"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
91. การปฏิบัติโอวาทปาฏิโมกข์ 3 เพื่อความดับทุกข์ ตอนที่ 2



การปฏิบัติ "โอวาทปาฏิโมกข์ 3" เพื่อทำความดับทุกข์
จะใช้ "มรรคมีองค์ 8" เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
 
การปฏิบัติ "มรรคมีองค์ 8"
คือ การปรับเปลี่ยน “กรรมที่ไม่ดี” หรือ “กรรมที่เป็นมิจฉา
ให้เป็น “กรรมที่ดี” หรือ ให้เป็น “กรรมที่เป็นสัมมา
 
สิ่งที่จะต้องปรับเปลี่ยน "ให้เป็นสัมมา" มี 8 ประการ คือ


1. ทิฏฐิ หรือ ความเห็น 

ความเห็นที่เป็นมิจฉา คือ ความเห็นที่ไม่ถูก ที่ไม่ตรง ที่ไม่ดี ที่ไม่ชอบ ที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือ ที่ไหลเลื่อนไปตาม อำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน
 
ความเห็นที่เป็นสัมมา คือ ความเห็นที่ถูก ที่ตรง ที่ดี ที่ชอบ ที่ไม่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือ ที่ไม่ถูกอวิชชาครอบงำ (พ้นอวิชชา)
 
วิธีการทำให้ความเห็น เป็นสัมมา คือ "การอบรมปัญญา” หรือ "วิปัสสนาภาวนา"
 
การอบรมปัญญา หรือ การวิปัสสนา คือ การเพ่งพิจารณา เพื่อให้เห็น “ความจริงตามความเป็นจริง” หรือ “เพื่อให้เกิดปัญญาในทางธรรม
 

2. สังกัปปะ หรือ ความนึกคิด (ความดำริ) 

ความนึกคิดที่เป็นมิจฉา คือ ความนึกคิดที่ไม่ถูก ที่ไม่ตรง ที่ไม่ดี ที่ไม่ชอบ ที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือ ที่ไหลเลื่อนไปตาม อำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ได้แก่ ความนึกคิดที่หมกมุ่นอยู่ในกามทั้งหลาย ความนึกคิดที่เป็นความพยาบาทอาฆาตแค้นผู้อื่นและสัตว์อื่น ความนึกคิดที่เป็นความเบียดเบียนผู้อื่นและสัตว์อื่น  และ ความนึกคิดที่เป็นบาปอกุศลทั้งหลาย
 
ความนึกคิดที่เป็นสัมมา คือ ความนึกคิดที่ถูก ที่ตรง ที่ดี ที่ชอบ ที่ไม่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือ ที่ไม่ถูกกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ครอบงำ ได้แก่ ความนึกคิดที่จะละกามทั้งหลาย ความนึกคิดที่จะละความพยาบาทอาฆาตแค้นผู้อื่นและสัตว์อื่น ความนึกคิดที่จะละความเบียดเบียนผู้อื่นและสัตว์อื่น และ ความนึกคิดที่เป็นบุญเป็นกุศลทั้งหลาย
 
วิธีการทำให้ความนึกคิด เป็นสัมมา คือ การกำหนดตั้ง “ศีล” ขึ้นมา เพื่อยึดถือปฏิบัติ ให้เป็นปกติ หรือ ให้เป็นปกติวิสัย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ปรับเปลี่ยนความนึกคิด ให้ถูก ให้ตรง ให้ดี ให้ชอบ หรือ ให้พ้นไปจากอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน
 

3. วาจา หรือ การพูดจา

การพูดจาที่เป็นมิจฉา คือ การพูดจาที่ไม่ถูก ที่ไม่ตรง ที่ไม่ดี ที่ไม่ชอบ ที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือ ที่ไหลเลื่อนไปตาม อำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ได้แก่ การพูดปดมดเท็จ เพื่อโกหกหลอกลวง การพูดส่อเสียด เพื่อยุยงให้ผู้อื่นแตกแยกกัน การพูดคำหยาบคาย เพื่อด่าทอ หรือ ดูหมิ่นผู้อื่น การพูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ และ การพูดจาที่เป็นบาปอกุศลทั้งหลาย
 
การพูดจาที่เป็นสัมมา คือ การพูดจาที่ถูก ที่ตรง ที่ดี ที่ชอบ ที่ไม่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือ ที่ไม่ถูกกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ครอบงำ ได้แก่ การพูดที่ไม่เป็นการโกหกมดเท็จ การพูดที่ไม่เป็นการส่อเสียด การพูดที่ไม่หยาบคาย การพูดที่ไม่เพ้อเจ้อ และ การพูดจาที่เป็นบุญเป็นกุศลทั้งหลาย
 
วิธีการทำให้การพูดจา เป็นสัมมา คือ การกำหนดตั้ง “ศีล” ขึ้นมา เพื่อยึดถือปฏิบัติ ให้เป็นปกติ หรือ ให้เป็นปกติวิสัย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ปรับเปลี่ยนการพูดจา ให้ถูก ให้ตรง ให้ดี ให้ชอบ หรือ ให้พ้นไปจากอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน
 

4. กัมมันตะ หรือ การกระทำทางกาย

การกระทำทางกายที่เป็นมิจฉา คือ การกระทำทางกาย ที่ไม่ถูก ที่ไม่ตรง ที่ไม่ดี ที่ไม่ชอบ ที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือ ที่ไหลเลื่อนไปตาม อำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ได้แก่ การฆ่า การทำร้ายทำลาย และ การเบียดเบียน ชีวิตผู้อื่นและสัตว์อื่น การลักทรัพย์ หรือ การเอาของของผู้อื่น มาเป็นของของตน โดยที่ผู้อื่นไม่ยินยอม การประพฤติผิดในกาม และ การกระทำทางกายที่เป็นบาปอกุศลทั้งหลาย
 
การทำทางกายที่เป็นสัมมา คือ การกระทำทางกาย ที่ถูก ที่ตรง ที่ดี ที่ชอบ ที่ไม่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือ ที่ไม่ถูกกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ครอบงำ ได้แก่ การไม่ฆ่า การไม่ทำร้ายทำลาย และ การไม่เบียดเบียน ชีวิตผู้อื่นและสัตว์อื่น การไม่ลักทรัพย์ หรือ การไม่เอาของของผู้อื่น มาเป็นของของตน โดยที่ผู้อื่นไม่ยินยอม การไม่ประพฤติผิดในกาม และ การกระทำทางกายที่เป็นบุญเป็นกุศลทั้งหลาย
 
วิธีการทำให้การกระทำทางกาย เป็นสัมมา คือ การกำหนดตั้ง “ศีล” ขึ้นมา เพื่อยึดถือปฏิบัติ ให้เป็นปกติ หรือ ให้เป็นปกติวิสัย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ปรับเปลี่ยนการกระทำทางกาย ให้ถูก ให้ตรง ให้ดี ให้ชอบ หรือ ให้พ้นไปจากอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน
 

5. อาชีวะ หรือ การประกอบอาชีพ เพื่อเลี้ยงชีพตน

การประกอบอาชีพที่เป็นมิจฉา คือ การประกอบอาชีพ ที่ไม่ถูก ที่ไม่ตรง ที่ไม่ดี ที่ไม่ชอบ ที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือ ที่ไหลเลื่อนไปตาม อำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ได้แก่ การประกอบอาชีพที่เป็น “มิจฉาวณิชชา 5” การประกอบอาชีพที่เป็น “มิจฉาอาชีวะ 5” และ การประกอบอาชีพที่เป็นบาปอกุศล ที่เบียดเบียนผู้อื่นและสัตว์อื่น
 
การประกอบอาชีพที่เป็นสัมมา คือ การประกอบอาชีพ ที่ถูก ที่ตรง ที่ดี ที่ชอบ ที่ไม่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือ ที่ไม่ถูกกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ครอบงำ ได้แก่ การประกอบอาชีพที่พ้นไปจาก “มิจฉาวณิชชา 5” การประกอบอาชีพที่พ้นไปจาก “มิจฉาอาชีวะ 5” และ การประกอบอาชีพ ที่ประกอบไปด้วย “ส่วนของบุญและกุศล
 
เพราะ

การประกอบการงานอาชีพที่เป็น "มิจฉาอาชีวะ" จะก่อให้เกิด การสั่งสมพอกพูนเพิ่มมากขึ้นของ "อกุศลวิบาก" หรือ "วิบากกรรมที่ไม่ดี"

และ การประกอบการงานอาชีพที่เป็น "สัมมาอาชีวะ" ที่มีส่วนของบุญและกุศล จะก่อให้เกิด การสั่งสมพอกพูนเพิ่มมากขึ้นของ "กุศลวิบาก" หรือ "วิบากกรรมที่ดี"

ดังนั้น เราจึงควร ประกอบการงานอาชีพที่เป็น "สัมมาอาชีวะ

มิจฉาวณิชชา 5 ประกอบด้วย
  1. สัตถวณิชชา ค้าอาวุธ
  2. สัตตวณิชชา ค้ามนุษย์
  3. มังสวณิชชา ค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร
  4. มัชชวณิชชา ค้าของเมา
  5. วิสวณิชชา ค้ายาพิษ

มิจฉาอาชีวะ 5 ประกอบด้วย
  1. การโกง (กุหนา)
  2. การล่อลวง (ลปนา)
  3. การตลบตะแลง (เนมิตตกตา)
  4. การยอมมอบตนในทางผิด (นิปเปสิกตา)
  5. การเอาลาภต่อลาภ (ลาเภน ลาภัง นิชิคิงสนตา)
 
6. วายามะ หรือ ความเพียร

ความเพียรที่เป็นมิจฉา คือ ความเพียร ที่ไม่ถูก ที่ไม่ตรง ที่ไม่ดี ที่ไม่ชอบ หรือ ที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ได้แก่ ความเพียรเพื่อลาภ เพื่อยศ เพื่อสรรเสริญ เพื่อโลกียสุข เพื่อกาม เพื่อพยาบาท
 
ความเพียรที่เป็นสัมมา คือ ความเพียร ที่ถูก ที่ตรง ที่ดี ที่ชอบ ที่ไม่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ได้แก่ ความเพียรตามหลัก “สัมมัปปธาน 4” และ ความเพียรเพื่อชำระล้าง กิเลส ตัณหา และอุปาทาน ออกจากจิตใจ หรือ ความเพียรเพื่อทำความดับทุกข์
 
สัมมัปปธาน 4 ประกอบด้วย
  1. สังวรปธาน คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
  2. ปหานปธาน คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
  3. ภาวนาปธาน คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมี
  4. อนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่นและให้เจริญยิ่ง
7. สติ หรือ ความระลึกรู้ตัว

ความระลึกรู้ตัวที่เป็นมิจฉา คือ ความระลึกรู้ตัว ที่ไม่ถูก ที่ไม่ตรง ที่ไม่ดี ที่ไม่ชอบ หรือ ที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ได้แก่ ความระลึกรู้ตัว ที่เป็นไปเพื่อลาภ เพื่อยศ เพื่อสรรเสริญ เพื่อโลกียสุข เพื่อกาม เพื่อพยาบาท
 
ความระลึกรู้ตัวที่เป็นสัมมา คือ ความระลึกรู้ตัว ที่ถูก ที่ตรง ที่ดี ที่ชอบ ที่ไม่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ได้แก่ ความระลึกรู้ตัว ที่เป็นไปเพื่อระงับจิต ไม่ให้จิตปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม “อำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือ ที่เป็นไปเพื่อ “ชำระล้าง กิเลส ตัณหา และอุปาทาน ออกจากจิตใจ” เพื่อทำความดับทุกข์

การทำความระลึกรู้ ที่เป็นสัมมา คือ "การเจริญสติปัฏฐาน 4"

สติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย
1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือ การพิจารณากายในกาย
2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือ การพิจารณาเวทนาในเวทนา
3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือ การพิจารณาจิตในจิต
4. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือ การพิจารณาธรรมในธรรม


8. สมาธิ หรือ ความตั้งมั่นแห่งจิตใจ

สมาธิที่เป็นมิจฉา คือ สมาธิ ที่ไม่ถูก ที่ไม่ตรง ที่ไม่ดี ที่ไม่ชอบ หรือ ที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ได้แก่ สมาธิ ที่เป็นไปเพื่อลาภ เพื่อยศ เพื่อสรรเสริญ เพื่อโลกียสุข เพื่อกาม เพื่อพยาบาท เพื่ออิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ ฯลฯ
 
สมาธิที่เป็นสัมมา คือ สมาธิ ที่ถูก ที่ตรง ที่ดี ที่ชอบ ที่ไม่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ได้แก่ สมาธิ ที่เป็นไปเพื่อระงับจิต ไม่ให้จิตปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม “อำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือ เพื่อทำให้กิเลส ตัณหา และอุปาทาน ที่กำลังเกิดขึ้น ระงับดับลง หรือ ที่เป็นไปเพื่อ "ชำระล้าง กิเลส ตัณหา และอุปาทาน ออกจากจิตใจ" เพื่อทำความดับทุกข์ และ สมาธิ ที่เกิดจาก "การลดลง การจางคลายลง และ การดับสิ้นไปของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน"
 
การทำสมาธิที่เป็นสัมมา คือ "การอบรมจิต" เพื่อทำให้จิตตั้งมั่น ไม่ให้จิตฟุ้งซ่าน ไม่ให้จิตปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม “อำนาจของกิลส ตัณหา และอุปาทาน” (สมถภาวนา)


หมายเหตุ: “ที่ชอบ” ในที่นี้หมายถึง “ที่ถูกต้อง”

ชาญ คำพิมูล


Create Date : 06 มีนาคม 2565
Last Update : 7 มีนาคม 2565 7:56:13 น. 0 comments
Counter : 460 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.