครั้งแรกในประวัติศาสตร์การผังเมืองไทย

สำหรับการสัมมนาวิชาการที่มีนักผังเมืองและผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวางผังพัฒนาเมืองจากหน่วยงานต่างๆทั่วทั้งประเทศเข้าร่วมมากถึง 200 คน หลังจากที่วงวิชาการด้านนี้ซบเซาและขาดความสนใจของสาธารณะมาโดยตลอด


สมาคมการผังเมืองไทย หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คณะผู้เชี่ยวชาญการผังเมือง นักวิชาการและผู้บริหารงานด้านกายภาพเมืองจากหน่วยงานส่วนกลางและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ จะนำเอาองค์ความรู้การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนประยุกต์ใช้ในการวางแผนเพื่อการ“ปรับเปลี่ยนเมือง” เพื่อลดปัญหาโลกร้อน ปรับปรุงฟื้นฟูกายภาพเมืองให้ตอบสนองต่อการใช้ทรัพยากรที่ประหยัด คุ้มค่าและมีความยั่งยืน

สมาคมการผังเมืองไทยมีเจตนาที่แน่วแน่ในการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการพัฒนาเมืองตามแนวคิดและทฤษฎีที่เป็นสากลซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วจากเมืองทุกขนาดทั่วโลกว่ามีศักยภาพและเป็นวิธีปฎิบัติที่ดีเพียงพอในการประยุกต์ใช้สำหรับประเทศไทย ดังตัวอย่างการจัดการสัมมนาในครั้งนี้ ซึ่งสมาคมฯ หวังว่านักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องด้านการพัฒนาเมืองจะได้มองเห็นความสำคัญของระบบขนส่งมวลชนและการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนที่มีสมรรถนะอย่างสูงในการเป็นธงนำสำหรับการสร้างเมืองให้ยั่งยืนไปสู่อนาคต เนื่องจากระบบการขนส่งมวลชนและการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนเป็นกลยุทธ์ด้านกายภาพที่มีบทบาทในการสร้างและบังคับให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปทรงเมือง โดยการเปลี่ยนแปลงระบบการสัญจรเชื่อมต่อระหว่างย่านเมืองและภาคจากเดิมที่ใช้ยวดยานที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมาเป็นยวดยานที่ใช้ระบบไฟฟ้าและปรับเปลี่ยนรูปแบบการสัญจรภายในย่านและชุมชนจากการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลมาเป็นการสัญจรด้วยการเดินและการใช้จักรยานซึ่งจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายการเดินทางของภาคครัวเรือนและส่งเสริมสุขภาพ

สำหรับการสัมมนาวิชาการในครั้งต่อไป สมาคมฯ ขอเชิญทุกท่านเตรียมการสำหรับการเข้าร่วมการสัมมนาเชิงลึกเรื่อง การวางผังและออกแบบเมืองตามแนวทางForm-Based Codes ซึ่งนับเป็นกลยุทธ์การปรับปรุงฟื้นฟูเมืองที่ดีและทันสมัยที่สุดของโลกในขณะนี้ พบกันในไตรมาสที่สองของปีหน้า แน่นอน

หมายเหตุ

รายชื่อหน่วยงาน และองค์กรที่สนับสนุน และเข้าร่วมสัมมนา “การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนในประเทศไทย” ในวันที่ 28-29 พฤศจิกายน2556






 

Create Date : 27 พฤศจิกายน 2556    
Last Update : 27 พฤศจิกายน 2556 11:05:07 น.
Counter : 1131 Pageviews.  

โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามโครงข่ายคมนาคมโครงสร้างพื้นฐาน โดยการเคหะแห่งชาติ(กคช.)



โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามโครงข่ายคมนาคมโครงสร้างพื้นฐาน

โดยการเคหะแห่งชาติ(กคช.)

การพัฒนาโครงการรอบพื้นที่สถานีขนส่งมวลชน (Transit OrientedDevelopment : TOD)

หมายเหตุ : หนึ่งในหัวข้อบรรยายในงานสัมมนา “การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งในประเทศไทย” สมาคมการผังเมืองไทย วันที่ 28-29 พฤศจิกายน พ.ศ.2556 ศูนย์การประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร ในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2556 เวลา 15.30– 16.15 น.

โดย นายคำแหง ทองอินทร์ ผอ.กองบริหารโครงการเชิง พาณิชย์ การเคหะแห่งชาติ

แนวทางการพัฒนาโครงการพัฒนาการอยู่อาศัยตามโครงข่ายคมนาคมโครงสร้างขั้นพื้นฐาน

หลักการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้า(Transit Oriented Development: TOD) เป็นการพัฒนาเมืองในรูปแบบที่ให้ความสำคัญกับการเดินเท้าการใช้รถจักรยาน และการใช้ระบบขนส่งสาธารณะเป็นหลักในการเดินทางและเป็นแนวทางของการพัฒนาเมืองที่สนับสนุนการพัฒนาพื้นที่บริเวณจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรของระบบขนส่งสาธารณะให้มีการใช้ประโยชน์อย่างผสมผสานและสามารถเชื่อมโยงส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันโดยใช้การเดินเท้าซึ่งการพัฒนาเมืองตามแนวความคิดนี้มีจุดประสงค์เพื่อเป็นการรวบรวมการเดินทางภายในชุมชนเมืองจนถึงระดับเมืองโดยทั่วไป TOD จะมีศูนย์การพัฒนาอยู่ที่บริเวณสถานีขนส่งมวลชนซึ่งส่งผลให้เกิดรูปทรงของเมืองที่ดีในด้านต่างๆ เช่นมีความหนาแน่นในระดับเหมาะสมกับระบบขนส่งมวลชนและการใช้ที่ดินอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์ใช้สอยอย่างผสมผสานมีสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานของระบบขนส่งอย่างพอเพียงและเกิดกิจกรรมการเชื่อมโยงพื้นที่ของชุมชนเมือง

นอกจากนี้ TOD เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาบริเวณที่พักอาศัยที่ใกล้กับสถานีระบบขนส่งมวลชนหรือบริเวณรอบๆ สถานีซึ่งภายในบริเวณพื้นที่อาจมีเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่แตกต่างกันแต่พยายามสนับสนุนให้ประชาชนได้อาศัยอยู่ในบริเวณจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรเพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังย่านกิจกรรมต่างๆรวมถึงเป็นการประหยัดพลังงานในการเดินทางเช่นกันโดยแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้า หรือ TODจะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาพื้นที่ใหม่ หรือชุมชนใหม่ๆและเป็นการพัฒนาในแนวราบซึ่งต้องใช้พื้นที่ในการพัฒนา เน้นการสร้างระบบโครงข่ายการสัญจรให้มีความสามารถในการเข้าถึงที่ดี(Calthope, 1993)

โปรดติดตามการบรรยายรายละเอียดพร้อม80 สไลด์ในงานสัมมนา ในงานสัมมนา การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งในประเทศไทย สมาคมการผังเมืองไทย วันที่ 28-29พฤศจิกายน พ.ศ.2556 ศูนย์การประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร ในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2556 เวลา 15.30 – 16.15 น. โดย นายคำแหง ทองอินทร์ ผอ.กองบริหารโครงการเชิงพาณิชย์ การเคหะแห่งชาติ












 

Create Date : 22 พฤศจิกายน 2556    
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2556 14:20:06 น.
Counter : 1471 Pageviews.  

สร้างแรงจูงใจผู้ประกอบการ ปราการป้องกันชุมชนจากตึกสูง โดย อ.ฐาปนา บุณยประวิตร ผชช.ด้านผังเมือง




บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมายของ ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการผังเมือง อ.ฐาปนา บุณยประวิตร บน Facebook //www.facebook.com/SmartGrowthThailand ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิดข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับเพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคตที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่าง ก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน

เกริ่นนำ

บทความด้านล่างต่อไปนี้ เป็น “บทสัมภาษณ์ อ.ฐาปนา บุณยประวิตร อุปนายกสมาคมการผังเมืองไทย

ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมืองในหน้าคอลัมส์”กรีน รีพอร์ต” น.ส.พ.กรุงเทพธุรกิจรายวันฉบับลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2556”

ทีมงาน (สมาคมการผังเมืองและ Smart Growth Thailand) ขอขอบพระคุณ น.ส.พ.กรุงเทพธุรกิจ มา ณ ที่นี้ที่ช่วยเผยแพร่องค์ความรู้ เกี่ยวกับการจัดการเมืองซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่เกี่ยวข้อง ไม่มากก็น้อยครับ





เครดิตน.ส.พ.กรุงเทพธุรกิจรายวัน ฉบับลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2556

หน้าคอลัมส์“กรีน รีพอร์ต”

ประชากรเพิ่ม พื้นที่ว่างเปล่าน้อยลง เมืองขยายรถไฟฟ้าสายต่างๆ กระจายทั่วกรุงเทพ และโครงการรถไฟความเร็วสูง รวมถึงการที่ไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียน เหล่านี้เป็นปัจจัยหนุนเสริมให้อาคารสูงทั้งอาคารสำนักงาน และคอนโดมิเนียมผุดขึ้นราวดอกเห็ด ผลที่ตามมาคือการเบียดบังความเป็นอยู่ของชุมชนดั้งเดิม หรือกระทบต่อสถานที่อนุรักษ์



สำนักงานและอาคารสูงตามแนวรถไฟฟ้า

เครดิตภาพ //thailandrealestateforsale.blogspot.com/2013/09/54.html

ฐาปนา บุณยประวิตร อุปนายกสมาคมการผังเมืองไทย จากการประมวลคร่าวๆพบว่าในชุมชนที่ตั้งอยู่บริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าและบริเวณสองฝั่งถนนตามแนวรถไฟฟ้า มีตึกสูงแผ่ขยายเข้าไปมากขึ้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นไปตามปกติที่พื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าและบริเวณสองข้างทางรางรถไฟฟ้าจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าบริเวณอื่นๆซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกับหัวเมืองขนาดกลางและขนาดใหญ่จากทั่วโลก

กรณีของไทยหรือของกรุงเทพมหานคร จะเห็นได้ว่าตึกสูงได้กระจายไปทั่วทุกทิศทางทั้งบริเวณรอบสถานีและในพื้นที่ย่านชานเมือง ทั้งในพื้นที่หนาแน่นมากและหนาแน่นต่ำ ทั้งที่ตั้งอยู่เป็นกลุ่มและที่ตั้งกระจัดกระจายก้าวกระโดดออกจากเนื้อเมือง ภาษาทางผังเมืองเรียกปรากฎการณ์ลักษณะนี้ว่า Skyscraper Sprawl ซึ่งถือว่าไม่มีความเหมาะสมเนื่องจากตัวตึกสูงไม่มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมตัวตึกสูงอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านต่างๆ ต่อชุมชนและพื้นที่โดยรอบ ที่เห็นได้ชัดเริ่มตั้งแต่การก่อสร้างซึ่งมีการนำแรงงานและวัสดุจากภายนอกเข้ามายังพื้นที่ ได้สร้างมลภาวะและมลทัศน์แก่ชุมชน และเมื่ออาคารเปิดใช้แล้ว ปริมาณของผู้ใช้อาคารก็จะสร้างปัญหาระบบการสัญจรและสร้างมลภาวะซึ่งชุมชนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ลักษณะดังกล่าวแตกต่างจากการกระชับของตึกสูงในย่านพาณิชยกรรมที่ตัวตึกตั้งอยู่ในลักษณะเกาะกลุ่มกัน มีแผ่ขยายต่อเนื่องเป็นย่านของตึกสูง ตัวตึกมีความสัมพันธ์กันในเชิงสภาพแวดล้อมซึ่งไม่นับว่าเป็นSkyscraper Sprawl 




เครดิตน.ส.พ.กรุงเทพธุรกิจรายวัน ฉบับลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2556

หน้าคอลัมส์“กรีน รีพอร์ต”

ฐาปนา อธิบายในเชิงทฤษฎีว่า ในเชิงทฤษฎี การเติบโตอย่างชาญฉลาดหรือ Smart Growth ไม่ได้ห้ามการสร้างตึกสูง โดยบางพื้นที่ยังได้สนับสนุนให้เกิดการแผ่ขยายตัวตึกสูงด้วยซ้ำไปอันนี้เป็นไปตามเกณฑ์ออกแบบการกระชับอาคารหรือ Compact BuildingDesign ที่สนับสนุนให้มีการขยายตัวอาคารในแนวตั้งและห้ามการขยายตัวของอาคารในแนวราบเนื่องจากจะมีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่มีความคุ้มค่าไม่มีความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจและมูลค่าทรัพย์สินในพื้นที่นั้นๆ

ตัวอย่างเมืองที่ใช้แนวคิดการเติบโตอย่างชาญฉลาดในการส่งเสริมการขยายตัวของตึกสูงในแนวตั้งได้แก่นครนิวยอร์คของนายกเทศมนตรี Michael Bloomberg ซึ่งได้จัดทำนโยบายการเพิ่มความสูงอาคารและการส่งสริมการขยายตัวของตึกสูง หากเจ้าของแปลงที่ดินหรือผู้ประกอบการลงทุนสร้างตึกสูงตามพื้นที่ที่กำหนดและตามข้อกำหนดการออกแบบสถาปัตยกรรมผังเมือง ผู้ลงทุนเหล่านั้นจะได้รับ densitybonus ประเภทต่างๆ เช่น การลดภาษี การเพิ่ม FAR หรือการเพิ่มขนาดมวลอาคารและความสูง รวมทั้งผลตอบแทนด้านต่างๆ หรือในกรณีของเมืองพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอนหรือเมืองซีแอตเติ้ล รัฐวอชิงตัน หากเจ้าของแปลงที่ดินที่ลงทุนสร้างตึกสูงตามแนวถนนหรือในย่านพาณิชยกรรมที่เมืองได้กำหนดไว้ ผู้ลงทุนเหล่านั้นก็จะได้รับ bonus ประเภทต่างๆ เช่นเดียวกับของนครนิวยอร์ค





เครดิตภาพ//cincystreetcar.wordpress.com/2010/01/29/now%E2%80%99s-the-time-to-build-the-cincinnati-streetcar/






อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าในทุกพื้นที่จะสามารถก่อสร้างตึกสูงได้ตามใจชอบเนื่องจากการเติบโตอย่างชาญฉลาดและ LEEDND ยังได้กำหนดเกณฑ์ให้ผู้ออกแบบและผู้ประกอบการคำนึงถึงตำแหน่งที่ตั้งที่มีความเหมาะสมและกำหนดพื้นที่ห้ามก่อสร้างไว้เช่นกัน

เกณฑ์ดังกล่าวได้แก่ การห้ามสร้างตึกสูงในย่านชุมชนดั้งเดิม หรือในเขตโบราณสถานหรือเป็นที่ตั้งของอาคารสำคัญทางสถาปัตยกรรมซึ่งจะทำให้ลดคุณค่าของพื้นที่หรืออาคารและรบกวนทัศนียภาพพื้นที่ภูมิทัศน์ประวัติศาสตร์ซึ่งมีความสำคัญในฐานะอัตลักษณ์และความรู้สึกของประชาชน

นอกจากนั้นยังห้ามสร้างตึกสูงในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดทางด้านกายภาพเช่นตำแหน่งที่ตั้งเคยมีประวัติการไหลบ่าของน้ำหรือการเป็นสถานที่มีข้อจำกัดด้านการสัญจร และที่สำคัญหากเป็นอาคารสาธารณะที่มีผู้ใช้ประโยชน์เป็นจำนวนมากจำเป็นจะต้องคำนึงปัจจัยความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคและระบบการเชื่อมต่อการสัญจรซึ่งต้องไม่ไปเพิ่มปัญหาให้กับพื้นที่หรือชุมชนที่อยู่อาศัยอยู่ก่อนแล้ว

จากการศึกษาลักษณะแผ่ขยายของอาคารสูงในพื้นที่ชุมชนดั้งเดิมและในพื้นที่ประวัติศาสตร์ ผมมีความเป็นห่วงพื้นที่ชุมชนประวัติศาสตร์ในหัวเมืองขนาดกลางและขนาดใหญ่ของไทยที่ตั้งอยู่ในโครงการพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจใหม่ของรัฐบาลซึ่งได้แก่ศูนย์เศรษฐกิจโดยรอบพื้นที่สถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงเช่น พื้นที่เมืองเก่าของจังหวัดเชียงใหม่ ย่านการค้าดั้งเดิมของจังหวัดพิษณุโลกกำแพงเพชรและในอีกหลายเมืองซึ่งพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเป้าหมายการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเข้มข้น ซึ่งมีโอกาสอย่างสูงที่จะมีการแผ่ขยายของตึกสูงเข้าไปยังพื้นที่ในอนาคต โดยที่ปัจจุบันทุกเมืองที่กล่าวถึงไม่อยู่ในฐานะที่จะสามารถจัดการกับปัญหาการแผ่ขยายของตึกสูงได้

ปัญหาอีกประการ มาจากภาครัฐของไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองยังขาดองค์ความรู้ที่ทันสมัยในการวางผังและบริหารจัดการเมือง

ตัวอย่างนครแวนคูเวอร์ของประเทศแคนาดาเมืองนี้ใช้เกณฑ์ทุกข้อของการเติบโตอย่างชาญฉลาดในการวางแผนยุทธศาสตร์และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน หลายท่านคงจะเคยได้ยินชื่อ Vancouver Greenest City ชื่อนี้เกิดจากความพยายามร่วมกันของคณะผู้บริหารเมืองกับผู้ประกอบการและประชาชนที่ออกแบบข้อตกลงร่วมเพื่อสร้างเมืองเขียวที่ไม่ทำลายสภาพแวดล้อมอาจกล่าวได้ว่า แวนคูเวอร์เป็นเมืองต้นๆของโลกที่นำความสำคัญของปัญหาสภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกบรรจุไว้ในวิสัยทัศน์และแผนยุทธศาสตร์เมือง



บทความเดิม“เกณฑ์และแนวทางการออกแบบเมืองเขียว เหมาะสำหรับผู้บริหารเมืองนักผังเมือง และสถาปนิก”

ตามลิ้งก์//www.oknation.net/blog/smartgrowth/2012/12/13/entry-1


“ในการตัดสินใจแผนงานโครงการที่จะลงทุนหรือจะขยาย สิ่งแรกที่จะต้องพิจารณาคือ แผนงานและโครงการนั้นๆ ได้มีผลกระทบเชิงลบต่อสภาพสิ่งแวดล้อมหรือไม่” ผมคิดว่าข้อตกลงนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการก้าวเดินของกระบวนการใช้ทรัพยากรและการพัฒนาเมือง ซึ่งเมื่อทุกภาคส่วนนำเอาปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปเป็นประเด็นในการพิจารณาในเบื้องต้นแล้ว โอกาสในการทำลายล้างหรือสร้างผลกระทบให้กับสิ่งแวดล้อมก็จะลดลง

ดังนั้นหลังจากการประกาศใช้แผนปฏิบัติการ GreenestCity ในปี ค.ศ.2009 แวนคูเวอร์ได้เป็นประเทศแรกของโลกที่ประกาศใช้เกณฑ์อาคารเขียวสำหรับอาคารที่จะก่อสร้างใหม่และนับตั้งแต่ปี ค.ศ.2020 เป็นต้นไป แวนคูเวอร์ได้กำหนดเป้าหมายไว้ว่าทุกอาคารในเขตเมืองไม่ว่าจะเป็นอาคารเก่าหรืออาคารสร้างใหม่จะต้องเป็นอาคารเขียวเท่านั้น

สำหรับประเทศไทย การแผ่ขยายของสถาปัตยกรรมสีเขียวตามคอนเซ็ปที่แท้จริงมีไม่มากนัก เขา ประเมินว่าเป็นเพราะการออกแบสถาปัตยกรรมสีเขียว รวมถึงการออกแบบอาคารเขียวตลอดจนการก่อสร้างอาคารเขียว มีต้นทุนที่สูง ผู้ประกอบการต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับผู้ออกแบบและผู้รับรองมาตรฐานอาคารเขียวหลายชั้นหลายขั้นตอน ไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษาในการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนี้ทำให้ผู้ประกอบการมองเห็นว่าอาจไม่คุ้มค่ากับการลงทุนแม้จะออกแบบหรือก่อสร้างเป็นอาคารเขียวให้ได้ในระดับแรกหรือระดับ Certified ก็ตาม

ขณะที่แวนคูเวอร์มีการสร้างกระบวนการให้ความรู้ และถ่ายทอดข้อมูล แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่องและส่งเสริมผู้ประกอบการให้ลงทุนและปรับปรุงฟื้นฟูกิจการให้อยู่ในกลุ่มธุรกิจสีเขียวซึ่งจะทำให้มูลค่าเพิ่มสูงในระยะยาว และยังได้รับผลตอบแทนส่วนหนึ่งจากรัฐ

ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการออกแบบหรือกระบวนการผลิตวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างจะได้รับการสนับสนุนตั้งแต่แรกเริ่มทำให้ต้นทุนมีราคาถูกลงและเมื่อประกอบกันเข้าเป็นผลิตภัณฑ์ราคาโดยรวมจึงอยู่ในภาวะที่ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงหรือสามารถซื้อหาได้ จะเห็นได้ว่า กลุ่มธุรกิจสีเขียวแทบจะไม่ต้องทำซีเอสอาร์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้สิ้นเปลืองงบประมาณแต่อย่างใด




สมาคมการผังเมืองไทยโดยได้รับการสนับสนุนจาก กรมโยธาธิการและผังเมือง และ Smart Growth Thailand ขอเชิญร่วมการสัมมนาทางวิชาการ “การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนในประเทศไทย”

รายละเอียดการลงทะเบียนและค่าใช้จ่าย ตามลิ้งก์นี้เลยครับ

//www.oknation.net/blog/smartgrowth/2013/11/06/entry-1








 

Create Date : 14 พฤศจิกายน 2556    
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2556 16:24:16 น.
Counter : 1557 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.