"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 
37. โสดาบัน...การทำศีลให้บริบูรณ์ ตอนที่ ๑



ในเบื้องต้น

เราต้องกำหนดตั้งศีลขึ้นมาก่อน

เพื่อใช้ยึดถือปฏิบัติ ให้บริบูรณ์

หรือ เพื่อใช้ยึดถือปฏิบัติ ให้เป็นปกติ

***************

“ศีล” คือ สิ่งที่กำหนดตั้งขึ้นมา เพื่อยึดถือปฏิบัติให้เป็น “ปกติ” หรือ เพื่อยึดถือปฏิบัติให้เป็น “นิสัย” (ปกติวิสัย)

“ศีล” คือ สิ่งที่กำหนดตั้งขึ้นมา “เพื่อขัดเกลา” หรือ “เพื่อชำระล้าง” กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ออกจากจิตใจ ให้หมดสิ้น

***************

การกำหนดตั้งศีล ที่สูงกว่าศีล ๕ (อธิศีล)

ต้องนำเอากิเลสในระดับหยาบ ระดับกลาง และ ระดับละเอียด
 
มากำหนดตั้งให้เป็นศีล เพื่อทำให้ศีล สูงขึ้นโดยลำดับ (อธิศีล)
 
การปฏิบัติศีล ที่สูงขึ้นโดยลำดับ

จะทำให้เกิด “การเคลื่อนที่ไปตามทาง มรรคมีองค์ ๘ สู่ความพ้นทุกข์”

***************

สิ่งที่ผู้ปรารถนา จะบรรลุพระโสดาบัน

ต้องนำมากำหนดตั้ง ให้เป็นศีล

เพื่อใช้ยึดถือปฏิบัติ ให้บริบูรณ์ คือ


๑. ศีล ๕ ที่ยังไม่บริบูรณ์ หรือ ศีล ๕ ที่ยังไม่เป็นปกติของตน

๒. กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ในระดับหยาบ ที่เป็นเหตุให้เกิด มิจฉากัมมันตะ มิจฉาวาจา และ มิจฉาอาชีวะ ได้แก่

   
 ๒.๑ ความอยากได้ ความอยากมี และ ความอยากเป็น ที่มากมายเกินความจำเป็นของชีวิต ซึ่งเป็นเหตุให้เกิด มิจฉากัมมันตะ มิจฉาวาจา และ มิจฉาอาชีวะ (โลภะ)

     ๒.๒ ความโกรธ ความเกลียดชัง ความอิจฉาริษยา ความพยาบาท ความอาฆาตแค้น (โทสะ)

     ๒.๓ ความหลงใหลติดใจในกามคุณ ๕ คือ รูป รส กลิ่น เสียง และ สัมผัส ที่มีมากมาย จนเป็นเหตุให้เกิด มิจฉากัมมันตะ มิจฉาวาจา และ มิจฉาอาชีวะ (โมหะ)

     ๒.๔ ความทุกข์ ความเครียด และ ความวิตกกังวลใจ (โมหะ)

     ๒.๕ ความหลงใหล และ ความหลงยึดมั่นถือมั่น ใน ลาภ ยศ และ สรรเสริญ (โมหะ)
     
     ๒.๖ ความหลงใหล ความห่วงหวง และ ความหลงยึดมั่นถือมั่น ใน ทรัพย์สมบัติทางโลก (โมหะ)

     ฯลฯ
 

***************

ศีล (สก. ศีล มค. สีล) น. ความเคย, นิสัย, ความประพฤติองค์แห่งจรรยา, ข้อบัญญัติสำหรับความประพฤติ, บัญญัติทางพระพุทธศาสนา, ศีล คือ การรักษากายวาจาให้เรียบร้อยเป็นปรกติ หมายถึง ความประพฤติกายและวาจาให้สุภาพเรียบร้อยเพื่อรักษาสันติสุขแห่งประชุมชน, ศีลในพระพุทธศาสนา

อธิ (มค. อธิ) คำใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น แปลว่า พ้น, เหนือ, ทับ, ยิ่ง, เจริญ, เช่น อธิราช = พระราชาผู้ยิ่งใหญ่กว่าราชาอื่นๆ


*** ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร 

ชาญ คำพิมูล
 


Create Date : 05 มกราคม 2563
Last Update : 23 กุมภาพันธ์ 2563 2:45:04 น. 0 comments
Counter : 2273 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.