"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 

62. ความเกิดแห่งกองทุกข์ และ ความดับแห่งกองทุกข์ ตอนที่ 4



การดับกองทุกข์ทั้งมวล คือ การดับอวิชชา หรือ การละอวิชชา หรือ การทำให้เกิดวิชชา
 
การดับอวิชชา หรือ การละอวิชชา หรือ การทำให้เกิดวิชชา คือ การทำให้แจ้งในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ และ ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์
 
***************
 
การทำให้แจ้งในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ และ ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์
 
คือ การปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 โดยใช้ ศีล สมาธิ (สมถะ) และ ปัญญา (วิปัสสนา) ร่วมกัน
 
***************
 
การปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 โดยใช้ ศีล สมาธิ (สมถะ) และ ปัญญา (วิปัสสนา) ร่วมกัน มีเป้าประสงค์หลัก คือ
 
1. เพื่อทำให้เกิดการละหน่ายคลายในอุปาทานขันธ์ 5 หรือ เพื่อทำให้พ้นสักกายทิฏฐิ
 
2. เพื่อทำให้เกิดการปล่อยวางอุปาทานขันธ์ 5 หรือ เพื่อทำให้พ้นอัตตานุทิฏฐิ
 
3. เพื่อทำให้เกิดการปล่อยวางกิเลส จิต และ เจตสิก หรือ เพื่อทำให้พ้นมิจฉาทิฏฐิและดับอวิชชา

 
***************

มรรคมีองค์ 8 ประกอบด้วย
 
1. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
 
2. สัมมาสังกัปปะ (ความคิดชอบ)
 
3. สัมมาวาจา (วาจาชอบ)
 
4. สัมมากัมมันตะ (การกระทำทางกายชอบ)
 
5. สัมมาอาชีวะ (การประกอบอาชีพ)
 
6. สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ)
 
7. สัมมาสติ (การมีสติชอบ)
 
8. สัมมาสมาธิ (การมีสมาธิชอบ)

***************

การปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 โดยใช้ ศีล สมาธิ (สมถะ) และ ปัญญา (วิปัสสนา) ร่วมกัน
 
มีวิธีการดังนี้ คือ
 
1. กำหนดตั้ง “ศีล” ขึ้นมา เพื่อยึดถือปฏิบัติให้เป็นปกติ โดยใช้มรรคมีองค์ 8 เป็นแนวทางในการกำหนดตั้ง เพื่อทำให้เกิด สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และ สัมมาสมาธิ
 
2. ใช้ “สมาธิ (สมถะ)” ระงับการปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน เพื่อไม่ให้เกิดการละเมิดศีล และ เพื่อไม่ให้เกิดการสั่งสมพอกพูนของ กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน เป็นการทำให้กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ระงับดับลง
 
3. ใช้ “ปัญญา (วิปัสสนา)” เพ่งพิจารณา ให้เห็นความจริงตามความเป็นจริง จนเห็นชัดแจ้งที่ใจ (โยนิโสมนสิการ) ในความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา (ไตรลักษณ์) ของกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน เพื่อทำให้เกิดการละหน่ายคลาย และ เกิดการปล่อยวางได้ หรือ เพื่อทำให้พ้นสักกายทิฏฐิ อัตตานุทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิ และ อวิชชา
 
ชาญ คำพิมูล




 

Create Date : 02 สิงหาคม 2563    
Last Update : 2 สิงหาคม 2563 4:18:32 น.
Counter : 577 Pageviews.  

61. ความเกิดแห่งกองทุกข์ และ ความดับแห่งกองทุกข์ ตอนที่ 3



การเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวล มีมูลเหตุมาจาก “อวิชชา”
 
อวิชชา คือ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ความไม่รู้ในความดับทุกข์ ความไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์
 
***************
 
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ความไม่รู้ในความดับทุกข์ ความไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์
 
ทำให้เกิด ความเห็นผิด หลงไปยึดมั่นถือมั่นในกิเลส จิต และ เจตสิก ว่าเป็นตัวเป็นตนของตน เป็นของของตน
 
***************
 
ความเห็นผิด หลงไปยึดมั่นถือมั่นในกิเลส จิต และ เจตสิก ว่าเป็นตัวเป็นตนของตน เป็นของของตน
 
ทำให้เกิด ความเห็นผิดไปตามอำนาจของกิเลส และ เกิดการปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตามอำนาจของกิเลส เมื่อมีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ ธรรมารมณ์ มากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ (เกิดมิจฉาทิฏฐิ สักกายทิฏฐิ และ อัตตานุทิฏฐิ)
 
***************
 
มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิดไปตามอำนาจของกิเลส) สักกายทิฏฐิ และ อัตตานุทิฏฐิ (ความหลงไปยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ 5)

ทำให้เกิด มิจฉาสังกัปปะ (ความคิดที่ผิด) มิจฉาวาจา (วาจาที่ผิด หรือ วาจาที่ไม่ดี) มิจฉากัมมันตะ (การกระทำทางกายที่ผิด) มิจฉาอาชีวะ (การประกอบอาชีพที่ผิด) มิจฉาวายามะ (ความเพียรที่ผิด) มิจฉาสติ (การมีสติที่ผิด) และ มิจฉาสมาธิ (การมีสมาธิที่ผิด)
 
***************
 
มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ และ มิจฉาสมาธิ
 
ทำให้เกิด ความทุกข์ทั้งมวล
 
ทำให้เกิด การเวียนวนอยู่ในวังวนของความสุข (โลกียสุข) และความทุกข์ ไม่มีที่สิ้นสุด
 
และทำให้เกิด การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร ไม่มีที่สิ้นสุด
 
***************
 

การดับกองทุกข์ทั้งมวล คือ การดับอวิชชา หรือ การละอวิชชา หรือ การทำให้เกิดวิชชา
 
การดับอวิชชา หรือ การละอวิชชา หรือ การทำให้เกิดวิชชา คือ การทำให้แจ้งในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ และ ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์
 
***************
 
การทำให้แจ้งในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ และ ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์
 
คือ การปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 โดยใช้ ศีล สมาธิ (สมถะ) และ ปัญญา (วิปัสสนา) ร่วมกัน
 
***************
 
การปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 โดยใช้ ศีล สมาธิ (สมถะ) และ ปัญญา (วิปัสสนา) ร่วมกัน
 
มีเป้าประสงค์หลัก คือ
 
1. เพื่อทำให้เกิดการละหน่ายคลายในอุปาทานขันธ์ 5 หรือ เพื่อทำให้พ้นสักกายทิฏฐิ
 
2. เพื่อทำให้เกิดการปล่อยวางอุปาทานขันธ์ 5 หรือ เพื่อทำให้พ้นอัตตานุทิฏฐิ
 
3. เพื่อทำให้เกิดการปล่อยวางกิเลส จิต และ เจตสิก หรือ เพื่อทำให้พ้นมิจฉาทิฏฐิและดับอวิชชา
 
***************
 
การดับอวิชชา หรือ การละอวิชชา หรือ การทำให้เกิดวิชชา
 
ต้องใช้ทั้งสมถะและวิปัสสนาร่วมกัน
 
[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่าง เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
 
ธรรม ๒ อย่าง เป็นไฉน
 
คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑
 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
 
สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร
 
ย่อมอบรมจิต
 
จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร
 
ย่อมละราคะได้
 
วิปัสสนาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร
 
ย่อมอบรมปัญญา
 
ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร
 
ย่อมละอวิชชาได้ ฯ
 
[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือ ปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญ ด้วยประการฉะนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ ฯ
 

{ที่มา: ส่วนหนึ่งของ พาลวรรค พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๒ อังคุตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาท, พระไตรปิฎกฉบับหลวง}
 
ชาญ คำพิมูล




 

Create Date : 26 กรกฎาคม 2563    
Last Update : 27 กรกฎาคม 2563 8:55:35 น.
Counter : 668 Pageviews.  

60. ความเกิดแห่งกองทุกข์ และ ความดับแห่งกองทุกข์ ตอนที่ 2



การเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวล มีมูลเหตุมาจาก “อวิชชา”
 
อวิชชา คือ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ความไม่รู้ในความดับทุกข์ ความไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์
 
***************
 
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ความไม่รู้ในความดับทุกข์ ความไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์
 
ทำให้เกิด ความเห็นผิด หลงไปยึดมั่นถือมั่นในกิเลส จิต และ เจตสิก ว่าเป็นตัวเป็นตนของตน เป็นของของตน
 
***************
 
ความเห็นผิด หลงไปยึดมั่นถือมั่นในกิเลส จิต และ เจตสิก ว่าเป็นตัวเป็นตนของตน เป็นของของตน
 
ทำให้เกิด ความเห็นผิดไปตามอำนาจของกิเลส และ เกิดการปรุงแต่ง (สังขาร) ไปตามอำนาจของกิเลส เมื่อมีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ ธรรมารมณ์ มากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ (เกิดมิจฉาทิฏฐิ สักกายทิฏฐิ และ อัตตานุทิฏฐิ)
 
***************
 

๒ วิภังคสูตร
 
[๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
 
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง จักจำแนก ปฏิจจสมุปบาท แก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังปฏิจจสมุปบาทนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว
 
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
 
[๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นไฉน
 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
 
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
 
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
 
เพราะนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
 
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
 
เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
 
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
 
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
 
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
 
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
 
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสก ปริเทว ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
 
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
 
[๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะ เป็นไฉน
 
ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่า ชรา
 
ก็มรณะ เป็นไฉน
 
ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่า มรณะ
 
ชราและ มรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ ฯ
 
[๗] ก็ชาติ เป็นไฉน
 
ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่า ชาติ ฯ
 
[๘] ก็ภพ เป็นไฉน
 
ภพ ๓ เหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ นี้เรียกว่า ภพ ฯ
 
[๙] ก็อุปาทาน เป็นไฉน
 
อุปาทาน ๔ เหล่านี้ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทาน ฯ
 
[๑๐] ก็ตัณหา เป็นไฉน
 
ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา นี้เรียกว่า ตัณหา ฯ
 
[๑๑] ก็เวทนา เป็นไฉน
 
เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่า เวทนา ฯ
 
[๑๒] ก็ผัสสะ เป็นไฉน
 
ผัสสะ ๖ หมวดเหล่านี้ คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี้เรียกว่า ผัสสะ ฯ
 
[๑๓] ก็สฬายตนะ เป็นไฉน
 
อายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เรียกว่า สฬายตนะ ฯ
 
[๑๔] ก็นามรูป เป็นไฉน
 
เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่า นามมหาภูตรูป ๔ และ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้ เรียกว่ารูป นามและรูป ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า นามรูป ฯ
 
[๑๕] ก็วิญญาณ เป็นไฉน
 
วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณ ฯ
 
[๑๖] ก็สังขาร เป็นไฉน
 
สังขาร ๓ เหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร นี้เรียกว่า สังขาร ฯ
 
[๑๗] ก็อวิชชา เป็นไฉน
 
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ความไม่รู้ในความดับทุกข์ ความไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่า อวิชชา
 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... ดังพรรณนามาฉะนี้
 
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
 
[๑๘] ก็เพราะอวิชชานั่นแหละดับ ด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขาร
ดับ วิญญาณจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
 
จบสูตรที่ ๒
 

{ที่มา: พระไตรปิฎกฉบับหลวง, พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค}
 
ชาญ คำพิมูล

 




 

Create Date : 19 กรกฎาคม 2563    
Last Update : 19 กรกฎาคม 2563 4:26:54 น.
Counter : 642 Pageviews.  

59. ความเกิดแห่งกองทุกข์ และ ความดับแห่งกองทุกข์ ตอนที่ 1



พระพุทธเจ้าทรงละทิ้ง ทรัพย์สมบัติในทางโลก ลาภ ยศ สรรเสริญ และ โลกียสุข ออกบวช เพื่อแสวงหา “ความพ้นทุกข์” หรือ “ความดับทุกข์”

สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ คือ “อริยสัจ 4” ประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์) นิโรธ (ความดับแห่งทุกข์) และ มรรค (ข้อปฏิบัติเพื่อความดับแห่งทุกข์)

เป้าประสงค์หลักของหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ “ความพ้นทุกข์” หรือ “ความดับทุกข์” ไม่ใช่ การได้ทรัพย์สมบัติในทางโลก การได้ลาภ การได้ยศ การได้สรรเสริญ การได้โลกียสุข การได้อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ หรือ การได้สิ่งอื่นๆที่นอกเหนือจากความดับทุกข์


ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่พวกเราชาวพุทธ ควรทำความเข้าใจให้ชัดแจ้ง จึงคือ “ความเกิดแห่งกองทุกข์” และ “ความดับแห่งกองทุกข์”

***************

ความเกิดแห่งกองทุกข์ และ ความดับแห่งกองทุกข์ เป็นอย่างไร?

 . ปฏิจจสมุปปาทสูตร ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท

[๑] ข้าพเจ้า ได้สดับมาอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี

ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่ง เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย”

ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง ปฏิจจสมุปบาท แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

‘ภิกษุทั้งหลาย ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไร

คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี

เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี

เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี

เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความคับแค้นใจ) จึงมี

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท

อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ

เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ

เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ

เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น มีใจยินดี ต่างชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว

ปฏิจจสมุปปาทสูตรที่ ๑ จบ
 

{ที่มา: โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม: ๑๖}

***************

หมายเหตุ:

1. ถ้าเป้าประสงค์หลักของหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ การได้ทรัพย์สมบัติในทางโลก การได้ลาภ การได้ยศ การได้สรรเสริญ การได้โลกียสุข ฯลฯ พระพุทธเจ้าคงไม่ละทิ้งสิ่งเหล่านี้ออกบวช โดยไม่หวนกลับไปแสวงหาสิ่งเหล่านี้อีกเลย

2. การปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า มักจะก่อให้เกิด การได้ทรัพย์สมบัติในทางโลก การได้ลาภ การได้ยศ การได้สรรเสริญ การได้โลกียสุข ฯลฯ ตามมา เป็นธรรมดา แต่พระพุทธเจ้าทรงให้วางเฉย ให้วางปล่อย ให้ไม่ไปยินดี ให้ไม่ไปหลงใหลติดใจ และ ให้ไม่ไปหลงยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งเหล่านี้ (อุเบกขา)
 
ชาญ คำพิมูล

 




 

Create Date : 12 กรกฎาคม 2563    
Last Update : 5 มีนาคม 2566 12:58:14 น.
Counter : 703 Pageviews.  

58. ไม่ควรไปคาดหวังสิ่งใดๆ จากใจของผู้อื่น



การมีจิตเมตา และ การช่วยเหลือเกื้อกูล แก่ผู้อื่นและสัตว์อื่น

ควรยึดถือหลักธรรม “พรหมวิหาร 4” ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติเอาไว้ คือ

1. เมตตา หมายถึง มีความปรารถนาให้ผู้อื่น พ้นจากทุกข์

2. กรุณา หมายถึง ลงมือช่วยเหลือให้ผู้อื่น พ้นจากทุกข์

3. มุทิตา หมายถึง ยินดีที่ผู้อื่น พ้นจากทุกข์

4. อุเบกขา หมายถึง วางปล่อย วางเฉย หรือ ไม่ยึดถือเอาไว้ว่า ตนเป็นผู้ช่วยเหลือ ให้ผู้อื่นและสัตว์อื่น พ้นจากทุกข์ (เป็นการช่วยเหลือ ที่ไม่หวังผลตอบแทนใดๆ)

***************

การมีจิตเมตตา ต้องประกอบด้วย "ปัญญา" คือ

1. เราต้องทำความเข้าใจ ให้ชัดแจ้งว่า “สัตว์โลกทั้งหลาย ย่อมเป็นไปตามกรรม กมฺมุนา วตฺตติโลโก” คือ

สัตว์โลกทั้งหลาย ล้วนเกิดมา เพื่อมารับผลของกรรม หรือ วิบากกรรม ที่ตนได้เคยกระทำสั่งสมเอาไว้ ในชาติก่อนๆ

ไม่มีใคร ที่จะหลีกหนี ให้พ้นไปได้ 

2. เราต้องทำความเข้าใจ ให้ชัดแจ้งว่า ในความเป็นจริงแล้ว “ไม่มีใคร ที่จะช่วยให้ผู้อื่นและสัตว์อื่น พ้นจากทุกข์ไปได้”

"ตนของตนเท่านั้น ที่จะทำให้ตน พ้นจากทุกข์ไปได้"

การช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ผู้อื่นและสัตว์อื่น

จะมีผลอย่างมาก ก็แค่เพียง “ช่วยให้ผู้อื่นและสัตว์อื่น บรรเทาทุกข์ลง” เท่านั้นเอง

3. การช่วยเหลือเกื้อกูล แก่ผู้อื่นและสัตว์อื่น ต้องไม่ทำให้ตน ผู้อื่น และสัตว์อื่น เดือดร้อนกายและเดือดร้อนใจ

การช่วยเหลือเกื้อกูล แก่ผู้อื่นและสัตว์อื่น ต้องทำตามกำลัง และ ตามสมควร เพราะ การช่วยเหลือเกื้อกูล แก่ผู้อื่นและสัตว์อื่น ที่มากจนเกินไป อาจจะส่งผลเสีย ทั้งต่อผู้ให้และผู้รับ

การช่วยเหลือเกื้อกูล แก่ผู้อื่นและสัตว์อื่น ไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพย์สินเงินทองหรือสิ่งของ ก็ได้ อาจใช้กำลังกาย หรือ กำลังสติปัญญา ก็ได้

ในบางครั้ง หรือ ในบางโอกาส “การให้กำลังใจ หรือ การแสดงการเห็นอกเห็นใจ” ก็มากเพียงพอแล้ว สำหรับบางคน

4. เมื่อเราได้ช่วยเหลือเกื้อกูล แก่ผู้อื่นและสัตว์อื่น แล้ว จงอย่าไปคาดหวัง ผลตอบแทนใดๆ

การช่วยเหลือเกื้อกูล แก่ผู้อื่นและสัตว์อื่น โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ

จะเป็นบุญและเป็นกุศล ที่บริบูรณ์ และ มีอานิสงส์มาก

***************

โดยส่วนใหญ่แล้ว

จิตใจของคนเรา มักจะถูกกิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ครอบงำอยู่ และ บงการอยู่

ทำให้จิตใจของคนเรา มักจะมีความไม่เที่ยง มีความไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวน และ มีความไม่แน่นอน เป็นธรรมดา

ดังนั้น จึงไม่ควร ไปคาดหวังสิ่งใดๆ จากจิตใจของผู้อื่น

***************

ในการกระทำสิ่งใดๆ

จงยึดถือ “ความถูกต้อง และ ความเหมาะสม” เป็นหลัก

จงอย่ายึดถือ “ความถูกใจ หรือ ความพึงพอใจ ของผู้อื่น” เป็นหลัก

เพราะ “ไม่มีใคร ที่จะทำให้ผู้อื่นพอใจ ได้ทั้งหมด”

***************

ความพึงพอใจของคนๆหนึ่ง ที่มีต่อเรา

เพราะ การกระทำของเรา ที่ทำให้เขา “พึงพอใจ" 100 ครั้ง (ตามใจ)

อาจมลายหายสิ้นไป

เพราะ การกระทำของเรา เพียงครั้งเดียว ที่ทำให้เขา “ไม่พอใจ" (ขัดใจ)

***************

จงมีจิตเมตตาต่อผู้อื่นและสัตว์อื่น

ด้วยการไม่คิดเบียดเบียน และไม่คิดทำร้ายทำลาย ชีวิตผู้อื่นและสัตว์ 

ด้วยการไม่ทำร้ายทำลายผู้อื่น ด้วยวาจา

และ ด้วยการไม่เบียดเบียน และ ไม่ทำร้ายทำลาย ชีวิตผู้อื่นและสัตว์อื่น 

 
ชาญ คำพิมูล

 




 

Create Date : 28 มิถุนายน 2563    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2563 7:28:56 น.
Counter : 867 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.