ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ไอเดียทะลุโลก!! (ไม่น่ายาก สำหรับบ้านเรา) เติมงานศิลปะบนผนังอาคารริมทาง สร้างมูลค่าเพิ่มได้ น่ะ!! จะบอกให้ !!

ใช้ "ศิลปะ"เพิ่มมูลค่าของ "ย่าน" ทำให้น่าเดิน น่ามอง...เค้าทำกันจริงทางที่เดินผ่านจึงเพลินตา ดู "เนี๊ยบ เฉียบขาด" จริงๆ...

พอดีไปเห็นภาพการสร้างเติมศิลปะดังกล่าวรู้สึกเข้าท่าครับ ก็เลยมานำเสนอ แต่มีไม่กี่ภาพในลิ้งก์นี้ส่วนบทความในเนื้อเรื่องนี้ก็ไม่มีมากมายครับ...เพียงแต่ชอบแล้วนำมาเสนอต่อกันครับ....เพราะดูย่านเหล่านี้ล้วนเพิ่มชีวิตชีวาด้วยสีสันต์แห่งศิลปะครับ


credit : Smart Growth Thailand https://www.facebook.com/SmartGrowthThailand

copy//Next American City สื่อในเครือ CNU นำท่านชมภาพ slideshow งานศิลปะบนผนังอาคารริมทางลองพิจารณาครับว่า เมื่อเติมงานศิลปะฝีมือจากเหล่าศิลปินแล้วถนนเส้นนั้นจะมีชีวิตชีวาสามารถดึงดูดหรือเพิ่มขยายการลงทุนให้เกิดขึ้นตามความคาดหวังของเมืองได้หรือไม่;//americancity.org/daily/entry/co-opting-guerilla-art-for-good
















 

Create Date : 22 พฤษภาคม 2555    
Last Update : 22 พฤษภาคม 2555 23:04:50 น.
Counter : 2081 Pageviews.  

ภัยพิบัติ เกิดกันบ่อยมาก แนวทางการวางผังเมืองจะช่วยลดผลกระทบจากภัยพิบัติ จริงหรือเปล่า? ลองอ่านบทความนี้กันก่อน แล้วช่วยกันทำ



ภัยพิบัติ เกิดกันบ่อยมาก แนวทางการวางผังเมืองจะช่วยลดผลกระทบจากภัยพิบัติจริงหรือเปล่า? ลองอ่านบทความนี้กันก่อนแล้วช่วยกันทำให้เกิดรูปธรรม...

บทความ : แนวทางการวางผังกายภาพเมืองเพื่อลดผลกระทบจากภัยพิบัติตอนที่ 1

โดย ฐาปนา บุณยประวิตร

asiamuseums@hotmail.com/

//www.asiamuseum.co.th/

บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมาย ของ นักวิชาการผังเมือง อ.ฐาปนาบุณยประวิตร ซึ่งผมรู้จักผ่านทาง https://www.facebook.com/SmartGrowthThailand ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด(Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับเพราะตั้งใจจะนำข้อคิด ข้อเขียนของ อาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์ และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ(เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคตที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่างก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน……

..................................................................................................

บทนำ

ภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่กำลังเกิดขึ้นเป็นต้นเหตุให้เกิดภัยพิบัติหลากหลายชนิด และแนวโน้มจะมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันกลุ่มประเทศตะวันตกได้ตื่นตัวคิดค้นวิธีการแก้ไขปัญหาและพยายามลดสาเหตุของโลกร้อนด้วยการปรับปรุงกายภาพเมืองให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนอกจากนั้นยังได้แสวงหาวิธีการเพิ่มศักยภาพของกายภาพเมืองเพื่อให้มีความสามารถในการปกป้องตัวเองจากภัยพิบัติ สำหรับประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียนแม้จะมีการกล่าวถึงปัญหานี้อยู่มาก แต่ยังมองไม่เห็นความพยายามอย่างจริงจังในการลดสาเหตของปัญหา รวมทั้งยังไม่พบภาพร่างแนวทางที่มีศักยภาพในการปรับปรุงกายภาพเมืองให้รองรับต่อภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นทางเลือกในการปรับปรุงผังกายภาพในการลดผลกระทบจากภัยพิบัติ วันนี้จึงขอนำบางเกณฑ์และบางกลยุทธ์จากแนวคิดการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) และแนวคิดลัทธิชุมชนเมืองยุคใหม่ (New Urbanism หรือCNU) แสดงให้เห็นโอกาสในการบรรเทาปัญหาและนำเสนอแนวทางเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณาต่อไป

ภาพน้ำท่วมกรุงเทพมหานครปี พ.ศ.2554

ที่มา:หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

การปรับปรุงกายภาพเมืองเพื่อลดผลกระทบจากภัยพิบัติ แบ่งเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงแรกเป็นการวางแผนการปรับปรุงกายเมืองก่อนการเกิดภัยพิบัติ (Pre-Disaster) และช่วงที่สองการปรับปรุงกายภาพเมืองหลังเกิดภัยพิบัติ (Post-Disaster) โดยแนวทางการปรับปรุงกายภาพก่อนการเกิดภัยพิบัติซึ่งจะกล่าวในบทความตอนที่1 นั้น ประกอบด้วยสาระสำคัญ 4 เรื่องได้แก่

1) การวางแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างทางกายภาพ

2) การวางแผนปรับปรุงการใช้ประโยชน์ที่ดิน

3) การสร้างข้อกำหนดกายภาพเมืองตามแนวทาง Form-BasedCode และ

4) การวางแผนด้านที่อยู่อาศัย (U.S. Department of Housing and Urban Development, 2012) รายละเอียดสรุปได้ดังนี้

การวางแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างทางกายภาพ

CNU ได้พัฒนา TheTransact ขึ้นเพื่อให้นักผังเมืองแบ่งส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ออกเป็น6 ส่วนโดยกำหนดให้พื้นที่ธรรมชาติ (T1) และพื้นที่เกษตรกรรม(T2) เป็นพื้นที่สงวนรักษาส่วนพื้นที่ตั้งแต่ย่านชานเมือง (T3) พื้นที่พาณิชยกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัย (T4) พื้นที่พาณิชยกรรมใจกลางเมือง (T5) และพื้นที่ใจกลางเมือง (T6) เป็นพื้นที่อนุญาตให้พัฒนา ทั้งนี้ความเข้มข้นในการสงวนรักษาและพัฒนาในแต่ละบริเวณขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่ ส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ที่กล่าวถึงนี้รัฐต้องนำไปเป็นข้อกำหนดในผังเมืองรวมด้วยการกำหนดขอบเขตพื้นที่แต่ละบริเวณให้เด่นชัดห้ามการรุกล้ำพื้นที่ในเขต T1 และ T2 เนื่องจากจะเกิดสภาพขาดความสมดุล สำหรับเกณฑ์การสงวนรักษาพื้นที่ของการเติบโตอย่างชาญฉลาดนั้น ได้กำหนดนโยบายไว้อย่างเด่นชัดในการอนุรักษ์พื้นที่ T1 ตลอดจนการสงวนรักษาและการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่ T2 ซึ่งเน้นการสร้างระบบการจัดการพื้นที่ธรรมชาติพื้นที่เกษตรกรรม ที่โล่ง แหล่งน้ำ ปาชายเลนหรือชายหาดซึ่งมีความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อให้พื้นที่คงความอุดมสมบูรณ์เป็นพื้นที่กันชนและสามารถรองรับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ภาพตัวอย่างการแบ่งส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์(The Transact) ของชุมชนบ่อผุด อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ที่มา: บริษัทพิพิธภัณฑ์เอเซีย จำกัด

สำหรับพื้นที่เมืองแม้จะมีบทบาทด้านการอนุรักษ์น้อยกว่าพื้นที่ธรรมชาติและการเกษตรแต่เมืองยังมีภารกิจในการดูแลรักษาโครงข่ายทางธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลองหรือพื้นที่รองรับน้ำที่ตั้งในเขตเมืองให้มีความสมบูรณ์และเชื่อมต่อกับเส้นสายทางธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญ เมืองควรสร้างระบบการจัดการเพื่อขจัดปัญหาการรุกล้ำซึ่งกันและกันของโครงข่ายทางกายภาพเช่น การรุกล้ำทางน้ำโดยโครงข่ายถนน ทางรถไฟ และสาธารณูปโภค หรือการตั้งถิ่นฐานของประชาชนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

ดังนั้น ยุทธศาสตร์โครงสร้างทางกายภาพที่รัฐต้องระบุในแผนยุทธศาสตร์ จึงได้แก่ 1) การคงความสมบูรณ์ของโครงสร้างทางกายภาพของพื้นที่ทั้งสองบริเวณ 2) การคงความสมบูรณ์ของแหล่งผลิตอาหารและน้ำสะอาดที่ใช้ได้ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ 3) การสร้างข้อกำหนดในกฎหมายผังเมืองและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการปกป้องพื้นที่ธรรมชาติและโครงข่ายให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ตลอดเวลาและ 4) กำหนดให้พื้นที่ทั้งสองเป็นหน่วยสนับสนุนซึ่งกันและกันในภาวะวิกฤติภัยพิบัติ

การวางแผนปรับปรุงการใช้ประโยชน์ที่ดิน

กลยุทธ์การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อบรรเทาภัยพิบัติตามแนวคิดการเติบโตอย่างชาญฉลาด(U.S. EnvironmentalProtection Agency, 2011) มีดังนี้

ภาพตัวอย่างผังการใช้ประโยชน์ที่ดินของชุมชนละไมอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ที่มา: บริษัทพิพิธภัณฑ์เอเซีย จำกัด

การส่งเสริมความหนาแน่น

แนวคิดทั้งสองมีเกณฑ์สอดคล้องกันในการส่งเสริมให้เกิดความหนาแน่นในเขตเมือง ใจกลางย่านในเขตต่อเมืองและเขตชานเมืองโดยพื้นที่ศูนย์ชุมชนต้องมีกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่เข้มข้นห้ามการกระจัดกระจายของเมืองหรือชุมชนไปยังพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ธรรมชาติหรือพื้นที่รองรับน้ำ

ภาพการส่งเสริมความหนาแน่นภายในใจกลางย่านธุรกิจของนิวยอร์ค

ที่มา: New York Architecture, 2010

การกำหนดขอบเขตเมืองหรือชุมชน

เมืองหรือชุมชนจึงต้องมีขอบเขตที่ชัดเจน สามารถแยกขอบเขตของแต่ละย่านหรือชุมชนออกจากกันได้หรือแยกขอบเขตชุมชนออกจากพื้นที่การเกษตรหรือพื้นที่ธรรมชาติ ในทางทฤษฏีขอบเขตที่เหมาะสมของศูนย์ชุมชนซึ่งจะเกิดความสะดวกในการจัดการภาวะวิกฤติไม่ควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางเกินกว่า1กิโลเมตร อย่างไรก็ตามในทางปฎิบัติขอบเขตชุมชนอาจจะขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศหรือความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ในการจัดการก็ได้ สำหรับการจัดการในภาวะวิกฤติจะใช้พื้นที่ขอบเขตเมืองหรือชุมชนที่ได้รับการวางผังแล้วเป็นพื้นที่เป้าหมายพื้นที่นอกเหนือจากนี้แม้จะอยู่ในภาวะเสี่ยงก็จะถูกจัดความสำคัญในอันดับรอง

ภาพตัวอย่างการกำหนดศูนย์ชุมชนตามแนวทางการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน(Samui TOD)

ที่มา : บริษัทพิพิธภัณฑ์เอเซีย จำกัด

การใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสม

ภายในพื้นที่ศูนย์ชุมชนต้องจัดให้มีกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน โดยมีหน่วยบริการสำคัญๆ เช่น ตลาดสดร้านค้าปลีก สถานีขนส่ง โรงเรียน หรือสถาบันการศึกษา วัด โบสถ์หรือมัสยิดผสมผสานและล้อมรอบด้วยที่พักอาศัย ฯลฯเหตุที่ต้องผสมผสานกิจกรรมเพราะต้องการให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้พื้นที่และต้องการให้ศูนย์ชุมชนเป็นหน่วยหนึ่งของเศรษฐกิจที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ในภาวะวิกฤติเป็นสถานที่สร้างงานสร้างรายได้แก่ประชาชน

ภาพการใช้ที่ดินแบบผสมผสานของย่านBrooklyn นิวยอร์ค

ที่มา : Brooklyn Daily Eagle, 2010

การกระชับกลุ่มอาคารในศูนย์กลางชุมชน

ผังเมืองและข้อกำหนดท้องถิ่นต้องอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารในแนวสูงในลักษณะกลุ่มอาคารได้เพื่อเพิ่มมูลค่าที่ดินและทรัพย์สินทั้งยังก่อให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้ที่ดินโดยกลุ่มอาคารดังกล่าวต้องออกแบบให้เชื่อมต่อกันกับพื้นที่สาธารณะ สถานีขนส่ง ตลาด ย่านพาณิชยกรรมและโรงพยาบาลหรือศูนย์สาธารณสุข ฯลฯ กลุ่มอาคารแบบกระชับภายในใจกลางเมืองซึ่งผสมผสานกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการพักอาศัยจะทำให้สมาชิกในชุมชนพึ่งพาตนเองได้ในภาวะวิกฤติ

ภาพแสดงการกระชับกลุ่มอาคารและส่งเสริมอาคารแนวสูงบริเวณใจกลางชุมชน

ที่มา: .U.S.EPA, Smart Growth National Award, 2009

การสร้างกายภาพทางเดินให้เชื่อมต่อกัน

การเติบโตอย่างชาญฉลาดให้การส่งเสริมการเชื่อมต่อระหว่างอาคารและบล๊อกที่ดินด้วยโครงข่ายทางเดินที่มีความสมบูรณ์ ในภาวะวิกฤติที่ขาดแคลนน้ำมันและไฟฟ้าโครงข่ายทางเดินจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการสัญจรและการเชื่อมต่อกับสถานที่ต่างๆบางแนวคิดการพัฒนาเมืองได้ใช้ความสมบูรณ์ของโครงข่ายทางเดินในเมืองเป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จของการวางผังและเป็นเครื่องบ่งชี้ประสิทธิภาพในการจัดการช่วงภาวะวิกฤติ

ภาพทางเดินขนาดใหญ่ (Pedestrian Mall) ถูกวางแผนให้เชื่อมต่อเป็นโครงข่ายในย่านการค้าใจกลางกรุงHelsinki

ที่มา: Distraction, Reflections, 2011

การสร้างข้อกำหนดกายภาพเมืองตามแนวทาง Form-Based Code

รัฐต้องสนับสนุนให้ชุมชนและนักผังเมืองร่วมกันออกแบบกายภาพเมืองและจัดทำข้อกำหนดรายละเอียดการพัฒนากายภาพเมืองหรือForm-Based Code-FBCs ที่ลงลึกถึงประเภท รูปทรงและขนาดของมวลอาคาร ซึ่งนอกจากประชาชนจะมองเห็นภาพร่างทัศนียภาพและสภาพแวดล้อมของชุมชนในอนาคตได้แล้ว นักผังเมืองหรือนักออกแบบชุมชนเมืองยังสามารถนำเอารูปแบบด้านกายภาพไปจัดทำแบบจำลองภาวะวิกฤติกรณีเกิดภัยพิบัติเช่น การทำแบบจำลองสภาวะน้ำท่วม (Flood Simulation) ได้อีกด้วย ซึ่งข้อมูลที่ได้อาจนำไปปรับปรุง FBCs ให้มีความสมบูรณ์สอดคล้องกับการบรรเทาปัญหาภัยพิบัติมากยิ่งขึ้น

ภาพจำลองสถานการณ์น้ำท่วมในกรุงบริสเบลออสเตรเลีย

ที่มา : www.aamgroup.com

การวางแผนด้านที่อยู่อาศัย

U.S. Department of Housing and Urban Development ได้กำหนดกลยุทธ์การวางแผนที่อยู่อาศัยก่อนเกิดภัยพิบัติไว้3 ขั้นตอนคือ 1) การเลือกรูปแบบและสถานะของที่อยู่อาศัยได้แก่ การศึกษาเพื่อหารูปแบบบ้าน ประเภทวัสดุและเทคนิคการก่อสร้างที่เหมาะสมกับสภาพของภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 2) การประมาณราคาความสูญเสียของที่อยู่อาศัยได้แก่ การประมาณความเสียหายที่อาจเกิดจากภัยพิบัติซึ่งให้คาดการณ์ตามแบบจำลองที่สร้างขึ้น โดยกำหนดระดับความสูญเสียไว้ 3 ระดับคือ มาก ปานกลาง และน้อย ทั้งนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบในท้องถิ่นต้องเตรียมความพร้อมด้านงบประมาณเพื่อรองรับหากเกิดปัญหาขึ้น 3) ทรัพยากรและระบบการผลิตวัสดุอุปกรณ์หลังภัยพิบัติ ได้แก่การเตรียมการจัดหาวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์หลังภัยพิบัติเหตุที่ต้องศึกษาและจัดเตรียมแนวทางการผลิตวัสดุอุปกรณ์ไว้ก่อนเนื่องจากหากวิกฤติการณ์เกิดขึ้นในวงกว้าง ท้องถิ่นอาจไม่สามารถจัดหาวัสดุและอุปกรณ์มาใช้ได้หรือราคาของวัสดุอุปกรณ์อาจจะสูงกว่างบประมาณที่มีอยู่ ดังนั้น การเตรียมการวางแผนการจัดหาไว้ก่อนจึงมีความจำเป็น

ภาพน้ำท่วมที่พักอาศัยบริเวณถนนจรัลสนิทวงศ์กรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ.2554

ที่มา : Baan BangAor Coffee, 2554

สรุป

แม้การวางผังทางกายภาพเมืองจะไม่สามารถหยุดยั้งความเสียหายทั้งหมดที่เกิดจากภัยพิบัติได้ทั้งหมดแต่การเตรียมการด้านกายภาพไว้ก่อนอาจช่วยบรรเทาและลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้ ในบทความตอนต่อไปจะกล่าวลงลึกในรายละเอียดโดยจะชี้ให้เห็นวิธีการปรับปรุงฟื้นฟูกายภาพจำแนกตามประเภทของภัยพิบัติ ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านมีความเข้าใจประโยชน์ที่ได้จากการวางผังทางกายภาพมากยี่งขึ้น

ชมวีดีโอ 


เอกสารอ้างอิง

U.S. Environmental Protection Agency, Planning for Disaster Debris,Available from;

//www.epa.gov/osw/conserve/rrr/imr/cdm/pubs/disaster.htm, May 13,2012

U.S. Department of Housing and Urban Development, Pre-Disaster Planningfor Permanent Housing Recovery, Available from:www.huduser.org/portal/publications/Pre_DisasterPlanningVol1.pdf., May 13, 2012

ท่านใดสนใจแนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด)เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebookนี้ครับ https://www.facebook.com/SmartGrowthThailand

อ่านเนื้อเรื่อง “ย้อนหลัง”ลิ้งก์ตามที่อยู่ด้านล่างนี้ (เพื่อจะได้รับทราบข้อมูล “ผังเมือง” ในระดับโลก เค้าไปถึงไหนกันแล้ว //www.oknation.net/blog/smartgrowth




 

Create Date : 17 พฤษภาคม 2555    
Last Update : 9 ตุลาคม 2555 19:43:17 น.
Counter : 3187 Pageviews.  

สิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนอย่างเราควรได้รับจากนโยบายสาธารณะ : กายภาพเมืองที่ดี แบบเค้า มีมั้ย? หรือจะสไตล์แบบไทยๆ ยังไงก็ได้

บทความเรื่อง : กายภาพเมืองที่ดี :สิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนควรได้รับจากนโยบายสาธารณะ

โดยฐาปนา บุณยประวิตร

asiamuseums@hotmail.com/

//www.asiamuseum.co.th

บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมาย ของ นักวิชาการผังเมืองอ.ฐาปนา บุณยประวิตร ซึ่งผมรู้จักผ่านทาง Facebook//www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด(Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับเพราะตั้งใจจะนำข้อคิด ข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์ และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียนโดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย CaseStudy ครับ (เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆเกี่ยวกับผังเมืองในอนาคต ที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาลและแน่นอนทีเดียวหลายอย่าง ก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน……

..................................................................................................

บทความเรื่อง : กายภาพเมืองที่ดี: สิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนควรได้รับจากนโยบายสาธารณะ

โดย ฐาปนาบุณยประวิตร

บทนำ

ช่วงสองสัปดาห์นี้ สมาชิก Smart Growth ASIA (SGA) 2ท่านได้ขอให้ผมวิเคราะห์ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร เข้าใจว่าหนึ่งในนั้นทราบว่าผมได้เคยทำวิจัยเรื่องผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครมาก่อน ผมได้ตอบปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่า ผังเมืองรวมตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518ไม่ได้มีเป้าหมายในการกำหนดแนวทางการจัดทำนโยบายสาธารณะเช่นเดียวกับต่างประเทศ และหลายๆบทบัญญัติไม่ได้ถูกกำหนดขึ้นจากแนวคิดหรือทฤษฎีการพัฒนาเมือง อีกทั้งยังระบุสาระสำคัญไว้ไม่ครบถ้วน ดังเช่น ที่มาของผัง หรือประเภทของผังที่จำเป็นต้องใช้ นอกจากนี้ยังขาดผังที่เป็นสาระสำคัญ เช่น ผังการพัฒนาเศรษฐกิจ ผังการพัฒนาที่อยู่อาศัย ผังการปรับปรุงฟื้นฟูเมือง และผังการอนุรักษ์พื้นที่การเกษตร แหล่งอาหาร และทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบริษัทที่ปรึกษาขาดเครื่องมือในการกำหนดรายละเอียดด้านยุทธศาสตร์ รวมทั้งแนวทางการพัฒนาเมืองที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง ถึงแม้ผมจะวิพากษ์ก็ไม่น่าจะเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม อย่างไรก็ตาม เพื่อตอบสนองความต้องการสมาชิก SGA วันนี้ผมจึงนำเรื่องสิทธิ์ขั้นพื้นฐานที่ประชาชนควรได้รับจากนโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากนโยบายการพัฒนากายภาพเมืองที่ดีมาทดแทน



ภาพแสดงความคาดหวังของประชาชนในการได้รับสิ่งที่ดีจากกายภาพเมืองซึ่งมาจากนโยบายสาธารณะ

ที่มา : Project for Public Spaces


ระดับของนโยบายสาธารณะ

ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา นโยบายสาธารณะของหลายๆประเทศได้ลงลึกไปถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่กำหนดผลประโยชน์ที่ประชาชนควรได้รับจาก "กายภาพที่ดีของเมือง" คำว่ากายภายภาพเมืองที่ดีมีความสำคัญแบ่งได้เป็นสองระดับ แต่เดิมเราเข้าใจว่ารัฐมีหน้าที่ในการลงทุนจัดหาสาธารณูปโภคข้ันพื้นฐานให้กับประชาชน(จัดเป็นนโยบายระดับแรก) ซึ่งปัจจุบันรัฐก็จัดให้แล้วตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า ถนน ทางด่วน ทางยกระดับ ทางด่วนพิเศษหรือแม้แต่ระบบการขนส่งมวลชน ฯลฯ แต่เมื่อนำเอาอีกสองนโยบายซึ่งอยู่ในระดับที่สองเทียบเคียงก็ปรากฎว่าสิ่งที่รัฐจัดให้น้ันอาจไม่เพียงพอ หรืออาจไม่เหมาะสมหรืออาจอาจเป็นนโยบายที่ผิดพลาดจนทำให้เกิดปัญหากับโครงสร้างพื้นฐาน (ด้าน built environment และด้าน natural environment) ของประเทศ นโยบายระดับที่สอง ที่นำมาใช้มีอยู่ด้วยกัน 2 เรื่องได้แก่ "ความสามารถในการเอื้อมถึงหรือเข้าถึงบริการของประชาชน" และเรื่องที่สอง "การลงทุนด้านกายภาพหรือสาธารณูปโภคที่ไม่มีผลกระทบด้านเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม และค่าใช้จ่ายของประชาชนท้ังในระยะสั้นและระยะยาว" สองนโยบายนี้เป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จของนโยบายสาธารณะ



ภาพแสดงกายภาพเมืองที่ประชาชนไม่ต้องการ
ที่มา: Transportationfor America

ความสามารถในการเอื้อมถึงบริการ

หากพิจารณาจากนโยบายแรก ความสามารถในการเอื้อมถึงหรือเข้าถึงบริการ ดังตัวอย่างสวนสาธารณะดังเช่นกรณี Central Park ในนิวยอร์คซึ่งประชาชนกำลังเรียกร้องขอคืนพื้นที่ถนนจากรถยนต์อยู่ในขณะนี้ มีคำถามว่า ประชาชนควรได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานในการเอื้อมถึงและเข้าถึงสวนสาธารณะหรือไม่อย่างไร คำว่า “หรือไม่” หมายถึงทุกชุมชนควรมีสวนสาธารณะระดับชุมชน(community park) หรือไม่ สองคำว่า “อย่างไร” นั้นหมายถึง สวนสาธาธารณะดังกล่าวต้องตั้งอยู่ในระยะการเดินถึงหรือขี่จักรยานถึงของประชาชนภายในชุมชนหรือไม่ หรือต้องขับรถยนต์ไปอีก 10-20 กม.เพื่อเข้าถึงสวนสาธารณะ ซึ่งหากลักษณะทางกายภาพจริงสวนสาธารณะตั้งอยู่ห่างไกลจากชุมชนหรือไกลเกินกว่าระยะการใช้จักรยาน(กรณีเป็นชุมชนเป้าหมายของสวนสาธารณะนั้น) Smart Growth จะเรียกสวนสาธารณะดังกล่าวว่ามีที่ตั้งอยู่ไกล“เกินการเอื้อมถึง” และจะถือว่ารัฐฯไม่ได้จัดการให้มีสวนธารณะตามที่ระบุไว้ในนโยบายสาธารณะ จากตัวอย่างข้างต้น ท่านอาจเลือกหน่วยบริการอื่นๆที่เป็นหน่วยบริการพื้นฐานของชุมชนแทนสวนสาธารณะ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ หรือศูนย์บริการสาธารณสุข โรงเรียน ตลาดสด วัด สนามกีฬา ฯลฯ



ภาพ Central Park ใจกลางมหานครนิวยอร์คซึ่งถูกประชาชนเรียกร้องขอคืนพื้นที่ถนนจากรถยนต์

ที่มา : Project for Public Space



“The Case for a Car-FreeCentral Park” (A 2004 Flashback)

ตัวอย่างสวนสาธารณะดังเช่นกรณีCentral Park ในนิวยอร์คซึ่งประชาชนออกมาเรียกร้องขอคืนพื้นที่ถนนจากรถยนต์

ขอขอบคุณภาพจากวีดีโอตามลิ้งก์ใช้ในการประกอบบทความ //www.streetfilms.org/the-case-for-a-car-free-central-park-a-2004-flashback/




“The Case for a Car-FreeCentral Park” (A 2004 Flashback)

ประชาชนชาวนิวยอร์คอยากได้คุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานที่ดี

ขอขอบคุณภาพจากวีดีโอตามลิ้งก์ใช้ในการประกอบบทความ //www.streetfilms.org/the-case-for-a-car-free-central-park-a-2004-flashback/


นโยบายการลงทุนด้านกายภาพ

นโยบายที่สอง การลงทุนด้านกายภาพหรือสาธารณูปโภคที่ไม่มีผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและค่าใช้จ่ายของประชาชนท้ังในระยะสั้นและระยะยาว คำนี้ขอให้ท่านพิจารณาจากทุกรายงานของ SGA ที่นำลงก่อนหน้านี้ซึ่งได้กล่าวถึงความผิดพลาดในการวางผังโครงข่ายคมนาคมขนส่ง ท่านจะมองเห็นว่าการลงทุนระบบโครงข่ายถนน ทางด่วน หรือทางด่วนพิเศษอย่างมโหฬารในช่วงเวลาที่ผ่านมาเป็นการแก้ไขปัญหาหรือสร้างปัญหาให้กับเมืองและประชาชน จากตัวอย่างแรก ท่านที่อ่านบทความเรื่องค่าดัชนี H+T Affordable Housing คงจะจำเกณฑ์ของดัชนีที่ระบุว่า ประชาชนจะสูญเสียโอกาสการซื้อหาที่อยู่อาศัยหากประชาชนมีภาระค่าใช้จ่ายการเดินทางกับค่าใช้จ่ายของที่อยู่อาศัยรวมกันมากกว่าร้อยละ45 เมื่อเทียบจากรายได้สุทธิ ซึ่งข้อมูลจากรายงานของ Center for Neighborhood Technology หรือCNT ระบุว่าปัจจุบันผลรวมดัชนี H+T คนอเมริกันมีค่ามากกว่าร้อยละ60 อันเป็นผลจากนโยบายการวางผังที่อยู่อาศัยให้กระจายออกไปยังชานเมืองในอดีตทำให้ประชาชนต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล และการไม่ได้ส่งเสริมความหนาแน่นของที่อยู่อาศัยในเขตชั้นในของเมืองอย่างจริงจัง ซึ่งปัญหาที่เกิดจากการวางแผนและการกำหนดนโยบายที่ผิดพลาดนั้นได้ทำให้เกิดการลงทุนด้านกายภาพที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม และค่าใช้จ่ายของประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว



สหรัฐต้องสูญเสียเวลาปีละ4.8พันล้านชั่วโมงจากการติดขัดคับคั่งของการจราจรซึ่งมาจากนโยบายสาธารณะที่ผิดพลาด

ที่มา : Crown Centric, 2012


ตัวอย่างที่สอง กรณีศึกษาประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น การศึกษาพบว่าไทยได้ลงทุนระบบรางก่อนประเทศญี่ปุ่น แต่ไม่เอาจริงเอาจังและได้หันมาลงทุนโครงข่ายถนนหลายช่องจราจรและทางด่วนอย่างมากตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1เป็นต้นมา ผังเมืองไม่มีมาตรการเพียงพอในการยับยั้งการแผ่กระจายของที่อยู่อาศัยออกไปยังย่านชานเมือง จึงทำให้ประชาชนต้องใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเดินทางจากชานเมืองเข้าสู่ตัวเมืองมากกว่าร้อยละ90 ส่วนการสัญจรระหว่างเมืองและภาคประชาชนใช้ระบบขนส่งมวลชนเพียงแค่ร้อยละ 12 เนื่องจากรัฐไม่ได้ลงทุนระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพไว้รองรับ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาการสัญจรด้วยรถยนต์ซึ่งเกิดจากถูกระบบกายภาพโครงสร้างพื้นฐานบังคับ กล่าวกันว่าเศรษฐกิจเกือบทั้งระบบจะได้รับความกระทบกระเทือนทันทีหากราคาน้ำมันเกิดการผันผวน กรณีเดียวกันนี้หากเทียบจากประสบการณ์พัฒนาของประเทศญี่ปุ่น แม้จะพัฒนาโครงข่ายการสัญจรด้วยระบบการขนส่งมวลชนช้ากว่าประเทศไทย แต่ประเทศญี่ปุ่นได้มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง ระบบการเดินทางจากย่านชานเมืองเข้าสู่ตัวเมืองใหญ่ถูกออกแบบให้เข้าถึงด้วยระบบรถไฟฟ้ารางเบา ส่วนการสัญจรระหว่างภาคได้ถูกออกแบบให้เชื่อมต่อด้วยระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง จะเห็นได้ว่าความผันผวนทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านราคาน้ำมันเช่นเดียวกับประเทศไทย เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชนในหัวเมืองใหญ่จัดอยู่ในอันดับ 4 ไม่ใช่อันดับสองเช่นเดียวกับประเทศไทย



ภาพทางจักรยานที่ปลอดภัยซึ่งเกิดจากนโยบายสาธารณะ

ที่มา : San Francisco Bicycle Coalotion


สรุป

หากนำนโยบายทั้งสองเทียบเคียงกับนโยบายสาธารณะของไทย จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยกำหนดนโยบายการพัฒนากายภาพเมืองไว้เพียงแค่ระดับแรก และเป็นการดำเนินนโยบายสาธารณะที่นำประชาชนไปผูกติดกับการใช้พลังงานและการลงทุนกายภาพพื้นฐานซึ่งบังคับให้ใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในการสัญจรเป็นหลัก ซึ่งก็คือการกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อเพิ่มค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้กับประชาชนนั่นเอง และคงไม่ผิดนักที่จะใช้คำว่า ผลกระทบต่างๆที่เกิดจากเดินทางของประชาชนล้วนเกิดจากการวางแผนและกำหนดนโยบายที่ผิดพลาดทำให้เกิดการลงทุนด้านกายภาพที่มีผลกระทบด้านเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม และค่าใช้จ่ายของประชาชนท้ังในระยะสั้นและระยะยาว จึงน่าจะถึงเวลาที่เราต้องออกมาพูดกันดังๆว่า นโยบายสาธารณะที่กำหนดขึ้นนั้น มีความถูกต้องเหมาะสมกับสภาพปัจจบันหรือไม่อย่างไร ดังนั้น ก่อนที่เราจะเริ่มลงมือฟื้นฟูชุมชน ย่าน และเมือง ก็ขอให้หันไปฟื้นฟูกฎหมายและนโยบายสาธารณะของประเทศเสียก่อน ป้องกันไว้เพื่อไม่ให้สิทธิ์ขั้นพื้นฐานที่ประชาชนควรได้รับต้องสูญเสียไปจากการกำหนดนโยบายชั้นเดียวที่บกพร้องดังเช่นในอดีต

ชมวีดีโอครับ //www.streetfilms.org/the-case-for-a-car-free-central-park-a-2004-flashback/

เอกสารอ้างอิง

The Center for Neighborhood Technology,Housing+Transportastion Affordability Index, Available from://htaindex.cnt.org/, April 16 2012

Reconnecting America:Blogosphere, Japan Transit’s Real Estate Listings. Available from://www.reconnectingamerica.org/news-center/the-other-side-of-the-tracks/2010/blogosphere-japan-s-transit-real-estate-listings/,April 30 2012.

Crown Centric, Can you help us solve the world’s trafficcongestion?, Available from:

//crowdcentric.net/2011/05/can-you-help-us-solve-the-worlds-traffic-congestion/,April 30 2012

ท่านใดสนใจแนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ //www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall  



อ่านเนื้อเรื่อง “ย้อนหลัง” ลิ้งก์ตามที่อยู่ด้านล่างนี้(เพื่อจะได้รับทราบข้อมูล “ผังเมือง” ในระดับโลก เค้าไปถึงไหนกันแล้ว ส่วน ผังเมืองบ้านเรา (เงียบเชียบ)ไม่ทราบว่ามีพัฒนาการเหมือน ผังเมือง ประเทศอื่นๆ หรือเปล่า//www.bloggang.com/viewblog.php?id=rattanakosin&group=2




 

Create Date : 02 พฤษภาคม 2555    
Last Update : 2 พฤษภาคม 2555 7:57:48 น.
Counter : 1711 Pageviews.  

ข้อมูลผังเมือง บ้านเรา จะพัฒนาเหมือนอารยะประเทศ ที่มีทั้งข้อมูลออนไลน์ ออฟไลน์ สื่อสารให้สาธารณะเข้าใจได้โดยง่าย

อ่านบทความด้านล่างจบ ผมได้แต่รำพึง “โอ ..โอ้...อนิจจา” ผู้เกี่ยวข้องมีการประชุมทางด้านผังเมืองปีหนึ่งไม่เกิน3 ครั้ง กับภารกิจรับผิดชอบคนไทยทั้งประเทศ 65 ล้านคน ตลอดจนข่าวสารไม่ว่าจะออนไลน์ หรือ ออฟไลน์ (วารสารที่เกี่ยวข้อง)แทบมองไม่เห็นเลย ...ในขณะที่เมืองนอก ผู้บริหารในทุกระดับชั้นเค้าแข่งขันกันให้ข้อมูลประชาชน แล้วทำเรื่องผังเมือง ให้เป็นเรื่องง่ายให้สาธารณะชนเข้าใจ…….

บทความเรื่อง เมืองที่ระบบการวางแผนล้มเหลว กรณีเมืองลอสแองเจลิส  โดย ฐาปนา บุณยประวิตร ......

บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมาย ของ นักวิชาการผังเมือง อ.ฐาปนา บุณยประวิตร ซึ่งผมรู้จักผ่านทาง Facebook //www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด(Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อBlog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิดข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียนโดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ(เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคตที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่างก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน……


หนังสือ Planning Los Angeles เขียนโดยศาสตราจารย์ DavidC. Sloane ผู้อำนวยการ Price School of Public Policy มหาวิทยาลัย SouthernCalifornia และผู้ช่วยบรรณาธิการ Journal of The American PlanningAssociation (APA)

บทนำ

หนังสือ Planning Los Angeles เขียนโดยศาสตราจารย์David C. Sloane ผู้อำนวยการPrice School of Public Policy มหาวิทยาลัย Southern California และผู้ช่วยบรรณาธิการ Journal of The American Planning Association (APA) รวมทั้งหลายๆบทวิพากษ์ได้ชี้ให้เห็นข้อบกพร่องที่เกิดจากความล้มเหลวของการผังเมืองซึ่งได้ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตสภาพแวดล้อม และสภาวะโลกร้อน โดยภาวะความล้มเหลวที่เกิดจากแผนอาจทำให้เรียกเมืองเหล่านั้นว่าเป็นunplanned City ซึ่งวันนี้เราจะมาดูข้อวิพากษ์ของSloane ถึงสาเหตุที่กล่าวว่าเมืองลอสแองเจลิสเป็นเมืองที่ไม่ประสบความสำเร็จในการวางแผนอย่างไร ..... 


ภาพแสดงระบบการสัญจรเชื่อมต่อระหว่างศูนย์ของลอสแองเจลิส

ภาพจาก ; The Atlantic Cities, 2012

ความล้มเหลวของเมืองตามนัยวิชาการผัง

Unplanned City ตามคำจำกัดความของ Smart Growth America ได้แก่เมืองที่ไม่สามารถวางผังและควบคุมการเติบโตของกายภาพเมืองได้ดังที่กำหนด ทำให้เมืองเกิดการเติบโตกระจัดกระจายแบบไร้ทิศทาง (SprawlingCity) (Smart Growth America, 2006: 2) หรือมีความหมายเดียวกันกับเมืองที่ไม่มีประสิทธิภาพ (En-efficientCity) ตามคำจัดความของ TheCenter for Neighborhood Technology –CNT ซึ่งได้แก่เมืองที่ขาดการวางแผนการคมนาคมขนส่งซึ่งเป็นต้นเหตุให้ประชาชนมีค่าใช้จ่ายการเดินทางสูงกว่าความจำเป็นซึ่งทำให้ประชาชนขาดโอกาสในการซื้อหาที่อยู่อาศัย(The Center for Neighborhood Technology, 2011:1) หรือเมืองตามนัยของ David Sloane (2012: 1) ที่กล่าวว่า unplannedCity ได้แก่เมืองที่กระจัดกระจายเกิดจากการไม่สามารถควบคุมกายภาพให้เติบโตไปตามแผนหรือการปล่อยให้กายภาพเมืองแผ่ขยายไปตามธรรมชาติ ซึ่งความผิดพลาดนั้นเป็นผลจากการประเมินผลกระทบระยะยาวของนักผังเมืองต่ำกว่าความเป็นจริง…..

กรณีศึกษาเมืองลอส แองเจลิส

ลอส แองเจลิสเป็นเมืองกระจัดกระจาย กายภาพเมืองแผ่ขยายและหนาแน่นในทางราบ (Horizontally dense) ซึ่ง Sloane กล่าวว่าเป็นผลจากการวางผังตามแบบจำลองมาตรฐาน(Standard Model) ที่จัดทำขึ้นช่วงศตวรรษที่ 18ตามแนวคิดเมืองพหุนคร หรือ Polycentricism (แนวคิดเมืองศูนย์กลางมากกว่า1 แห่ง) ซึ่งช่วงเวลานั้นลอส แองเจลิสมีประชากรอยู่ประมาณ 11,000 คน

ในช่วงที่ประชากรยังมีไม่มากดูเหมือนว่าจะประสบผลสำเร็จ แต่เมื่อประชากรมีจำนวนเพิ่มขึ้น  เมืองได้เพิ่มขยายศูนย์ใหม่ๆขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ประชาชนขาดความสนใจพัฒนาใจกลางเมืองและย่านพาณิชยกรรม  ดังนั้น หลายๆ ย่านจึงได้แปรสภาพเป็นสถานที่รกร้าง ประชากรทั้งผู้อยู่อาศัยดั้งเดิมและผู้มาใหม่ต่างเคลื่อนย้ายไปยังศูนย์พาณิยกรรมแห่งใหม่ในย่านชานเมืองอันเป็นที่มาของคำว่าLosAngeles Sprawl ในปีศตวรรษที่ 20…..


ภาพแสดงสถานที่สาธารณะระหว่างกลุ่มอาคารในลอสแองเจลิส

ที่มา : ถ่ายโดย David Sloane, Jan.2012

การศึกษาของ Sloane ซึ่งอาศัยกลุ่มตัวอย่างมากกว่า35 แห่งครอบคลุมทุกกลุ่มประชากรทำให้ทราบข้อมูลว่า ประชากรส่วนใหญ่ไม่พึงพอใจกับสภาพการเป็นเมืองหลายศูนย์ (Stereotype)เนื่องจากไม่มีศูนย์ใดมีความโดดเด่นไม่ว่าจะเป็นย่านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม หรือการบันเทิง ประชาชนจึงมีคำถามว่าด้วยเหตุใดลอสแองเจลิสจึงไม่พัฒนาให้กระชับและโดดเด่นแบบนิวยอร์ค ย่านใจกลางเมืองและย่านพาณิชยกรรมไม่คึกคักมีชิวิตชีวาเช่นเดียวกับย่าน TimesSquare ของนิวยอร์ค หรือแม้แต่การเทียบเคียงการเติบโตทางเศรษฐกิจกับเมืองอื่นๆ ……

Sloane ได้ให้คำแนะนำแก่ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถือว่าเป็นภาคธุรกิจตัวนำทางเศรษฐกิจว่า แม้ลอสแองเจลิสจะเพรียบพร้อมไปด้วยระบบการคมนาคมขนส่ง ระบบการจัดการน้ำ และระบบโครงสร้างพื้นฐาน แต่จากการศึกษาแผนการพัฒนาเมืองและทัศนคติของนักผังเมืองและนักการเมืองผู้กำหนดนโยบายแล้ว ยังพบอุปสรรคที่เป็นข้อจำกัดอีกมาก ซึ่งเขาได้เสนอแนะว่า ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนขอให้พิจารณาข้อห่วงใย 2ประเด็นคือ …..

1)ผังเมืองได้เหลือพื้นที่ไว้สำหรับการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์น้อยมาก และ

2)นักผังเมืองประเมินผลกระทบจากผังไว้ต่ำกว่าความเป็นจริง ไม่รอบด้าน

นอกจากนั้นแผนยุทธศาสตร์เมืองไม่สอดคล้องกับแนวทางการปฎิบัติและกับสภาพความเป็นจริง ดังนั้น พื้นที่อนุญาตให้พัฒนาตามแนวโครงข่ายคมนาคมขนส่งหรือตามโครงสร้างพื้นฐานที่คาดการณ์ไว้อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจริง

สุดท้าย Sloane ได้กล่าวว่า เกณฑ์การวางแผนและแบบจำลองมาตรฐานที่จัดทำในศตวรรษที่ 18ยังคงมีอิทธิพลต่อระบบการพัฒนาลอส แองเจลิสในปัจจุบันซึ่งจะทำให้เมืองนี้มีปัญหาการกระจัดกระจายระหว่างแต่ละศูนย์กลางของเมืองอยู่ต่อไปและจะเป็นอุปสรรคในการพัฒนาในอนาคต


ภาพแสดงกิจกรรมบริเวณทางเดินในย่านพาณิชยกรรม

ที่มา: ถ่ายโดย David Sloane, Jan.,2012

ประสบการณ์จากลอส แองเจลิส

เนื่องจากรายงานฉบับดังกล่าวเพิ่งวางตลาดเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว ดังนั้นขณะนี้ (16 เมษายน 2555) จึงยังไม่มีคำอธิบายจากผู้บริหารของลอสแอลเจลิส อย่างไรก็ตาม การรายงานผลการวิจัยและการแสดงผลงานวิชาการของชาวตะวันตกถือเป็นภารกิจส่วนหนึ่งของนักวิชาการในการให้บริการข้อมูลและองค์ความรู้แก่ประชาชน สำหรับประสบการณ์ทางตรงที่ได้รับจากรายงานของ Sloane สรุปได้ดังนี้……

การใช้แนวคิดและทฤษีในการวางผังพัฒนาเมือง

ปัจจัยสำคัญของความก้าวหน้าในการวางผังพัฒนาเมืองและความก้าวหน้าในทางวิชาการผังเมืองเกิดจากการนำแนวคิดและทฤษฎีใช้เป็นกรอบคิดและยุทธศาสตร์ในการวางผัง ในสหรัฐฯนั้นพบว่าทั้งมลรัฐ เมือง และเทศบาลต่างใช้แนวคิดและทฤษฎีที่หลากหลายเป็นกรอบการดำเนินงาน ดังเช่น มลรัฐแมรี่แลนด์ มลรัฐนิวเจอร์ซี่ และอีกหลายๆเมืองได้ประกาศอย่างชัดเจนในการใช้การเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) หรือแม้แต่การนำแนวคิด Polycentricism ของลอสแองเจลิสดังที่ได้กล่าวแล้ว ด้วยเหตุนี้จึงเกิดประสบการณ์การพัฒนาตามแนวคิดขึ้นมากมาย และผลจากการนำแนวคิดสู่การปฎิบัติได้ทำให้บรรยากาศทางวิชาการพัฒนาเมืองมีความคึกคัก เพิ่มโอกาสให้ผู้บริหารเมือง นักวิชาการสื่อสารมวลชน และองค์กรอิสระนำข้อมูลที่ได้ไปต่อยอดประยุกตใช้และเผยแพร่นำไปสู่เวทีการสัมมนาถกเถียงหลากหลายรูปแบบ……

การเป็นต้นแบบสำหรับการพัฒนาเมือง

เมืองใดที่นำแนวคิดและทฤษฎีไปใช้แม้จะไม่ประสบผลสำเร็จทั้งหมด แต่เมืองนั้นจะแปรสภาพเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ และกลายเป็นต้นแบบในการพัฒนาให้กับเมืองอื่นๆ ดังตัวอย่างความสำเร็จในการวางผังพัฒนาเชื่อมต่อใจกลางเมืองกับแหล่งพาณิชยกรรมต่างๆของเมืองพอร์ตแลนด์ด้วยรถไฟฟ้า streetcar ซึ่งได้ก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างขนานใหญ่ที่สามารถตรวจวัดได้ด้วยมูลค่าการลงทุนและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ท่านที่ติดตามข่าวการรายงานของ Smart GrowthAsia คงจะสามารถยืนยันการเป็นตัวอย่างและความสำเร็จจากการพัฒนาของเมืองพอร์ตแลนด์ได้ดี….

การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการพัฒนาเมือง

ตามรายงานข่าวของ Smart Growth Network พบว่าปัจจุบันมีนิตยสารออนไลน์และออฟไลน์มากกว่า120 ฉบับเกิดขึ้นเพื่อรายงานข่าวนำเสนอบทความวิชาการ และวิพากษ์ระบบการพัฒนาเมือง ไม่นับรวมวารสารออนไลน์ของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรภาคเอกชนซึ่งทำหน้าที่รายงานเผยแพร่ข้อมูลสู่ประชาชน นอกจากสื่อสารมวลชนและหน่วยงานจะได้รายงานข่าวสารตามปกติแล้ว ยังได้ผลิตสื่อรณรงค์ระบบการพัฒนารูปแบบต่างๆทั้งได้แปลความข้อมูลทางวิชาการให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเผยแพร่องค์ความรู้สู่สาธารณะ…..

สรุป

ที่กล่าวมาท้ังหมดต้องการให้ทราบความหมายและปรากฎการณ์ของ unplanned City โดยใช้กรณีศึกษาจากลอสแองเจลิส ผู้เขียนต้องการให้มองเห็นความแตกต่างระบบการพัฒนาของสหรัฐฯ กับของไทย ซึ่งหากเทียบเคียงแล้วจะมองเห็นข้อแตกต่าง 4เรื่องคือ ……

1)การวางผังพัฒนาเมืองของไทยไม่ได้ใช้แนวคิดและทฤษฎีใดๆเป็นกรอบคิดและยุทธศาสตร์

2) ประเทศไทยน่าจะเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่ไม่มีเมืองที่ดีซึ่งสามารถเป็นแบบอย่างด้านการวางผังพัฒนาเมือง

3)บรรยากาศทางวิชาการผังเมืองของไทยซบเซามากดังจะเห็นได้จากแต่ละปีมีการประชุมวิชาการผังเมืองไม่เกิน 3คร้ังและแต่ละคร้ังมีผู้ให้ความสนใจน้อย และ

4) ไทยมีเฉพาะบางวารสารของหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการผังมีจำนวนไม่เกิน3 ฉบับและเป็นเอกสารเผยแพร่เฉพาะกลุ่ม นอกจากนั้นไม่พบสื่ิอสาธารณะที่เผยแพร่องค์ความรู้ด้านนี้เป็นการเฉพาะ.....

ในกรณีของ unplanned city คงจะไม่สามารถนำมาเทียบเคียงกับเมืองใดๆของไทยได้เนื่องจากระบบการผังของไทยยังไม่มีสภาพแห่งความสมบูรณ์หรือมีการนำผังไปใช้ประโยชน์ และ unplanned city จะเทียบได้กับเมืองที่สร้างผังและนำผังลงสู่การปฎิบัติจริงแล้วเท่านั้น

เอกสารอ้างอิง

American Planning Association, 2012,Planning Los Angeles: Legacy New from APA Planners Press, Available from: //www.planning.org/apastore/meet/2012/planninglosangeles.htm. April, 16, 2012

The Atlantic Cities, 2012, UnplannedL.A? Think Again, Available from: //www.theatlanticcities.com/neighborhoods/2012/04/unplanned-l-think-again/1731/,April, 16, 2012

Smart Growth America, 2002, MeasuringSprawl and It Impact;

Available from://www.smartgrowthamerica.org/resources/measuring-sprawl-and-its-impact/,April, 16, 2012

The Center for Neighborhood Technology,Housing+Transportastion Affordability Index, Available from: //htaindex.cnt.org/, April, 16, 2012

ความคิดเห็นบางส่วนจาก FACEBOOK ผมตามลิ้งก์ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=362178277167949&set=a.340028792716231.91615.100001273404825&type=1

WutichaiHo ช่วยหาข้อมูลให้หน่อยได้ไหมครับ ว่า ผู้หลักผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจของประเทศเหล่านั้น เขามีการถือครองที่ดินมากเหมือนในบ้านเราไหมเขามีการเก็งกำไรราคาที่ดินและปั่นราคาที่ดินกันอย่างบ้านเราไหมข้าราชการหรือหน่วยงานที่ตั้งใจปฏิบัติดีปฏิบัติชอบถูกผู้มีอำนาจข่มขู่และให้โทษมากมายเหมือนบ้านเราไหม

สำหรับข้อมูลในประเทศอยากทราบว่าการก่อสร้างสาธารณูปโภคที่มีการเวียนคืนที่ดินนั้น มีที่ดินของผู้มีอำนาจมากบารมีทั้งหลายโดนเวียนคืนหรือไม่

กุหลาบ แสนสวย ของบ้านเราเมืองเราปล่อยให้เมืองก้าวหน้าไปก่อนแล้วจึงทำผังเมืองตามค่ะบ้านเมืองจึงออกมาอย่างไม่เป็นสาระบบเฉกเช่นทุกวันนี้ ปีนี้ขุดถนนวางท่อประปาปีหน้าขุดถนนใหม่วางท่อร้อยสายโทรศัพท์ ทำมั้ยไม่คิดแล้วทำไปพร้อม ๆ กันที่เดียวหรือว่า การทำงานแบบนี้คือ การทำงานในแบบของคนไทยค่ะ

จิรภิญญา ทิพประมวล มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯมีแผนการคมนาคมและการสื่อสารของประเทศ มีหลายแผนของหลายหน่วยงานเอาตัวแทนจากหน่วยงานนั้นๆมาเป็นหนึ่งในทีมวางผังเมืองจากนั้นก็วางระบบไปพร้อมๆกันหรือวางระบบเผื่อไว้เลยสำหรับโครงการหรือกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหากทำเช่นนี้จะ forecast การโตของเมือง ภูมิทัศน์ของเมือง ได้ค่ะ ทุกวันนี้วางผังเมืองกรมโยธาฯจ้างบ.ที่ปรึกษาซึ่งก็บ.เดิมๆรับงานซ้ำไปซ้ำมาแนวคิดใหม่ๆเกิดขึ้นได้ยากถ้ายังเป็นคนกลุ่มเดิมๆโดยไม่มีคนใหม่ที่มีศักยภาพในการนำเสนอความคิดใหม่ๆเข้าไปทำงานในทีมค่ะ

PanyaSakpaibul ผมผ่านไปหาดป่าตองหลังเกิดสึนามิครั้งใหญ่ ที่ที่เรือรบหลวงถูกซัดขึ้นมาเกยชายเขาน่ะมองริมหาดป่าตองที่เมื่อก่อนเป็นแหล่งช้อปและท่องเที่ยวยามราตรีเหมือนพัทยาอะไรประมาณเนี้ยสภาพริมหาดถูกกวาดเรียบเหลือแต่ซากหักพัง ตอนนั้นก็เห็นข่าวโอ่โหมประโคมว่าถือเป็นโอกาสดีแล้วที่ทุกฝ่ายจะได้เข้าไปร่วมมือกันจัดระเบียบเมืองการก่อสร้างอาคาร ร้านรวงในบริเวณนี้กันเสียใหม่ทั้งหมด ให้มันถูกต้องสอดคล้องกับการผังเมืองที่ดีผมก็แอบดีใจเออเนี่ยเป็นโอกาสแล้วที่คุณจะได้สร้างเมืองใหม่จริงๆกันสักทีเอาให้สวยเอาให้ถูกต้อง เอาให้เป็นระเบียบเรียบร้อยกันเลย ...สัก 4-5 ปีที่ผ่านมา ผมมีโอกาสอีกครั้งผ่านไปทางนั้นอีกครั้งสิงที่เห็นก็เป็นสภาพเดิมๆ ของเมืองยุคสลัมน่ะนะที่บอกว่าสลัมคือร้านรวงที่สร้างขึ้นมาใหม่มันก็แออัดแย่งกันหายใจถนนหนทางภายในก็ไม่เห็นว่าจะต่างไปจากเดิมสักเท่าไร แคบ เบียดเสียด ยัดเยียดกันเหมือนเก่า เห็นแล้วก็อนาถใจต่อทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ จังหวัด และท้องถิ่น...คนไทยลืมง่ายครับ เรื่องผ่านไปแป็ปเดียวก็ลืมแล้วเห็นแต่ประโยชน์ที่ตัวจะได้เอามาเป็นตัวตั้ง หยั่งอื่นฉานม่ายรุ๊ไหนล่ะเมืองในฝันที่อุตส่าห์ประโคมโหมข่าวกันทั้งภาครัฐ ตัวจังหวัดเององค์กรท้องถิ่น นายทุน ครับเล่าสู่กันฟัง

PiangjitMaprajong เชียงใหม่ก็มีปัญหามากมายค่ะ กระทบไปถึงการจราจร ปกติรถติดมากพอๆกับกรุงเทพฯแม้นจะตัดถนนวงแหวนรองรับหลายรอบยิ่งเทศกาลท่องเที่ยว(ซึ่งมีอยู่ตลอดปี)หากผู้รับผิดชอบไม่รีบหาแนวทางตั้งรับคงแย่ อยากให้จังหวัดข้างเคียงพิจารณาด้วยค่ะ

ThapanaBunyapravitra ขอบคุณและเคารพสำหรับทุกความคิดเห็น ขอนุญาตเติมเพียงสองประเด็นครับประเด็นแรก อยากให้มองผังเมืองในมิติที่กว้างกว่าสิ่งที่เราพบเห็นกันอยู่ในประเทศถ้าท่านจะกรุณาแวะเข้าไปดูที่ fb.fanpage:Smart Growth ASIA (ตาม link ด้านบน) หรือในบล๊อกเนชั่น หรือที่เว็บไซท์ asiamuseum.co.thท่านจะเห็นว่าบทบาทของการผังเมืองนั้นกว้างขวางครอบคลุมประเด็นปัญหาและจะทรงประสิทธิภาพมากหากได้นำมาประยุกต์ใช้(ขอเน้นนะครับว่า "ประยุกต์" ไม่ใช่นำมาทั้งระบบ) และนำลงสู่การปฎิบัติความจริงถ้าจะแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.การผังเมือง 2518 ให้ทันสมัยขึ้นก็ดีครับ จะได้เพิ่มผังการพัฒนาที่อยู่อาศัยผังการพัฒนาเศรษฐกิจและผังอื่นๆ อีก 5 ผังให้ครบถ้วนสมบูรณ์ แต่หากไม่แก้ก็ไม่ใช่ว่าจะทำอะไรไม่ได้เราสามารถเพิ่มเติมการศึกษาและกำหนดขอบข่ายการบังคับใช้ได้ โดยนำไปเพิ่มในรายละเอียดข้อกำหนดเช่น ต้องทำ placemaking กับชุมชนให้ได้มีความเห็นร่วมกันก่อนเสนอผังแนวคิดการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือการกำหนดให้ที่ปรึกษาจัดทำยุทธศาสตร์เมืองร่วมกับประชาชนก่อนที่จะนำเสนอตามขั้นตอนฯลฯ งานพวกนี้ทำได้ครับ ประเด็นที่สอง การดำเนินการตามเกณฑ์การออกแบบผังของ Smart growth หรือการเติบโตอย่างชาญฉลาดไม่จำเป็นต้องเวนคืน ไล่รื้อและเปลี่ยนวิถึชีวิตของผู้คนเขาเสมอไป (ตราบใดที่ชุมชนไม่ไปรุกลำ้พท.ธรรมชาติและการเกษตร)หน้าที่ตามเกณฑ์คือการออกแบบผังให้ลดภาระทุกเรื่องของประชาชนโดยใช้เครื่องมือทางกายภาพครับดังนั่น สิ่งแรกที่ต้องตอบชุมชนให้ได้ก็คือ ต้ังแต่ปฐมบทในการวางผังประชาชนส่วนใหญ่ต้องเข้าใจตรงกันว่าพวกเขาต้องได้รับประโยชน์ ไม่ใช่เสียประโยชน์ส่วนกรณีการขอความร่วมมือกับเจ้าของที่ดินแปลงใหญ่มันมีต้ังหลายๆกลยุทธ์ที่เราไม่เคยนำมาใช้ ในสหรัฐฯเจ้าของที่ดินแปลงใหญ่ที่เป็นนักการเมืองก็มีปัญหาเช่นเดียวกับบ้านเราแต่เขาก็มีวิธีในการขอความร่วมมือ ทุกอย่างแก้ไขได้ครับมีความหวังเสมอสำหรับประเทศนี้

ท่านใดสนใจแนวความคิดSmarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebookนี้ครับ//www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall




 

Create Date : 18 เมษายน 2555    
Last Update : 18 เมษายน 2555 0:09:32 น.
Counter : 1721 Pageviews.  

แนวทางการวางผังเมืองเพื่อสร้างโอกาสการมีที่อยู่อาศัย โดย ฐาปนา บุณยประวิตร

แนวทางการวางผังเมืองเพื่อสร้างโอกาสการมีที่อยู่อาศัย

โดยฐาปนา บุณยประวิตร

asiamuseums@hotmail.com/

//www.asiamuseum.co.th

บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมาย ของ นักวิชาการผังเมือง อ.ฐาปนา บุณยประวิตรซึ่งผมรู้จักผ่านทาง Facebook //www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด(Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับเพราะตั้งใจจะนำข้อคิด ข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์ และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ (เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆเกี่ยวกับผังเมืองในอนาคต ที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาลและแน่นอนทีเดียวหลายอย่าง ก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน

Copy Thapana Bunyapravitra

แนวทางการวางผังเมืองเพื่อสร้างโอกาสการมีที่อยู่อาศัย

โดย ฐาปนา บุณยประวิตร

รายงานชิ้นนี้ต้องการนำเสนออุปสรรคและปัญหาที่ทำให้ประชาชนขาดโอกาสในการซื้อหาที่อยู่อาศัย โดยใช้เกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth Principles) และดัชนีผลรวมค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยและการเดินทาง (Housing+Transporation Index) ในการอธิบายที่มาของเหตุและนำเสนอแนวทาง รวมทั้งมาตรการด้านผังเมืองเพื่อสร้างโอกาสการมีที่อยู่อาศัยซึ่งมีความเหมาะสมกับระดับรายได้ของประชาชน 


ที่มา : Housing+Transportation Affordability inWashington, DC, July 2011


เกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาด

Smart Growth America อธิบายเครื่องชี้วัดการกระจัดกระจายของเมือง(Urban Sprawl) ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยและการเดินทาง ประกอบด้วย 4 ปัจจัยได้แก่

1. ความหนาแน่นของที่อยู่อาศัย (Residential Density)

2. ลักษณะการใช้ประโยชนที่ดินแบบผสมผสานภายในย่าน(Neighborhood mix of uses)

3. ความเข้มข้นของกิจกรรมใจกลางเมืองและย่านพาณิชยกรรม(Strength ofactivity centers and downtowns) และ

4. ความสมบูรณ์ของโครงข่ายถนนและความสามารถในการเข้าถึง(Accessibility ofthe street network) ซึ่งลักษณะกายภาพดังกล่าวเกิดจาก 3 สาเหตุประกอบด้วย

4.1) ระบบการผังเมืองไม่ได้ระบุมาตรการด้านกายภาพในการลดค่าใช้จ่ายของที่อยู่อาศัยและการเดินทางของประชาชน

4.2) ขาดการบูรณาการแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยกับแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินในผังแม่บทการพัฒนาเมืองหรือผังเมืองรวม และ

4.3) ผังเมืองขาดมาตรการที่ทรงประสิทธิภาพในการยับยั้งการกระจัดกระจายของเมือง

จากต้นเหตุทั้ง 3ข้อจึงส่งผลให้บ้านที่มีระดับราคาเหมาะสมกับรายได้ของประชาชนไปตั้งอยู่บริเวณย่านชานเมืองซึ่งทำให้ประชาชนต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาก ประกอบกับกายภาพการกระจัดกระจายของที่อยู่อาศัยในย่านชานเมืองไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนระบบขนส่งมวลชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขนส่งมวลชนระบบราง เมื่อไม่มีการลงทุนระบบการขนส่งสาธารณะประชาชนจึงจำเป็นต้องพึ่งพาการสัญจรด้วยรถยนต์ ดังนั้น ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการสัญจรด้วยรถยนต์อันประกอบด้วย ค่าจัดซื้อ ค่าผ่อนชำระ ค่าซ่อม ค่าบำรุงรักษา และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงจึงสูงกว่าค่าใช้จ่ายในการสัญจรด้วยระบบขนส่งมวลชนซึ่งประชาชนมีค่าใช้จ่ายเพียงค่าบัตรโดยสารประจำทางเท่านั้น (Smart Growth America,2002:1)

(อธิบายภาพด้านบน)

กายภาพการกระจัดกระจายของที่อยู่อาศัยในย่านชานเมืองไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนระบบขนส่งมวลชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขนส่งมวลชนระบบราง เมื่อไม่มีการลงทุนระบบการขนส่งสาธารณะประชาชนจึงจำเป็นต้องพึ่งพาการสัญจรด้วยรถยนต์ ดังนั้น ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการสัญจรด้วยรถยนต์อันประกอบด้วย ค่าจัดซื้อ ค่าผ่อนชำระ ค่าซ่อม ค่าบำรุงรักษา และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงจึงสูงกว่าค่าใช้จ่ายในการสัญจรด้วยระบบขนส่งมวลชนซึ่งประชาชนมีค่าใช้จ่ายเพียงค่าบัตรโดยสารประจำทางเท่านั้น (Smart Growth America, 2002:1)


(อธิบายภาพด้านบน)

ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการสัญจรด้วยรถยนต์อันประกอบด้วย ค่าจัดซื้อ ค่าผ่อนชำระ ค่าซ่อม ค่าบำรุงรักษา และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงจึงสูงกว่าค่าใช้จ่ายในการสัญจรด้วยระบบขนส่งมวลชนซึ่งประชาชนมีค่าใช้จ่ายเพียงค่าบัตรโดยสารประจำทางเท่านั้น 

ดัชนีผลรวมค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยและการเดินทาง

ดัชนีผลรวมค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยและการเดินทาง(H+T Index) ได้จากการนำสถิติกลางของสหรัฐที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากชุมชนทั่วทั้งประเทศ จากการศึกษาของ The Center for NeighborhoodTechnology (CNT) พบว่า H+T มีความสัมพันธ์โดยตรงกับที่ตั้ง (Location) และลักษณะทางกายภาพของย่าน (Neighborhood Characteristics) โดยประชาชนที่อาศัยอยู่ในย่านที่กระชับ(Location-effientNeighborhood) วัดจากอาคารบ้านเรือนและย่านพาณิชยกรรมที่ตั้งเป็นกลุ่มต่อเนื่องกัน ใช้ประโยชน์ที่ดินในกิจกรรมผสมผสาน ภายในชุมชนใช้การสัญจรด้วยทางเดินและทางจักรยาน และมีโครงข่ายการเชื่อมต่อระหว่างย่านหรือระหว่างที่พักอาศัยกับสถานที่ทำงานด้วยการขนส่งมวลชน กายภาพลักษณะนี้ ประชาชนในย่านจะมีค่าใช้จ่ายการเดินทาง (Transportation costs) ต่ำ ในขณะเดียวกัน หากย่านใดมีลักษณะทางกายภาพที่ตรงข้ามหรือจัดเป็นย่านที่กระจัดกระจาย (Location ineffient) ได้แก่ ประชาชนตั้งบ้านเรือนอยู่อย่างกระจัดกระจายไม่ต่อเนื่องกัน ไม่มีศูนย์กลางและหน่วยบริการชุมชนที่เด่นชัด ประชาชนพึ่งพารถยนต์ส่วนบุคคลเป็นพาหนะหลัก ในย่านนั้นก็จะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูง (The Center for Neighborhood Technology, 2012: 1)


กราฟแสดงความสัมพันธ์ระยะการเดินทางกับระดับรายได้ของประชาชนตามดัชนีH+T

ที่มา : Housing+Transportation Affordability inWashington, DC, July 2011


กรณีศึกษาค่าใช้จ่ายครัวเรือนในสหรัฐอเมริกา

นิตยสารออนไลน์NPR นำเสนอบทวิเคราะห์เรื่อง What American Buys (NPR .April 8, 2012) อ้างรายงาน CPI Detailed Report –Data for January2012 ของรัฐบาลสหรัฐฯ ระบุว่าพลเมืองในปี ค.ศ. 2011 มีดัชนีค่าใช้จ่ายการบริโภค (Consumer Price Index-CPI) ด้านที่อยู่อาศัยและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องสูงเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายด้านอาหาร ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และอื่นๆ ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบวัดกับค่าใช้จ่ายครัวเรือนระหว่างปี ค.ศ. 1949 แล้วพบว่า โครงสร้างค่าใช้จ่ายมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยค่าใช้จ่ายในปี ค.ศ. 1949 ได้แก่ อาหารร้อยละ 40.0 ที่อยู่อาศัยร้อยละ 26.1 เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มร้อยละ 11.7 การเดินทางร้อยละ 7.3 การเดินทางพักผ่อนหย่อนใจร้อยละ 5.0 ด้านสุขภาพร้อยละ 3.2 และอื่นๆ ร้อยละ 6.7 ตามลำดับ แต่ผลการสำรวจในปี ค.ศ. 2011 พบว่า ค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยกลับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 41.0 ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายการเดินทางที่เพิ่มถึงระดับร้อยละ 16.9 พร้อมกับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพอีกร้อยละ 7.1 ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างมากนี้ได้ไปลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารลงเหลือร้อยละ 15.3 และค่าใช้จ่ายด้านเครื่องนุ่งห่มที่ลดลงเหลือร้อยละ3.6


ภาพแสดงค่าใช้จ่ายของพลเมืองสหรัฐฯ เปรียบเทียบปี ค.ศ.1949 กับปี ค.ศ. 2011

ที่มา : NPR (Online) .April 8, 2012

เมื่อรวมค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยและการเดินทางเข้าด้วยกันตามวิธีคิดของH+T Index หรือเท่ากับ 57.9 พบว่าเกินมาตรฐานร้อยละ 45 ไปมากซึ่งทำให้เห็นอุปสรรคสำคัญ 2 ประการคือ 1) โอกาสในการเลือกหาทำเลที่อยู่อาศัยของคนอเมริกันที่เหมาะสมกับระดับรายได้ลดลง 2) อุปสรรคในการขยายโครงการที่อยู่อาศัยหลายระดับราคาตามความสามารถในการซื้อของประชาชน(AffordableHousing) มีมากขึ้น แม้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จะมีสต๊อคที่ดินและที่อยู่อาศัยรอการจำหน่ายอยู่เป็นจำนวนมากก็ไม่ถือว่าเป็นปัจจัยบวก เนื่องจากยังมีช่องว่างด้านทำเลที่ตั้งและความสามารถในการซื้อหาของประชาชนเป็นอุปสรรคขวางกั้น ดังนั้น หากยังไม่สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยและค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้ต่ำลง ประชาชนส่วนใหญ่ก็จะขาดโอกาสในการซื้อหาที่พักอาศัยซึ่งจะยิ่งทำให้ช่องว่างดังกล่าวขยายออกห่างมากขึ้น


แผนที่แสดงค่าเฉลี่ยจำนวนรถยนต์ต่อครัวเรือนและความหนาแน่นของครัวเรือนต่อเอเคอร์

ที่มา : Housing+Transportation Affordability inWashington, DC, July 2011

แนวทางการวางผังเพื่อเพิ่มโอกาสการมีที่อยู่อาศัย

มาตรการทางผังเมืองที่การเติบโตอย่างชาญฉลาดกำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการปรับปรุงกายภาพให้ลดค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยและค่าใช้จ่ายการดินทางมีอยู่ด้วยกัน2 ระดับคือ

ระดับเกณฑ์และนโยบาย

ประกอบด้วยเกณฑ์หลักจำนวน5 ข้อได้แก่

1) การส่งเสริมที่อยู่อาศัยหลายระดับราคาตามความสามารถในการซื้อของประชาชน(AffordableHousing) ให้กระจายตามพื้นที่เป้าหมาย

2) การใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างผสมผสานเพื่อให้เกิดการรวมกิจกรรมพักอาศัยและพาณิชยกรรมรวมทั้งกิจกรรมด้านอื่นๆ เข้าด้วยกัน

3) การส่งเสริมการออกแบบปรับปรุงอาคารให้เกาะกลุ่มกันเพื่อลดการพึ่งพาการสัญจรเชื่อมต่อจากรถยนต์

4) การออกแบบปรับปรุงกายภาพทางเดินให้เชื่อมต่อภายในย่านและระหว่างอาคาร และ

5) การเพิ่มทางเลือกการเดินทางที่มีความหลากหลายโดยเน้นส่งเสริมระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อระหว่างย่านและเมือง

ระดับกลยุทธ์

ประกอบด้วย4 กลยุทธ์ได้แก่

1) การพัฒนาอาคารพักอาศัยให้ตั้งผสมผสานหรือรายรอบสถานที่ทำงานซึ่งได้แก่ บริเวณย่าน

พาณิยกรรมและสถาบันสำคัญของเมือง

2) การวางผังโครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน(Transit OrientedDevelopment-TOD) โดยกำหนดให้มีที่อยู่อาศัยหลายระดับราคาตั้งอยู่รอบสถานีขนส่งมวลชนในระยะการเดินถึง

3) การกระชับทางกายภาพพื้นที่ชุมชนในเขตเชื่อมต่อเมืองและชานเมืองด้วยกลยุทธ์ศูนย์ชุมชนหรือศูนย์พาณิชยกรรมชุมชนที่มีขอบเขตชัดเจน ซึ่งสามารถพัฒนาให้เป็นพื้นที่ TOD ในอนาคต และ

4) กลยุทธ์การเพิ่มความหนาแน่นในพื้นที่ชั้นในของเมือง ด้วยการเพิ่มขนาดมวลอาคาร การเพิ่มความสูง และการขจัดอุปสรรคปัญหาด้านกฎหมายและระเบียบปฎิบัติที่ไม่สอดคล้องกับการเพิ่มความหนาแน่น

ซึ่งมาตรการด้านผังเมืองของการเติบโตอย่างชาญฉลาดทั้งสองระดับอาจนำมาประยุกต์ใช้ด้วยกันทั้งหมดหรืออาจคัดเลือกใช้บางมาตรการให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ก็ได้

สรุป

การวางผังให้เกิดโอกาสการเข้าถึงและการซื้อหาที่อยู่อาศัยเป็นบทบาทหน้าที่โดยตรงของระบบการผังเมืองซึ่งต้องกำหนดรายละเอียดพร้อมการบูรณาการในผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน ผังโครงข่ายคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผังการพัฒนาเศรษฐกิจและผังการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้เกิดความชัดเจนสอดคล้องกัน รวมทั้งมาตรการด้านผังเมืองที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ทั้งนี้ ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดได้แก่ ทุกการวางผังปรับปรุงฟื้นฟูจะต้องกำหนดให้กายภาพมีบทบาทนำในการบังคับกิจกรรมของประชาชนให้ลดค่าใช้จ่าย ลดการใช้พลังงาน หรือลดความสิ้นเปลืองในการใช้ทรัพยากร และเพิ่มมูลค่าและคุณค่าของพื้นที่ เพิ่มโอกาสการสร้างงานและการมีงานทำ เพิ่มความคึกคักมีชีวิตชีวาทางเศรษฐกิจ และที่สำคัญคือการเพิ่มโอกาสในการซื้อหาที่อยู่อาศัยซึ่งจะทำให้ชุมชนมีความมั่นคงและยั่งยืนตลอดไป

ชมวีดีโอที่ 2 จากท้ายเพจ ตามลิ้งก์ ชื่อเรื่อง June 3, 2011: David on relocating slum dwellers in Turkey //www.affordablehousinginstitute.org/videos.php#maysacityscape

เอกสารอ้างอิง

SmartGrowth America, 2002, Measuring Sprawl and Its Impact, Available from:

//www.smartgrowthamerica.org/resources/measuring-sprawl-and-its-impact/.April 8, 2012

TheCenter for Neighborhood Technology, 2011, Housing+Transportation Affordabilityin Washington, DC, July 2011

Full Report, Available from: //www.cnt.org/tcd/.April 8, 2012

NPR,2012, What American Buys, Available from:

//www.npr.org/blogs/money/2012/04/05/149997097/what-americans-buy?sc=fb&cc=fp.April 8, 2012


ท่านใดสนใจแนวความคิดSmarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebookนี้ครับ //www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall




 

Create Date : 09 เมษายน 2555    
Last Update : 9 เมษายน 2555 9:25:21 น.
Counter : 1418 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.