"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
29. การขจัด "ความทุกข์" ออกจากจิตใจ



การขจัด “ความทุกข์” ออกจากจิตใจของคนเรา

ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ

ถึงแม้ว่า “ความทุกข์” จะเป็นสิ่งที่คนเรา ไม่ได้ปรารถนา

เพราะเหตุว่า

“ความทุกข์” ที่เกิดขึ้น ในจิตใจของคนเรา

โดยส่วนใหญ่แล้ว เกิดขึ้นจาก “ความหลงยึดมั่นถือมั่น ไปตามอำนาจของกิเลส หรือ อุปาทาน”

***************

อุปาทาน คือ ความหลงยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งต่างๆ ที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ดังเช่น

การได้ลาภ ชอบใจ เป็นสุข การไม่ได้ลาภ ไม่ชอบใจ เป็นทุกข์

การเสื่อมลาภ ไม่ชอบใจ เป็นทุกข์

การได้สรรเสริญ ชอบใจ เป็นสุข การไม่ได้สรรเสริญ ไม่ชอบใจ เป็นทุกข์

การได้รับการนินทา ไม่ชอบใจ เป็นทุกข์

การได้ยศ ชอบใจ เป็นสุข การไม่ได้ยศ ไม่ชอบใจ เป็นทุกข์

การเสื่อมยศ ไม่ชอบใจ เป็นทุกข์

อาหารรสชาติอย่างนี้ อร่อย ชอบใจ ได้กินแล้ว เป็นสุข ไม่ได้กิน เป็นทุกข์

อาหารรสชาติอย่างนี้ ไม่อร่อย ไม่ชอบใจ ได้กินแล้ว เป็นทุกข์

เสียงอย่างนี้ ไพเราะ น่าฟัง ชอบใจ ได้ฟังแล้ว เป็นสุข ไม่ได้ฟัง เป็นทุกข์

เสียงอย่างนี้ ไม่ไพเราะ ไม่น่าฟัง ไม่ชอบใจ ได้ฟังแล้ว เป็นทุกข์

เขาทำอย่างนี้กับเรา เราชอบใจ เป็นสุข เขาไม่ทำอย่างนี้กับเรา เราไม่ชอบใจ เป็นทุกข์

เขาทำอย่างนี้กับเรา เราไม่ชอบใจ เป็นทุกข์ ฯลฯ

***************

การขจัด หรือ การชำระล้าง “อุปาทาน” ที่มีอยู่ในจิตใจของเรา

ไม่ว่าจะเป็น “อุปาทานที่ก่อให้เกิดสุข” หรือ “อุปาทานที่ก่อให้เกิดทุกข์”

ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ

เราต้องเพียรหมั่น “อบรมจิต” และ เราต้องเพียรหมั่น “อบรมปัญญา”

เพื่อทำให้เห็น จนชัดแจ้งที่ใจ ในความเป็น “อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์)” ของความทุกข์ และ ความสุข

จนเกิดการละหน่ายคลาย และ การปล่อยวางได้

หรือ จนเกิดปัญญา ล้าง “อุปาทาน”

หรือ จนเกิดปัญญา ล้าง “อวิชชา”

โดยอาจต้องใช้ระยะเวลา ยาวนานพอสมควร

ขึ้นอยู่กับ "อุปาทาน" ที่แต่ละคน มีอยู่ มากน้อยแตกต่างกัน

***************

การขจัด “ความทุกข์” ออกจากจิตใจ มีแนวทาง ดังนี้

๑. เพียรหมั่นเพ่งพิจารณา ให้เห็น จนชัดแจ้งที่ใจ ในความเป็น “อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์)” ของ “ความทุกข์” หรือ “อารมณ์ทุกข์” ที่เกิดขึ้น ในจิตใจ ดังนี้

   ๑.๑ ความทุกข์ หรือ อารมณ์ทุกข์ เป็นสิ่งที่ มีความไม่เที่ยง และ มีความไม่ยั่งยืน เป็นธรรมดา (อนิจจัง) ถ้าเราไม่เอาจิตเอาใจ เข้าไปปรุงแต่งร่วม (สังขาร) มันจะดับไปเอง ในเวลา ไม่นานนัก

   ๑.๒ ความทุกข์ หรือ อารมณ์ทุกข์ เป็นสิ่งที่ ไม่ควรหลงไปยึดมั่นถือมั่นเอาไว้ เพราะเหตุว่า มันมีโทษมาก มันเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย ด้วยโรคร้ายต่างๆ และ มันอาจทำให้คนเรา ฆ่าตัวตายได้ (ทุกขัง)

   ๑.๓ ความทุกข์ หรือ อารมณ์ทุกข์ เป็นสิ่งที่ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของตน มันเป็นแค่เพียง สิ่งที่เกิดขึ้นจาก “อุปาทาน” ที่คนเรา มีอยู่แตกต่างกัน เท่านั้นเอง  เราสามารถจะทำให้มัน ลดลงได้ จางคลายลงได้ และ ดับสูญสิ้นไปได้ (อนัตตา)
 
๒. เพียรหมั่นเพ่งพิจารณา ให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนชัดแจ้งว่า จริงๆแล้ว เราไม่ควร “เป็นทุกข์” ดังนี้

เมื่อใดก็ตาม ที่มี “ความทุกข์” หรือ “อารมณ์ทุกข์” เกิดขึ้น ในจิตใจ

จงเพ่งพิจารณา ให้เห็น จนชัดแจ้งว่า

“ความทุกข์” หรือ “อารมณ์ทุกข์” ที่เกิดขึ้นนั้น

มันมีสาเหตุมาจากสิ่งใด? และ เราสามารถจะทำสิ่งใด ได้บ้าง?

แล้วจงลงมือทำ ให้เต็มที่ และ ให้เต็มกำลัง ตามสมควร

และ เมื่อเราได้ลงมือทำ อย่างเต็มที่ และ อย่างเต็มกำลัง ตามสมควรแล้ว

ก็ให้ปล่อยวาง

จงอย่าทุกข์ใจ จงอย่ากังวลใจ ไปกับผล ที่มันจะเกิดขึ้น

เพราะ เราได้ทำอย่างเต็มที่ และ อย่างเต็มกำลัง ตามสมควรแล้ว

แต่ถ้าหากว่า เราไม่สามารถ จะทำสิ่งใดได้เลย ให้ปล่อยวางเสีย

เพราะ ไม่มีประโยชน์อันใด ทุกข์ใจไป เครียดไป และ วิตกกังวลไป ก็ไม่ได้ทำ ให้สิ่งใดๆ ดีขึ้นได้

***************

ตั้งแต่เราเกิดมา จนถึงบัดนี้

มีกี่เรื่องราวแล้ว มีกี่เหตุการณ์แล้ว และ มีกี่ปัญหาแล้ว

ที่ผ่านเข้ามา ในชีวิตของเรา

ทุกๆเรื่องราว ทุกๆเหตุการณ์ และ ทุกๆปัญหา

เราสามารถ “ก้าวผ่านมันมาได้” มิใช่หรือ?

***************

จงอย่ามัวทุกข์ใจ อยู่กับอดีต ที่มัน ผันผ่านไปแล้ว

จงอย่าได้กังวลใจ ไปกับอนาคต ที่มัน ยังมาไม่ถึง

จงทำวันนี้ ปัจจุบันนี้ ให้ดีที่สุด

แล้วอนาคต จะถูกจัดสรร ให้ดีเอง

***************

จงอย่าปล่อยให้ “ความทุกข์” ค้างคา อยู่ในจิตใจ

จงเพียรเพ่งพิจารณา ล้างออกจากจิตใจ ให้หมดสิ้น

ชาญ คำพิมูล

 


Create Date : 22 กันยายน 2562
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2562 7:32:56 น. 0 comments
Counter : 2354 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.