"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
60. ความเกิดแห่งกองทุกข์ และ ความดับแห่งกองทุกข์ ตอนที่ 2



การเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวล มีมูลเหตุมาจาก “อวิชชา”
 
อวิชชา คือ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ความไม่รู้ในความดับทุกข์ ความไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์
 
***************
 
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ความไม่รู้ในความดับทุกข์ ความไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์
 
ทำให้เกิด ความเห็นผิด หลงไปยึดมั่นถือมั่นในกิเลส จิต และ เจตสิก ว่าเป็นตัวเป็นตนของตน เป็นของของตน
 
***************
 
ความเห็นผิด หลงไปยึดมั่นถือมั่นในกิเลส จิต และ เจตสิก ว่าเป็นตัวเป็นตนของตน เป็นของของตน
 
ทำให้เกิด ความเห็นผิดไปตามอำนาจของกิเลส และ เกิดการปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตามอำนาจของกิเลส เมื่อมีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ ธรรมารมณ์ มากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ (เกิดมิจฉาทิฏฐิ สักกายทิฏฐิ และ อัตตานุทิฏฐิ)
 
***************
 

๒ วิภังคสูตร
 
[๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
 
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง จักจำแนก ปฏิจจสมุปบาท แก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังปฏิจจสมุปบาทนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว
 
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
 
[๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นไฉน
 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
 
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
 
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
 
เพราะนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
 
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
 
เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
 
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
 
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
 
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
 
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
 
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสก ปริเทว ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
 
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
 
[๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะ เป็นไฉน
 
ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่า ชรา
 
ก็มรณะ เป็นไฉน
 
ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่า มรณะ
 
ชราและ มรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ ฯ
 
[๗] ก็ชาติ เป็นไฉน
 
ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่า ชาติ ฯ
 
[๘] ก็ภพ เป็นไฉน
 
ภพ ๓ เหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ นี้เรียกว่า ภพ ฯ
 
[๙] ก็อุปาทาน เป็นไฉน
 
อุปาทาน ๔ เหล่านี้ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทาน ฯ
 
[๑๐] ก็ตัณหา เป็นไฉน
 
ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา นี้เรียกว่า ตัณหา ฯ
 
[๑๑] ก็เวทนา เป็นไฉน
 
เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่า เวทนา ฯ
 
[๑๒] ก็ผัสสะ เป็นไฉน
 
ผัสสะ ๖ หมวดเหล่านี้ คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี้เรียกว่า ผัสสะ ฯ
 
[๑๓] ก็สฬายตนะ เป็นไฉน
 
อายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เรียกว่า สฬายตนะ ฯ
 
[๑๔] ก็นามรูป เป็นไฉน
 
เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่า นามมหาภูตรูป ๔ และ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้ เรียกว่ารูป นามและรูป ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า นามรูป ฯ
 
[๑๕] ก็วิญญาณ เป็นไฉน
 
วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณ ฯ
 
[๑๖] ก็สังขาร เป็นไฉน
 
สังขาร ๓ เหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร นี้เรียกว่า สังขาร ฯ
 
[๑๗] ก็อวิชชา เป็นไฉน
 
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ความไม่รู้ในความดับทุกข์ ความไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่า อวิชชา
 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... ดังพรรณนามาฉะนี้
 
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
 
[๑๘] ก็เพราะอวิชชานั่นแหละดับ ด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขาร
ดับ วิญญาณจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
 
จบสูตรที่ ๒
 

{ที่มา: พระไตรปิฎกฉบับหลวง, พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค}
 
ชาญ คำพิมูล

 


Create Date : 19 กรกฎาคม 2563
Last Update : 19 กรกฎาคม 2563 4:26:54 น. 2 comments
Counter : 638 Pageviews.

 
ขอบคุณสําหรับข้อมูลค่ะ


โดย: ของขวัญ (สมาชิกหมายเลข 6030300 ) วันที่: 19 กรกฎาคม 2563 เวลา:22:50:29 น.  

 
ยินดีครับ


โดย: chancamp (chancamp ) วันที่: 20 กรกฎาคม 2563 เวลา:18:32:17 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.