ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

มิติใหม่ผังเมืองรวมที่เมืองเกาะสมุย ประชาชนร่วมกำหนดอนาคตกับทุกภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ตอน 3

ความเดิมตอนที่แล้ว
(ตอน 1) ตามลิ้งก์ //www.oknation.net/blog/smartgrowth/2013/03/26/entry-1
(ตอน 2) ตามลิ้งก์ //www.oknation.net/blog/smartgrowth/2013/04/12/entry-1




บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมาย ของ นักวิชาการผังเมือง อ.ฐาปนา บุณยประวิตร บน Facebook //www.facebook.com/SmartGrowthThailand ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่อง การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิด ข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์ และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคต ที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่าง ก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน





วันนี้มาชมภาพ”โครงการปรับปรุงผังเมืองรวมเมืองเกาะสมุย” กันครับ ที่มีหลายฝ่าย หลายภาคส่วน และหลายท้องถิ่น ช่วยกันร่วมกำหนดอนาคต ว่าเมืองควรจะเป็นอย่างไร

เข้าบทความกันเลยครับ

ภาพการปฏิบัติการยกร่างผังเมืองรวมตามขั้นตอนการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานทางธรรมชาติ แหล่งต้นน้ำ คู คลองที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงฟื้นฟู ดำเนินการโดยสมาชิกสภาเทศบาล ประธานชุมชน และตัวแทนประชาชนของตำบลอ่างทอง ลิปะน้อย หน้าเมือง และแม่น้ำ ระหว่างวันที่ 4-11 เมษายน พ.ศ.2556




ตัวแทนชุมชนอ่างทองกำลังค้นหาเส้นทางน้ำดั้งเดิม และพื้นที่คูคลองที่ถูกรุกล้ำซึ่งมีความจำเป็นต้องปรับปรุงฟื้นฟู และเสนอให้ออกข้อกำหนดจัดการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางธรรมชาติให้กลับมาสมบูรณ์ดังเดิม

เครดิต //www.facebook.com/photo.php?fbid=530489476992384&set=a.530489390325726.1073741838.382016971839636&type=1&theater



นางสาวกวินทรา ภู่ระหงษ์ นักผังเมืองและนางสาวกมลรัตน์ หอมเอี่ยม สถาปนิกผังเมืองร่วมชี้แจงระดับชั้นของพื้นที่และความรุนแรงจากการไหลบ่าของน้ำในกรณีที่แนวคูคลองดั้งเดิมถูกรุกล้ำ

เครดิต //www.facebook.com/photo.php?fbid=530492550325410&set=a.530489390325726.1073741838.382016971839636&type=1&permPage=1




ตัวแทนชุมชนลิปะน้อยร่วมกันกำหนดพื้นที่การเกษตรและพื้นที่สงวนรักษา รวมทั้งพื้นที่ต้องปรับปรุงฟื้นฟูเพื่อการอยู่อาศัยอย่ายั่งยืนในอนาคต

เครดิต //www.facebook.com/photo.php?fbid=530493596991972&set=a.530489390325726.1073741838.382016971839636&type=1&permPage=1




อ.ศิวพงศ์ ทองเจือ สถาปนิกผังเมือง และตัวแทนชุมชนลิปะน้อยร่วมกันคัดเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการก่อตั้งตลาดสดและหน่วยสาธารณูปโภคที่ประชาชนสามารถเดินถึงได้ภายในห้านาที

เครดิต //www.facebook.com/photo.php?fbid=530494636991868&set=a.530489390325726.1073741838.382016971839636&type=1&permPage=1




นายพิสิทธิ์ พรมจันทร์ รองประธานสภาเทศบาลนครฯ และนายสกล เค้าศิริวัฒน์ สมาชิกสภาฯ ร่วมกับนายฐาปนา บุณยประวิตร นักผังเมืองกำหนดพื้นที่คูคลองดั้งเดิมที่ถูกบุกรุกและก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในพื้นที่ตำบลแม่น้ำ

เครดิต //www.facebook.com/photo.php?fbid=530495623658436&set=a.530489390325726.1073741838.382016971839636&type=1&permPage=1




ตัวแทนชุมชนแม่น้ำร่วมกำหนดพื้นที่สงวนรักษาเพื่อนุรักษ์ต้นน้ำลำธารและห้ามก่อสร้างเด็ดขาดบริเวณชั้นความสูงระหว่าง 70-120 เมตรจะระดับน้ำทะเลปานกลางซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งอยู่นอกเหนือการควบคุมของ (ร่าง) กฎกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่จะประกาศบังคับใช้ในอีกไม่นานนี้

เครดิต //www.facebook.com/photo.php?fbid=530496643658334&set=a.530489390325726.1073741838.382016971839636&type=1&permPage=1




ตัวแทนชุมชนแม่น้ำ ระบุรายละเอียดพื้นที่ซึ่งต้องทำการปรับปรุงฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน

เครดิต //www.facebook.com/photo.php?fbid=530497843658214&set=a.530489390325726.1073741838.382016971839636&type=1&permPage=1




ประธานชุมชนหน้าเมืองและตัวแทนประชาชนร่วมกันกำหนดพื้นที่สงวนรักษาพื้นที่ดินอุดมสมบูรณ์เพื่อการปลูกทุเรียน ลองกอง และไม้ผล

เครดิต //www.facebook.com/photo.php?fbid=530499786991353&set=a.530489390325726.1073741838.382016971839636&type=1&permPage=1




ตัวแทนชุมชนหน้าเมืองกำหนดจุดที่ตั้งของพื้นที่นาข้าวดั้งเดิมซึ่งเป็นที่ลุ่มต่ำ น้ำท่วมถึงไม่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน แต่ปัจจุบันได้ถูกเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ที่ดินและอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์เป็นกิจกรรมอย่างอื่นที่ไม่ใช่การเกษตร

เครดิต //www.facebook.com/photo.php?fbid=530500273657971&set=a.530489390325726.1073741838.382016971839636&type=1&permPage=1




ท่านใดสนใจแนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ //www.facebook.com/smartgrowththailand




อ่านเนื้อเรื่อง “ย้อนหลัง” ลิ้งก์ตามที่อยู่ด้านล่างนี้ (เพื่อจะได้รับทราบข้อมูล “ผังเมือง” ในระดับโลก เค้าไปถึงไหนกันแล้ว //www.oknation.net/blog/smartgrowth




 

Create Date : 28 เมษายน 2556    
Last Update : 28 เมษายน 2556 12:01:59 น.
Counter : 1346 Pageviews.  

บทบรรยายของ ผู้เปลี่ยนเมืองอันตราย เป็นเมืองที่น่าอยู่ Mr.Enrique Penalosa อดีตนายกเทศมนตรีโบโกต้า

เกริ่นนำ

บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมาย ของหนึ่งในทีมงาน Smart Growth Thailand คุณฉัตรนุชัย สมบัติศรี รองปลัดเทศบาลนครระยอง




เข้าบทความกันเลยครับ

สรุปเนื้อหาการบรรยายเรื่อง

“Planning Cities for People : An International Perspective.”

บรรยายโดย Mr.Enrique Penalosa อดีตนายกเทศมนตรีนครโบโกต้า ประเทศโคลัมเบีย

จัดโดย The Portland State University Urban Planning Club

เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555





ผู้เปลี่ยนเมืองอันตราย เป็นเมืองที่น่าอยู่ Mr.Enrique Penalosa อดีตนายกเทศมนตรีนครโบโกต้า


ในปี 2000 มีสิทธิเลือกตั้งร้อยละ 64 ของประชาชนในเมืองโบโกต้า ต้องการให้มีวัน Car Free ในวันพฤหัสบดีแรกของเดือนกุมภาพันธ์ทุกปี ในช่วง 13 ชั่วโมงของวันคาร์ฟรีเดย์ประชาชนทุกคนมีความเท่าเทียมกันในการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ(แท็กซี่และรถเมล์ BRT),เดิน หรือใช้จักรยาน ทั้งคนจนคนรวย จะไม่มีการใช้รถยนต์ส่วนตัวเลย เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ถอนรากถอนโคน(Radically) สร้างการเรียนรู้ให้กับประชาชนในบรรยากาศใหม่ ๆ




•โบโกต้าออกแบบระบบขนส่งมวลชนโดยที่ไม่ทราบว่าเมืองที่ต้องการเป็นแบบใดได้อย่างไร ? คำตอบคือ ไม่ใช่ที่ระบบขนส่งมวลชนหรือเมืองที่ต้องการเป็นแบบใด แต่มันเป็นเรื่องของ Way of Life

•การคิดที่จะสร้างเมืองให้เป็นเมืองที่ดี(Good City)นั้นเป็นสิ่งที่ดึงดูดใจเพราะ:

1.มันเป็นชีวิตและความสุขของพวกเรา

2.มันไม่มีคำตอบว่าผิดหรือถูก

3.พวกเรารู้โดยสัญชาตญาณว่ามันเป็นทิศทางที่แตกต่างและดีกว่าอย่างสิ้นเชิงในการที่จะจัดการกับเมือง

เมืองที่ดี(Good City)คืออะไร ?

Jan Gehlนักผังเมืองและสถาปนิกชาวเดนมาร์คได้กล่าวไว้ว่า “A Good City is one where we want to be out of in public space.” เมืองที่ดี คือ เมืองที่พวกเราสามารถอยู่ข้างนอกบ้านในพื้นที่สาธารณะได้ เช่น บนทางเท้า ในสวนสาธารณะ ในพลาซ่า ไม่ใช่ในศูนย์การค้าหรือในบ้าน





•พวกเราเป็นสัตว์เดินเท้า(Pedestrians) พวกเราต้องเดิน(Walking) ไม่ใช่เพื่อมีชีวิตอยู่ แต่เพื่อความสุข เหมือนดั่งพวกนกที่ต้องบิน หรือกวางที่ต้องวิ่ง เพราะฉะนั้นทางเท้า(Side Walk)ที่กว้าง ๆ สำหรับให้ประชาชนเดินจึงเป็นสิ่งจำเป็น

•พวกเราต้องการที่จะพบปะผู้คน ต้องการที่จะติดต่อกับผู้คน พวกเราต้องการที่จะสัมผัสกับธรรมชาติ สีเขียวของต้นไม้ ชายหาด แม่น้ำ

•เมืองที่ดีคือ เมืองสำหรับทุกคน ทั้งคนด้อยโอกาสได้แก่ เด็ก คนแก่ ผู้พิการ หรือคนยากจน

•พวกเราไม่ต้องการความรู้สึกที่ต่ำต้อย ในเมืองที่เป็นประชาธิปไตยประชาชนทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะคนจนหรือคนรวยมีสิทธิเท่าเทียมกันในการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นสวนสาธารณะ พื้นที่ริมน้ำ ริมทะเล ชายหาด โดยเฉพาะพื้นที่สาธารณะในเมืองไม่ควรเป็นพื้นที่ของเอกชนหรือส่วนบุคคล

•ร้อยละ 70 ของอุบัติเหตุในแต่ละปีที่เกิดขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนา มีเด็กเสียชีวิตจำนวนมาก และผู้ที่เสียชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นคนเดินเท้าและใช้จักรยาน

•ความเป็นเมืองเกิดขึ้นมาบนโลกประมาณ 5,000 ปี ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีรถยนต์ รถยนต์เพิ่งเกิดมีขึ้นประมาณ 80 ปีที่ผ่านมา





•การที่จะให้เมืองเป็นมิตรกับคน หรือให้เมืองเป็นมิตรกับรถยนต์ เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกัน วัฒนธรรมรถยนต์มีอิทธิพลกับวิถีชีวิตของมนุษย์มากเมื่อไม่นานมานี้เอง ในอดีตเมืองหลายแห่งเช่น ในญี่ปุ่น ในอิตาลี หรือฝรั่งเศส หรืออเมริกา ไม่มีรถยนต์ มีเฉพาะรถม้า รถลาก เด็ก ๆ สามารถเดินไปโรงเรียนได้โดยปลอดภัย




•ถนนในเมืองที่ออกแบบให้รถยนต์สามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงเป็นเสมือนรั้วกันวัวไว้ในคอก เพราะเราไม่สามารถข้ามถนนได้โดยอิสระ ถูกลดทอนอิสรภาพ




•ตัวอย่างที่ดีและกล้าหาญในการเอาถนนไฮเวย์ออกจากเมืองคือ เกาหลีใต้ รื้อทางด่วนคร่อมคลองซองแกชอนออกไป และปรับปรุงให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่สวยงามมีชื่อเสียงมาก อีกแห่งคือเมืองพอร์ตแลนด์ที่กล้ารื้อถนนไฮเวย์ออกไปและสร้างสวนสาธารณะขึ้นมาแทน




•การที่จะประเมินว่าเมืองได้ทำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีหรือยัง ให้ประเมินจากการที่เมืองได้สร้างสถานที่และสภาพแวดล้อมรอบ ๆ บริเวณนั้น ๆ ให้สามารถอยู่ เดิน เล่น ได้อย่างมีความสุขหรือไม่ ไม่ใช่เพียงการสร้างสนามกีฬา สร้างสวนสาธารณะ หรือสร้างตึกสูง ๆ เท่านั้น

•ศตวรรษที่ 20 จะถูกจดจำว่าเป็นช่วงหนึ่งของหายนะประวัติศาสตร์เมือง คนในอนาคตจะนึกถึงคนปัจจุบันว่าอยู่กันได้อย่างไรในสภาพเช่นปัจจุบัน แล้วเราจะเปลี่ยนแปลงมันได้อย่างไร ตอนนี้พวกเราตระหนักแล้วว่าพวกเราผิดพลาดที่สร้างเมืองให้รถวิ่งแทนที่จะสร้างความสุขให้ผู้คน ตอนนี้เมืองหลายเมืองในยุโรปได้เปลี่ยนแปลงคือ ปิดถนนให้คนเดิน สร้างถนน/ทางเท้าให้คนเดินเท่านั้น





•ในโบโกต้า ได้สร้างถนนสำหรับคนเดินเท้าและจักรยาน(Pedestrian and Bicycle Highway)เท่านั้น ยาวกว่า 24 กิโลเมตร ชื่อว่า “Porvenir Promenade” เชื่อมโยงย่านต่าง ๆ เข้าด้วยกันทั้งย่านคนจนย่านคนรวย มีสวนสาธารณะ โรงเรียน ทางเท้าที่สวยงามกว้างขวางได้มาตรฐาน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิงสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับจักรยานที่ได้มาตรฐานระดับโลก ที่มีความสวยงามและแยกจากทางรถยนต์ชัดเจน







•รัฐบาลญี่ปุ่นโดย JICA เคยเสนอให้งบประมาณสร้างถนน 8 เลน แต่เราเปลี่ยนไปสร้าง Greenway ยาว 30 กิโลเมตรแทน คือ “Juan Amarillo Greenway”




•การสร้างโครงสร้างพื้นฐานเช่นทางเฉพาะจักรยานและทางเดินเท้าที่กว้างขวางเช่นนี้ สร้างความแตกต่างและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับเมืองอย่างมาก สร้างความสุขให้ประชาชน เป็นสิ่งที่ง่ายถ้าคิดจะทำเช่นนี้ แล้วทำไมจึงไม่ทำกัน




•เรื่องจักรยานเป็นเรื่องจริงจัง จำเป็นต้องการการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสำหรับจักรยานอย่างจริงจังด้วย เช่นประเทศยุโรปได้แก่ เยอรมันนี เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ค

•ในพื้นที่ปลายทางที่มีระยะทางไกล ๆ สามารถใช้จักรยานไฟฟ้าช่วยได้

•การสร้างทางจักรยานที่แยกออกมาจากทางรถยนต์(Protected Bicycle Way)เป็นสิ่งที่จำเป็นมากเพื่อป้องกันอุบัติเหตุเพราะหากเกิดอุบัติเหตุกับเด็กที่ใช้จักรยานเพียง 1 รายก็ไม่คุ้มแล้ว





•การสร้างทางจักรยานเฉพาะ(Protected Bicycle Way)ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นประชาธิปไตยอย่างหนึ่ง เพราะจักรยาน 1 คันราคาประมาณ 30 ดอลล่าร์ กับรถยนต์ 1 คันราคา 30,000 ดอลล่าร์ มีความสำคัญเท่าเทียมกันเมื่ออยู่บนถนน




•การสร้างทางจักรยานเฉพาะหรือการสร้างทางเท้าที่กว้างขวาง เป็น “สิทธิของพลเมือง”ที่ต้องได้รับบริการสาธารณะเหล่านี้จากรัฐ

•ทางเท้าที่ได้มาตรฐาน(Quality Sidewalks)เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของโครงสร้างพื้นฐานของเมืองประชาธิปไตย ทางเท้าเป็นส่วนประกอบหนึ่งของระบบขนส่งมวลชนที่สามารถบูรณาการกันได้

•ประชาชนมักจะชอบที่จะใช้บริการระบบขนส่งมวลชน ถ้ามีทางเท้าที่สามารถนำพาพวกเขาไปยังสถานีรถบัสหรือสถานีรถไฟฟ้าได้อย่างสะดวกสบาย

•การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมืองที่ดี ไม่ได้วัดกันที่ว่ามีทางด่วนหรือมีรถไฟฟ้าใต้ดิน แต่ดูกันที่ว่าเมืองนั้นมีทางเท้าที่ได้มาตรฐาน(Great Sidewalk)หรือไม่

•เมืองในประเทศที่กำลังพัฒนาส่วนใหญ่มีทางเท้าที่ไม่ได้มาตรฐานหรือบ้างก็ไม่มีทางเท้าเลยเลย หรือมีทางเท้าแต่เอาไว้จอดรถยนต์แทน แต่สำหรับโบโกต้าได้ปรับปรุง “ทางเท้าสำหรับประชาชนคนเดินถนน”ให้มีขนาดกว้างขวางขึ้นโดยลดขนาดเลนถนนลงไป ลดพื้นที่จอดรถยนต์สองข้างทางลงไป ไม่ให้ความสำคัญกับรถยนต์ นายกฯมองว่าทางเท้ามีความสัมพันธ์(เป็นญาติ)กับสวนสาธารณะหรือพลาซ่ามากกว่าถนน จนนายกเทศมนตรีเกือบถูกถอดถอนจากตำแหน่ง มีประชาชนบางส่วนไม่เข้าใจมาต่อต้านให้หยุดสร้างเนื่องจากทางเท้ากว้างเกินไปและมีขนาดที่เพียงพอแล้วไม่จำเป็นต้องสร้างทางเท้าให้กว้างขนาดนั้น





•ตัวอย่างการสร้างทางเท้าที่ยิ่งใหญ่ได้มาตรฐานกว้างขวาง ของเมืองโบโกต้า ทางเท้าที่เป็นญาติกับสวนสาธารณะหรือพลาซ่า ไม่ได้เป็นญาติหรือหรือมีความสัมพันธ์กับถนน ดังนั้นจึงเปลี่ยนที่จอดรถยนต์เป็นทางเท้า เมืองใหญ่ ๆ เช่นปารีส มีทางเท้าที่กว้างขวางเช่น ถนนซองเซลิเซ่ เป็นต้น




•การขนส่งมวลชนเป็นปัญหาเฉพาะ ยิ่งสังคมมีคนรวยมากขึ้น(รถยนต์มาก,ระยะเดินทางไกลขึ้น)ปัญหายิ่งแย่ลงทุกวัน ถึงแม้ว่าจะสร้างทางด่วนมากมายแต่ทุกๆ ปีปัญหารถติดก็ยังเป็นปัญหาสำคัญของเมืองในอเมริกา




•ปัญหารถติดไม่ได้เกิดจากจำนวนรถที่มากขึ้นเท่านั้น แต่ยังเกิดจากจำนวนเที่ยวในการเดินทางและระยะทางในการเดินทาง รถยนต์ 10 คัน เดินทาง 1 กิโลเมตร สร้างปัญหารถติดได้เท่ากับ รถยนต์ 1 คัน เดินทาง 10 กิโลเมตร ไม่มีเมืองไหนในโลกที่แก้ไขปัญหารถติดด้วยการสร้างถนนเพิ่ม คำตอบสำหรับการแก้ไขปัญหามีทางเดียวคือ “ระบบขนส่งมวลชน”

•ระบบขนส่งมวลชนที่มีราคาถูก และมีความถี่ของจำนวนเที่ยวสูงต้องการความหนาแน่นของประชากรและเมืองอย่างมาก ดังนั้นระบบขนส่งมวลชนราคาถูก ความถี่สูงเหมาะสมสำหรับเมืองที่มีความหนาแน่น(Compact City) ไม่กระจัดกระจาย

•เมืองที่มีความหนาแน่นต่ำ หมายถึงเมืองที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนสูง เพราะจะมีแต่ถนน ใช้รถยนต์สูง คนไม่เดินบนถนน

•ถ้าเราวางผังเมืองให้มีความหนาแน่นสูง ระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ สามารถไปได้ดีไม่ว่าจะเป็น รถราง รถเมล์ รถใต้ดิน รถแท็กซี่ หรือจักรยาน ฯลฯ สำหรับเมืองพอร์ตแลนด์ความท้าทายที่แท้จริงของระบบขนส่งมวลชน ของสิ่งแวดล้อม และของคุณภาพชีวิต คือ การทำให้เมืองหนาแน่นมากขึ้น(to achieve higher densities)

•เราสร้างเมืองไม่ใช่เพื่ออนาคตระยะ 5 ปีข้างหน้า เราสร้างเมืองเพื่อ 500 ปี หรือ 1,000 ปี ข้างหน้า ประชากรมหานครพอร์ตแลนด์ปัจจุบันประมาณ 2 ล้านคน อีก 20-30 ปีข้างหน้าจะมีประชากรเพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านคน แล้วคนพวกนี้จะไปอยู่ที่ไหน? คงต้องอยู่อาศัยในใจกลางพอร์ตแลนด์ที่กระชับ การสร้างความหนาแน่นของเมืองไม่ใช่เพียงการปรับปรุงพื้นที่รกร้าง(Brownfield)เท่านั้น แต่มันเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิงของความหนาแน่นของชานเมืองชั้นใน โดยการรื้อพื้นที่ชานเมืองชั้นในของพอร์ตแลนด์ขนาด 300-500 เอเคอร์ เพื่อให้สร้างที่อยู่อาศัยในแนวทางที่แตกต่างให้ประชาชน 30,000 คน เช่น สร้างตึกสูงมากกว่า 30 ชั้น จะมีพื้นที่เหลือพอสำหรับสวนสาธารณะขนาดใหญ่ สนามเด็กเล่น ฯลฯ





•การอนุรักษ์ตึกเก่าหรือของเก่ามีคุณค่าที่สมควรอนุรักษ์หรือไม่? การอนุรักษ์ไม่ได้อนุรักษ์ไว้แค่ระยะ 30 ปี แต่ต้องอนุรักษ์ไว้กว่า 3,000 ปี เพราะฉะนั้นการรื้อบ้านในย่านชานเมืองจึงไม่น่าที่จะเป็นห่วงในด้านการอนุรักษ์มากนัก




•ระบบไฟฟ้าขนาดเบา(Light Rail)ไม่เหมาะสำหรับพื้นที่หนาแน่นน้อย เหมาะสมกับพื้นที่หนาแน่นสูงและมีความถี่ในการใช้งานสูง

•คนในพื้นที่ชานเมืองเขาแสวงหาบ้านที่ปลอดภัยสำหรับเด็กๆในการขี่จักรยาน รถไม่ติด มีพื้นที่รอบบ้านสนามหญ้าสีเขียว มีทางเท้า มีโรงเรียน ฯลฯ ถ้าเราจะสร้างพื้นที่หนาแน่นสูงในเขตชานเมืองต้องทดแทนสิ่งเหล่านี้ให้กับผู้อยู่อาศัย

•การสร้างพื้นที่หนาแน่นสูงไม่ใช่การมีตึกสูงเท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญคือ “พื้นที่สาธารณะรอบตึก” ที่สามารถเป็นที่เล่น ที่เดิน ที่พบปะพูดคุย ที่แสดงความรักด้วยการจูบ ฯลฯ

•การสร้างพื้นที่หนาแน่นสูงไม่ใช่การสร้างตึกสูง ๆ แต่มีทางเท้าที่เล็กนิดเดียวหรือมีแต่ที่จอดรถ แต่เป็นการสร้างที่อยู่อาศัยที่สวยงามและดีกว่าอย่างสิ้นเชิงเพื่อให้ผู้อาศัยมีความสุข เมืองพอร์ตแลนด์ต้องทำสิ่งเหล่านี้ให้แตกต่างอย่างสิ้นเชิงเพราะเป็นผู้นำในด้านนี้อยู่แล้ว อย่าไปสร้างตึกสูงแต่พื้นที่รอบ ๆ ตึกเล็กนิดเดียว





•การสร้างพื้นที่หนาแน่นสูงแห่งใหม่ ไม่ใช่สร้างสำหรับเพื่อผู้ใหญ่เท่านั้น แต่สร้างเพื่อความสุขสำหรับเด็กที่สามารถปั่นจักรยานไปโรงเรียน ไปร้านค้า ไปบ้านเพื่อน ตามทางจักรยานและทางเท้า(Greenways)ที่มีระยะทางเป็นสิบ ๆ ไมล์




•เราจะสามารถสร้างเส้นทางสัญจรที่สามารถสลับไปมาในเมืองได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็น Greenways หรือ Promenade สำหรับทางจักรยานและคนเดินเท่าเท่านั้น หรือถนนสำหรับรถบัสและคนเดินเท้าเท่านั้น(โดยการลดพื้นที่จอดรถยนต์และสร้างทางเท้าให้ใหญ่โตกว้างขวางและทางจักรยานโดยเฉพาะแทน)

•พื้นที่หนาแน่นสูงต้องการสวนสาธารณะ

•ประชาชนในเมืองที่มั่งคั่ง เช่น ซูริค ปารีส นิวยอร์คหรือลอนดอน ทำไมนิยมใช้ระบบขนส่งมวลชน? หรือเป็นเพราะพวกเขาชอบระบบขนส่งมวลชนหรือพวกเขาชอบสภาพแวดล้อมรอบ ๆ กันแน่?

•การเคลื่อนย้ายคนกับการจราจร (Mobility and Traffic Jams): 2 ปัญหาที่แตกต่างกันและ 2 แนวทางแก้ไขที่แตกต่างกัน การเคลื่อนย้ายคนใช้ระบบขนส่งมวลชน เช่น รถราง รถเมล์ เป็นต้น สามารถแก้ไขได้ แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาจราจรได้ทั้งหมด การแก้ไขปัญหาจราจรต้องใช้วิธีการจำกัดการใช้รถยนต์(Restrict Car Use) เราจะจำกัดการใช้รถยนต์ได้โดยการจำกัดที่จอดรถยนต์(Restrict Car Parking) ต้องไม่ให้มีที่จอดรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นตึกสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า อาคารต่าง ๆ ต้องเป็น Zero Parking

•ตราบใดที่เรามีถนนที่มีที่จอดรถยนต์ แสดงว่าสามารถมีพื้นที่พอที่จะสร้างทางเท้าที่กว้างขวางและทางจักรยานได้

•ในบางประเทศ สิทธิในการจอดรถยนต์ไม่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

•พื้นที่ถนน เป็นทรัพยากรของเมืองที่มีมูลค่าสูงที่สุด

•ถ้ารถยนต์มีต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมและสังคมสูง แสดงว่าระบบขนส่งมวลชนและจักรยานมีคุณประโยชน์มากเท่านั้น เราอุดหนุนภาษีให้กับน้ำมันใช้กับรถยนต์แทนที่จะอุดหนุนงบประมาณให้กับระบบขนส่งมวลชนที่ดีกว่า

•การที่จะทำให้ทางเท้ากว้างขึ้นสำหรับคนเดินเท้า และลดพื้นที่ถนนให้รถยนต์น้อยลง เราจะต้องมีระบบขนส่งมวลชนที่ดีก่อน





•ระบบขนส่งมวลชนที่ดี ได้แก่ ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินและระบบรถราง แต่ระบบรถบัส BRT ก็ดีเช่นเดียวกันและราคาถูกกว่าด้วย

•Mr.Penalosa มีข้อโต้แย้งเรื่องระบบขนส่งที่เขาเลือกใช้ BRT ว่าเป็นระบบที่ดีราคาถูก แต่มักจะถูกตำหนิว่าเป็นระบบที่ไม่มีความสะดวกเท่าไหร่

•ระบบ BRT และรถราง สามารถเข้าถึงผู้โดยสารตามย่านชุมชนได้ดีกว่า

•ถ้าระบบ BRT ดีกว่า ทำไมเมืองใหญ่ ๆ ถึงไม่สร้างระบบ BRT แทนที่ระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นเพราะระบบรถรางและรถไฟฟ้าใต้ดินมีมาก่อนระบบ BRT ซึ่งมาทีหลังเมื่อประมาณปี 1985 ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีของ BRT ดีขึ้นมาก

•ระบบรถรางเป็นระบบที่ดีและสวยงาม แต่ BRT ก็สามารถทำให้สวยงามได้เหมือนกัน โดยนำงบประมาณที่ประหยัดได้จากการทำระบบรางมาปรับปรุงพื้นที่สาธารณะรอบ ๆ ระบบ BRT ยกตัวอย่างเช่นที่เมืองเดนเวอร์ สร้างระบบ BRT ที่สวยงามได้เช่นกัน





•การสร้างระบบ BRT สามารถดึงดูดนักลงทุนเอกชนให้ลงทุนเพิ่ม เช่น ห้างสรรพสินค้า หรืออสังหาริมทรัพย์ที่สร้างขึ้นตามแนวเส้นทางรถ BRT ในโบโกต้ามากขึ้น

•ระบบรถรางเป็นระบบที่ดีสวยงาม แต่มันเหมาะสำหรับเมืองที่ร่ำรวย แต่สำหรับโบโกต้ายังเป็นเมืองที่ยากจนอยู่

•ระบบ BRT เหมาะสำหรับจุดที่มีการจราจรติดขัดมาก ๆ การจราจรจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าถึงเวลาจะมีระบบขนส่งมวลชนหรือยัง

•บางครั้งหรือบางพื้นที่ไม่มีพื้นที่ถนนเพียงพอสำหรับรถยนต์และระบบขนส่งมวลชน ดังนั้นบางพื้นที่ถนนในเขตเมืองชั้นในจึงมีเฉพาะระบบขนส่งมวลชนเท่านั้น ไม่มีรถยนต์ส่วนตัววิ่ง





•ทำไมถึงไม่กล้าคิดและทำในสิ่งที่แตกต่างเช่น สร้างเครือข่ายถนนขนาดใหญ่ให้เฉพาะคนเดินเท้า จักรยาน และรถเมล์หรือรถราง เท่านั้น




•เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่ประเด็นทางด้านเทคนิค แต่มันเป็นประเด็นทางด้านการเมือง : ระบบ BRT ของโบโกต้าสามารถรองรับผู้โดยสารได้ชั่วโมงละ 47,000 คนต่อทิศทาง มากกว่าระบบรถไฟฟ้าใต้ดินร้อยละ 95 ด้วยระยะทาง 84 กิโลเมตรของเส้นทางของ TransMilenio สามารถรองรับผู้โดยสารวันละ 1.7 ล้านคน

•ระบบ BRT สามารถเข้าไปในถนนย่านชุมชนเพื่อรับผู้โดยสารก่อนที่จะเข้าสู่เส้นทางเดินรถตามปกติ เช่นในเมืองกวางโจว ประเทศจีน





•ระบบ BRT ใช้เวลาเดินทางน้อยกว่าระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน มีความถี่ของจำนวนเที่ยวมากกว่า และมีระยะทางใกล้สถานีกว่าจากจุดต้นทางและจุดปลายทาง

•ข้อได้เปรียบของระบบรถรางคือ ความราบเรียบไม่ขรุขระในขณะเดินรถ

•ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉิน สงคราม หรือภูเขาไฟระเบิด มีน้ำมันอยู่ในเมืองแค่ 5 % เราจะจ่ายน้ำมันให้ใครก่อนระหว่างระบบขนส่งมวลชน หรือรถยนต์สว่นตัว

•เมืองที่มีรถยนต์จำนวนน้อย ๆ ไม่ได้เป็นความฝันของพวกฮิปปี้ มันมีจริง เช่น แมนฮัตตัน ซูริค เป็นต้นและเป็นเมืองที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก มีนักท่องเที่ยว นักลงทุนมากมาย แต่สำหรับเมืองใหม่ที่กำลังสร้างเมืองอยู่ต้องสร้างให้ดีกว่าของเดิมที่เป็นอยู่ เช่นเดียวกับพอร์ตแลนด์ที่เป็นผู้นำในหลาย ๆ ด้านอยู่แล้ว สามารถที่จะสร้างสรรค์เมืองให้หนาแน่น ได้ดีกว่าอย่างแน่นอน



………………………………………………..

สรุปเนื้อหาการบรรยายโดย ฉัตรนุชัย สมบัติศรี รองปลัดเทศบาลนครระยอง

หมายเหตุ ท่านสามารถเข้าไปชมและฟังต้นฉบับจริงได้ที่วีดีโอ







ท่านใดสนใจแนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ //www.facebook.com/smartgrowththailand

อ่านเนื้อเรื่อง “ย้อนหลัง” ลิ้งก์ตามที่อยู่ด้านล่างนี้ (เพื่อจะได้รับทราบข้อมูล “ผังเมือง” ในระดับโลก เค้าไปถึงไหนกันแล้ว //www.oknation.net/blog/smartgrowth






 

Create Date : 16 เมษายน 2556    
Last Update : 16 เมษายน 2556 19:05:05 น.
Counter : 2378 Pageviews.  

มิติใหม่ผังเมืองรวมที่เกาะสมุย ที่ประชาชนชาวสมุยร่วมกำหนดอนาคตกับทุกภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ตอน2

ความเดิมตอนที่แล้ว ตามลิ้งก์ //www.oknation.net/blog/smartgrowth/2013/03/26/entry-1


บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมาย ของ นักวิชาการผังเมือง อ.ฐาปนาบุณยประวิตร บน Facebook //www.facebook.com/SmartGrowthThailand ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่อง การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด(Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อBlog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิดข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคตที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่าง ก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน



วันนี้มาชมภาพปฏิบัติการยกร่างผังเมืองรวม เมืองเกาะสมุย กันครับที่มีหลายฝ่าย หลายภาคส่วนช่วยกันร่วมกำหนดอนาคต ว่าเมืองควรจะเป็นอย่างไร


เข้าบทความกันเลยครับ


ภาพการประชุมปฏิบัติการผังเมืองรอบแรก (ตำบลบ่อผุด)

ภาพการถ่ายทอดองค์ความรู้การเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ในการวางผังและออกแบบเมืองสำหรับประชาชนในพื้นที่ตำบลบ่อผุดประกอบการรับฟังความคิดเห็นและปฏิบัติการยกร่างผังเมืองรวมเมืองเกาะสมุยเทศบาลนครเกาะสมุย วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2556 ณ.ห้างบิ๊กซีซุปเปอร์เซ็นเตอร์สาขาเกาะสมุยมีตัวแทนชุมชนและผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เข้าร่วม 35 คน



นายฐาปนา บุณยประวิตร แนะนำหุ่นจำลองศูนย์พาณิชยกรรมบ่อผุดอำเภอเกาะสมุย ตามแผนการพัฒนา 20 ปีต่อผู้แทนชุมชนที่เข้าร่วมงาน


อาจารย์ ดร.สุภาพร แก้วกอ เลี่ยวไพโรจน์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาโครงสร้างพื้นฐานร่วมสังเกตุการณ์ปฏิบัติการยกร่างผังเมืองรวม



การจัดทำหุ่นจำลองศูนย์พาณิชยกรรมบ่อผุดแบ่งส่วนประกอบเมืองตามแนวทางของForm-Based Codes ซึ่งจำแนกเมืองตาม The Transact ออกเป็น 6 ส่วนซึ่งพื้นที่ภายในศูนย์พาณิชยกรรมมีส่วนประกอบของ T6 UrbanCore, T5 Urban Center, T4 General Urban และ T3 Sub-Urban และกำหนดบทบาทพื้นที่บริเวณ Main Street ให้เป็น UrbanCenter



ผู้ร่วมประชุมทดสอบปรับเปลี่ยนพื้นที่จัดวางอาคารและกำหนดประเภทอาคารในผังหุ่นจำลอง



ผู้ร่วมประชุมติดสติ๊กเกอร์แสดงตำแหน่งแปลงที่ดินที่กรรมสิทธิเพื่อกำหนดประเภทกิจกรรมการใช้ประโยชน์ในอนาคคต20 ปี



ผู้รวมประชุมแบ่งกลุ่มพิจารณารายละเอียดการวางผังและกำหนดตำแหน่งสาธารณูปการภายในพื้นที่ศูนย์พาณิชยกรรมบ่อผุด

…………………………………………………………


ภาพการเผยแพร่การเติบโตอย่างชาญฉลาดด้วยกลยุทธ์ Placemaking

ภาพโครงการปรับปรุงผังเมืองรวมเมืองเกาะสมุยโดยทีมงาน Smart Growth Thailand จัดเผยแพร่แนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาดด้วยกลยุทธ์การสร้างสถานที่ด้วยกิจกรรมทางผังเมือง(Placemaking) ผสมผสานการ Hand-On Public Workshop บริเวณใจกลางถนนคนเดินย่านพาณิชยกรรมละไม วันที่ 31มีนาคม พ.ศ.2556 เวลา 17.00-21.00น.ซึ่งถือว่าเป็นการเผยแพร่การเติบโตอย่างชาญฉลาดคร้ังแรกในเวทีสาธารณะถนนคนเดินซึ่งถ่ายทอดสดเสียงบรรยายให้ผู้ร่วมงานและร้านค้าจำนวนมากกว่า1,000 รายได้รับฟังโดยกิจกรรมดังกล่าวได้รับการประสานงานและสนับสนุนด้วยดีจากประธานชุมชนละไม นายสง่าพงศ์ฉบับนภา (อดีตกำนันตำบลมะเร็ต) และสมาชิกสภาเทศบาล นายสุโขทัย เสงี่ยมกุล



ชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นจำนวนมากเข้าร่วมกิจกรรมการสาธิตการวางผังและออกแบบเมืองและร่วมแจ้งกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินพร้อมแนวทางการสร้างสรรค์สถานที่ในอนาคต 20 ปี



นายฐาปนา บุณยประวิตรกล่าวนำสาธิตนำร่องแนวทางการวางผังและออกแบบเมืองและชี้ให้เห็นความสำคัญของการสร้างสถานที่ให้มีความสมบูรณ์



นางสาวกวินทรา ภู่ระหงษ์ นักผังเมืองและอ.ศิวพงศ์ ทองเจือสถาปนิกผังเมืองร่วมชี้แจงรายละเอียดการจัดวางสาธารณูปโภคสาธารณูปการภายในศูนย์พาณิชยกรรมชุมชนละไม



ประชาชนชี้ตำแหน่งที่ตั้งแปลงที่ดินที่ประสงค์จะก่อสร้างอาคารในอนาคต



หลังการร่วมกิจกรรมสร้างสถานที่ศูนย์พาณิชยกรรมผู้เข้าร่วมได้รับความสุขจากดนตรีเปิดหมวกสไตล์ R&B ของเกาะสมุย

……………………………………


โครงการปรับปรุงผังเมืองรวมเมืองเกาะสมุย

 ภาพงานเสวนาวิชาการเรื่องแนวทางการจัดทำข้อกำหนดอาคารตามยุทธศาสตร์เมืองเขียวณ.ห้องปะการัง เทศบาลนครเกาะสมุย วันที่ 10 เมษายน 2556 เวลา 10.00-13.00 น.มีผู้ร่วมประชุม 21 คน



ภาพบรรยากาศการเสวนามีผู้ร่วมประชุมประกอบด้วยคณะผู้แทนจากกรรมาธิการสถาปนิกทักษิณสาขาภาคใต้ตอนบน(เกาะสมุย) จำนวน 6 คน ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 8 คน ผู้แทนจากองค์กรชุมชนจำนวน 4 คนและนักวิจัยจากคณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มอ.สงขลา จำนวน 3 คน



วิทยากรนำการบรรยายประกอบด้วยสถาปนิกผังเมืองและนักผังเมืองอ.ศิวพงศ์ ทองเจือ (บรรยายแนวทางการใช้ Form-Based Codes สำหรับการจัดทำข้อกำหนดอาคาร)ดาวเรือง มณีทอง (บรรยายสรุปกฏกระทรวงผังเมืองรวมเกาะสมุย กฎกระทรวงควบคุมอาคารและร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม) กมลรัตน์ หอมเอื้อ(บรรยายสรุปรายละเอียดข้อกำหนด green building) และฐาปนาบุณยประวิตร (บรรยายสรุปแนวทางการจัดทำข้อกำหนดอาคารกรณีศึกษาของนครแวนคูเวอร์และการประยุกต์ใช้เกณฑ์ LEEDND สำหรับการวางผังและออกแบบเมืองเขียวพร้อมการวางข้อกำหนดควบคุมอาคารและสภาพแวดล้อม



ภาพหุ่นจำลองการวางผังและออกแบบชุมชนหน้าทอน อำเภอเกาะสมุยตามแนวทาง TOD โดยใช้เกณฑ์ของ FBCs และ LEEDND ซึ่งแบ่งพื้นที่ตาม The Transect และกำหนดพื้นที่ควบคุมสภาพด้านหน้าอาคาร(Frontage Type Standards) พร้อมการควบคุมรูปทรงอาคาร (BuildingType Standards)



คุณพิรพงศ์ ชัยดรุณตัวแทนจากกรรมาธิการสถาปนิกทักษิณสาขาภาคใต้ตอนบนและคุณไพศาล ศรีฟ้าตัวแทนองค์กรประชาชนวางแผนการจัดประชุมร่วมระหว่างโครงการปรับปรุงผังเมืองรวมเมืองเกาะสมุยกับคณะผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมและผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์คร้ังที่2 ในเดือนพฤษภาคม2556ท้ังนี้เพื่อสรุปรายละเอียดข้อเสนอการวางแผนการจัดการสภาพแวดล้อมอาคารและการยกร่างข้อกำหนดอาคารสำหรับพื้นที่อ.เกาะสมุยอนาคต 20 ปีตามแผนงานการปรับปรุงผังเมืองรวม



นายฐาปนาบุณยประวิตรนำเสนอข้อมูลและสอบถามความคิดเห็นการออกข้อกำหนดอาคารในพื้นที่ย่านสถาปัตยกรรมดั้งเดิมบริเวณชุมชนหัวถนนชุมชนหน้าทอน ชุมชนแม่นำ้ และชุมชนตลาดเก่าบ่อผุดซึ่งที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันให้ออกข้อกำหนดควบคุมอาคารและสภาพแวดล้อมในบริเวณดังกล่าวให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของชุมชนและสถาปัตยกรรม



ที่ประชุมมีความเห็นร่วมให้ระบุรายละเอียดการควบคุมสภาพด้านหน้าอาคารตามมาตรฐาน(Frontage Type Standards) และการควบคุมมาตรฐานรูปทรงอาคาร (Building Type Standards) ท้ังนี้เพื่อสร้างแบบอย่างการจัดการเมืองในพื้นที่ศูนย์พาณิชยกรรมชุมชนตามแผนยุทธศาสตร์เมืองที่กำหนดโดยวิสัยทัศน์ของผังเมืองรวมฉบับปรับปรุง



ท่านใดสนใจแนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด)เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebookนี้ครับ //www.facebook.com/smartgrowththailand




อ่านเนื้อเรื่อง ย้อนหลังลิ้งก์ตามที่อยู่ด้านล่างนี้(เพื่อจะได้รับทราบข้อมูล ผังเมืองในระดับโลกเค้าไปถึงไหนกันแล้ว //www.oknation.net/blog/smartgrowth




 

Create Date : 12 เมษายน 2556    
Last Update : 12 เมษายน 2556 8:27:35 น.
Counter : 2466 Pageviews.  

เมืองแวนคูเวอร์ “ทำจริง” ทำมานานแล้ว วางแผนระยะยาว พร้อมแผนปฏิบัตการเมืองเขียวอย่างจริงจัง


บทความ : แผนปฏิบัติการเมืองเขียวของแวนคูเวอร์
โดย อ.ฐาปนา บุณยประวิตร นักวิชาการผังเมือง





บรรยายให้คณะผู้เข้าอบรมหลักสูตร "ผู้บริหารระดับสูงด้านการบริหารงานพัฒนาเมือง (มหานคร รุ่น 2) ประกอบด้วย สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะผู้บริหารระดับสูงของกรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหารระดับสูงของภาคเอกชน คณะผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานต่างๆ และสื่อมวลชน จำนวน 80 คนในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2556 เวลา 09.00-12.00 น. ณ.โรงแรมเรอเนสซอง ราฃดำริ จัดโดยกรุงเทพมหานครร่วมกับคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตามลิ้งก์ //www.facebook.com/media/set/?set=a.518409441533721.1073741829.382016971839636&type=1


บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมาย ของ นักวิชาการผังเมือง อ.ฐาปนา บุณยประวิตร บน Facebook //www.facebook.com/SmartGrowthThailand ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่อง การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิด ข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์ และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคต ที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่าง ก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน


เข้าสู่บทความครับ

แผนปฏิบัติการเมืองเขียวของแวนคูเวอร์

โดย อ.ฐาปนา บุณยประวิตร นักวิชาการผังเมือง

บรรยายให้คณะผู้เข้าอบรมหลักสูตร "ผู้บริหารระดับสูงด้านการบริหารงานพัฒนาเมือง (มหานคร รุ่น 2) ประกอบด้วย สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะผู้บริหารระดับสูงของกรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหารระดับสูงของภาคเอกชน คณะผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานต่างๆ และสื่อมวลชน จำนวน 80 คนในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2556 เวลา 09.00-12.00 น. ณ.โรงแรมเรอเนสซอง ราฃดำริ จัดโดยกรุงเทพมหานครร่วมกับคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Greenest City

2020 Action Plan

กรณีศึกษาแผนปฏิบัติการเมืองเขียวแวนคูเวอร์

วิสัยทัศน์เมืองเขียวแวนคูเวอร์ 2020

”แวนคูเวอร์สามารถพิสูจน์ว่า เป็นเมืองที่สามารถเติบโตและมั่งคั่งไปพร้อมกับการเป็นเมืองเขียวที่เป็นผู้นำในการหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก

ยุทธศาสตร์แวนคูเวอร์

แวนคูเวอร์จะนำทุกชุมชนเพื่อเดินไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือร้อยละ 5 ภายในปี 2020 ภายใต้แผนการเติบโตประชากรร้อยละ 27 และการเพิ่มขึ้นของแหล่งงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 18
ระบบไฟฟ้าของแวนคูเวอร์รับผิดชอบโดยมลรัฐบริทิช โคลัมเบีย ซึ่งร้อยละ 93 ผลิตโดยพลังงานทดแทน แวนคูเวอร์จะพัฒนาขนาดของย่านให้มีความเหมาะสมกับระดับของพลังงานทดแทนที่เมืองผลิตได้ และจะอนุรักษ์แหล่งพลังงานทดแทนที่มีอยู่เพื่อการสร้างประเภทงานสีเขียวใหม่ๆ
แวนคูเวอร์คือเมืองแรกของทวีปอเมริกาเหนือที่นำแนวทางการกำหนดอาคารเขียวลงสู่การปฏิบัติ




ยุทธศาสตร์และเป้าหมายการดำเนินงาน

1.เศรษฐกิจสีเขียว

“รักษาความเป็นเมืองนานาชาติของแวนคูเวอร์ด้วยภาพลักษณ์ของเมืองที่พรั่งพร้อมด้วยกลุ่มธุรกิจสีเขียว”

เป้าหมาย

1.1.เพิ่มจำนวน Green Jobs จากปี 2010 อีกสองเท่าตัวในปี 2020

1.2.เพิ่มจำนวนบริษัทที่ดำเนินธุรกิจภายใต้ระบบการจัดการสีเขียวจากปี 2010 อีกสองเท่าตัวในปี 2020






กลยุทธ์

1.การโฟกัสการพัฒนาไปที่ 5 กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีโอกาสในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (กลุ่มเทคโนโลยี่สะอาด กลุ่มอาคารเขียว กลุ่มจัดการรีไซเคิลวัสดุ กลุ่มอาหารท้องถิ่น และกลุ่มการศึกษา)

2. การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยเมืองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มโอกาสในการสร้างงาน และขจัดข้อจำกัดในการจ้างงาน

3. เพิ่มระดับความสามารถ ส่งเสริมการศึกษา และเพิ่มประสิทธิภาพการฝึกอบรมเพื่อยกระดับความสามารถโดยรวมของธุรกิจ และประชาชน

4. พัฒนาและปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งธุรกิจในปัจจุบันให้เป็นระบบเศรษฐกิจสีเขียว





เพิ่มจำนวน Green Jobs จากปี 2010 อีกสองเท่าตัวในปี 2020

เพิ่มจำนวนบริษัทที่ดำเนินธุรกิจภายใต้ระบบการจัดการสีเขียวจากปี 2010 อีกสองเท่าตัวในปี 2020





เพิ่มจำนวน Green Jobs จากปี 2010 อีกสองเท่าตัวในปี 2020

เพิ่มจำนวนบริษัทที่ดำเนินธุรกิจภายใต้ระบบการจัดการสีเขียวจากปี 2010 อีกสองเท่าตัวในปี 2020



2. สร้างประสิทธิภาพการพัฒนาการใช้พลังงาน

เป้าหมาย

ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 33 ในปี 2007 ลงเหลือร้อยละ 5 ในปี 2020

กลยุทธ์

สนับสนุนการสร้างระบบการใช้พลังงานทดแทนระดับชุมชน
ส่งเสริมการใช้อาคารเขียว ระบบขนส่งมวลชนสีเขียว และแผนการขจัดการของเสียเหลือศูนย์
พัฒนาแผนการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สนับสนุนให้ท้องถิ่นดำเนินนโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก





สนับสนุนการสร้างระบบการใช้พลังงานทดแทนระดับชุมชน

ส่งเสริมการใช้อาคารเขียว ระบบขนส่งมวลชนสีเขียว และแผนการขจัดการของเสียเหลือศูนย์





พัฒนาแผนการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สนับสนุนให้ท้องถิ่นดำเนินนโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก



3.การเป็นผู้นำของโลกในการออกแบบ การก่อสร้าง และการจัดการอาคารเขียว

เป้าหมาย

1.1 กำหนดให้ทุกอาคารที่สร้างเสร็จในปี 2020 ต้องใช้ระบบการปฏิบัติการควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอน

1.2 ลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 20 ภายในปี 2012

กลยุทธ์

ออกข้อกำหนดอาคารเขียว
สร้างเครื่องมือทางการเงิน และรางวัลสำหรับกลุ่มอาคารเขียวในปัจจุบัน
เพิ่มประสิทธิภาพการใช้อาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อาคารสำหรับเศรษฐกิจสีเขียว
ให้การศึกษาและสร้างโปรแกรมการใช้อาคารที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพ





ออกแบบ การก่อสร้าง และการจัดการอาคารเขียว




ออกแบบ การก่อสร้าง และการจัดการอาคารเขียว


4.พัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งสีเขียว

เป้าหมาย

4.1 กำหนดให้เกิดระบบสัญจรหลัก (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50) ที่ใช้การเดิน จักรยาน และการขนส่งสาธารณะ

4.2 ลดระยะเฉลี่ยการเดินทางต่อครัวเรือนลงร้อยละ 20 ในปี 2012





กลยุทธ์

1.สร้างทางเลือกการขนส่งที่หลากหลายโดยสนับสนุนให้เกิดกายภาพที่ดี ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย สำหรับทางเดิน ทางจักรยาน และระบบขนส่งมวลชน

2.วางแผนสร้างชุมชนที่สมบูรณ์ (Complete Community) ที่เป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทางเดิน และทางจักรยาน และความสามารถในการเชื่อมต่อไปยังสถานีขนส่งมวลชน

3. สนับสนุนการลงทุน และความสามารถการให้บริการ ความสามารถการเข้าถึง ความสะดวกสบาย ความคุ้มค่าในการใช้บริการของระบบขนส่งมวลชน

4.สนับสนุนให้ท้องถิ่นใช้นโยบาย ในการส่งเสริมการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งสีเขียว





พัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งสีเขียว-เชื่อมโยงเครือข่ายการสัญจร




กำหนดให้เกิดระบบสัญจรหลัก (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50) ที่ใช้การเดิน จักรยาน และการขนส่งสาธารณะ



5.สร้างกระบวนการพัฒนาของเสียเหลือศูนย์

เป้าหมาย ลดปริมาณขยะที่ฝังกลบ หรือเผาลงร้อยละ 50 ในปี 2012

กลยุทธ์

1.สร้างวัฒนธรรมการจัดการของเสียเหลือศูนย์

2.สร้างนโยบายการนำมาใช้ใหม่ และการผลิตใหม่

3.ให้ความสำคัญการผลิตใหม่ การนำมาใช้ใหม่ และการรีไซเคิลมากกว่าการกำจัดด้วยการเผาและฝังกลบ

4.เร่งให้เกิดความรับผิดชอบสำหรับผู้ผลิตในการสร้างระบบที่ลดของเสียเหลือศูนย์





สร้างกระบวนการพัฒนาของเสียเหลือศูนย์



6.การเพิ่มศักยภาพและความสามารถของครัวเรือนในการเข้าถึงธรรมชาติ

เป้าหมาย

6.1 ทุกเครือเรือนในแวนคูเวอร์ในปี 2020 ต้องสามารถเดินถึงสวนสาธารณะ สถานที่สาธารณะ สวนหย่อม หรือเส้นทางสีเขียวภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 นาที

6.2 ปลูกไม้ใหญ่ 150,000 ต้น ในเขตเมืองภายมนปี 2020

กลยุทธ์

1.สร้างและปรับปรุงฟื้นฟูสวนสาธารณะและเส้นทางสีเขียว

2.เพิ่มไม้ยืนต้น

3.พุ่งเป้าการจัดการพื้นที่สีเขียวภายในย่าน ประกอบด้วย

-การเพิ่มไม้ใหญ่ในที่ดินเอกชน

-เพิ่มไม้ใหญ่ในเขตทางและเส้นทางสัญจร





เพิ่มศักยภาพและความสามารถของครัวเรือนในการเข้าถึงธรรมชาติ



7.ลดรอยเท้านิเวศน์

เป้าหมาย ลดรอยเท้านิเวศน์ของนครแวนคูเวอร์ลงร้อยละ 33 ในปี 2012

กลยุทธ์

1.ศึกษาและรายงานการใช้พลังงานต่อหน่วยตลอดเวลา

2.กระตุ้นให้ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และภาคราชการลดรอยเท้านิเวศน์






8.แวนคูเวอร์คือเมืองที่มีน้ำดื่มที่สะอาดที่สุดของโลก

เป้าหมาย

8.1 สร้างแนวทางและมาตรฐานน้ำดื่มให้ใช้กันทั่วทั้งมลรัฐบริทิช โคลัมเบีย

8.2 ลดการบริโภคน้ำใช้ต่อประชากรลงร้อยละ 33 ในปี 2020

กลยุทธ์

1.ควบคุมคุณภาพน้ำดื่มและแหล่งน้ำ

2.ขยายบริการการเข้าถึงระบบน้ำดื่มสาธารณะ

3.นำนโยบายสนับสนุนการอนุรักษ์แหล่งน้ำลงสู่การปฏิบัติ

4.กระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ และสาธารณะมองเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์แหล่งน้ำ








9.แวนคูเวอร์เป็นเมืองที่อากาศสะอาดที่สุดในโลก ในปี 2020

เป้าหมาย สร้างแนวทางและมาตรฐานอากาศสะอาดให้ใช้กันทั่วทั้งมลรัฐบริทิช โคลัมเบีย

กลยุทธ์

1.กระตุ้นให้เกิดระบบคมนาคมและขนส่งที่ไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศ

2.ลดหรือหยุดยั้งการเผาป่าและไม้ที่ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ

3.พัฒนากลยุทธ์การลดสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds (VOCs))

4.ส่งเสริมการวางแผนและการประเมินคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง









10.แวนคูเวอร์คือการนำในการพัฒนาระบบอาหารเมือง

เป้าหมาย เพิ่มการบริโภคอาหารท้องถิ่นไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ในปี 2020

กลยุทธ์

1.สร้างความร่วมของทุกภาคส่วน ในการส่งเสริมอาหารท้องถิ่น

2.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอาหารท้องถิ่นให้มีความสัมพันธ์กับธุรกิจสีเขียว ธุรกิจแปรรูป การคลัง การกระจาย และการจัดการของเสีย

3.เพิ่มข้อมูลและศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งผลิตและจำหน่ายอาหารท้องถิ่น

4.สร้างสุขภาวะชุมชนของแวนคูเวอร์ด้วยอาหารท้องถิ่น

5.กระตุ้นให้เกิดนโยบายการผลิตและการบริโภคอาหารท้องถิ่นในระดับย่าน เมือง และภาค





พัฒนาระบบอาหารเมือง





พัฒนาระบบอาหารเมือง





ท่านใดสนใจแนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ //www.facebook.com/smartgrowththailand




อ่านเนื้อเรื่อง “ย้อนหลัง” ลิ้งก์ตามที่อยู่ด้านล่างนี้ (เพื่อจะได้รับทราบข้อมูล “ผังเมือง” ในระดับโลก เค้าไปถึงไหนกันแล้ว //www.oknation.net/blog/smartgrowth




 

Create Date : 27 มีนาคม 2556    
Last Update : 27 มีนาคม 2556 1:25:25 น.
Counter : 1643 Pageviews.  

มิติใหม่ผังเมืองรวมที่เมืองเกาะสมุย ที่ประชาชนชาวสมุยร่วมกำหนดอนาคตกับทุกภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย


มิติใหม่ผังเมืองรวมที่เมืองเกาะสมุยที่ประชาชนชาวสมุยร่วมกำหนดอนาคตกับทุกภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย


ร่วมกำหนดอนาคตชุมชนเมืองเกาะสมุยกับSmart Growth

ขอเชิญ!!! ประชาชนชาวสมุย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ร่วมปฏิบัติการยกร่างผังเมืองรวมเมืองเกาะสมุย


ตามสถานที่ วัน และเวลาดังกล่าวด้านล่างนี้ครับ


ตำบลบ่อผุด วันที่26มีนาคม ณ โรงเรียนบ้านหาดงาม เวลา 13.00-16.00 น.

ตำบลหน้าเมือง วันที่ 30 มีนาคม ณ วัดประเดิม เวลา 17.00-19.30 น.

ตำบลมะเร็ต วันที่31มีนาคม ณ สี่แยกถนนคนเดินตลาดละไม เวลา 17.00-19.30 น.

ตำบลตลิ่งงาม วันที่2เมษายน ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตลิ่งงาม เวลา 13.00-16.00น.

ตำบลแม่น้ำ วันที่4เมษายน ณ วัดภูเขาทอง เวลา 9.00-12.00 น.

ตำบลลิปะน้อย วันที่7เมษายน ณ วัดดอนธูป เวลา 13.00-16.00 น.

ตำบลอ่างทอง วันที่8เมษายน ณ วัดคงคาราม เวลา 13.00-16.00 น.



ท่านใดสนใจแนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด)เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebookนี้ครับ //www.facebook.com/smartgrowththailand



อ่านเนื้อเรื่อง “ย้อนหลัง” ลิ้งก์ตามที่อยู่ด้านล่างนี้(เพื่อจะได้รับทราบข้อมูล “ผังเมือง” ในระดับโลกเค้าไปถึงไหนกันแล้ว //www.oknation.net/blog/smartgrowth 




 

Create Date : 26 มีนาคม 2556    
Last Update : 26 มีนาคม 2556 8:28:42 น.
Counter : 1504 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.