"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
124. บทสรุปของการปฏิบัติธรรม เพื่อทำความดับทุกข์ ตอนที่ 9



ถ้าเราไม่เดินไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ 8

แล้วเราจะถึงจุดหมายปลายทาง คือ “ความดับทุกข์ (พ้นทุกข์)” ได้อย่างไร?

เพราะ “อริยมรรคมีองค์ 8

คือหนทางไปสู่ “ความดับทุกข์ (พ้นทุกข์)
 
***************
 
ผู้ที่ต้องการจะ “ทำความดับทุกข์

ต้องเดินไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ 8

ด้วยการปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา

เพื่อปรับเปลี่ยน “การงานอาชีพ กายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม

ที่เป็น “มิจฉา (อกุศล)"

ให้เป็น “สัมมา (กุศล)
 
***************
 
การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา” มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ “ละกิเลส หรือ ดับกิเลส หรือ ชำระล้างกิเลส” ที่เป็นมูลเหตุของ “อกุศลกรรมและความทุกข์ทั้งหลาย
 
การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา” เป็นการทำให้จิตใจ ใสสะอาด ให้ปราศจากกิเลส ที่เป็นมูลเหตุของอกุศลกรรมและความทุกข์ทั้งหลาย
 
***************
 
การเดินไปตามทาง “อริยมรรคมีองค์ 8” ของแต่ละคน

จะมีจุดเริ่มต้น ที่แตกต่างกัน เพราะ
 
คนบางคน มีการละเมิด “ศีล 5” เป็นปกติของตน

คนบางคน มี “ศีล 5” เป็นปกติของตนแล้ว บางข้อ

คนบางคน มี “ศีล 5” เป็นปกติของตนแล้ว ทุกข้อ

คนบางคน มี “ศีล 8” เป็นปกติของตนแล้ว บางข้อ

คนบางคน มี “ศีล 8” เป็นปกติของตนแล้ว ทุกข้อ

คนบางคน มักโลภ มักโกรธ มักหลง

คนบางคน ไม่มีความโลภ เป็นปกติของตนแล้ว

คนบางคน ไม่มีความโกรธ เป็นปกติของตนแล้ว แต่อาจจะยังมี “ความไม่ชอบใจไม่พอใจ และ ความขัดเคืองใจ” อยู่

คนบางคน ไม่มี “ความหลงใหลติดใจ ในลาภ ในยศ และ ในสรรเสริญ” แล้ว แต่อาจจะยังมี “ความหลงใหลติดใจในกามคุณ 5” อยู่ เช่น รสชาติอาหาร เสียงเพลง ฯลฯ

คนบางคน มีการงานอาชีพ ที่ยังเป็นมิจฉาอยู่ (ยังไม่พ้นมิจฉาวณิชชา 5 และ ยังไม่พ้นมิจฉาอาชีวะ 5)

คนบางคน มีการงานอาชีพ ที่เป็นสัมมา (พ้นมิจฉาวณิชชา 5 และ พ้นมิจฉาอาชีวะ 5) แล้ว

ฯลฯ
 
***************
 
เมื่อจิตใจของเรา ใสสะอาด ปราศจากกิเลสแล้ว

ถ้าเราต้องการจะทำความดับทุกข์ เพื่อเข้าสู่พระนิพพาน

เราต้องปล่อยวางจิตใจ

คือ ไม่ปล่อยให้ความรู้สึกนึกคิด ไหลเลื่อนไปตาม “การปรุงแต่ง (สังขาร) ของจิตใจ

เพราะ จิตใจ เป็นสิ่งนำพาให้เกิด

และ จิตใจ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของตน ไม่ใช่ของของตน
 
ถ้าจิตใจ เป็นตัวเป็นตนของเราจริงแท้

หรือ ถ้าจิตใจ เป็นของของเราจริงแท้

เราจะสามารถกำหนดได้ว่า

จิตใจของเรา จงเป็นสุขอยู่ทุกเมื่อเถิด

จิตใจของเรา จงอย่าเป็นทุกข์เลย

จิตใจของเรา จงอย่าปรุงฟุ้งซ่าน จงอย่าวิตกกังวลเลย

จิตใจของเรา จงนิ่งสงบเถิด จงอย่าร้อนรนเลย
ฯลฯ
 
***************
 
โดยปกติแล้ว

จิตใจของเรา มักจะมีการปรุงแต่ง (สังขาร) ไปต่างๆนานา

ตามเหตุตามปัจจัยจากภายนอกบ้าง

โดยไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยจากภายนอกบ้าง

เราไม่สามารถจะกำหนดได้ และ ไม่สามารถจะควบคุมได้ อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
 
***************
 
***การปฏิบัติธรรม ที่ไม่ถูกมรรคถูกทาง และ ไม่ถูกต้องตามลำดับ

จะไม่ทำให้เกิด การบรรลุธรรมตามลำดับ

จะทำให้เกิด การเวียนวนอยู่ในวังวนของความสุข (โลกียสุข) และความทุกข์ ไม่มีที่สิ้นสุด

อาจทำให้กิเลส พอกพูนเพิ่มขึ้น

และ อาจทำให้เกิดความทุกข์และความเครียด เพิ่มขึ้น
 
***การปฏิบัติธรรม ที่ถูกมรรคถูกทาง และ ถูกต้องตามลำดับ

จะทำให้เกิด การบรรลุธรรมตามลำดับ คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และ พระอรหันต์

จะทำให้กิเลส ลดลง จางคลายลง และ ดับสิ้นไป ตามลำดับ

จะทำให้ความทุกข์ ลดลง ตามลำดับ

และ จะทำให้ได้รับ ความสุขสงบ มากขึ้น ตามลำดับ
 
***************
 
ผู้เขียนเป็นคนธรรมดาคนหนึ่ง ที่เกิดมาแล้ว “มีความทุกข์

เพราะ “มีความทุกข์” จึงเพียรพยายามค้นหา “วิธีการดับทุกข์ (พ้นทุกข์)

เพราะเพียรพยายามค้นหา “วิธีการดับทุกข์ (พ้นทุกข์)” จึงได้พบกับ “หนทางสู่ความดับทุกข์ (พ้นทุกข์)

เพราะได้พบกับ “หนทางสู่ความดับทุกข์ (พ้นทุกข์)” จึงเพียรพยายามเดินไปตาม “หนทางสู่ความดับทุกข์ (พ้นทุกข์)

***************
 
ผู้เขียน เขียนสรุปเอาไว้

เพื่อเป็นแง่คิดมุมมองหนึ่ง ของการศึกษาธรรมและการปฏิบัติธรรม เพื่อทำความดับทุกข์

เผื่อจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านบ้าง

จงอย่าหลงเชื่อตามสิ่งใดๆ โดยง่าย
โดยไม่ผ่านการพิจารณาไตร่ตรองโดยรอบคอบ
และ โดยไม่ผ่านการพิสูจน์ให้เห็นจริงชัดแจ้งด้วยตนเอง


ชาญ คำพิมูล

 


Create Date : 09 กรกฎาคม 2566
Last Update : 9 กรกฎาคม 2566 9:19:00 น. 0 comments
Counter : 421 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณhaiku


ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.