"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
40. โสดาบัน...การทำศีลให้บริบูรณ์ ตอนที่ ๔



หลักธรรม ที่ใช้ขับเคลื่อน “ศีล สมาธิ และ ปัญญา (ไตรสิกขา)” ไปตามทาง “มรรคมีองค์ ๘” สู่ความพ้นทุกข์ คือ โพชฌงค์ ๗

โพชฌงค์ ๗ ประกอบด้วย

๑. สติสัมโพชฌงค์

๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

๓. วิริยสัมโพชฌงค์

๔. ปีติสัมโพชฌงค์

๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

๖. สมาธิสัมโพชฌงค์

๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์

***************

การทำศีลให้บริบูรณ์ โดยใช้ “โพชฌงค์ ๗” ขับเคลื่อน มีวิธีการ ดังนี้

๑. กำหนดตั้ง “ศีล” ขึ้นมา เพื่อยึดถือปฏิบัติ ให้บริบูรณ์ หรือ เพื่อยึดถือปฏิบัติ ให้เป็นปกติ

๒. มีสติ (สติสัมโพชฌงค์) ระลึกรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่เสมอ เพื่อรับรู้ การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และ การดับไป ของ อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ อารมณ์ชอบใจ อารมณ์ไม่ชอบใจ อันเป็นเหตุที่จะทำให้เราละเมิดศีล

๓. เมื่อใดก็ตาม ที่มี อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ อารมณ์ชอบใจ อารมณ์ไม่ชอบใจ อันเป็นเหตุที่จะทำให้เราละเมิดศีล เกิดขึ้น ภายในจิตใจ จงเพียรพยายาม (วิริยสัมโพชฌงค์) ทำจิตใจ ให้ตั้งมั่น ให้ไม่หวั่นไหว ให้เป็นสมาธิ เพื่อระงับจิต ไม่ให้ปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ อารมณ์ชอบใจ อารมณ์ไม่ชอบใจ อันเป็นเหตุที่จะทำให้เราละเมิดศีล

๔. มีสติ (สติสัมโพชฌงค์) เพียร (วิริยสัมโพชฌงค์) เพ่งพิจารณา (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ หรือ วิปัสสนา) เพื่อให้เห็นจนชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์) ของ อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ อารมณ์ชอบใจ อารมณ์ไม่ชอบใจ อันเป็นเหตุที่จะทำให้เราละเมิดศีล ดังนี้

๔.๑ เพียร (วิริยสัมโพชฌงค์) เพ่งพิจารณา (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ หรือ วิปัสสนา) เพื่อให้เห็นถึง ความไม่เที่ยง ความไม่ยั่งยืน ความแปรปรวน ความไม่แน่นอน ความไม่อาจยึดถือเอาไว้ได้ (อนิจจัง) ของ อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ อารมณ์ชอบใจ อารมณ์ไม่ชอบใจ อันเป็นเหตุที่จะทำให้เราละเมิดศีล

(ถ้าเราไม่เอาจิตเอาใจ เข้าไปปรุงแต่ง (สังขาร) ร่วม มันจะดับลงไปเอง ในเวลาไม่นานนัก)
๔.๒ เพียร (วิริยสัมโพชฌงค์) เพ่งพิจารณา (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ หรือ วิปัสสนา) เพื่อให้เห็นจนชัดแจ้งว่า จริงๆแล้ว เราไม่ควรละเมิดศีล เพราะ การละเมิดศีล คือ มูลเหตุของความทุกข์ โทษ และ ภัย (ทุกขัง)

๔.๓ เพียร (วิริยสัมโพชฌงค์) เพ่งพิจารณา (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ หรือ วิปัสสนา) เพื่อให้เห็นจนชัดแจ้งว่า อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ อารมณ์ชอบใจ อารมณ์ไม่ชอบใจ อันเป็นเหตุที่จะทำให้เราละเมิดศีล นี้ มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของตน ไม่ใช่ของของตน (ไม่อาจจะกำหนดได้) มันเป็นแค่เพียงอุปาทาน ที่คนเรามีอยู่แตกต่างกัน เท่านั้นเอง และ มันเป็นสิ่งที่ สามารถจะทำให้ ลดลงได้ จางคลายลงได้ และ ดับสูญสิ้นไปจากจิตใจได้ (อนัตตา)

๕. เมื่อเราได้เห็น จนชัดแจ้งที่ใจ ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์) ของ อารมณ์อยาก อารมณ์ใคร่ อารมณ์ชอบใจ อารมณ์ไม่ชอบใจ อันเป็นเหตุที่จะทำให้เราละเมิดศีล แล้ว ก็จะเกิดการละหน่ายคลาย และ การปล่อยวางได้ หรือ เกิดปัญญา ล้างอวิชชา ทำให้ “ศีล” ที่เราได้กำหนดตั้งเอาไว้ “บริบูรณ์” หรือ เป็นปกติ

๖. เมื่อศีลบริบูรณ์หรือเป็นปกติแล้ว ก็จะเกิด “ปิติ” ขึ้นในจิตใจ (ปีติสัมโพชฌงค์) เกิดความสงบกายและสงบใจ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) เกิดจิตใจที่ตั้งมั่น เป็นสมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) และ เกิดจิตใจที่เป็นกลาง วางเฉย เพราะมีปัญญารู้เห็นความจริงตามความเป็นจริง (อุเบกขาสัมโพชฌงค์)

***************

ปิติ (บาลี: Pīti) หมายถึง ความอิ่มใจ ความดื่มด่ำ

ปิติ เป็นหนึ่งใน วิปัสสนูกิเลส ๑๐

ปิติ เป็นสิ่งที่ มีความไม่เที่ยง มีความไม่ยั่งยืน เป็นธรรมดา ไม่อาจยึดถือเอาไว้ได้

ปิติ เป็นสิ่งที่ ไม่ควรหลงใหลติดใจ และ ไม่ควรหลงไปยึดมั่นถือมั่นเอาไว้

การหลงใหลติดใจ และ การหลงไปยึดมั่นถือมั่น ในอารมณ์ปิติ จะทำให้เกิดความทุกข์ตามมา

และ จะทำให้เกิดความเนิ่นช้า

ปัสสัทธิ คือ ความสงบกายสงบใจ, ความสงบใจและอารมณ์,ความสงบเย็น, ความผ่อนคลายกายใจ
(ข้อ ๕ ในโพชฌงค์ ๗)[ความหมายตาม พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)]

***************

[๒๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยศีล ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอความไม่เดือดร้อน จงเกิดขึ้น แก่เราเถิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ ความไม่เดือดร้อน เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยศีลนี้ เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่มีความเดือดร้อน ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอความปราโมทย์ จงเกิดขึ้นแก่เราเถิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ ความปราโมทย์ เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่มีความเดือดร้อนนี้ เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความปราโมทย์ ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอปีติ จงเกิดขึ้นแก่เราเถิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปีติ เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความปราโมทย์นี้ เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอกายของเราจงสงบเถิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ กายของบุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติ สงบนี้ เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีกายสงบแล้ว ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอเราจงเสวยสุขเถิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ บุคคลผู้มีกายสงบแล้ว เสวยสุขนี้ เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีสุข ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอจิตของเรา จงตั้งมั่นเถิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ จิตของบุคคลผู้มีสุข ตั้งมั่น นี้ เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอเราจงรู้ จงเห็น ตามเป็นจริงเถิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว รู้เห็นตามเป็นจริงนี้ เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้รู้เห็นตามเป็นจริง ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอเราจงเบื่อหน่ายเถิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ บุคคลผู้รู้เห็นตามเป็นจริง เบื่อหน่ายนี้ เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เบื่อหน่าย ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอเราจงคลายกำหนัดเถิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ บุคคลผู้เบื่อหน่าย คลายกำหนัดนี้ เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีจิตคลายกำหนัดแล้ว ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอเราจงทำให้แจ้ง ซึ่งวิมุตติญาณทัสนะเถิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ บุคคลคลายกำหนัดแล้ว ทำให้แจ้ง ซึ่งวิมุตติญาณทัสนะนี้ เป็นธรรมดา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิราคะ มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นอานิสงส์

นิพพิทา มีวิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์

ยถาภูตญาณทัสนะ มีนิพพิทาเป็นผล มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์

สมาธิ มียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์

สุข มีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์

ปัสสัทธิ มีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์

ปีติ มีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์

ความปราโมทย์ มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์

ความไม่เดือดร้อน มีความปราโมทย์เป็นผล มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์

ศีลที่เป็นกุศล มีความไม่เดือดร้อนเป็นผล มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์

ด้วยประการดังนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ย่อมหลั่งไหลไปสู่ธรรมทั้งหลาย

ธรรมทั้งหลาย ย่อมยังธรรมทั้งหลายให้บริบูรณ์ เพื่อการถึงฝั่ง (คือนิพพาน) จากสถานอันมิใช่ฝั่ง (คือสังสารวัฏ) ด้วยประการฉะนี้แล ฯ


จบสูตรที่ ๒ อุปนิสาสูตรที่ ๑
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

ชาญ คำพิมูล


Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2563
Last Update : 2 กุมภาพันธ์ 2563 6:24:53 น. 0 comments
Counter : 1502 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.