"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
50. ขจัดกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน...ต้องมีความเพียรเป็นที่ตั้ง


ในความเป็นจริงแล้ว

อารมณ์สุข (โลกียสุข) และ อารมณ์ทุกข์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจาก การปรุงแต่ง (สังขาร) ของจิตใจ ไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน

อารมณ์สุข (โลกียสุข) และ อารมณ์ทุกข์ นี้ มีความไม่เที่ยง มีความไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวน และ มีความไม่แน่นอน ไม่อาจจะยึดถือเอาไว้ได้ เป็นธรรมดา (อนิจจัง)

อารมณ์สุข (โลกียสุข) และ อารมณ์ทุกข์ นี้ คือมูลเหตุของความทุกข์ โศก โรค โทษ และ ภัย ทั้งหลาย (ทุกขัง)

อารมณ์สุข (โลกียสุข) และ อารมณ์ทุกข์ นี้ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของตน และ ไม่ใช่ของของตน มันเป็นแค่เพียงอุปาทาน หรือ ความยึดมั่นถือมั่นไปตามอำนาจของกิเลส เท่านั้นเอง (อนัตตา)
 
***************
 
กิเลส (ความโลภ ความโกรธ และ ความหลง) ตัณหา (ความอยาก ความใคร่ ความทะยานอยาก) และ อุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่นไปตามอำนาจของกิเลส) คือมูลเหตุของความทุกข์ทั้งหลาย
 
กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน คือสิ่งที่ครอบงำจิตใจของคนเราอยู่
 
กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน คือสิ่งที่คอยบงการจิตใจของคนเรา และ คอยชักจูงจิตใจของคนเรา ให้คนเรากระทำอกุศลกรรมต่างๆ อันมีผลเป็น “วิบากกรรมไม่ดี หรือ อกุศลวิบาก” ได้แก่ การได้ประสบกับ ความทุกข์ โศก โรค ภัย การไม่มีลาภ การไม่มียศ การเสื่อมลาภ การเสื่อมยศ การได้รับคำนินทา การได้รับโทษ และ การได้รับ หรือ การได้ประสบกับ สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย
 
***************
 

การทำความพ้นทุกข์ คือ การขจัด หรือ การชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ออกจากจิตใจ ให้หมดสิ้น
 
วิธีการขจัด หรือ วิธีการชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ออกจากจิตใจ คือ การทำจิตใจ ให้ปล่อยวาง ให้ไม่หลงยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวเป็นตนของตน หรือ เป็นของของตน และ ให้ไม่หลงปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม อำนาจของกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน โดยการเพียรหมั่น “อบรมจิต (สมถภาวนา)” และ การเพียรหมั่น “อบรมปัญญา (วิปัสสนาภาวนา)”
 
***************
 
การขจัด หรือ การชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ออกจากจิตใจของเรา ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เราต้องใช้ความเพียรพยายาม ค่อนข้างสูง และ ต้องใช้ระยะเวลา ยาวนานพอสมควร เพราะเหตุว่า

๑. กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน เป็นสิ่งที่มีอำนาจ เหนือจิตใจของคนเรา คือ

มันสามารถบงการจิตใจและชักจูงจิตใจของคนเรา ให้คนเรายินยอม กระทำอกุศลกรรมต่างๆ

มันสามารถบงการจิตใจและชักจูงจิตใจของคนเรา ให้คนเรายินยอม เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า 
เสี่ยงโรค เสี่ยงภัย เสี่ยงชีวิต และ เสี่ยงคุกตะราง

มันสามารถบงการจิตใจและชักจูงจิตใจของคนเรา ให้คนเรายินยอม ทำร้ายทำลาย ชีวิตของผู้อื่นและสัตว์อื่น

และ มันสามารถบงการจิตใจและชักจูงจิตใจของคนเรา ให้คนเรายินยอม แม้กระทั่ง ทำร้ายทำลาย ชีวิตของตนเอง

๒. กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน เป็นสิ่งที่ถูกสั่งสมพอกพูนเอาไว้ ภายในจิตใจของคนเรา ข้ามภพข้ามชาติมา ไม่รู้ว่า กี่ภพกี่ชาติ

***************

การเพียรหมั่น “อบรมจิต (สมถภาวนา) “ หมายถึง การเพียรหมั่นฝึกฝืนจิต กดข่มจิต ทำจิตให้ตั้งมั่น ให้เป็นสมาธิ ให้ไม่หวั่นไหว ให้ไม่ปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม อำนาจของกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ที่กำลังเกิดขึ้นในจิต (ทำให้กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ที่กำลังเกิดขึ้นในจิต ระงับดับลง)

การเพียรหมั่น “อบรมปัญญา (วิปัสสนาภาวนา)” หมายถึง การเพียรหมั่นเพ่งพิจารณา ให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนเห็นชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา (ไตรลักษณ์) ของ กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ที่เกิดขึ้นในจิต เพื่อทำให้เกิดการสิ้นความลังเลสงสัย (พ้นวิจิกิจฉา) และ ทำให้เกิดการละหน่ายคลาย และ การปล่อยวางได้ (ทำให้เกิด “ปัญญา” ละสักกายทิฏฐิได้ หรือ พ้นสักกายทิฏฐิ)

***************

การรู้เพียงบัญญัติภาษา

ไม่สามารถจะขจัด หรือ ชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ออกจากจิตใจของเราได้

ถ้าหากเราต้องการจะขจัด หรือ ชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ออกจากจิตใจให้ได้

เราต้อง “เพียรหมั่น” อบรมจิต (สมถภาวนา) และ เราต้อง “เพียรหมั่น” อบรมปัญญา (วิปัสสนาภาวนา)

เพื่อให้เห็นจนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์) ของกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน จนสิ้นความลังเลสงสัย (พ้นวิจิกิจฉา) และ จนเกิดการละหน่ายคลาย และ เกิดการปล่อยวางได้ (พ้นสักกายทิฏฐิ)
 
***************
 
การขจัด หรือ การชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ออกจากจิตใจ

ต้องมีความเพียรเป็นที่ตั้ง คือ

ต้อง “เพียรหมั่น” อบรมจิต (สมถภาวนา)

และ ต้อง “เพียรหมั่น” อบรมปัญญา (วิปัสสนาภาวนา)

ให้ติดเป็นนิสัย

จึงจะเกิดมรรคผลจริง (พ้นสีลัพพตปรามาส)
 
ชาญ คำพิมูล

 


Create Date : 10 พฤษภาคม 2563
Last Update : 14 พฤษภาคม 2563 7:41:11 น. 2 comments
Counter : 1762 Pageviews.

 
“อบรมปัญญา (วิปัสสนา)” หมายถึง

การเพียรพิจารณา (โยนิโสมนสิการ)
ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา (ไตรลักษณ์)
ของสรรพสิ่งทั้งปวง


สาธุครับ


โดย: ชนาวิน วันที่: 13 พฤษภาคม 2563 เวลา:19:27:12 น.  

 
สาธุ สาธุ สาธุครับ คุณ ชนาวิน


โดย: chancamp (chancamp ) วันที่: 14 พฤษภาคม 2563 เวลา:7:37:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.