"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 

92. การปฏิบัติโอวาทปาฏิโมกข์ 3 เพื่อความดับทุกข์ ตอนที่ 3



การปรุงแต่ง (สังขาร) ของจิต

เพราะ "ความไม่รู้" หรือ เพราะ "อำนาจของอวิชชา"

เมื่อมีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ ธรรมารมณ์ มากระทบสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ

จนเกิดเป็น “สุขเวทนา

คือ "มูลเหตุของความทุกข์ทั้งหลาย"
 
***************
 
เพราะ มี “สุขเวทนา” เกิดขึ้น

จึงทำให้เกิดสิ่งต่างๆ ตามมา คือ

เกิดความอยากความใคร่  หรือ "ตัณหา"

เกิดความหลงใหลติดใจ และเกิดความหลงยึดมั่นถือมั่นเอาไว้ (โมหะ) จนเกิดเป็น "อุปาทาน"

เกิดกามภพ เกิดรูปภพ และ เกิดอรูปภพ ภายในจิต

เกิดความอยากได้ เกิดความอยากมี และ เกิดความอยากเป็น ที่มากมายเกินความจำเป็นของชีวิต (โลภะ)

เกิดการแสวงหา เพื่อให้ได้มาสมอยาก

เมื่อได้มาสมอยาก ก็เป็นสุข (โลกียสุข)

เมื่อไม่ได้มาสมอยาก ก็เป็นทุกข์ และ ทำให้เกิด ความไม่ชอบใจไม่พอใจ ความคับแค้นขัดเคืองใจ ความโกรธ และ ความพยาบาท (โทสะ) ตามมา

เมื่อต้องสูญเสีย “สิ่งที่อยากได้อยากมีและอยากเป็นไป” ก็เป็นทุกข์ และ ทำให้เกิด ความไม่ชอบใจไม่พอใจ ความคับแค้นขัดเคืองใจ ความโกรธ และ ความพยาบาท (โทสะ) ตามมา

และ ในบางครั้ง เมื่อต้องได้รับ หรือ เมื่อต้องได้ประสบกับ “สิ่งที่ไม่อยากได้ไม่อยากมีและไม่อยากเป็น” ก็เป็นทุกข์ และ ทำให้เกิด ความไม่ชอบใจไม่พอใจ ความคับแค้นขัดเคืองใจ ความโกรธ และ ความพยาบาท (โทสะ) ตามมา
 
***************
 
กิเลส (โมหะ โลภะ และ โทสะ) ตัณหา และอุปาทาน ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ และครอบงำจิตใจของคนเราอยู่ คือสิ่ง “ชักนำจิตใจของคนเรา ให้คนเราทำกรรมไม่ดี (อกุศลกรรม) จนติดเป็นนิสัย หรือ จนเป็นปกติวิสัย” และ “ชักนำจิตใจของคนเรา ให้คนเราทำกรรมดี (กุศลกรรม) โดยมุ่งหวังผลตอบแทน เป็นลาภ ยศ สรรเสริญ สุข (โลกียสุข) ฯลฯ
 
***************
 
การทำกรรมไม่ดี (อกุศลกรรม) จนติดเป็นนิสัย หรือ จนเป็นปกติวิสัย

และ การทำกรรมดี (กุศลกรรม) โดยมุ่งหวังผลตอบแทน เป็นลาภ ยศ สรรเสริญ สุข (โลกียสุข) ฯลฯ

มีผลทำให้ชีวิตของคนเรา “ต้องเวียนวนอยู่ในวังวนของความสุข (โลกียสุข) และความทุกข์ ไม่มีที่สิ้นสุด

และ มีผลทำให้ชีวิตของคนเรา “ต้องจมดิ่งลงไป ในกองทุกข์
 
***************
 
การทำกรรมไม่ดี (อกุศลกรรม) จนติดเป็นนิสัย หรือ จนเป็นปกติวิสัย

จะทำให้เกิด “วิบากกรรมไม่ดี (อกุศลวิบาก) อย่างต่อเนื่อง อย่างไม่มีที่สิ้นสุด"

และ จะทำให้ชีวิต “ต้องจมดิ่งลงไป ในกองทุกข์
 
***************
 
การทำกรรมดี (กุศลกรรม) โดยมุ่งหวังผลตอบแทน เป็นลาภ ยศ สรรเสริญ สุข (โลกียสุข) ฯลฯ

จะทำให้เกิด “วิบากกรรมดี ที่ก่อให้เกิด การเวียนวนอยู่ในวังวนของความสุข (โลกียสุข) และทุกข์ ไม่มีที่สิ้นสุด

และ จะทำให้เกิด  “การพอกพูนเพิ่มขึ้นของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ที่ครอบงำจิตใจอยู่
 
***************
 
การหลงใหลติดใจ และ การหลงยึดมั่นถือมั่น ในลาภ ยศ สรรเสริญ และ สุข (โลกียสุข)

จะทำให้เกิดความทุกข์ตามมา อย่างแน่นอน
 
***************
 
การทำกรรมดี โดยไม่มุ่งหวังผลตอบแทน (ทำเพื่อชำระล้างกิเลส ตัณหา และอุปาทาน)

จะทำให้เกิด “วิบากกรรมดี ที่ไม่ก่อให้เกิด การเวียนวนอยู่ในวังวนของความสุข (โลกียสุข) และทุกข์

และ จะทำให้เกิด “การลดลง การจางคลายลง และ การดับสิ้นไป” ของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน
 
***************
 
ถ้าเราต้องการจะพ้นทุกข์ หรือ ดับทุกข์

เราต้อง “ไม่ทำกรรมไม่ดี” ให้เป็นปกติวิสัย หรือ ให้ติดเป็นนิสัย

และ เราต้อง “หมั่นทำกรรมดี” ให้เป็นปกติวิสัย หรือ ให้ติดเป็นนิสัย โดยไม่มุ่งหวังผลตอบแทน (ทำเพื่อชำระล้างกิเลส ตัณหา และอุปาทาน)
 
***************
 
การปรับเปลี่ยน “การทำกรรมไม่ดี (อกุศลกรรม) ที่ติดเป็นนิสัย หรือ ที่เป็นปกติวิสัย

ให้เป็น “การไม่ทำกรรมไม่ดี (อกุศลกรรม) จนติดเป็นนิสัย หรือ จนเป็นปกติวิสัย

คือ การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และปัญญา
 
ชาญ คำพิมูล




 

Create Date : 13 มีนาคม 2565    
Last Update : 13 มีนาคม 2565 9:02:51 น.
Counter : 432 Pageviews.  

91. การปฏิบัติโอวาทปาฏิโมกข์ 3 เพื่อความดับทุกข์ ตอนที่ 2



การปฏิบัติ "โอวาทปาฏิโมกข์ 3" เพื่อทำความดับทุกข์
จะใช้ "มรรคมีองค์ 8" เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
 
การปฏิบัติ "มรรคมีองค์ 8"
คือ การปรับเปลี่ยน “กรรมที่ไม่ดี” หรือ “กรรมที่เป็นมิจฉา
ให้เป็น “กรรมที่ดี” หรือ ให้เป็น “กรรมที่เป็นสัมมา
 
สิ่งที่จะต้องปรับเปลี่ยน "ให้เป็นสัมมา" มี 8 ประการ คือ


1. ทิฏฐิ หรือ ความเห็น 

ความเห็นที่เป็นมิจฉา คือ ความเห็นที่ไม่ถูก ที่ไม่ตรง ที่ไม่ดี ที่ไม่ชอบ ที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือ ที่ไหลเลื่อนไปตาม อำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน
 
ความเห็นที่เป็นสัมมา คือ ความเห็นที่ถูก ที่ตรง ที่ดี ที่ชอบ ที่ไม่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือ ที่ไม่ถูกอวิชชาครอบงำ (พ้นอวิชชา)
 
วิธีการทำให้ความเห็น เป็นสัมมา คือ "การอบรมปัญญา” หรือ "วิปัสสนาภาวนา"
 
การอบรมปัญญา หรือ การวิปัสสนา คือ การเพ่งพิจารณา เพื่อให้เห็น “ความจริงตามความเป็นจริง” หรือ “เพื่อให้เกิดปัญญาในทางธรรม
 

2. สังกัปปะ หรือ ความนึกคิด (ความดำริ) 

ความนึกคิดที่เป็นมิจฉา คือ ความนึกคิดที่ไม่ถูก ที่ไม่ตรง ที่ไม่ดี ที่ไม่ชอบ ที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือ ที่ไหลเลื่อนไปตาม อำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ได้แก่ ความนึกคิดที่หมกมุ่นอยู่ในกามทั้งหลาย ความนึกคิดที่เป็นความพยาบาทอาฆาตแค้นผู้อื่นและสัตว์อื่น ความนึกคิดที่เป็นความเบียดเบียนผู้อื่นและสัตว์อื่น  และ ความนึกคิดที่เป็นบาปอกุศลทั้งหลาย
 
ความนึกคิดที่เป็นสัมมา คือ ความนึกคิดที่ถูก ที่ตรง ที่ดี ที่ชอบ ที่ไม่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือ ที่ไม่ถูกกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ครอบงำ ได้แก่ ความนึกคิดที่จะละกามทั้งหลาย ความนึกคิดที่จะละความพยาบาทอาฆาตแค้นผู้อื่นและสัตว์อื่น ความนึกคิดที่จะละความเบียดเบียนผู้อื่นและสัตว์อื่น และ ความนึกคิดที่เป็นบุญเป็นกุศลทั้งหลาย
 
วิธีการทำให้ความนึกคิด เป็นสัมมา คือ การกำหนดตั้ง “ศีล” ขึ้นมา เพื่อยึดถือปฏิบัติ ให้เป็นปกติ หรือ ให้เป็นปกติวิสัย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ปรับเปลี่ยนความนึกคิด ให้ถูก ให้ตรง ให้ดี ให้ชอบ หรือ ให้พ้นไปจากอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน
 

3. วาจา หรือ การพูดจา

การพูดจาที่เป็นมิจฉา คือ การพูดจาที่ไม่ถูก ที่ไม่ตรง ที่ไม่ดี ที่ไม่ชอบ ที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือ ที่ไหลเลื่อนไปตาม อำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ได้แก่ การพูดปดมดเท็จ เพื่อโกหกหลอกลวง การพูดส่อเสียด เพื่อยุยงให้ผู้อื่นแตกแยกกัน การพูดคำหยาบคาย เพื่อด่าทอ หรือ ดูหมิ่นผู้อื่น การพูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ และ การพูดจาที่เป็นบาปอกุศลทั้งหลาย
 
การพูดจาที่เป็นสัมมา คือ การพูดจาที่ถูก ที่ตรง ที่ดี ที่ชอบ ที่ไม่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือ ที่ไม่ถูกกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ครอบงำ ได้แก่ การพูดที่ไม่เป็นการโกหกมดเท็จ การพูดที่ไม่เป็นการส่อเสียด การพูดที่ไม่หยาบคาย การพูดที่ไม่เพ้อเจ้อ และ การพูดจาที่เป็นบุญเป็นกุศลทั้งหลาย
 
วิธีการทำให้การพูดจา เป็นสัมมา คือ การกำหนดตั้ง “ศีล” ขึ้นมา เพื่อยึดถือปฏิบัติ ให้เป็นปกติ หรือ ให้เป็นปกติวิสัย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ปรับเปลี่ยนการพูดจา ให้ถูก ให้ตรง ให้ดี ให้ชอบ หรือ ให้พ้นไปจากอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน
 

4. กัมมันตะ หรือ การกระทำทางกาย

การกระทำทางกายที่เป็นมิจฉา คือ การกระทำทางกาย ที่ไม่ถูก ที่ไม่ตรง ที่ไม่ดี ที่ไม่ชอบ ที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือ ที่ไหลเลื่อนไปตาม อำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ได้แก่ การฆ่า การทำร้ายทำลาย และ การเบียดเบียน ชีวิตผู้อื่นและสัตว์อื่น การลักทรัพย์ หรือ การเอาของของผู้อื่น มาเป็นของของตน โดยที่ผู้อื่นไม่ยินยอม การประพฤติผิดในกาม และ การกระทำทางกายที่เป็นบาปอกุศลทั้งหลาย
 
การทำทางกายที่เป็นสัมมา คือ การกระทำทางกาย ที่ถูก ที่ตรง ที่ดี ที่ชอบ ที่ไม่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือ ที่ไม่ถูกกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ครอบงำ ได้แก่ การไม่ฆ่า การไม่ทำร้ายทำลาย และ การไม่เบียดเบียน ชีวิตผู้อื่นและสัตว์อื่น การไม่ลักทรัพย์ หรือ การไม่เอาของของผู้อื่น มาเป็นของของตน โดยที่ผู้อื่นไม่ยินยอม การไม่ประพฤติผิดในกาม และ การกระทำทางกายที่เป็นบุญเป็นกุศลทั้งหลาย
 
วิธีการทำให้การกระทำทางกาย เป็นสัมมา คือ การกำหนดตั้ง “ศีล” ขึ้นมา เพื่อยึดถือปฏิบัติ ให้เป็นปกติ หรือ ให้เป็นปกติวิสัย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ปรับเปลี่ยนการกระทำทางกาย ให้ถูก ให้ตรง ให้ดี ให้ชอบ หรือ ให้พ้นไปจากอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน
 

5. อาชีวะ หรือ การประกอบอาชีพ เพื่อเลี้ยงชีพตน

การประกอบอาชีพที่เป็นมิจฉา คือ การประกอบอาชีพ ที่ไม่ถูก ที่ไม่ตรง ที่ไม่ดี ที่ไม่ชอบ ที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือ ที่ไหลเลื่อนไปตาม อำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ได้แก่ การประกอบอาชีพที่เป็น “มิจฉาวณิชชา 5” การประกอบอาชีพที่เป็น “มิจฉาอาชีวะ 5” และ การประกอบอาชีพที่เป็นบาปอกุศล ที่เบียดเบียนผู้อื่นและสัตว์อื่น
 
การประกอบอาชีพที่เป็นสัมมา คือ การประกอบอาชีพ ที่ถูก ที่ตรง ที่ดี ที่ชอบ ที่ไม่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือ ที่ไม่ถูกกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ครอบงำ ได้แก่ การประกอบอาชีพที่พ้นไปจาก “มิจฉาวณิชชา 5” การประกอบอาชีพที่พ้นไปจาก “มิจฉาอาชีวะ 5” และ การประกอบอาชีพ ที่ประกอบไปด้วย “ส่วนของบุญและกุศล
 
เพราะ

การประกอบการงานอาชีพที่เป็น "มิจฉาอาชีวะ" จะก่อให้เกิด การสั่งสมพอกพูนเพิ่มมากขึ้นของ "อกุศลวิบาก" หรือ "วิบากกรรมที่ไม่ดี"

และ การประกอบการงานอาชีพที่เป็น "สัมมาอาชีวะ" ที่มีส่วนของบุญและกุศล จะก่อให้เกิด การสั่งสมพอกพูนเพิ่มมากขึ้นของ "กุศลวิบาก" หรือ "วิบากกรรมที่ดี"

ดังนั้น เราจึงควร ประกอบการงานอาชีพที่เป็น "สัมมาอาชีวะ

มิจฉาวณิชชา 5 ประกอบด้วย
  1. สัตถวณิชชา ค้าอาวุธ
  2. สัตตวณิชชา ค้ามนุษย์
  3. มังสวณิชชา ค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร
  4. มัชชวณิชชา ค้าของเมา
  5. วิสวณิชชา ค้ายาพิษ

มิจฉาอาชีวะ 5 ประกอบด้วย

  1. การโกง (กุหนา)
  2. การล่อลวง (ลปนา)
  3. การตลบตะแลง (เนมิตตกตา)
  4. การยอมมอบตนในทางผิด (นิปเปสิกตา)
  5. การเอาลาภต่อลาภ (ลาเภน ลาภัง นิชิคิงสนตา)
 
6. วายามะ หรือ ความเพียร

ความเพียรที่เป็นมิจฉา คือ ความเพียร ที่ไม่ถูก ที่ไม่ตรง ที่ไม่ดี ที่ไม่ชอบ หรือ ที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ได้แก่ ความเพียรเพื่อลาภ เพื่อยศ เพื่อสรรเสริญ เพื่อโลกียสุข เพื่อกาม เพื่อพยาบาท
 
ความเพียรที่เป็นสัมมา คือ ความเพียร ที่ถูก ที่ตรง ที่ดี ที่ชอบ ที่ไม่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ได้แก่ ความเพียรตามหลัก “สัมมัปปธาน 4” และ ความเพียรเพื่อชำระล้าง กิเลส ตัณหา และอุปาทาน ออกจากจิตใจ หรือ ความเพียรเพื่อทำความดับทุกข์
 
สัมมัปปธาน 4 ประกอบด้วย
  1. สังวรปธาน คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
  2. ปหานปธาน คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
  3. ภาวนาปธาน คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมี
  4. อนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่นและให้เจริญยิ่ง
7. สติ หรือ ความระลึกรู้ตัว

ความระลึกรู้ตัวที่เป็นมิจฉา คือ ความระลึกรู้ตัว ที่ไม่ถูก ที่ไม่ตรง ที่ไม่ดี ที่ไม่ชอบ หรือ ที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ได้แก่ ความระลึกรู้ตัว ที่เป็นไปเพื่อลาภ เพื่อยศ เพื่อสรรเสริญ เพื่อโลกียสุข เพื่อกาม เพื่อพยาบาท
 
ความระลึกรู้ตัวที่เป็นสัมมา คือ ความระลึกรู้ตัว ที่ถูก ที่ตรง ที่ดี ที่ชอบ ที่ไม่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ได้แก่ ความระลึกรู้ตัว ที่เป็นไปเพื่อระงับจิต ไม่ให้จิตปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม “อำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือ ที่เป็นไปเพื่อ “ชำระล้าง กิเลส ตัณหา และอุปาทาน ออกจากจิตใจ” เพื่อทำความดับทุกข์

การทำความระลึกรู้ ที่เป็นสัมมา คือ "การเจริญสติปัฏฐาน 4"

สติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย
1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือ การพิจารณากายในกาย
2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือ การพิจารณาเวทนาในเวทนา
3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือ การพิจารณาจิตในจิต
4. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือ การพิจารณาธรรมในธรรม


8. สมาธิ หรือ ความตั้งมั่นแห่งจิตใจ

สมาธิที่เป็นมิจฉา คือ สมาธิ ที่ไม่ถูก ที่ไม่ตรง ที่ไม่ดี ที่ไม่ชอบ หรือ ที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ได้แก่ สมาธิ ที่เป็นไปเพื่อลาภ เพื่อยศ เพื่อสรรเสริญ เพื่อโลกียสุข เพื่อกาม เพื่อพยาบาท เพื่ออิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ ฯลฯ
 
สมาธิที่เป็นสัมมา คือ สมาธิ ที่ถูก ที่ตรง ที่ดี ที่ชอบ ที่ไม่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน ได้แก่ สมาธิ ที่เป็นไปเพื่อระงับจิต ไม่ให้จิตปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม “อำนาจของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน หรือ เพื่อทำให้กิเลส ตัณหา และอุปาทาน ที่กำลังเกิดขึ้น ระงับดับลง หรือ ที่เป็นไปเพื่อ "ชำระล้าง กิเลส ตัณหา และอุปาทาน ออกจากจิตใจ" เพื่อทำความดับทุกข์ และ สมาธิ ที่เกิดจาก "การลดลง การจางคลายลง และ การดับสิ้นไปของกิเลส ตัณหา และอุปาทาน"
 
การทำสมาธิที่เป็นสัมมา คือ "การอบรมจิต" เพื่อทำให้จิตตั้งมั่น ไม่ให้จิตฟุ้งซ่าน ไม่ให้จิตปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตาม “อำนาจของกิลส ตัณหา และอุปาทาน” (สมถภาวนา)


หมายเหตุ: “ที่ชอบ” ในที่นี้หมายถึง “ที่ถูกต้อง”

ชาญ คำพิมูล




 

Create Date : 06 มีนาคม 2565    
Last Update : 7 มีนาคม 2565 7:56:13 น.
Counter : 464 Pageviews.  

90. การปฏิบัติโอวาทปาฏิโมกข์ 3 เพื่อความดับทุกข์ ตอนที่ 1



เพราะว่า
 
สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม (กมฺมุนา วตฺตตีโลโก)
 
กรรมดี หรือ กุศลกรรม มีผลเป็น วิบากกรรมดี หรือ กุศลวิบาก คือ การได้รับ หรือ การได้ประสบกับ “สิ่งที่ดีๆทั้งหลาย” (ทำให้เป็นสุข)
 
กรรมไม่ดี หรือ อกุศลกรรม มีผลเป็น วิบากกรรมไม่ดี หรือ อกุศลวิบาก คือ การได้รับ หรือ การได้ประสบกับ “สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย” (ทำให้เป็นทุกข์)
 
กิเลส ตัณหา และอุปาทาน ที่ครอบงำจิตใจของคนเราอยู่ คือสิ่งชักนำจิตใจของคนเรา ให้คนเรา “ทำกรรมไม่ดี หรือ อกุศลกรรม” โดยมี “โลกียสุข” เป็นเหยื่อล่อ (เป็นอกุศลมูล)
 

ดังนั้น

ถ้าเราต้องการจะพ้นทุกข์ หรือดับทุกข์

เราต้อง “ปรับเปลี่ยนกรรม” ของเรา หรือ เราต้อง “แก้กรรม” ของเรา

และ เราต้อง “ขจัดมูลเหตุของกรรมที่ไม่ดี” ออกไปจากชีวิตและจิตใจของเรา
 
***************
 
การปรับเปลี่ยนกรรม หรือ การแก้กรรม และ การขจัดมูลเหตุของกรรมที่ไม่ดี ออกไปจากชีวิตและจิตใจ

คือ การปฏิบัติตาม “โอวาทปาฏิโมกข์ 3” ที่พระพุทธองค์ทรงประทานแก่ที่ประชุมพระภิกษุสงฆ์ ในวันมาฆบูชา
 
***************

โอวาทปาฏิโมกข์ 3 ประกอบด้วย

1. การไม่ทำบาปอกุศลทั้งปวง ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ หมายถึง การไม่สร้างอกุศลวิบาก หรือ วิบากกรรมที่ไม่ดี มาเติมเพิ่มให้กับชีวิต
 
2. การทำกุศลให้ถึงพร้อม ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ หมายถึง การหมั่นสร้างกุศลวิบาก หรือ วิบากกรรมดี มาเติมเพิ่มให้กับชีวิต
 
3. การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หมายถึง การหมั่นชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ซึ่งเป็นอกุศลมูล หรือ มูลเหตุของอกุศล ออกไปจากจิตใจ ให้หมดสิ้น เพื่อทำให้จิตใจ สะอาดบริสุทธิ์
 
***************
 
การปฏิบัติโอวาทปาฏิโมกข์ 3

จะใช้ “มรรคมีองค์ 8” เป็นแนวทางในการปฏิบัติ

และจะใช้ “ศีล สมาธิ และปัญญา” ขับเคลื่อน
 
ชาญ คำพิมูล

 




 

Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2565    
Last Update : 12 มีนาคม 2565 16:03:09 น.
Counter : 647 Pageviews.  

89. มาฆบูชา...โอวาทปาฏิโมกข์



วันมาฆบูชา ถือว่า เป็นวันที่มีความสำคัญอย่างมาก สำหรับพวกเราชาวพุทธ
 
เพราะ เป็นวันที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงหลักธรรม อันมีความสำคัญอย่างมาก คือ "โอวาทปาฏิโมกข์ 3"
 
***************
 
โอวาทปาฏิโมกข์ 3 เป็นหลักปฏิบัติ เพื่อความพ้นทุกข์ หรือ ดับทุกข์
 
โอวาทปาฏิโมกข์ 3 เป็นแก่นแกนของหลักธรรมทั้งหลาย ถือว่า “เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา”
 
โอวาทปาฏิโมกข์ 3 ประกอบด้วย
 
1.การไม่ทำบาปทั้งปวง (สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง
 
2.การทำกุศลให้ถึงพร้อม (กุสะลัสสูปะสัมปะทา)
 
3.การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ (สะจิตตะปะริโยทะปะนัง)
 
***************
 
เพราะว่า
 
สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม (กมฺมุนา วตฺตตีโลโก)
 
กรรมดี หรือ กุศลกรรม มีผลเป็น วิบากกรรมดี หรือ กุศลวิบาก คือ การได้รับ หรือ การได้ประสบกับ “สิ่งที่ดีๆทั้งหลาย” (ทำให้เป็นสุข)
 
กรรมไม่ดี หรือ อกุศลกรรม มีผลเป็น วิบากกรรมไม่ดี หรือ อกุศลวิบาก คือ การได้รับ หรือ การได้ประสบกับ “สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย” (ทำให้เป็นทุกข์)
 
กิเลส ตัณหา และอุปาทาน ที่ครอบงำจิตใจของคนเราอยู่ คือสิ่งชักนำจิตใจของคนเรา ให้คนเรา “ทำกรรมไม่ดี หรือ อกุศลกรรม” โดยมี “โลกียสุข” เป็นเหยื่อล่อ (เป็นอกุศลมูล)
 
ดังนั้น
 
ถ้าพวกเราต้องการจะพ้นทุกข์ หรือ ดับทุกข์
 
พวกเราต้องปฏิบัติตาม “โอวาทปาฏิโมกข์ 3” ทั้ง 3 ข้อ คือ
 
1. ไม่ทำบาปอกุศลทั้งปวง ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ หมายถึง ไม่สร้างอกุศลวิบาก หรือ วิบากกรรมที่ไม่ดี มาเติมเพิ่มให้กับชีวิต
 
2. ทำกุศลให้ถึงพร้อม ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ หมายถึง หมั่นสร้างกุศลวิบาก หรือ วิบากกรรมดี มาเติมเพิ่มให้กับชีวิต
 
3. ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หมายถึง หมั่นชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ซึ่งเป็นอกุศลมูล หรือ มูลเหตุของอกุศล ออกไปจากจิตใจ ให้หมดสิ้น เพื่อทำให้จิตใจ สะอาดบริสุทธิ์
 
***************
 
 การปฏิบัติธรรม เพื่อความพ้นทุกข์ หรือ ดับทุกข์
 
คือ การปฏิบัติตาม “โอวาทปาฏิโมกข์ 3”
 
โดยใช้ “มรรคมีองค์ ๘” เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
 
และใช้ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา (ไตรสิกขา)” ขับเคลื่อน
 
***************
 
อกุศลมูล[อะกุสนละมูน] หมายถึง น. รากเหง้าแห่งความชั่ว มี ๓ อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ (พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน)
 
ชาญ คำพิมูล
16/2/2565 วันมาฆบูชา

 




 

Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2565    
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2565 7:03:03 น.
Counter : 614 Pageviews.  

88.พิจารณาชีวิต เพื่อความไม่ประมาทในชีวิต ตอนที่ 5



วันเวลาของชีวิต ล่วงผ่านพ้นไป ไวจริงๆ
 
เผลอแป๊บเดียว ขึ้นปีใหม่อีกแล้ว
 
***************
 
เพราะ ชีวิตนี้ น้อยนัก สั้นนัก และ ไม่แน่นอน
 
ดังนั้น เราจึงควร “ใช้วันเวลาของชีวิต ที่มีเหลืออยู่ ไม่มากนักนี้
 
ให้มีคุณค่าประโยชน์ต่อชีวิต ทั้งในชาตินี้ และชาติต่อๆไป
 
***************
 
สิ่งที่มีคุณค่าประโยชน์ต่อชีวิต
 
ที่เราควรทำ เพื่อประโยชน์สุขของชีวิต ทั้งในชาตินี้ และชาติต่อๆไป คือ
 
การเพียรหมั่น เก็บเกี่ยวบุญ และเก็บเกี่ยวกุศล
 
***************
 
เมื่อพูดถึง “การเพียรหมั่น เก็บเกี่ยวบุญ และเก็บเกี่ยวกุศล
 
หลายๆคน อาจจะบอกว่า
 
ไม่ค่อยมีเวลาไปวัด เพื่อทำบุญทำกุศล
 
หรือ “ไม่ค่อยมีทรัพย์สินเงินทอง ที่จะทำบุญทำกุศล
 
***************
 
ในความเป็นจริงแล้ว
 
ถ้าเราเข้าใจความหมายของคำว่า “บุญ” และ “กุศล” อย่างชัดแจ้ง
 
เราจะพบว่า เราสามารถจะทำบุญทำกุศลได้ ทุกที่ ทุกเวลา และไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพย์สินเงินทอง ก็ได้
 
***************
 
กุศล แปลว่า สิ่งที่ดี
 
กุศลกรรม หมายถึง การกระทำสิ่งที่ดี ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
 
การกระทำสิ่งที่ดี หรือ กุศลกรรม มีผลอานิสงส์เป็น “วิบากกรรมดี หรือ กุศลวิบาก” ได้แก่ การได้รับสุข การได้รับลาภ การได้รับยศ การได้รับคำสรรเสริญ การได้ห่างไกลจากโรค การได้ห่างไกลจากภัย การมีมิตรมาก การมีคนคอยช่วยเหลือเกื้อกูลมาก การได้ประสบกับความโชคดี การมีปาฏิหาริย์เกิดขึ้นในชีวิต และ การได้รับหรือการได้ประสบกับ “สิ่งที่ดีๆ” ทั้งหลาย
 
***************
 
ทุกๆการคิด ที่ดี
 
ทุกๆการพูด ที่ดี
 
และ ทุกๆการกระทำ ที่ดี
 
ล้วนมีผลเป็น “วิบากกรรมดี” หรือ “กุศลวิบาก
 
ดังนั้น เราจึงควร “คิดดี พูดดี และ กระทำดี” ให้ติดเป็นนิสัย
 
เพราะ การคิดดี พูดดี และ กระทำดี จนติดเป็นนิสัย
 
จะช่วยนำพาสิ่งดีๆ เข้ามาสู่ชีวิต อย่างต่อเนื่อง
 
***************
 
การให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลแก่โลก แก่สังคม แก่ผู้อื่น และ แก่สัตว์อื่น
 
เราควรกระทำ ตามกำลัง และ ตามสมควร
 
เพื่อไม่ให้ตัวเรา และผู้อื่น เป็นทุกข์ เครียด เดือดร้อนกาย และ เดือดร้อนใจ
 
***************
 
การให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลแก่โลก แก่สังคม แก่ผู้อื่น และ แก่สัตว์อื่น
 
ไม่จำเป็นจะต้องใช้ทรัพย์สินเงินทอง ก็ได้
 
เราอาจใช้กำลังกายและกำลังสติปัญญาของเรา ก็ได้
 
***************
 
การให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ผู้อื่น
 
ที่มากจนเกินไป
 
อาจจะส่งผลเสีย ทั้งต่อตัวผู้ให้ และ ตัวผู้รับ
 
***************
 
การกระทำสิ่งที่ดี หรือ กุศลกรรม
 
ควรมุ่งทำเพื่อ “ชำระล้าง กิเลส ตัณหา และอุปาทาน” ออกจากจิตใจ
 
จึงจะก่อให้เกิด “ผลอานิสงส์สูง บริบูรณ์
 
ชาญ คำพิมูล
1 มกราคม 2565




 

Create Date : 01 มกราคม 2565    
Last Update : 1 มกราคม 2565 9:25:21 น.
Counter : 567 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.