"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 

87.พิจารณาชีวิต เพื่อความไม่ประมาทในชีวิต ตอนที่ 4



การทำบุญและทำกุศล
 
ต้องทำให้ถูก ให้ตรง
 
จึงจะได้อานิสงส์ เต็มบริบูรณ์
 
***************


บุญ มาจากภาษาบาลีว่า "ปุญญะ
 
ปุญญะ แปลว่า เครื่องชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์
 
การชำระล้างจิตใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ หมายถึง การชำระล้างกิเลส ตัณหา และอุปาทาน (ความโลภ ความโกรธ และความหลง) ออกจากจิตใจ
 
***************


บุญ มีอานิสงส์เป็น “ความบริสุทธิ์สะอาดของจิตใจ
 
ความบริสุทธิ์สะอาดของจิตใจ คือสิ่งที่จะทำให้เกิด “ความสุขสงบของจิตใจ หรือ วูปสโมสุข
 
จิตใจที่บริสุทธิ์สะอาดมากขึ้น คือสิ่งที่จะนำพาชีวิต ไปสู่ภพภูมิที่สูงขึ้น
 
***************
 
วิธีการเก็บเกี่ยวบุญ จากบุคคลรอบๆข้าง และจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต มีแนวทาง ดังนี้
 

1. เมื่อใดก็ตาม ที่มีผู้ใด สิ่งใด หรือ เหตุการณ์ใด มากระทำให้เรา “ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ อึดอัดขัดเคืองใจ โกรธ หรือ เกลียดชัง (โทสะ)”

จงเพ่งพิจารณา เพื่อชำระล้าง “ความไม่ชอบใจ ความไม่พอใจ ความอึดอัดขัดเคืองใจ ความโกรธ หรือ ความเกลียดชัง” ออกไปจากจิตใจ ให้หมดสิ้น

จงอย่าปล่อยให้มัน ค้างคาอยู่ในจิตใจ
 

2. เมื่อใดก็ตาม ที่มีผู้ใด สิ่งใด หรือ เหตุการณ์ใด มากระทำให้เรา “หลงใหลติดใจ หรือ หลงยึดมั่นถือมั่นเป็นความชอบใจ เป็นความไม่ชอบใจ เป็นความสุข เป็นความทุกข์ เป็นความเครียด เป็นความวิตกกังวลใจ เป็นตัวเป็นตนของตน (โมหะ)”

จงเพ่งพิจารณา เพื่อชำระล้าง “ความหลงใหลติดใจ หรือ ความหลงยึดมั่นถือมั่น” ออกไปจากจิตใจ ให้หมดสิ้น

จงอย่าปล่อยให้มัน ค้างคาอยู่ในจิตใจ
 

3. เมื่อใดก็ตาม ที่มีผู้ใด สิ่งใด หรือ เหตุการณ์ใด มากระทำให้เรา “เกิดความอยากได้ ความอยากมี หรือ ความอยากเป็น ในสิ่งที่มากมาย เกินความจำเป็นของชีวิต (โลภะ)”

จงเพ่งพิจารณา เพื่อชำระล้าง “ความอยากได้ ความอยากมี หรือ ความอยากเป็น” ออกไปจากจิตใจ ให้หมดสิ้น

จงอย่าปล่อยให้มัน ค้างคาอยู่ในจิตใจ
 
***************
เตสัง วูปสโม สุโข การเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเสียได้ เป็นความสุข”
 
สังขารเหล่านั้น หมายถึง การปรุงแต่งของจิตใจ ไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน (ความโลภ ความโกรธ และความหลง)
 
การระงับดับสังขาร จะทำให้เกิด ความสุขสงบของจิตใจ
 
ชาญ คำพิมูล

 




 

Create Date : 11 ธันวาคม 2564    
Last Update : 11 ธันวาคม 2564 10:10:29 น.
Counter : 562 Pageviews.  

86.พิจารณาชีวิต เพื่อความไม่ประมาทในชีวิต ตอนที่ 3



การเกิดมาและการตายจากไปของคนเรา
 
โดยส่วนใหญ่แล้ว มีอยู่ 4 ลักษณะ คือ
 
1. มาดี ไปดี
 
2. มาดี ไปไม่ดี
 
3. มาไม่ดี ไปดี
 
4. มาไม่ดี ไปไม่ดี
 
***************
 
“มาดี” หมายถึง ได้เกิดมา เพื่อมารับวิบากกรรมดี (กุศลวิบาก) เป็นส่วนใหญ่
 
“มาไม่ดี” หมายถึง ได้เกิดมา เพื่อมารับวิบากกรรมไม่ดี (อกุศลวิบาก) เป็นส่วนใหญ่
 
“ไปดี” หมายถึง เมื่อได้เกิดมาแล้ว มีการละอกุศลกรรม หมั่นทำกุศลกรรม และ หมั่นชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ออกจากจิตใจ ทำให้ “มีภพภูมิที่สูงขึ้น เป็นที่หมาย เมื่อตายจากไป” (ได้ไปเกิดในภพภูมิที่สูงขึ้น เพื่อรับวิบากกรรมดี)
 
“ไปไม่ดี” หมายถึง เมื่อได้เกิดมาแล้ว มีการทำอกุศลกรรม มากกว่า ทำกุศลกรรม และ ไม่เพียรหมั่นชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ออกจากจิตใจ ทำให้ “มีภพภูมิที่ต่ำลง (อบายภูมิ) เป็นที่หมาย เมื่อตายจากไป” (ได้ไปเกิดในภพภูมิที่ต่ำลง เพื่อรับวิบากกรรมไม่ดี)
 
***************
 
“ไม่ว่าเรา จะได้เกิดมาอย่างไร เมื่อตายจากไปแล้ว ขอให้เรา ได้ไปดี”
 
ถ้าเราต้องการจะได้ “ไปดี”
 
เราต้องเพียรหมั่น “ปฏิบัติตาม โอวาทปาฏิโมกข์ 3” ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแสดงเอาไว้ ในวันวันมาฆบูชา
 
หรือ เพียรหมั่น “เก็บเกี่ยวบุญ และเก็บเกี่ยวกุศล” จากบุคคลรอบๆข้าง และจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต
 
ขาญ คำพิมูล




 

Create Date : 04 ธันวาคม 2564    
Last Update : 4 ธันวาคม 2564 8:41:48 น.
Counter : 471 Pageviews.  

85.พิจารณาชีวิต เพื่อความไม่ประมาทในชีวิต ตอนที่ 2



เพราะ ชีวิตนี้ น้อยนัก ชีวิตนี้ สั้นนัก และ ชีวิตนี้ ไม่แน่นอน
 

ดังนั้น เราจึงควร “ใช้วันเวลาของชีวิต ที่มีเหลืออยู่ ไม่มากนักนี้ ให้มีคุณค่าประโยชน์ต่อชีวิต ทั้งในชาตินี้ และชาติต่อๆไป”
 
***************
 
สิ่งที่มีคุณค่าประโยชน์ต่อชีวิต ทั้งในชาตินี้ และชาติต่อๆไป ที่เราควรเพียรหมั่นทำ คือ
 
เราควรเพียรหมั่น “เก็บเกี่ยวบุญ และเก็บเกี่ยวกุศล” จากบุคคลรอบๆข้าง และจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต
 
เพราะ “บุญ ” คือสิ่งที่จะนำพาชีวิต ไปสู่ภพภูมิที่สูงขึ้น
 
และ “กุศล” คือสิ่งที่จะนำพา สิ่งดีๆ เข้ามาสู่ชีวิต
 
***************
 
การเพียรหมั่นเก็บเกี่ยวบุญ หมายถึง การเพียรหมั่น “ชำระล้างกิเลส ตัณหา และอุปาทาน (ความโลภ ความโกรธ และความหลง) ออกจากจิตใจ”
 
การเพียรหมั่นเก็บเกี่ยวกุศล หมายถึง การเพียรหมั่นทำความดี (กุศลกรรม) ให้ถึงพร้อม ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ (คิดดี พูดดี และทำดี ให้ติดเป็นนิสัย)  
 
***************
 
การเก็บเกี่ยวบุญ และการเก็บเกี่ยวกุศล หมายถึง การปฏิบัติตาม "โอวาทปาฏิโมกข์ 3" ได้แก่
 
1. ไม่ทำบาปอกุศลทั้งปวง ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ หมายถึง ไม่สร้างอกุศลวิบาก (วิบากกรรมที่ไม่ดี) มาเติมเพิ่มให้กับชีวิต
 
2. หมั่นทำกุศลทั้งหลาย ให้ถึงพร้อม ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ หมายถึง หมั่นสร้างกุศลวิบาก (วิบากกรรมดี) มาเติมเพิ่มให้กับชีวิต
 
3. ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส หมายถึง หมั่นชำระล้าง กิเลส ตัณหา และอุปาทาน (ความโลภ ความโกรธ และความหลง) ซึ่งเป็นอกุศลมูล (มูลเหตุของอกุศล) ออกจากจิตใจ

***************
 
“บุญ” มาจากภาษาบาลีว่า “ปุญญะ” แปลว่า เครื่องชำระจิตใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ กำจัดสิ่งเศร้าหมองหรือ “กิเลส” ให้ออกจากใจ 
 
ชาญ คำพิมูล




 

Create Date : 27 พฤศจิกายน 2564    
Last Update : 27 พฤศจิกายน 2564 7:59:11 น.
Counter : 636 Pageviews.  

84.พิจารณาชีวิต เพื่อความไม่ประมาทในชีวิต ตอนที่ 1



“บุคคล ผู้เกิดมาแล้ว ไม่ตาย ไม่มี”
 
“อายุขัย” โดยเฉลี่ยของคนไทย ตามสถิติ ปี 2563 คือ
 
ผู้หญิงมีอายุเฉลี่ย 80.4 ปี
 
ผู้ชายมีอายุเฉลี่ย 73.2 ปี
 
***************
 
หากเราพิจารณาดูให้ดีๆ เราจะพบว่า
 
อายุขัยโดยเฉลี่ย 80.4 ปี และ อายุขัยโดยเฉลี่ย 73.2 ปี
 
มันไม่ได้ยาวนานมากเลย
 
เพราะ วันเวลาของชีวิต ล่วงผ่านพ้นไป ไวจริงๆ
 
ประเดี๋ยวคืน ประเดี๋ยววัน
 
ประเดี๋ยวเดือน ประเดี๋ยวปี
 
ถึงแม้ว่าเรา จะมีอายุขัย “มากถึง 100 ปี” มันก็ไม่ได้ยาวนานมากนัก
 
***************
 
ชีวิตนี้ น้อยนัก ชีวิตนี้ สั้นนัก
 
เผลอแป๊บเดียว วันเวลาของชีวิตของผู้เขียน
 
ล่วงผ่านพ้นวัย 60 ปีไปแล้ว 6 เดือน
 
ถ้าหากผู้เขียน มีอายุขัย เท่ากับ ค่าเฉลี่ยของชายไทย คือ 73.2 ปี
 
ผู้เขียน จะมีวันเวลาของชีวิต เหลืออยู่แค่เพียง ไม่ถึง 13 ปี
 
ถ้าหากผู้เขียน มีอายุขัย เท่ากับ 80 ปี
 
ผู้เขียน จะมีวันเวลาของชีวิต เหลืออยู่แค่เพียง ไม่ถึง 20 ปี
 
***************
 
วันเวลา 13 ปี และ 20 ปี
 
มันไม่ได้ยาวนานมากเลย
 
ถ้าเราลองนึกย้อนกลับไปดูเหตุการณ์ ที่ผ่านมาแล้ว 20 ปี
 
เราจะพบว่า มันเหมือนเพิ่งจะผ่านพ้นไป เมื่อไม่นานมานี้
 
***************
 
“ชีวิตนี้ น้อยนัก ชีวิตนี้ สั้นนัก ชีวิตนี้ ไม่แน่นอน”
 
เพราะ ไม่มีผู้ใด ที่จะสามารถล่วงรู้ได้ว่า ชีวิตของตน เหลืออยู่เท่าใด? กี่วัน? กี่เดือน? หรือ กี่ปี?
 
และไม่มีผู้ใด ที่จะสามารถล่วงรู้ได้ว่า ตนจะตายเมื่อใด? อย่างไร? และที่ไหน?
 
ดังนั้น เราจึงไม่ควรประมาท ในการดำเนินชีวิต
 
“เราไม่ควรประมาทว่า เรายังหนุ่มอยู่ เรายังสาวอยู่ เรายังแข็งแรงดีอยู่”
 
***************
 
สิ่งที่เราควรมุ่งทำ คือ
 
“เราควรใช้วันเวลาของชีวิต ที่มีเหลืออยู่ ไม่มากนักนี้
 
ให้มีคุณค่าประโยชน์ต่อชีวิต ทั้งในชาตินี้ และชาติต่อๆไป”

 
ชาญ คำพิมูล

 




 

Create Date : 20 พฤศจิกายน 2564    
Last Update : 20 พฤศจิกายน 2564 6:24:54 น.
Counter : 623 Pageviews.  

83.เร่งขจัด “อารมณ์ที่ไม่ดี” ออกไปจากชีวิตและจิตใจ ตอนที่ 3



อารมณ์ที่ไม่ดี มีผลเสียต่อ “ชีวิต จิตใจ และร่างกาย” มากมายจริงๆ
 
ดังนั้น เราจึงควร “เร่งขจัดอารมณ์ที่ไม่ดี” ออกไปจากชีวิตและจิตใจของเรา
 
***************
 
การขจัด (สลาย) อารมณ์ที่ไม่ดี ออกไปจากชีวิตและจิตใจของเรา มีวิธีการ ดังนี้
 
1. เพียรหมั่นเพ่งพิจารณา เพื่อให้เห็น “จนชัดแจ้งที่ใจ” ว่า จริงๆแล้ว เราไม่ควรทุกข์ เราไม่ควรเครียด เราไม่ควรวิตกกังวลใจ เราไม่ควรไม่พอใจ เราไม่ควรไม่ชอบใจ เราไม่ควรอึดอัดขัดเคืองใจ เราไม่ควรโกรธ เราไม่ควรเกลียดชัง เราไม่ควรน้อยอกน้อยใจ ฯลฯ
 
2. เพียรหมั่นเพ่งพิจารณา เพื่อให้เห็น “จนชัดแจ้งที่ใจ” ว่า อารมณ์ทุกข์ อารมณ์เครียด อารมณ์วิตกกังวลใจ อารมณ์ไม่พอใจ อารมณ์ไม่ชอบใจ อารมณ์อึดอัดขัดเคืองใจ อารมณ์โกรธ อารมณ์เกลียดชัง อารมณ์น้อยอกน้อยใจ ฯลฯ มันเป็นสิ่งที่ มีความไม่เที่ยง มีความไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวน มีความไม่แน่นอน ไม่อาจจะกำหนดได้ ไม่อาจจะยึดถือเอาไว้ได้ เมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้ว ถ้าเราไม่เอาจิตเอาใจของเรา เข้าไปปรุงแต่งร่วม มันจะดับลงไปเอง ในเวลา ไม่นานนัก (อนิจจัง)
 
3. เพียรหมั่นเพ่งพิจารณา เพื่อให้เห็น “จนชัดแจ้งที่ใจ” ว่า อารมณ์ทุกข์ อารมณ์เครียด อารมณ์วิตกกังวลใจ อารมณ์ไม่พอใจ อารมณ์ไม่ชอบใจ อารมณ์อึดอัดขัดเคืองใจ อารมณ์โกรธ อารมณ์เกลียดชัง อารมณ์น้อยอกน้อยใจ ฯลฯ มันเป็นมูลเหตุของ ความทุกข์ ความโศก โรค โทษ และภัยทั้งหลาย (ทุกขัง)
 
มันเป็นสิ่งที่ “ทำลายสุขภาพกาย สุขภาพใจ และก่อให้เกิดโรคร้าย”
 
และมันเป็นสิ่งที่ “ทำให้คนเรา ต้องทำกรรมไม่ดี หรือ อกุศลกรรม อันมีผลเป็น วิบากกรรมไม่ดี หรือ อกุศลวิบาก”
 
4. เพียรหมั่นเพ่งพิจารณา เพื่อให้เห็น “จนชัดแจ้งที่ใจ” ว่า อารมณ์ทุกข์ อารมณ์เครียด อารมณ์วิตกกังวลใจ อารมณ์ไม่พอใจ อารมณ์ไม่ชอบใจ อารมณ์อึดอัดขัดเคืองใจ อารมณ์โกรธ อารมณ์เกลียดชัง อารมณ์น้อยอกน้อยใจ ฯลฯ มันเป็นสิ่งที่ “ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของตน ไม่ใช่ของของตน” และมันเป็นสิ่งที่ “สามารถทำให้ ลดลงได้ จางคลายลงได้ และดับสูญสิ้นไปจากชีวิตและจิตใจได้” (อนัตตา)
 
***************
 
การเพียรหมั่นเพ่งพิจารณา ตามที่กล่าวมา ในทุกๆครั้ง ที่มีอารมณ์ที่ไม่ดี เกิดขึ้นภายในจิตใจ จนติดเป็นนิสัย จะทำให้ ”อารมณ์ที่ไม่ดีทั้งหลาย ค่อยๆลดลง จางคลายลง และหมดสิ้นไป”
 
การเพียรหมั่นเพ่งพิจารณา เพื่อให้เห็น “จนชัดแจ้งที่ใจ” (โยนิโสมนสิการ) หมายถึง การเพียรหมั่นเพ่งพิจารณา เพื่อให้เห็นถึงความเป็นจริง จนชัดแจ้ง จนใจยอมรับ จนใจยอมปรับ จนใจยอมเปลี่ยน และจนใจยอมปล่อยยอมวาง
 
***************
 
โยนิโสมนสิการ น. การพิจารณาโดยแยบคาย ความตั้งใจที่ปลอดโปร่ง ความเอาใจใส่อันถูกต้อง ความเข้าใจโดยตลอด

...ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร
 
 
ชาญ คำพิมูล

 




 

Create Date : 03 ตุลาคม 2564    
Last Update : 3 ตุลาคม 2564 6:57:50 น.
Counter : 569 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.