ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ดู “สิงคโปร์” อนุรักษ์ ป่าชายเลน แล้ว ดู บ้านเรา ทำไม“ ทะเลสาบสงขลา” มันถึงเสื่อมโทรม ไม่มีใครมาดูแล




ประเทศสิงคโปร์ มีระบบระเบียบเป็นรูปธรรมอย่างสูง ไม่ว่าเรื่องอะไร จึงไม่น่าแปลกใจจริงๆ ว่าทำไมทุกโครงการที่วางแผนกันในสิงคโปร์ จึงมีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างชัดเจน ผิดกับประเทศไทยมากมาย (ต้องยอมรับความจริงกันหน่อย) โครงการส่วนใหญ่ ไม่ค่อยเป็นรูปธรรมเท่าที่ควร 

ส่วนเรื่องจั่วหัวเกี่ยวกับอนุรักษ์ ป่าชายเลนของสิงคโปร์ ของเค้ามีพัฒนาการในหลายมิติ หันกลับมามอง “ทะเลสาบสงขลา” กันหน่อย ทำไมมันโทรมลงๆ มีของดี แต่ไม่เห็นคุณค่ากันเลย อ่านบทความนี้จบ หวังว่าคง บางท่านจะ “ตื่น” มาช่วยอนุรักษ์ป่าชายเลน ทะเลสาบสงขลา และทุกๆ แห่งในประเทศไทยกันครับ (ย้ำอีกครั้งครับ ....ประเทศไทยมีของดีมากมาย ต้องเร่งร่วมกันอนุรักษ์ป่าชายเลนกันครับ)



ภาพผังตัดต่อจาก slidshow 15 ภาพ


//www.asla.org/2010awards/147.html
American Society of Landscape Architects จึงได้มอบรางวัล ASLA Award (Honor Award) แก่โครงการในปี ค.ศ. 2010

American Society of Landscape Architects จึงได้มอบรางวัล ASLA Award (Honor Award) แก่โครงการในปี ค.ศ. 2010


บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมาย ของ นักวิชาการผังเมือง อ.ฐาปนา บุณยประวิตร ซึ่งผมรู้จักผ่านทาง Facebook //www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิด ข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์ และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ (เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคต ที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่าง ก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน

……………………………………………………………………………………

Copy//Thapana Bunyapravitra (13 กุมภาพันธ์ 2555)

Smart Growth ASIA //www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=209462635819188&id=355237181167341




สิงคโปร์มีแผนแม่บทในการอนุรักษ์ป่าชายเลน The Sungei Buloh Wetland Reserve Master Plan


วันนี้มาทำความรู้จักโครงการผังแม่บทการอนุรักษ์พื้นที่ป่าชายเลนของสิงคโปร์กันนะครับ โครงการนี้ชื่อ The Sungei Buloh Wetland Reserve Master Plan เดิมรัฐบาลสิงคโปร์ต้องการอนุรักษ์พื้นที่แห่งนี้ให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่ออนุรักษ์นกและสัตว์ป่านานาชนิด รวมทั้งความหลากหลายทางด้านชีวภาพ แต่เนื่องจากในปี ค.ศ.2008 รัฐฯ เห็นว่าน่าจะได้เปิดให้พื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและยกระดับให้เป็น ASEAN Heritage Park เป็นแบบอย่างในการเรียนรู้แหล่งธรรมชาติพื้นที่ป่าชายเลนและชุ่มน้ำของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นจึงได้จัดทำผังแม่บทเพื่อการอนุรักษ์ขึ้นโดยความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ของ National University of Singapore (NUS) National Technology of University (NTU) National Society of Singapore (NSS) พร้อมหน่วยงานอื่นๆ และรัฐบาลสิงคโปร์ ตามวัตถุประสงค์ดังนี้

1. การฟื้นฟูสภาพแหล่งชุมน้ำให้มีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ คงความหลากหลายด้านชีวภาพ และปกป้องการรุกล้ำของมลภาวะที่มีผลกระทบต่อสภาพทางธรรมชาติและการอยู่อาศัยของสัตว์ป่า

2. การยกระดับให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางนิเวศและธรรมชาติป่าชายเลนที่ดีที่สุดของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ ของสิงคโปร์



มีแผนงานยกระดับเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ ของสิงคโปร์


ทั้งนี้ ผู้จัดทำแผนได้ใช้ 3 กลยุทธ์เพื่อให้แหล่งมีความโดดเด่น ประกอบด้วย



ผู้จัดทำแผนได้ใช้ 3 กลยุทธ์เพื่อให้แหล่งมีความโดดเด่น


1. การกำหนดเขตอนุรักษ์สัตวป่า (Living Wetlands) ได้แก่ การวางผังเพื่อปกป้องพื้นที่อ่อนไหวให้เป็นแหล่งเพาะพันธ์และขยายพันธ์ พร้อมการกำหนดเขตอนุรักษ์ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของพืชพรรณและสัตว์ป่าชายเลน



1. การกำหนดเขตอนุรักษ์สัตวป่า (Living Wetlands)


2. เขตส่งเสริมการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 4 โซนประกอบด้วย



2. เขตส่งเสริมการเรียนรู้


โซน 1 พื้นที่ประกอบกิจกรรมของนักท่องเที่ยว และชมนิทรรศการในศูนย์บริการ

โซน 2 เป็นโซนที่อนญาตให้เที่ยวชมความหลากหลายทางชีวภาพ ยังไม่มีการควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยว แต่ลดกิจกรรมทุกประเภทที่อาจรบกวนระบบนิเวศ

โซน 3 เป็นโซน ควบคุมกิจกรรมและจำนวนผู้เข้าชม และ

โซน 4 เป็นโซนใจกลางของแหล่งอนุญาตให้สำหรับนักวิจัยและผู้ที่ได้รับอนุญาตพิเศษเท่านั้น



2. เขตส่งเสริมการเรียนรู้


3. การสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงนันทนการที่มีความแตกต่างจากแหล่งอื่นๆ ได้แก่ การสร้างระบบการเรียนรู้นิเวศวิทยาป่าชายเลนในลักษณะกิจกรรมการมีส่วนร่วม การอำนวยความสะดวกในการศึกษาวิจัย และการทำให้แหล่งเป็นสถานที่ที่น่าประทับใจ



3. การสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงนันทนการที่มีความแตกต่างจากแหล่งอื่นๆ


เนื่องจากโครงการมีการผสมผสานการวางผังและการออกแบบกายภาพที่บูรณาการระหว่างการอนุรักษ์ การฟื้นฟูสภาพ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการศึกษาวิจัย โดยนำองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมผังเมืองและภูมิสถาปัตยกรรมพร้อมทั้งสาขาวิชาอื่นๆ บูรณาการอย่างลงตัว และสามารถนำผังไปสู่การปฎิบัติได้ ดังนั้น American Society of Landscape Architects จึงได้มอบรางวัล ASLA Award (Honor Award) แก่โครงการในปี ค.ศ. 2010



ภาพถ่ายทางอากาศของโครงการอนุรักษ์ป่าชายเลนของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเราจะไม่มีภาพแบบนี้ในป่าชายเลนประเทศไทยอย่างแน่นอน ถ้าภาครัฐ และองค์กรอิสระ ยังทำงานกันแบบไม่มีพัฒนาการดังเช่นปัจจุบัน


ภาพความสำเร็จของโครงการนี้ ได้สะท้อนให้เห็นความพยายามและความร่วมมือของภาครัฐและภาควิชาการของประเทศสิงคโปร์ในการเดินหน้าสู่การเป็น HUB ทั้งทางด้านการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งแตกต่างจากกรณีของประเทศไทย ทุกท่านคงจะทราบดีว่า ประเทศไทยมีแหล่งชุ่มน้ำที่มีขนาดใหญ่ และมีศักยภาพในระดับสูงในการพัฒนาไปสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ของภูมิภาค แต่ปัจจุบันไม่พบว่าสามารถดำเนินการไปสู่จุดดังกล่าวได้ ดังกรณีของทะเลสาบสงขลาซึ่งเป็นทะเลสาบแห่งเดียวของโลกที่มีทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม พื้นที่โดยรอบมีความหลากหลายทางชีวภาพมากกว่าแหล่งธรรมชาติของประเทศสิงคโปร์ แต่สภาพปัจจุบันของทะเลสาบสงขลากำลังอยู่ในสภาวะวิกฤติ ทั้งการถูกรุกล้ำจากมนุษย์ การเป็นสถานที่รองรับขยะและน้ำเสียจากชุมชน ร่องน้ำตื้นเขินและสภาพทางนิเวศแปรเปลี่ยน

แม้ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมารัฐฯได้ใช้งบประมาณไปแล้วมากกว่า 2,000 ล้านบาทในการศึกษาและวางผังฟื้นฟูสภาพ แต่ปัจจุบัน แทบมองไม่เห็นผลงานและความเคลื่อนไหวที่เกิดจากกิจกรรมการอนุรักษ์และการพัฒนา คนไทยอีกจำนวนมากยังไม่ทราบว่าเรามีทะเลสาบที่เป็นแหล่งธรรมชาติขนาดใหญ่ซึ่งมีความสำคัญ เราไม่มีพิพิธภัณฑ์ทะเลสาบที่สามารถบ่งบอกในการเป็นแหล่งเรียนรู้ เราไม่มีศูนย์ข้อมูลกลางในการศึกษาค้นคว้าความหลากหลายทางชีวภาพ เราไม่มีพื้นที่ท่องเที่ยวในทะเลสาบสงขลาที่มีมาตรฐานและสามารถกล่าวได้ว่าพื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีความสำคัญในอันดับโลก เราคงต้องรอต่อไปอีก ซึ่งไม่ทราบว่าอีกนานแค่ไหน



vdo เรื่องแรกครับ




vdo เรื่องที่สองครับ


ท่านใดสนใจแนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ //www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall

ความคิดเห็นบางส่วนจาก FACEBOOK ผมตามลิ้งก์ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=325932014125909&set=a.325931927459251.88619.100001273404825&type=1

Nitima Saleng เพราะเขามุ่งมองที่ "ชาติ"เป็นหลัก..ไม่ใช่แค่เพียงพรรคพวก ไม่ใช่เพียงเงินในกระเป๋าตนเอง ไม่ใช่แค่ผลประโยชน์ต่างตอบแทนเฉพาะกลุ่ม..เขาโฟกัสไปที่เป้าหมาย ุม่งมองไปที่ประเทศคู่แข่ง เขาจึงกระตือรือร้นในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง เพื่อให้สามารถก้าวไปข้างหน้า..เขาจึงไม่ตกขอบด้านการเมือง ไม่ตกเวทีด้านการค้า ไม่ล้าสมัยด้านการพัฒนาบุคลากร ไม่ตกเหวด้านการศึกษา ไม่ทำลายล้างทรัพยากรธรรมชาติ..เพียงเพื่อคนกลุ่มเดียว
Thapana Bunyapravitra ข้อเขียนของคุณ Nitima Saleng ชัดเจนในเชิงยุทธศาสตร์มากครับ สิงคโปร์ชาญฉลาดมากท้ังในเชิงผังการวางผังกายภาพและการบริหารจัดการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ โดยใช้ทุกแนวคิดทฤษฎีมาบูรณาการเพื่อการยกระดับคุณภาพของประเทศ บ้านเราชอบพูดเรื่องธรรมาภิบาลเพื่อลูบโรยปะหน้าประเทศให้ดูดี แต่ Thailand Quality Award (TQA) ยังไปไม่ถึงไหน ในขณะที่สิงคโปร์ได้นำ Singapore Quality Award (SQA) ไปใช้กับระบบการบริหารจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการภาครัฐ การพัฒนาบุคคลในชาติ และการจัดการทรัพยากร จนประสบผลสำเร็จ ทุกท่านคงทราบนะครับว่า ประเทศไทยกับสิงคโปร์เริ่มนำ Malcolm Baldrige National Quality Award จากสหรัฐฯมาประยุกต์ใช้พร้อมๆ กัน ซึีงเป็นช่วงเดียวกันกับที่สิงคโปร์นำ Smart Growth และ Complete Street เพื่อปรับปรุงกายภาพเมือง ในวงการบริหารคุณภาพเราได้ใช้ TQA แล้วแม้จะยังไม่เต็มที่นัก แต่ในวงการผังเมือง ขอเรียนให้ทุกท่านทราบว่า ผู้บริหารเมืองและนักการเมืองของไทยยังไม่เคยทราบเลยว่ามี Smart Growth อยู่ในโลก




 

Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2555    
Last Update : 9 ตุลาคม 2555 19:41:35 น.
Counter : 2422 Pageviews.  

อเมริกา ”ส่ายหน้า” ระบบถนน (ไม่เอา..ซะแล้ว!!) เปลี่ยนมาเป็นระบบขนส่งมวลชน รถไฟฟ้า...แล้ว "ไทย" ล่ะ?

อเมริกา ”ส่ายหน้า” ระบบถนน (ไม่เอา..ซะแล้ว!!) เปลี่ยนมาเป็นระบบขนส่งมวลชน รถไฟฟ้า... Thailand จะปรับตัวอย่างไรล่ะพี่น้อง?

สหรัฐ จะเลิกพัฒนาระบบถนน เป็นระบบหลักแล้ว แต่ประเทศไทย ยังนึกกันไม่ออกว่าทำไม....มันแปลกดีน่ะ!! ปกติประเทศดูเหมือนจะพัฒนาตามระบบในอเมริกาทุกอย่าง แต่เรื่องที่สหรัฐเค้า ไม่เอา ระบบถนนเป็นระบบหลักแล้ว (จะใช้ระบบขนส่งมวลชนอื่นเป็น ระบบหลัก เช่น รถไฟรางเบา รถไฟความเร็วสูง และให้ความสำคัญในการลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเท้าและทางจักรยานมากกว่าการพัฒนาโครงสร้างของตัวถนน



บทเรียนแม้แต่ในอเมริกาเอง ยังตีลังกา 360 องศา กลับมาในแนวทางใหม่ แต่ของเรายังไม่มีใครกระตือรือร้นกันเลย


ถ้าท่านผู้อ่านทุกท่าน ค่อยๆ อ่าน ค่อยๆคิดตามบทความของ อ.ฐาปนา ประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 นี้แล้ว ก็ไม่น่าแปลกใจครับว่า ทำไมบ้านเราจึงมีรถยนต์เพิ่มขึ้นมากขึ้นๆ เรื่อยๆ และต้องใช้เงินบาทไปซื้อน้ำมันเมืองนอกมาเติมให้รถยนต์ เพราะประเทศเรา มีความล้าหลังของผังเมือง เรื่องการพัฒนาระบบถนน เป็นระบบหลักอยู่ ซึ่งในขณะนี้หลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งสหรัฐ ที่เป็น ต้นแบบประเทศเราเรื่องการตัดถนนมากขึ้น ตอนนี้แม้แต่สหรัฐเค้าก็เปลี่ยนแปลงมาหลายสิบปีแล้ว แต่ของเรายังไม่เปลี่ยนตาม...น่าคิดกันครับ ว่าประเทศไทยเรา เดินมาถูกทางหรือเปล่า วันนี้เราประชาชนเต็มขั้นต้องติดตามการทำงานของนักผังเมือง ที่โดนกำกับด้วยฝ่ายการเมืองกันครับ เพราะเจ้าหน้าที่ผังเมืองไทย กลับไม่ค่อยมีข่าวประชาสัมพันธ์เรื่องที่สำคัญแบบนี้กันเลย ....



อเมริกาจะใช้ระบบขนส่งอื่นๆ เป็นระบบหลักแล้ว แทนระบบเดิม คือ ระบบถนน ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าระบบถนน(ที่บ้านเราเลียนแบบมา) ทำให้มีรถติด เพราะคนหันไปซื้อรถกันหมด แถมเผาผลาญน้ำมันที่ต้องนำเงินไปซื้ออย่างมากมาย


บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมาย ของ นักวิชาการผังเมือง อ.ฐาปนา บุณยประวิตร ซึ่งผมรู้จักผ่านทาง Facebook //www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิด ข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์ และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ (เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคต ที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่าง ก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน

Copy//Thapana Bunyapravitra (17 กุมภาพันธ์ 2555)

Smart Growth ASIA //www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=233610753394867&id=355237181167341

วันนี้ผมตั้งใจจะทำความเข้าใจกับท่านเรื่องแนวทางการวางผังโครงสร้างกายภาพ ซึ่งถือเป็นภาพใหญ่ของงานผังเมืองเพื่อจะให้ท่านมองเห็นประเด็นด้านยุทธศาสตร์และการคาดการณ์อนาคตของประเทศ ตามปกติแล้ว ทุกประเทศจะใช้ผังโครงสร้างพื้นฐานเป็นผังแม่บทและเป็นผังหลักที่ต้องจัดทำขึ้นก่อน โดยความเห็นชอบจากประชาชน และเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วจึงส่งมอบให้นักเศรษฐศาสตร์นำไปแปลความและพัฒนาเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ที่กล่าวเช่นนี้เนื่องจากการพัฒาเศรษฐกิจและสังคมจำเป็นจะต้องเดินตามพื้นฐานศักยภาพของทรัพยากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรที่ดินซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของทรัพยากรด้านอื่นๆ ท่านที่ศึกษาทางการพัฒนาเมืองหรือสิ่งแวดล้อมคงจะทราบดีว่าทุกผังและแผนแม่บทจะต้องเริ่มต้นที่ผังสภาพปัจจุบันของการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการจะกำหนดรายละเอียดยุทธศาสตร์ด้านใดก็ตาม จะต้องพิจารณาจากศักยภาพและข้อจำกัดของทรัพยากรจากผังการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคตที่จัดทำไว้เสมอ

จากการศึกษาพบผังโครงสร้างพื้นฐานที่นำมาใช้อยู่ 2 ประเภท โดย

ประเภทแรก ได้แก่ผังโครงสร้างพื้นฐานที่กำหนดการเติบโตทางเศรษฐกิจจากศักยภาพและข้อจำกัดของทรัพยากร ผังประเภทนี้เริ่มต้นและพัฒนาโดยกลุ่มประเทศในทวีปยุโรป ลักษณะเด่นของผังคือ การกระชับการตั้งถิ่นฐานให้อยู่ในพื้นที่อันจำกัด การใช้ทรัพยากรจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการอนุรักษ์และต่อยอดเพื่อพัฒนาสู่การใช้ใหม่



ผังประเภทที่สอง ได้แก่ ผังโครงสร้างพื้นฐานที่กำหนดการเติบโตเศรษฐกิจจากความต้องการของประชาชน ผังประเภทนี้พัฒนาขึ้นในทวีปอเมริกาโดยมีสหรัฐฯ เป็นผู้นำในช่วงต้น ต่อมาได้แพร่กระจายเข้ามายังกลุ่มประเทศเอเซีย ที่กล่าวว่าเป็นผู้นำในช่วงต้นนั้น เนื่องจากปี ค.ศ.1960 หลังจากสหรัฐประสบปัญหามลภาวะและสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก ในที่สุดจึงเกิดการทบทวนยุทธศาสตร์การพัฒนาเนื่องจากพบว่า การพัฒนาเศรษฐกิจโดยการใช้ทรัพยากรแบบไม่รู้คุณค่าเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนแบบไม่มีวันสิ้นสุดและไร้ประสิทธิภาพนั้นได้ทำให้ประเทศต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงฟื้นฟูทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก รวมทั้งยังต้องเสียค่าใช้จ่ายอีกมหาศาลในการบำบัดรักษาสุขภาพของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมลภาวะที่เกิดจากกระบวนการพัฒนา (อันเป็นที่มาของการเติบโตอย่างชาญฉลาด หรือ Smart Growth) ซึ่งในช่วงเวลาต่อมา สหรัฐฯ ได้ปรับเปลี่ยนทิศทางผังโครงสร้างกายภาพให้มีลักษณะใกล้เคียงกับผังประเภทแรก

ตัวอย่างการกำหนดประเภทผังโครงสร้างพื้นฐาน ดูได้จากการจัดทำผังการใช้ประโยชน์ที่ดินและผังการคมนาคมขนส่ง ในยุโรปกำหนดให้ใช้โครงข่ายการขนส่งมวลชนเป็นระบบหลักในผังระดับภาค และให้การพัฒนาโครงข่ายถนนเป็นระบบรอง ในขณะที่ผังระดับเมืองแม้จะใช้โครงข่ายถนนเป็นโครงข่ายหลัก แต่ได้ให้ความสำคัญในการลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเท้าและทางจักรยานมากกว่าการพัฒนาโครงสร้างของตัวถนน สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดิน แม้เมืองจะมีการเติบโตกระจัดกระจายออกไปบ้างแต่เนื่องจากพื้นฐานชุมชนของยุโรปมีความกระขับอยู่ก่อนแล้ว ดังนั้น การกระจัดกระจายของเมืองจึงมีสภาพที่ไม่รุนแรงมากนัก



ในยุโรปกำหนดให้ใช้โครงข่ายการขนส่งมวลชนเป็นระบบหลัก




ในยุโรปได้ให้ความสำคัญในการลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเท้าและทางจักรยานมากกว่าการพัฒนาโครงสร้างของตัวถนน


หันมาดูฝั่งทวีปอเมริกา สภาพชุมชนก่อนที่จะเข้าสู่ยุคการใช้รถยนต์เต็มรูปแบบ ทุกชุมชนมีลักษณะเป็น Walkable Community เช่นเดียวกับชุมชนในทวีปยุโรป แต่หลังจากการวางโครงสร้างกายภาพโดยใช้โครงข่ายถนนเป็นตัวนำ ชุมชนก็ได้เริ่มกระจัดกระจายจากตัวเมืองสู่ชนบท เกิดแหล่งพาณิชยกรรมใหม่แบบกระจัดกระจายริมทาง (Commercial Sprawl) และอาคารที่พักอาศัยกระจัดกระจาย (Residential Sprawl) ตามแนวถนน อาจกล่าวได้ว่า สหรัฐฯ เป็นประเทศหนึ่งที่เป็นผู้นำการก่อสร้างทางด่วน ทางยกระดับ ถนนวงแหวน และสารพัดประเภทถนนที่ตอบสนองการใช้รถยนต์ของประชาชนและตอบสนองต่อย่านอุตสาหกรรมดีทรอยท์ซึ่งสหรัฐฯ ให้การสนับสนุนเป็นอย่างมากในขณะนั้น



อเมริกาพอเริ่มตัดถนน สร้างทางด่วน สร้างสะพานให้รถยนต์วิ่ง ก็มีแต่รถติด จนถึงปัจจุบัน




อเมริกาพอเริ่มตัดถนน สร้างทางด่วน สร้างสะพานให้รถยนต์วิ่ง ก็มีแต่รถติด จนถึงปัจจุบัน


ผลการกำหนดโครงสร้างพื้นฐานทั้ง 2 ประเภท

ถ้าเป็นประเภทแรก หากต้องการตอบสนองการเติบโตทางเศรษฐกิจก็ต้องเพิ่มประสิทธิภาพระบบการขนส่งมวลชน ทั้งระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงและระบบรถไฟฟ้ารางเบา และหากต้องการเพิ่มจำนวนคนในย่านพาณิชยกรรมให้มากขึ้นก็ต้องปรับปรุงฟื้นฟูทางเดินและทางจักรยานหรือระบบขนส่งมวลชนให้มีหลากหลายเพื่อให้การสัญจรเข้าสู่ตัวเมืองทำได้สะดวกขึ้น



ประเภทแรกตามแบบยุโรปปัจจุบันน่าจะศิวิไลซ์กว่านะครับ ไม่ยังงั้น ทำไมอเมริกาถึงปรับเปลี่ยนระบบหลักเป็นระบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่ระบบถนน น่าคิดนะครับ




ในยุโรปมีถนนคนเดิน มีที่จอดรถจักรยานอย่างมากมาย


แต่หากต้องการการขยายตัวทางเศรษฐกิจด้วยการพัฒนาโครงสร้างกายภาพตามประเภทที่สอง ก็จำเป็นจะต้องขยายเส้นทางถนน และทางด่วนซึ่งก็หมายถึงการส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มขึ้นของรถยนต์ส่วนบุคคลนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม หลังจากสหรัฐฯ ได้ทบทวนยุทธศาสตร์การพัฒนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 แนวทางการวางผังโครงสร้างทางกายภาพได้ถูกแปรเปลี่ยนมาให้ความสำคัญต่อ>พัฒนาโครงข่ายการขนส่งมวลชนมากขึ้น การลงทุนโครงข่ายถนนเริ่มลดลงเป็นอย่างมาก จนปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า สหรัฐฯ เป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว (Green Infrastructure) และระบบคมนาคมขนส่งสีเขียว (Green Transportation) ระบบ Complete Street ที่ทำให้ถนนเป็นเส้นทางสีเขียวและเป็นสถานที่สาธารณะสำหรับประชาชน (Living Street) ก็เป็นผลจากการปรับทิศทางยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานในครั้งนี้

ประเทศในทวีปเอเซียที่มองเห็นความผิดพลาดของสหรัฐฯ และหมุนกลับมาสู่โครงสร้างพื้นฐานสีเขียวหรือโครงสร้างกายภาพประเภทแรกได้แก่ประเทศสิงคโปร์ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 แต่มาเด่นชัดมากขึ้นเมื่อได้จัดทำ Concept Plan ในปี ค.ศ. 1998 ส่วนประเทศญี่ปุ่นได้ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานตามสหรัฐตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 เช่นกัน

สำหรับประเทศไทยระบบการผังที่พัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ.2518 นั้นยังใช้รูปแบบการผังเช่นเดียวกับของประเทศสหรัฐฯ แต่ยังคงเป็นผังในรูปแบบช่วงต้น

สำหรับในไทยนั้น ประเด็นความล้าหลังของการผังเมืองไทยที่ไปนำมาจาก USA เมื่อเขาเปลี่ยนแล้วแต่เราไม่ได้เปลี่ยนตาม รถยนต์เลยเต็มเมืองโดยที่ ประชาชนไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว หากกายภาพกำหนดให้การเชื่อมต่อระหว่างย่านหรือเมืองด้วยระบบขนส่งมวลชน เขาจะไม่พัฒนาถนนหรือตัดถนน เข้าจะสร้างรถรางหรือรถไฟครับ ประชาชนก็จะไม่ซื้อรถ ในทางตรงกันข้าม หากพัฒนาเฉพาะโครงข่ายถนนก็เป็นการเชื้อเชิญให้ ประชาชนซื้อรถ ดังนั้น รถจึงเต็มเมือง และต้องก่อสร้างถนนกันไม่มีวันจบสิ้น

กรณีศึกษา ผมได้นำภาพยนต์เรื่อง Contested Streets: Breaking New York Gridlock จาก Streetfilms ความยาว 58 นาทีให้ท่านชม เนื้อหามีลักษณะใกล้เคียงกับข้อเขียน ซึ่งก็คือ การยอมรับความผิดพลาดในการวางผังโครงสร้างพื้นฐานจนทำให้สหรัฐฯ สูญเสียความเป็นประเทศ Walkable City และวัฒนธรรมเมืองที่มีมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากการหันไปส่งเสริมโครงสร้างกายภาพที่สนับสนุนการใช้รถยนต์ และได้ก่อให้เกิดการปัญหาด้านต่างๆ ดังที่ได้กล่าวแล้ว ผู้จัดทำได้ชี้ให้เห็นความแตกต่างของประเภทการวางผังของกรุงนิวยอร์คเทียบกับเมืองสำคัญๆ ของยุโรปได้แก่ กรุงลอนดอน กรุงโคเปนเฮเก็น และกรุงปารีส สาระสำคัญของภาพยนตร์มีอยู่มาก ทั้งจากการสัมภาษณ์นักประวัติศาสตร์เมือง ผู้บริหาร และนักผังเมือง ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องท่านที่ชมตั้งแต่ต้นจนจบจะได้รับประโยชน์ครับ

: //www.streetfilms.org/contested-streets-breaking-new-york-city-gridlock/

ท่านใดสนใจแนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ //www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall




 

Create Date : 18 กุมภาพันธ์ 2555    
Last Update : 18 กุมภาพันธ์ 2555 13:24:52 น.
Counter : 1706 Pageviews.  

"เมืองที่น่าเดิน"มันเป็นอย่างไร ลองมาดูกันครับ ..นอกจากน่าเดินแล้ว ยังแก้ปัญหาเมืองได้อีกมากมาย

บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมาย ของ นักวิชาการผังเมือง อ.ฐาปนา บุณยประวิตร ซึ่งผมรู้จักผ่านทาง Facebook //www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิด ข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์ และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ (เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคต ที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่าง ก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน



เมืองที่น่าอยู่ น่าเดินมันเป็นอย่างไร


Copy//Thapana Bunyapravitra (15 กุมภาพันธ์ 2555)

วันก่อนเราได้คุยกันว่าเมืองกระจัดกระจาย (Urban Sprawl) ตามลิ้งก์ //www.oknation.net/blog/smartgrowth/2012/02/14/entry-2 ยากที่จะปรับปรุงฟื้นฟูกายภาพให้เป็นเมืองน่าอยู่ ยกเว้นการปรับปรุงฟื้นฟูรูปทรงของเมืองให้มีความกระชับก่อนจึงจะสามารถพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและกายภาพให้เกิดความสมบูรณ์ขึ้นมาได้ ดังนั้นในวันนี้ ผมจึงจะขอนำท่านไปชมความพยายามของ 10 เมืองในสหรัฐฯ ในการแก้ไขปัญหาการกระจัดกระจายด้วยการสร้างยุทธศาสตร์ให้เป็นเมืองแห่งการเดินหรือ Walkable City ซึ่งเป็นไปตามนโยบายการพัฒนาเมืองน่าอยู่ที่ยั่งยืนตามการเติบโตอย่างชาญฉลาดหรือ Smart Growth

เรามาดูว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดมวลของคนให้ทีปริมาณมากในพื้นที่ชั้นในจนสามารถเรียกได้ว่าเมืองนั้นเป็น Walkable City ทั้งนี้ กลยุทธ์หลักที่ Smart Growth แนะนำให้ใช้ได้แก่

1. การส่งเสริมความหนาแน่นบริเวณใจกลางเมือง
ด้วยการพัฒนาที่พักอาศัยหลายระดับราคา (Affordable Housing) ให้เป็นกลุ่มอาคารแนวสูงทั้งใน downtown และบริเวณที่พักอาศัย (กรณีไม่มีอาคารสำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งอยู่บริเวณใจกลางเมือง)

2. การปรับปรุงฟื้นฟูย่านการค้าเก่าที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง บริเวณถนนสายหลักหรือ Main Street ให้เป็น downtown ที่มีชิวิตชีวา โดยการวางผังต้องคำนึงถึงสัดส่วนพื้นที่ค้าขาย พื้นที่สาธารณะ พื้นที่พิเศษ พื้นที่บริการกลาง และพื้นที่พักอาศัยให้เกิดความเหมาะสม

3. การสร้างความสะดวกสบายในการเข้าถึงใจกลางเมืองและ downtown ด้วยระบบขนส่งมวลชนที่มีความหลากหลาย เช่นรถไฟฟ้า streetcar รถบัสขนส่งมวลชน หรือรถไฟฟ้าความเร็วสูง และให้บริเวณใจกลางเมืองเป็นสถานีเชื่อมต่อของระบบการขนส่งมวลชน โดยสามารถกระจายการเดินทางออกไปได้ทุกเส้นสายของถนน และเชื่อมต่อไปสู่ย่านและเมืองสำคัญอื่นๆ

4. วางผังและออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูทางเดิน ทางจักรยานให้เป็นโครงข่ายเชื่อมต่อทั่วทั้งเมือง ปรับปรุงทางเดินในพื้นที่ใจกลางเมืองให้มีลักษณะเป็น pedestrian mall หรือลานคนเดินขนาดใหญ่ที่เพียบพร้อมด้วยวัสดุอุปกรณ์ประกอบถนนที่ได้มาตรฐานขนาบข้างด้วยร้านรวงที่ตกแต่งสวยงาม

ที่นี้ลองมาดูข้อมูลผลการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองตามยุทธศาสตร์ Walkable City ซึ่งนอกจากปริมาณการเดินของคนจะเพิ่มขึ้นแล้วยังพบว่า ประชาชนได้ให้ความสนใจใช้ระบบขนส่งมวลชนในการสัญจรมากยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้ระยะเวลาการเดินทางโดยเฉลี่ยต่อเที่ยวลดลง (เมื่อเทียบกับการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล) ข้อมูลที่นำมาเป็นผลจากการสำรวจของ Cinda Perman จาก CNBC เรื่อง 10 Most Walkable Cities in America รายละเอียดตามตาราง



ที่มา: CNBC.com




10.Portland, OR




9.Providence, RI




8.Chicago, IL




7.Philadelphia, PA




6.Honolulu, HI




5.Washington, DC




4.Seattle, WA




3.New York, NY




2.Boston, MA




1.San Francisco, CA


กล่าวโดยสรุป การวางผังและออกแบบกายภาพเมืองให้เกิดความกระชับไม่ได้เป็นเพียงแค่แนวคิด แต่ Smart Growth ได้นำเอากลยุทธ์การสร้าง Walkable City เป็นยุทธศาสตร์นำ และใช้กระบวนการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองพร้อมการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวเข้าช่วยเป็นแรงสนับสนุนจึงทำให้กายภาพเมืองกลับมากระชับและสามารถนำการพัฒนาเมืองไปสู่ความยั่งยืนดังภาพที่ท่านเห็น ซึ่งน่าจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับหัวเมืองใหญ่ของไทยในการนำไปประยุกต์ใช้

ท่านใดสนใจแนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ //www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall






 

Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2555    
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2555 12:18:57 น.
Counter : 1612 Pageviews.  

เรื่องดีๆ ที่ไม่น่ายาก..แต่รู้สึกว่าจะยากเย็นสำหรับเราน่ะ!!.....



Dan Burden


ผู้อำนวยการของ Walkable and Livable Communities Institute (ในฐานะนักออกแบบชุมขนเมือง (Urban Design) ที่นิตยสาร Times Magazine ได้ยกย่องให้เป็น 1 ใน 6 ของโลกด้าน Civic Innovators ปี ค.ศ.2001 ได้เสนอผลงานเรื่อง New Public Health attended a walkability audit of downtown San diego ในงานประชุมประจำปี New Partner for Smart Growth Conference 2012)


บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมาย ของ นักวิชาการผังเมือง อ.ฐาปนา บุณยประวิตร ซึ่งผมรู้จักผ่านทาง Facebook //www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิด ข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์ และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ (เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคต ที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่าง ก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน

Copy//Thapana Bunyapravitra (13 กุมภาพันธ์ 2555) ตามลิ้งก์ //www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=228260777266076&id=355237181167341



กายภาพเมืองที่งดงามและกายภาพถนนที่ปลอดภัยท้ังคนเดินและขี่จักรยาน


วันนี้ผมขอกล่าวถึงประเด็นคุณภาพชีวิตของประชาชนที่เกิดจากกายภาพเมืองอีกครั้ง หากท่านยังจำได้ หลายๆ บทความของผมได้ชี้ให้เห็นมหันตภัยที่เกิดจากการกระจัดกระจายของเมือง หรือที่เรียกทับศัพท์กันว่า Urban Sprawl กายภาพเมืองที่กระจัดกระจายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชุมชนตั้งอยู่เป็นหย่อมๆ ไม่ต่อเนื่องกัน หรือกระจัดกระจายตามแนวถนนจนมองหาศูนย์กลางชุมชนที่แท้จริงไม่ได้ หรือกระจัดกระจายไปรุกล้ำพื้นที่เกษตรกรรมแหล่งผลิตอาหารและพื้นที่ทางธรรมชาติ หลายท่านคงคิดว่าเป็นเรื่องปกติเมื่อประชากรมีมากขึ้นเมืองก็ต้องแผ่ขยายไปเป็นธรรมดา หากเป็นวิธีคิดแบบเก่าก็คงไม่ผิดครับ แต่สำหรับทศวรรษนี้ ยุคสมัยของการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) เมืองจะแผ่กระจายแบบไร้การควบคุมเช่นนั้นอีกไม่ได้ ระบบการผังเมืองที่ชาญฉลาดจะต้องบังคับยับยั้งด้วยทุกกลยุทธ์ให้เมืองที่มีอยู่กลับมากระชับ คำว่า “เมืองกระชับ” หรือ “Compact City” นั้น ไม่ใช่แนวคิด แต่เป็นยุทธศาสตร์ที่ทำให้บริเวณใจกลางเมืองมีความหนาแน่นและครบถ้วนบริบูรณ์ไปด้วยสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก แล้วเมืองกระชับจะช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนดีขึ้นได้อย่างไร ผมขอชี้ให้เห็นข้อดีข้อเสียของกายภาพเมืองกระจัดกระจายกับกายภาพเมืองกระชับ ดังนี้



กายภาพเมืองที่งดงามและกายภาพถนนที่ปลอดภัยท้ังคนเดินและขี่จักรยาน


เมืองกระจัดกระจาย

1) ไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนโครงการระบบขนส่งมวลชน เพราะประชาชนตั้งบ้านเรือนอยู่ห่างไกลไม่เป็นกลุ่ม ไม่มีศูนย์ชุมชนที่มีความหนาแน่นซึ่งประชาชนอยู่อาศัยเป็นจำนวนมากจนสามารถตั้งเป็นสถานีขนส่ง

2) ผลจากข้อแรก ทำให้ประชาชนไม่มีทางเลือกในการเดินทาง จำเป็นต้องใช้รถยนต์ส่วนบุคคลแต่เพียงอย่างเดียว การใช้รถยนต์ในปริมาณที่มากเพื่อเดินทางเข้าสู่แหล่งงานบริเวณใจกลางเมืองได้ก่อให้เกิดปัญหาการคับคั่งการจราจร ปัญหามลพิษและกระตุ้นให้โลกร้อน

3) ไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนสาธารณูปโภคสาธารณูปการทำให้ประชาชนขาดแคลนหน่วยบริการที่จำเป็น เช่น ศูนย์บริการสาธารณสุข โรงเรียน สนามกีฬา ฯลฯ

4) ไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนด้านกายภาพที่เป็นพื้นฐานของเมืองน่าอยู่ เช่น การลงทุนก่อสร้างทางเดินและทางจักรยานที่มีมาตรฐาน การลงทุนพัฒนาภูมิทัศน์ถนน การลงทุนร้านค้าบริการที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน

5) ความสัมพันธ์ของผู้คนภายในชุมชนมีน้อย เนื่องจากบ้านเรือนตั้งอยู่ห่างไกลกันและไม่มีศูนย์ชุมชนที่ชัดเจน ทำให้ประชาชนขาดโอกาสในการทำความรู้จักและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งเป็นอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่



กายภาพเมืองที่งดงามและกายภาพถนนที่ปลอดภัยท้ังคนเดินและขี่จักรยาน


เมืองกระชับ

1) มีความคุ้มค่าในการลงทุนระบบขนส่งมวลชน เนื่องจากประชาชนตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มก้อนและหนาแน่น

2) ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางหลากหลายรูปแบบทั้งการเดิน การใช้จักรยาน ระบบขนส่งมวลชน หรือแม้แต่รถยนต์ส่วนบุคคล

3) มีความคุ้มค่าในการลงทุนสาธารณูปโภคสาธารณูปการเนื่องจาก ในการลงทุนต่อหนึ่งหน่วยมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก

4) รัฐและเอกชนมีความคุ้มค่าในการลงทุนด้านกายภาพและบริการพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนก่อสร้างทางเดิน ทางจักรยาน และภูมิทัศน์ถนนที่มีมาตรฐาน หรือแม้แต่กการลงทุนของภาคเอกชนในธุรกิจบริการที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน

5) มีโอกาสมากในการพัฒนาเป็นชุมชนซึ่งประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเนื่องจากการอยู่กันอย่างกระชับทำให้เกิดการรู้จักสัมพันธ์แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้วยกัน




กายภาพเมืองที่งดงามและกายภาพถนนที่ปลอดภัยท้ังคนเดินและขี่จักรยาน




กายภาพเมืองที่งดงามและกายภาพถนนที่ปลอดภัยท้ังคนเดินและขี่จักรยาน


สำหรับการออกแบบปรับปรุงกายภาพในเมืองที่กระชับเพื่อให้เป็นเมืองน่าอยู่นั้น Dan Burden ผู้อำนวยการของ Walkable and Livable Communities Institute (ในฐานะนักออกแบบชุมขนเมือง (Urban Design) ที่นิตยสาร Times Magazine ได้ยกย่องให้เป็น 1 ใน 6 ของโลกด้าน Civic Innovators ปี ค.ศ.2001 ได้เสนอผลงานเรื่อง New Public Health attended a walkability audit of downtown San diego ในงานประชุมประจำปี New Partner for Smart Growth Conference 2012) กล่าวไว้ว่า ทางเดิน ทางจักรยาน และถนนของเมืองน่าอยู่นั้นจะต้องออกแบบปรับปรุงให้ได้ตามเกณฑ์ 5 ข้อ ได้แก่

1) ความรู้สึกปลอดภัยของคนเดิน ความเป็นมิตรของรถยนต์ส่วนบุคคล (ที่ไม่ใช้ความเร็ว) การปกป้องทางเดินด้วยต้นไม้และสาธารณูปโภคบนทางเท้า

2) ความสะดวกสบายที่เกืดจากพื้นผิวทางเดิน ทางลาด และอุปกรณ์ประกอบถนน

3) ประสิทธิภาพ ได้แก่ ประสิทธิภาพของการสัญจรด้วยรถเข็นเด็กที่ต่อเนื่องในเส้นทางยาวไกลได้ ระบบสัญลักษณ์การจราจร ระบบลดความเร็วรถยนต์ การยกระดับผิวทางบริเวณสี่แยกและสามแยก ที่จอดรถยนต์และจักรยานริมถนน สถานีรถขนส่งมวลชน ฯลฯ

4) ความสะดวกในการเข้าถึงบริการและการเชื่อมต่อเป็นโครงข่ายไปยังสถานที่สำคัญๆ และ

5) จูงใจให้เกิดการใช้จากสภาพแวดล้อมที่ห่อหุ้มด้วยต้นไม้ใหญ่ไม้พุ่ม ร้านค้าหลากหลายบริการที่ตกแต่งสวยงาม ฯลฯ

เนื่องในโอกาสช่วงเทศกาลแห่งความรัก หากผู้บริหารเมืองท่านใดต้องการแสดงถึงความรักและความห่วงใยที่ท่านมีต่อประชาชน Smart Growth Asia ขอให้ท่านจงมอบกายภาพเมืองที่น่าอยู่เป็นของขวัญแก่พวกเขา ตามภาพกายภาพเมืองดัง vdo ของ Dan Burden ที่ท่านจะได้รับชมต่อไปนี้ ;ตามลิ้งก์ //vimeo.com/35259036

ท่านใดสนใจแนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ //www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall






 

Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2555    
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2555 8:34:57 น.
Counter : 1285 Pageviews.  

อเมริกาวิเคราะห์เจาะลึก..แล้วทำจริงจัง..ลงทุนระบบไฟฟ้าขนส่งมวลชนรางเบาในเมือง สร้างมูลค่าเพิ่มมากมาย



บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมาย ของ นักวิชาการผังเมือง อ.ฐาปนา บุณยประวิตร ซึ่งผมรู้จักผ่านทาง Facebook //www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิด ข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์ และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ (เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคต ที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่าง ก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน



นักการเมืองสหรัฐคนนี้พูดแล้วทำได้ครับ (ไม่โม้..แน่นอน) เพราะลงมือทำกันแล้วครับ


Copy// Thapana Bunyapravitra ( 13 กุมภาพันธ์ 2555)
กระบวนยุทธ์ประการหนึ่งในการกระตุ้นให้เกิดความเห็นร่วมในการลงทุนระบบไฟฟ้าขนส่งมวลชนรางเบาในเขตเมืองได้แก่ การชี้ให้เห็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นของที่ดินและทรัพย์สินในพื้นที่รอบสถานีขนส่ง และบริเวณสองฝั่งของเส้นสายรถไฟฟ้าแก่ผู้ประกอบการธุรกิจและเจ้าของที่ดินรายใหญ่ รายงานของ The Examiners แจ้งว่า เพียงแค่ 37 ไมล์ของโครงข่าย streetcar จะทำให้มูลค่าทรัพย์สินตลอดแนวเพิ่มขึ้นถึง 15 พันล้านเหรียญสหรัฐ ไม่รวมผลประโยชน์ของประชาชนที่สามารถเดินทางไปยังทุกที่ได้อย่างสะดวกสบาย ความคุ้มค่านี้เกิดจากการลงทุน streetcar เพียงแค่ 8 เส้นทางกับงบประมาณ 1.5 พันล้านเหรียญ



มหานครใหญ่ๆของโลก เค้าก็มีกัน ส่วนใหญ่ก็คุ้มค่ากันทั้งนั้น สามารถเพิ่มมูลค่าเพิ่มในทุกทิศทุกทาง


ข่าวที่นำเสนอมี 2 ประเด็นให้พิจารณา

ประเด็นแรก streetcar หรือระบบการขนส่งมวลชนคือระบบบริการพื้นฐานของเมืองหรือไม่ หากเป็นประเทศกำลังพัฒนาก็คงคิดว่าไม่ใช่ (จากด้วยหลายร้อยเหตุผล) แต่สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วหรือเมืองที่ใช้ Smart Growth ก็คงตอบได้ทันทีว่าใช่ ที่ว่าใช่นั้นเนื่องจาก Smart Growth มีเกณฑ์การพัฒนาที่กำหนดเป็นนโยบายให้รัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งมวลชนก่อนการลงทุนขยายโครงข่ายถนน ความในข้อนี้หมายถึง รัฐมีหน้าที่ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ร่วมกันของประชาชนและลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เป็นปัจจัยสนับสนุนในการทำลายสภาวะแวดล้อมและก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ซึ่งจะเห็นได้ว่า เมืองที่ได้ลงทุนโครงข่ายระบบการขนส่งมวลชนไว้เป็นอย่างดีจะไม่ประสบกับปัญหาการควบคุมรถยนต์ส่วนบุคคล การรณรงค์ลดมลภาวะ และการรณรงค์เพื่อลดปัญหาโลกร้อน

วีดีโอเพิ่มเติมที่เว็บ //fastlane.dot.gov/2011/09/denvers-eagle-p3-commuter-rail-line-to-create-jobs-expand-transportation-options.html (เพราะไม่สามารถ ลิ้งก์คลิปตรงเข้ามาได้) หรือเข้าไปดูอีกบล็อกของผมที่ลิ้งก์ //www.oknation.net/blog/smartgrowth/2012/02/14/entry-1



มหานครใหญ่ๆของโลก เค้าก็มีกัน ส่วนใหญ่ก็คุ้มค่ากันทั้งนั้น สามารถเพิ่มมูลค่าเพิ่มในทุกทิศทุกทาง


ประเด็นที่สอง ภาคเอกชนและเจ้าของที่ดินรายใหญ่มีอิทธิพลต่อการผลักดันให้เกิดโครงการลงทุนระบบขนส่งมวลชนหรือไม่ สำหรับทุกประเทศที่บริหารด้วยนักเลือกต้ังก็ต้องตอบว่าใช่ Smart Growth มองเห็นสัจธรรมในข้อนี้ จึงได้กำหนดเป็นนโยบายให้นักพัฒนาเมืองต้องขอรับการสนับสนุนจากกลุ่มบุคคลดังกล่าว ที่ทำเช่นนั้นเนื่องจากต้องการขจัดอุปสรรคขอรับการสนับสนุนเรื่องสำคัญๆ 5 เรื่องคือ

1) การแก้ไขปัญหา block ที่ดินแปลงใหญ่

2) การสนับสนุนการใช้ที่ดินเพื่อเชื่อมต่อทางเดินและทางจักรยาน

3) การขอรับการสนับสนุนให้ลงทุนโครงการอสังหาริมทรัพย์บริเวณรอบสถานีขนส่งมวลชนและการลงทุนกิจการพาณิชย์ตามแนวรถไฟฟ้า

4) การลดการลงทุนอาคารสูงและอาคารพาณิชยกรรมที่กระจัดกระจาย (Skyscraper and Commercial Sprawl) และที่สำคัญ

5) การใช้อำนาจทางเศรษฐกิจกระตุ้นให้นักการเมืองมีความสนใจและหันมาจัดสรรงบประมาณในโครงการประเภทนี้



มหานครใหญ่ๆของโลก เค้าก็มีกัน ส่วนใหญ่ก็คุ้มค่ากันทั้งนั้น สามารถเพิ่มมูลค่าเพิ่มในทุกทิศทุกทาง




มหานครใหญ่ๆของโลก เค้าก็มีกัน ส่วนใหญ่ก็คุ้มค่ากันทั้งนั้น สามารถเพิ่มมูลค่าเพิ่มในทุกทิศทุกทาง




มหานครใหญ่ๆของโลก เค้าก็มีกัน ส่วนใหญ่ก็คุ้มค่ากันทั้งนั้น สามารถเพิ่มมูลค่าเพิ่มในทุกทิศทุกทาง




มหานครใหญ่ๆของโลก เค้าก็มีกัน ส่วนใหญ่ก็คุ้มค่ากันทั้งนั้น สามารถเพิ่มมูลค่าเพิ่มในทุกทิศทุกทาง




มหานครใหญ่ๆของโลก เค้าก็มีกัน ส่วนใหญ่ก็คุ้มค่ากันทั้งนั้น สามารถเพิ่มมูลค่าเพิ่มในทุกทิศทุกทาง


ดังนั้น จึงจะเห็นได้ว่า มีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องชี้ชัดถึงมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นแก่ผู้ประกอบการและเจ้าของที่ดินรายใหญ่เพื่อให้มองเห็นความคุณค่าของโครงการ และให้การสนับสนุนโครงการระบบขนส่งมวลชนซึ่งจะทำให้ทั้งตัวผู้ประกอบการ เจ้าของที่ดิน รัฐบาล และประชาชนได้รับประโยชน์ ท่านที่สนใจอ่านรายละเอียดตาม link ครับ ; //washingtonexaminer.com/local/dc/2012/01/study-dc-streetcar-network-could-spur-15b-property-boom/168806
และ //reconnectingamerica.org/resource-center/browse-research/2010/tod-203-transit-corridors-and-tod/

vdo แสดงการพัฒนาที่อยู่อาศัยรอบสถานีขนส่งมวลชน (ภาพแนวคิด); //vimeo.com/6693942

ส่วนบ้านเราได้แต่คิดกัน แล้วออกข่าวรายวัน แต่ทุกอย่างยังอยู่บนกระดาษเช่นเดิม ได้แต่ดูคลิปใน youtube ไปวันๆ



โครงการในไทยยังเลื่อนลอยเช่นเคย หาความหวังไม่เจอ


ท่านใดสนใจแนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ //www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall



เพิ่มเติมบางคอมเม้นท์จาก FACEBOOK ผมครับตามลิ้งก์ //www.facebook.com/photo.php?fbid=320769941308783&set=a.320769817975462.87777.100001273404825&type=3&theater

Jon X. Viri ในบ้านเรามันติดอยู่ตรงที่เจ้าของที่ดินซึ่งส่วนใหญ่ต้องการผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุด โดยลงทุนน้อยที่สุด หรือถ้าเอาเงินภาษีส่วนรวมมาลงทุนให้ก็ยิ่งดี กับอีกทางหนึ่งคือนักการเมืองและหน่วยงานที่ดูแลยังอาจมีการหมกเม็ดเพื่อแอบเอา"เงินทอน" ซึ่งจะได้ง่ายกว่าถ้างบมาจากรัฐ แต่ถ้าทำโปร่งใสหรือให้เจ้าของที่ดินเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ก็จะโกงกันยากขึ้น เพราะเอกชนที่ลงทุนจะรักษาผลประโยชน์ของตน

Thapana Bunyapravitra ผมเห็นด้วยอย่างมากกรณีของบ้านเราครับ แต่ในความเป็นจริงเราไม่อาจหลีกเลี่ยงการขอรับการสนับสนุนจากคนหลุ่มนี้ได้ คุณ Jon X. Viri คงทราบว่าที่ดินแปลงใหญ่ติดถนนเป็นจำนวนมากในพื้นที่ชั้นในและรอบวงแหวนเป็นของคนไม่กี่ตระกูล และคนกลุ่มนี้สวนหนึ่งก็เป็นฐานสนับสนุนให้พรรคการเมืองและนักการเมือง ผมไม่สนใจการเมืองหรอกครับ แต่เห็นว่าต้องมีวิธีที่ดีที่ทำให้คนกลุ่มนี้หันมาใช้ที่ดินก่อให้เกิดประโยชน์ในการจัดการเมืองให้ได้ ผมพยายามศึกษาเรื่องภาษีที่ดินอยู่ว่าจะสามารถจัดการได้แค่ไหน แต่จากการศึกษาในออสเตรเลียและสหรัฐ มาตรการด้านภาษีไม่สามารถดึงคนกลุ่มนี้ให้มามีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองได้มากนัก แต่ที่เขาเดินหน้าได้เพราะนัการเมืองท้องถิ่น (ส่วนหนึ่ีง) เขาแข็งและเอาจริง ก็หวังแต่ว่าเราจะมีนักการเมืองดีๆ ที่มองเห็นประโยชน์เป็นตัวต้ังตัวตีในการรณรงค์และกำหนดหลายๆ มาตรการเพื่อแก้ไขปัญหานี้ครับ อีกประการ ขรก.ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีความมุ่งมั่นและกล้าหาญมากกว่าที่เป็นอยู่ อย่าใช้กฎหมายและระเบียบเฉพาะตัวเล็กตัวน้อยเพียงอย่างเดียว ต้องให้เท่าเทียมกัน

Jon X. Viri ผมคิดว่าต้องพยายามสร้างให้เกิดกลุ่มท้องถิ่นขึ้นให้ได้ ต้องพยายามให้แต่ละเขตเป็นอิสระจากกทม.มากขึ้น เพื่อให้ สก.และ สข.สามารถเป็นประโยชน์ต่อคนในท้องถิ่นที่เลือกตั้งได้โดยตรง ระบบปัจจุบันเป็นเพียงตรายางให้ฝ่ายบริหารเท่านั้น




 

Create Date : 14 กุมภาพันธ์ 2555    
Last Update : 14 กุมภาพันธ์ 2555 18:49:33 น.
Counter : 1293 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.