"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 

7. ภารกิจที่สำคัญของชีวิต คืออะไร?


 
"ภารกิจที่สำคัญของชีวิต คืออะไร?"
 
ความสุข หรือ การได้รับแต่สิ่งที่ดีๆ เป็นสิ่งที่คนเรา มุ่งมาดปรารถนา
 
ความทุกข์ หรือ การได้รับสิ่งที่ไม่ดี เป็นสิ่งที่คนเรา ไม่ปรารถนา
 
ทุกๆความสุข ทุกๆความทุกข์ ทุกๆสิ่งที่ดีๆ และ ทุกๆสิ่งที่ไม่ดี ที่หมุนเวียนเข้ามาในชีวิตของคนเรา
ล้วนเป็น “ผลของกรรม” หรือ “ผลของการกระทำ” ที่คนเรา ได้เคยกระทำเอาไว้ ในอดีต ทั้งในชาตินี้ และ ชาติก่อนๆ
 
ความสุข ความห่างไกลโรค ความห่างไกลภัย การได้ลาภ การได้ยศ การได้สรรเสริญ และ การได้รับสิ่งที่ดีๆทั้งหลาย
เป็นผลของกรรมดี หรือ วิบากกรรมดี หรือ กุศลวิบาก
 
ความทุกข์โศก โรค ภัย ความเสื่อมลาภ ความเสื่อมยศ การได้รับการนินทา และ การได้รับสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย
เป็นผลของกรรมไม่ดี หรือ วิบากกรรมไม่ดี หรือ อกุศลวิบาก
 
ทุกๆการคิด ที่ไม่ดี
ทุกๆการพูด ที่ไม่ดี
และ ทุกๆการกระทำ ที่ไม่ดี
ล้วนมีผลเป็น “วิบากกรรมไม่ดี” หรือ “อกุศลวิบาก”
 
ทุกๆการคิด ที่ดี
ทุกๆการพูด ที่ดี
และ ทุกๆการกระทำ ที่ดี
ล้วนมีผลเป็น “วิบากกรรมดี” หรือ “กุศลวิบาก”
 
ถ้าเราต้องการจะทำให้ชีวิตของเรา มีความสุข มีความห่างไกลจากทุกข์ มีความห่างไกลจากโรค มีความห่างไกลจากภัย มีลาภ มียศ มีสรรเสริญ และ มีแต่สิ่งที่ดีๆหมุนเวียนเข้ามาในชีวิต
เราต้องเพียรหมั่น “ทำกรรมดี” คือ คิดดี พูดดี และ กระทำดี ให้ติดเป็นนิสัย
และ เราต้องเพียรหมั่น “ปรับเปลี่ยนกรรมที่ไม่ดี” หรือ “แก้กรรมที่ไม่ดี” คือ ปรับเปลี่ยน การคิดที่ไม่ดี การพูดที่ไม่ดี และ การกระทำที่ไม่ดี ให้เป็น การคิดที่ดี การพูดที่ดี และ การกระทำที่ดี
 
สิ่งที่คอยบงการ ผลักดัน ชักจูง และ ชักนำ ให้คนเรา ทำกรรมไม่ดี คือ กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน
 
กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน คือ ความโลภ ความโกรธ และ ความหลง เป็นมูลเหตุของอกุศลกรรม หรือ เป็น “อกุศลมูล”
 
กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน คือ ความโลภ ความโกรธ และ ความหลง เป็นมูลเหตุของความทุกข์
 
ถ้าเราต้องการจะพ้นทุกข์
เราต้องเพียรหมั่น ชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน คือ ความโลภ ความโกรธ และ ความหลง ออกจากจิตใจ ให้หมดสิ้น
 
การเพียรหมั่น ชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน คือ การเพียรหมั่น “อบรมจิต” และ การเพียรหมั่น “อบรมปัญญา”
 
โดยสรุปแล้ว ภารกิจที่สำคัญของชีวิต คือ
๑. การเพียรหมั่น ปรับเปลี่ยน “กรรมไม่ดี” ให้เป็น “กรรมดี”
๒. การเพียรหมั่น “ทำกรรมดี” คือ คิดดี พูดดี และ กระทำดี ให้ติดเป็นนิสัย
๓. การเพียรหมั่น “ทำความพ้นทุกข์” หรือ การเพียรหมั่น ชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ออกจากจิตใจ
 
ถ้าเราไม่เพียรหมั่น “ทำกรรมดี” และ ไม่เพียรหมั่น “แก้กรรมไม่ดี” แล้วเราจะเอา “การได้รับแต่สิ่งที่ดีๆ” มาจากไหน?
 
ถ้าเราไม่เพียรหมั่น “ทำความพ้นทุกข์” แล้วเราจะเอา “ความพ้นทุกข์” มาจากไหน?
 
การกระทำทั้ง ๓ สิ่ง ดังกล่าวมานี้
ชื่อว่า “การสร้างหลักประกันให้แก่ชีวิต ทั้งในชาตินี้ และ ชาติต่อๆไป”
การไม่ได้กระทำทั้ง ๓ สิ่ง ดังกล่าวมานี้
ชื่อว่า “เป็นผู้เสียโอกาส ที่ได้โอกาส เกิดมาเป็นคน”
 
ชีวิตนี้ น้อยนัก
ชีวิตนี้ สั้นนัก
ชีวิตนี้ ไม่แน่นอน
 
ขอพวกเรา จงอย่าประมาท ในการดำเนินชีวิต
จงอย่าปล่อยให้ชีวิต ไหลเลื่อนไปตาม อำนาจของกิเลส
จงเพียรหมั่น ปรับเปลี่ยนกรรมที่ไม่ดี ให้เป็นกรรมดี
จงเพียรหมั่น กระทำกรรมดี ให้ดียิ่งๆขึ้นไป
และ จงเพียรหมั่น ชำระล้างกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ออกจากจิตใจ
เพื่อประโยชน์สุขของชีวิต ทั้งในชาตินี้ และ ชาติต่อๆไป
 
ชาญ คำพิมูล




 

Create Date : 04 กุมภาพันธ์ 2562    
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2562 7:25:45 น.
Counter : 783 Pageviews.  

6. วันเวลาของชีวิต ล่วงผ่านพ้นไป ไวจริงๆ



 

วันเวลาของชีวิต ล่วงผ่านพ้นไป ไวจริงๆ

 

หนังสือ"จิตดี กายดี มีสุข" ในรูปแบบ ไฟล์ pdf

มียอดดาวน์โหลดถึงเช้านี้ = 278 ครั้ง

ผู้เขียนขอขอบพระคุณทุกท่าน ที่สนใจดาวน์โหลดหนังสือไปอ่าน

ท่านใด ยังไม่ได้ดาวน์โหลด

สามารถดาวน์โหลดได้ ที่ลิ้งค์นี้ นะครับ

https://www.mediafire.com/file/z26mbrgx6gibsvs/JitDeeKaiDeeMeeSuk.pdf/file


***************

 

วันเวลาของชีวิต ล่วงผ่านพ้นไป ไวจริงๆ

บัดนี้ ล่วงเข้าสู่ ปีที่ 58 ของชีวิตแล้ว

เหลือเวลาอีกเพียง 3 เดือนกว่าๆ ก็จะครบ 58 ปี บริบูรณ์

 

***************


ชีวิตนี้ น้อยนัก

ชีวิตนี้ สั้นนัก

ชีวิตนี้ ไม่แน่นอน

 

ขอพวกเรา จงเพียรหมั่น "เก็บเกี่ยวบุญ" และ จงเพียรหมั่น "เก็บเกี่ยวกุศล" จากบุคคลรอบๆข้าง และ จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับ การเปลี่ยนภพเปลี่ยนภูมิ ที่กำลังจะมาถึง ในอีกไม่ช้า

 

ขอพวกเรา จงอย่าประมาท ในการใช้ชีวิต จงอย่าปล่อยให้ชีวิต ไหลเลื่อนไปตาม อำนาจของกิเลส เพราะ กิเลส คือสิ่งที่จะนำพาชีวิตไปสู่ ภพภูมิที่ต่ำลง

 

และ ขอพวกเรา จงคิดดี พูดดี และ ทำดี “ให้ติด เป็นนิสัย” เพื่อสั่งสม “วิบากกรรมดี” อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างหลักประกันให้กับชีวิต ทั้งในชาตินี้ และ ชาติต่อๆไป

 

***************

 

การเพียรหมั่นเก็บเกี่ยวบุญ หมายถึง การเพียรหมั่น ชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ออกจากจิตใจ

การเพียรหมั่นเก็บเกี่ยวกุศล หมายถึง การเพียรหมั่นทำความดี ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ

การคิดดี พูดดี และ ทำดี จนติด เป็นนิสัย จะทำให้เกิด การสั่งสม “วิบากกรรมดี” อย่างต่อเนื่อง

บุญ (บาลี: ปุญฺญ; สันสกฤต: ปุณฺย) หมายถึง เครื่องชำระสันดาน,เครื่องชำระสิ่งเศร้าหมองในจิตใจ,เครื่องชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์

 

สิ่งเศร้าหมองในจิตใจ หมายถึง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน (ความโลภ ความโกรธ และ ความหลง)

 

ชาญ คำพิมูล




 

Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2562    
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2562 7:25:17 น.
Counter : 832 Pageviews.  

5. ร่างกายนี้ ก็สำคัญ


 
ร่างกายนี้ ก็สำคัญ สำหรับชีวิตและจิตใจ เช่นเดียวกัน 
ถึงแม้ว่า ร่างกายนี้ จะเป็นแค่เพียง ที่อาศัยชั่วคราวของชีวิตและจิตใจ ก็ตาม 
เพราะเหตุว่า ในขณะที่คนเรา ยังคงมีชีวิตอยู่ ความเป็นไปของ “ร่างกาย” มีผลต่อชีวิตและจิตใจ
 
ร่างกายที่อ่อนแอ ไม่แข็งแรง ไม่สมบูรณ์ เจ็บป่วยง่าย หรือ มีความเจ็บป่วยด้วยโรคร้าย มีผลทำให้ชีวิต เป็นทุกข์ ซึมเซา ซึมเศร้า หดหู่ ห่อเหี่ยว ฯลฯ
 
ร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์ มีความห่างไกลจากความเจ็บป่วย มีผลทำให้ชีวิต เป็นสุข สดชื่น แจ่มใส กระฉับกระเฉง ไม่ห่อเหี่ยว ไม่หดหู่ ฯลฯ
 
ร่างกายที่อ่อนแอ ไม่แข็งแรง ไม่สมบูรณ์ เจ็บป่วยง่าย หรือ มีความเจ็บป่วยด้วยโรคร้าย มีผลทำให้จิตใจ อ่อนแอ เป็นทุกข์ง่าย เครียดง่าย วิตกกังวลง่าย หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย โมโหง่าย ยากที่จะเอาจะชนะกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ที่ครอบงำจิตใจอยู่ ได้
 
ร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์ มีความห่างไกลจากความเจ็บป่วย มีผลทำให้จิตใจ เข้มแข็ง ไม่ทุกข์ง่าย ไม่เครียดง่าย ไม่วิตกกังวลง่าย ไม่หงุดหงิดง่าย ไม่โกรธง่าย ไม่โมโหง่าย สามารถจะรับมือกับกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ที่ครอบงำจิตใจอยู่ ได้ ไม่ยากนัก
 
ดังนั้น เราจึงควรดูแลรักษา “ร่างกายนี้” ให้แข็งแรง สมบูรณ์ สมวัย ตามสมควร ด้วยหลัก ๕อ.+๑ คือ
 
๑. อ.อารมณ์ดี ไม่มีปัญหา
๒. อ.อาหารดี มีคุณค่า
๓. อ.ออกกำลังกาย อย่างเหมาะสม
๔. อ.เอนกาย (นอนหลับ) ให้เพียงพอ
๕. อ.อุจจาระ ให้เป็นปกติวิสัย ทุกวัน
+ ๑ อ.อิทธิบาท ๔ ขับเคลื่อน ๕อ.
 
ถึงแม้ว่า ร่างกายนี้ จะมีความสำคัญ สำหรับชีวิตและจิตใจ แต่มันก็เป็นแค่เพียง ที่อาศัยชั่วคราวของชีวิตและจิตใจ เท่านั้นเอง
ดังนั้น เราจึงไม่ควร ไปหลงยึดมั่นถือมั่น ในร่างกายนี้ เพราะเหตุว่า ร่างกายนี้ เป็นสิ่งที่เรา ไม่อาจจะดูแลรักษา ให้คงอยู่ดังเดิมได้
 
ไม่ว่าเรา จะดูแลรักษาร่างกายนี้ อย่างไร ดีแค่ไหน สุดท้ายแล้ว มันก็ต้องแก่ ต้องเฒ่า ต้องตาย ต้องเน่าเปื่อย และ ต้องนำเอาไปเผา
 
เราไม่อาจจะนำพา เอาร่างกายนี้ ข้ามภพข้ามชาติ ไปกับเราได้
 
จงดูแลรักษา ร่างกายนี้ ตามสมควร
 
ถ้าเราไม่ดูแลรักษา ร่างกายของเรา ตามสมควร ร่างกายของเรา จะทรุดโทรม อ่อนแอ แก่เฒ่า เร็วกว่าปกติ
 
การดูแลรักษา สุขภาพร่างกายของผู้เขียน อย่างจริงจัง เกือบ ๒ ปี ในช่วงอายุ ๕๕ ปี ถึง ๕๗ ปี มีผลดังนี้
 
๑. สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ขึ้น มากกว่า จุดที่เป็นอยู่เดิม มากพอสมควร
๒. อาการวิงเวียนศีรษะที่เคยเป็นอยู่เดิม หายหมดไป
๓. มีความเจ็บป่วยน้อยมาก เคยติดหวัดในช่วงที่ซ้อมวิ่งหนัก ๑ ครั้ง มีอาการเป็นหวัดเล็กน้อย และ หายเร็วมาก
๔. มีสุขภาพจิตดีขึ้น เข้มแข็งขึ้น สามารถรับมือกับกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ได้ดีขึ้น
 
ในขณะที่พวกเรา ยังคงมีลมหายใจอยู่นี้ ขอให้พวกเรา จงดูแลรักษา สุขภาพร่างกายของพวกเรา อย่างจริงจัง ตามสมควร เพื่อเสริมสร้างความผาสุกให้กับชีวิต เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับจิตใจ และ เพื่อความห่างไกลจากโรคร้าย
 
ชาญ คำพิมูล




 

Create Date : 31 มกราคม 2562    
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2562 7:24:46 น.
Counter : 897 Pageviews.  

4. อ.อารมณ์ดี ไม่มีปัญหา ตอนที่ 3 ล้างอารมณ์โลภ

 

 
สิ่งที่เรา ควรหมั่นชำระล้าง ออกจากจิตใจ ในลำดับต้นๆ อีกประการหนึ่ง คือ
 
อารมณ์อยากได้ อยากมี และ อยากเป็น ที่มากมายเกินความจำเป็นของชีวิต หรือ อารมณ์โลภ
 
เพราะเหตุว่า
 
ผู้ที่มีอารมณ์อยากได้ อยากมี และ อยากเป็น ที่มากมายเกินความจำเป็นของชีวิต อยู่ในจิตใจ
จะเป็นผู้ที่มี อารมณ์ทุกข์ อารมณ์เครียด และ อารมณ์วิตกกังวล (อารมณ์ที่ไม่ดี) เป็นที่หมาย
 
แนวทางในการชำระล้าง อารมณ์อยากได้ อยากมี และ อยากเป็น ที่มากมายเกินความจำเป็นของชีวิต ออกจากจิตใจ คือ
 
๑. จงเพ่งพิจารณา ให้เห็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา) ในอารมณ์อยากได้ อยากมี และ อยากเป็น ที่มากมายเกินความจำเป็นของชีวิต ดังนี้
 
   ๑.๑ อารมณ์อยากได้ อยากมี และ อยากเป็น ที่มากมายเกินความจำเป็นของชีวิต...เป็นสิ่งที่ มีความไม่เที่ยง และ มีความไม่ยั่งยืน เป็นธรรมดา (อนิจจัง) ถ้าเราไม่เอาจิตเอาใจ เข้าไปปรุงแต่งร่วม (สังขาร) มันจะดับไปเอง ในเวลา ไม่นานนัก
 
   ๑.๒ อารมณ์อยากได้ อยากมี และ อยากเป็น ที่มากมายเกินความจำเป็นของชีวิต...เป็นบ่อเกิดของความทุกข์ โทษ และ ภัย ดังนั้น จึงควรละปล่อยวาง ไม่ควรหลงไปยึดมั่นถือมั่นเอาไว้
 
   ๑.๓ อารมณ์อยากได้ อยากมี และ อยากเป็น ที่มากมายเกินความจำเป็นของชีวิต...เป็นสิ่งที่ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของตน มันเป็นแค่เพียงอุปาทาน ที่เราสามารถทำให้มัน ลดลงได้ จางคลายลงได้ และ ดับสูญสิ้นไปได้ (อนัตตา)
 
๒. จงเพ่งพิจารณา ให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง เพื่อชำระล้าง อารมณ์อยากได้ อยากมี และ อยากเป็น ที่มากมายเกินความจำเป็นของชีวิต ออกจากจิตใจ ดังเช่น
 
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ที่เราอยากได้ อยากมี และ อยากเป็น
โดยส่วนใหญ่แล้ว
มันมักจะให้ความสุขแก่เรา แค่เพียงเล็กน้อย ในช่วงระยะเวลาเพียงสั้นๆ 
เมื่อเราได้รับมันมาแล้ว เท่านั้นเอง
ภายหลังจากนั้น มันจะกลายเป็น “ภาระของเรา”
 
จริงๆแล้ว ชีวิตของคนเรา
ไม่ได้ต้องการสิ่งใด มากมายเลย
 
หลักๆ ที่ขาดไม่ได้เลย ก็คือ “อาหาร” สำหรับหล่อเลี้ยงชีวิต
สิ่งอื่นๆ ที่มีความจำเป็นสำหรับชีวิตจริงๆ ก็มีแค่เพียง ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และ ยารักษาโรค ตามเหมาะ ตามสมควร ตามความจำเป็น เท่านั้นเอง
 
มีผู้คนจำนวนมาก ที่หลงคิดไปว่า เมื่อตน มีทรัพย์สินเงินทอง มากมายแล้ว ตนจะได้รับ “ความสุข”
พวกเขาเหล่านั้น จึงยอมเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ดิ้นรนแสวงหา “ทรัพย์สินเงินทอง” มาเก็บมากองเอาไว้ มากมาย
จนลืมความสุขของชีวิต จนไม่มีเวลา แสวงหาความสุข ให้ชีวิต
และ ไม่มีเวลา ใช้เงินใช้ทอง ที่ตนเองหามาได้ เพื่อความสุขของชีวิต
พวกเขา หวังไว้ว่า สักวันหนึ่ง เมื่อพวกเขา มีเงินทอง มากมายแล้ว
พวกเขา จะได้ใช้ชีวิต อย่างมีความสุข
แต่อนิจจา
สุดท้ายแล้ว พวกเขาก็มีเวลา เหลืออยู่ไม่มากนัก เพื่อใช้เงินใช้ทอง ที่ตนเองหามาได้
สุดท้ายแล้ว ร่างกายของพวกเขา ก็ทรุดโทรม แก่เฒ่า เรี่ยวแรงเหลือน้อย
จนไม่อาจจะเสวยความสุข จากทรัพย์สินเงินทอง ที่ตนเองหามาได้
สุดท้ายแล้ว พวกเขาก็ต้องตาย จากโลกนี้ไป
โดยไม่ได้ใช้ทรัพย์สินเงินทอง ที่ตนเองหามาได้ อย่างคุ้มค่า
และ ต้องทิ้งมันเอาไว้ อยู่ในโลกนี้
ฯลฯ
 
สิ่งที่สำคัญ ที่พวกเราควรกระทำ เพื่อทำให้ชีวิต มีความผาสุก คือ
 
๑. จงหยุดสร้างภาระ ที่เกินตัว หรือ ที่เกินกำลังของตน เข้ามาทับถมตน
 
๒. จงเริ่มต้น ทำชีวิตของตน ให้ติดบวก ทั้งทางโลก และ ทางธรรม
 
๓. จงพากเพียร ประกอบสัมมาอาชีพ เพื่อเลี้ยงชีพตน ให้เต็มที่ และ ให้เต็มกำลัง ตามสมควร โดยรู้จักพัก รู้จักเพียร และะ จงอย่ายอมให้ “ความโลภ” เข้ามาครอบงำชีวิต และ บงการชีวิต
 
๔. จงรู้จักใช้ชีวิตของตน ให้มีคุณค่า ให้มีประโยชน์ และ ให้มีความสุข
 
๕. จงอย่ากังวลใจ ไปกับอนาคต จนเกินควร เพราะเหตุว่า เมื่อเราได้พากเพียร ประกอบสัมมาอาชีพ อย่างเต็มที่ อย่างเต็มกำลัง ตามสมควรแล้ว เราจะได้รับ ทรัพย์สินเงินทอง ลาภ ยศ สรรเสริญ และ สุข ตามสมควร ตามมา อย่างแน่นอน
 
ชาญ คำพิมูล
 
 




 

Create Date : 25 มกราคม 2562    
Last Update : 16 พฤศจิกายน 2562 3:26:16 น.
Counter : 959 Pageviews.  

3. จิตใจ คือสิ่งสำคัญยิ่ง


 
จิตใจ คือสิ่งสำคัญยิ่ง สำหรับชีวิต เพราะเหตุว่า ความสุข และ ความทุกข์ เกิดขึ้นที่ “จิตใจ” และ ความสุข และ ความทุกข์ เกิดมาจาก “จิตใจ”
 
ความสุข และ ความทุกข์ ที่เกิดขึ้น ในจิตใจ เป็นสิ่งที่เกิดมาจาก “การปรุงแต่ง (สังขาร) ของจิตใจ” ไปตามอำนาจของกิเลส
 
ความสุข ในที่นี้ หมายถึง “ความสุขในทางโลก” หรือ “โลกียสุข”
 
“ความสุขในทางโลก” หรือ “โลกียสุข” คือความสุขลวง เป็นเหยื่อล่อของกิเลส
 
หลายๆคน ปรารถนาจะให้ตน ได้รับ “ความสุข (ในทางโลก)” โดยถ่ายเดียว โดยให้ไม่มี “ความทุกข์” ใดๆ ในชีวิต แต่ไม่มีผู้ใด สมปรารถนา เพราะเหตุว่า ความสุข (ในทางโลก) และ ความทุกข์ เป็นสิ่งที่เกิดมา “คู่กัน” ไม่มีผู้ใด จะสามารถแยกออกจากกันได้ แม้แต่พระพุทธองค์ ก็ไม่สามารถจะแยก “ความสุข (ในทางโลก)” และ “ความทุกข์” ออกจากกันได้
 
แท้จริงแล้ว “ความสุขในทางโลก” เป็น “ความสุข” ที่เจืออยู่ใน “ความทุกข์”
 
ถ้าเราต้องการจะพ้นจาก “ความทุกข์” เราต้องปล่อยวาง “ความสุข (ในทางโลก)” โดยถ่ายเดียว
 
เมื่อเราสามารถจะปล่อยวาง “ความสุขในทางโลก” ได้แล้ว เราก็จะพ้นจาก “ความทุกข์” และ เราก็จะได้รับ “ความสุขที่แท้จริง” คือ “ความสุขสงบ” หรือ “ความสุขในทางธรรม” 
 
ถ้าเราไม่วางปล่อยวาง “ความสุขในทางโลก” เราจะไม่มีทาง “พ้นจากความทุกข์” ได้เลย
 
“ความสุขที่แท้จริง” และ “ความพ้นทุกข์” เป็นสิ่งที่ ไม่อาจซื้อหาเอามาได้ ด้วยทรัพย์สินเงินทอง
 
“ความสุขที่แท้จริง” และ “ความพ้นทุกข์” เป็นสิ่งที่ ไม่อาจแสวงหาเอามาได้ จากที่อื่นใด นอกจาก “จิตใจ”
 
ดังนั้น ถ้าเราอยากจะได้ “ความสุขที่แท้จริง” และ “ความพ้นทุกข์” เราต้องทำ ที่ “จิตใจ” ของเรา โดยการเพียรหมั่น ชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ออกจาก “จิตใจ” ของเรา 
 
“ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลาย ผู้ที่จะรู้ว่า สุข ทุกข์ ติดกันอยู่นั้น หายาก ยิ่งนัก มีแต่เราตถาคต ผู้ประกอบด้วยทศพลญาณนี้ เท่านั้น
บุคคลทั้งหลาย ที่ยังเป็นปุถุชนคนโง่เขลานั้น ทำความเข้าใจว่า สุข ก็มีอยู่ต่างหาก ทุกข์ ก็มีอยู่ต่างหาก ครั้นเราถือเอาสุข เราก็ได้สุข เราก็ไม่ถือเอาทุกข์ ทุกข์ก็ไม่มี ดังนี้
เพราะเหตุที่เขาไม่รู้ว่า สุขกับทุกข์ ติดกันอยู่ เขาจึงไม่พ้นทุกข์
เมื่อผู้ใด อยากพ้นทุกข์ ก็ให้วางสุขเสีย ก็เป็นอันละทุกข์ วางทุกข์ด้วย เหมือนกัน
ใครเล่า จะมีความสามารถ พรากสุขทุกข์ ออกจากกันได้ แม้แต่เราตถาคต ก็ไม่มีอำนาจวิเศษ ที่จะพราก จากกันได้ ถ้าหากเราตถาคต พรากสุข แลทุกข์ ออกจากกันได้ เราจะปรารถนา เข้าสู่พระนิพพาน ทำไม เราจะถือเอาแต่สุข อย่างเดียว เสวยแต่ความสุข อยู่ในโลก เท่านั้น ก็เป็นอันสุขสบาย พออยู่แล้ว
นี่ไม่เป็นเช่นนั้น เราแสวงหาความสุข โดยส่วนเดียว ไม่มีทาง ที่จะพึงได้
เราจึงวางสุขเสีย ครั้นวางสุขแล้ว ทุกข์ไม่ต้องวาง ก็หายไปเอง อยู่กับเราไม่ได้ เราจึงสำเร็จ พระนิพพาน พ้นจากกองทุกข์ ด้วยประการ ดังนี้
ดูกรอานนท์ อันสุข ในโลกีย์ นั้น ถ้าตรวจตรองให้แน่นอนแล้ว ก็เป็นกองแห่งทุกข์ นั้นเอง เขาหากเกิดมา เป็นมิตร ติดกันอยู่ ไม่มีผู้ใด จักพราก ออกจากกันได้ เราตถาคต กลัวทุกข์ เป็นอย่างยิ่ง หาทางชนะทุกข์ มิได้ จึงปรารถนา เข้าพระนิพพาน เพราะเหตุ กลัวทุกข์นั้น อย่างเดียว
พระพุทธเจ้าตรัสเทศนา แก่ข้าอานนท์ ดังนี้แลฯ”
 
...เนื้อความจาก คิริมานนทสูตร ฉบับพระยาธรรมิกราช “ความสุขในโลก”
 
ชาญ คำพิมูล
 
 




 

Create Date : 20 มกราคม 2562    
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2562 7:23:06 น.
Counter : 1012 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.