No.1312 ใช้ชีวิตอยู่ในป่าใหญ่.... |
|
|
สนง.กฏหมาย ๆ พาไปพักที่รีสอร์ทนครนายกกับ เพื่อน ๆ ทนายความ/บัญชี/การเงิน |
แผนกเวิร์คเพอมิทลูกค้าต่างประเทศ...เพื่อนคนเล่าเคยลงอยู่ในป่าไปบ่อย |
หลงอยู่ในป่ากว่า 3 ปีก็ฟัง ๆมาจดบันทึกไว้ในคอมฯ |
ในหมู่เพื่อนผมรู้ระแคะระคายว่าหมอนี่ ผิดหวังรักเลยลาออกจากทิ้งเดิมไปค้าขายพืชไร่แถว |
เชียงใหม่แทน... ฟังที่รีสอร์ทแล้วฟังเพิ่มที่ สน.แถวสีลม... ยามกินข้าวกลางวัน |
เป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติในป่าภาคเหนือ น่ารื่นรมย์ น่ากลัวแล้วกลัวอะไร นั่นซิ |
เลยนำมาเรียบเรียงใหม่ |
|
|
เช้ามืดได้ยินเสียงไก่ป่า ดังมาแต่ไกล เสียงน้ำไหลในลำห้วยข้างล่างความเมื่อยขบปวดหลัง |
จากการเกี่ยวข้าว บนไหล่ดอยมาแล้วสองวันเราสามคนจะเกี่ยวข้าวไร่บนไหล่ดอยฟากเดียว |
กับกระท่อมค้างให้หมด. |
เก็บผ้าห่มผ้าฝ้ายหนา พับเป็นสี่เหลี่ยมเล็ก วางไว้บนหมอน แล้วไปทำธุระส่วนตัว ใช้กิ่งไม้ข่อย |
เล็กใต้ต้นสักใช้หินทุบพอแหลก แล้วใช้ถูกฟันไปมา จนปากฝาด อมน้ำล้างปากไปมาสองครั้ง |
รู้สึกปากสอาด. |
|
อากาศเย็น ใช้มือจุ่มน้ำลูบผมให้ผมลู่เข้าเป็นระเบียบ ตั้งแต่มาอยู่ที่นี่ผมยาวประบ่าหนวดเครา |
ขึ้นเต็มที่ ยังไม่มีโอกาศได้ตัด. |
มากินข้าวเช้ากัน |
มีอะไรกินบ้าง พี่พะก่อ |
มีเนื้อกวางรมควัน กับน้ำพริกชี้ฟ้า มากินแล้วเราจะไปเกี่ยวข้าวต่อ |
ระยะหลังมานี้ พี่พะก่อพยายามพูดภาษาให้ผมเข้าใจง่ายขึ้น แต่สำเนียงยังแปร่ง ๆ |
ส่วนน้องก่ำ. ยังพูดภาษา บ้านติ๊ก่อเหมือนเดิมเพราะพูดไม่เป็น |
พี่พะก่อเล่าให้ฟังว่า พ่ออุ้ยส่งพี่พะก่อไปช่วยน้องของพ่อที่บ้านเวียงใต้ห่างจากที่นี่ 4 วัน |
ใช้เดินเท้าพี่ไปช่วยอาว์ปลูกถั่วเหลือง ข้าวที่บ้านเวียงใต้เป็นพื้นที่ราบแอ่งดอย เขากินข้าวเจ้า |
หรือข้าวสวยไม่ได้กินแบบคนพื้นเมืองอื่น. |
การแต่งตัวของคนบ้านเวียงใต้ ชายนุ่งเตี่ยวสะดอ ยาวครึ่งน่องเสื้อใช้สวมทางหัวมีรอยผ่าตรง |
คอ เป็นเสื้อแขนสั้น |
หญิงนุ่งผ้าซิ่นยาวถึงตาตุ่ม เสื้อมีปก ผ่าตรงร่องอกยาวประมาณคืบไม่เหมือนบ้านที่เราอยู่ |
พี่พะก่ออยู่ได้ แปดปี โตเป็นหนุ่ม พ่ออุ้ยพากลับมาอยู่บ้าน ช่วยทำไร่ ปลูกข้าวจับปลา ปลูกข้าว |
โพด และมาได้แม่ของก่ำเป็นเมีย อยู่จนได้ก่ำ |
|
วันนั้นเราเกี่ยวข้าวจนหมด แล้วเดินข้ามลำห้วยไป มัดต้นข้าวที่เกี่ยวแล้วให้เป็นฟ่อนใช้เถาว์วัลย์ |
หนามแน้ มัด จนหมด. |
อาทิตย์คล้อยต่ำลง ไหล่ดอย อากาศเย็นลงทุกขณะ หมอกเริ่มปกคลุมทั่วหุบเขา |
เย็นนี้ผมแกงผักเสี้ยว ที่ก่ำไปเก็บมาตอนกลางวันใช้พริกแห้ง 4 เม็ดเกลือนิดปอก |
หอมแดง 5 หัวใส่ครกไม้ ตำพอแหลก ตามด้วยถั่วเน่าแผ่นที่ค่อนข้างเหม็นปิ้งไฟอ่อนกลิ่น |
กลับหอม ใส่ครกคลุกเคล้าด้วยกันจนนัว |
ตั้งหม้อดินตั้งบนเตาให้ร้อน ตักน้ำพริกลงรวนให้หอม ควันฟุ้งแล้วเติมน้ำเปล่าพอขลุกขลิก |
ฉีกเนื้อกวางเป็นเส้นยาว ๆเท่าก้อนเนื้อกวาง โปรยใส่ในหม้อ คนไปมาแล้วปิดฝาสักครู่ ... .. |
|
น้ำเริ่มเดือด เอายอดผักเสี้ยว(ชงโค) โปรยใส่ในหม้อ คนอีกนิดหยิบมะเขือส้ม(เทศ) ลูกเล็ก |
แดงเปรี้ยวผ่าครึ่ง โยนใส่ในหม้อ 5 ลูกคนแกงด้วยป๊าก(กระจ่า) ปิดฝาเป็นอันเสร็จ |
ก่ำ ช่วยยกข้าวเจ้าในหม้อดินที่หุงเผื่อตอนเช้าไปวางที่แคร่ไม้ไผ่หน้าบ้าน ตักแกงผักเสี้ยว |
รสหวานของผัก ความเค็มของถั่วเน่าแผ่นปิ้ง เนื้อกวางที่เหนียวนุ่มพอดีชิมแล้ววางไม่ลง |
ข้าวหมดหม้อ น้ำแกงก็ไม่เหลือ |
น้ำ...แก๋งผักลำแต้ ๆ (พี่พะก่อชมว่าผมทำแกงอร่อย) |
แหมมีคนชม ก็ต้องยิ้ม..... |
พี่น้ำ เยียะแกงลำแต้ ๆ ก่ำกินน้ำแกงจนหมด....ก่ำพูดชม |
ผมมานึกได้ว่า ไม่เคยทำแกงด้วยตนเองเลย แต่มีชายคนหนึ่งบอกว่าถ้าจะให้มีน้ำหวานผักออก |
ให้ใส่ตอนน้ำเดือด และถ้าจะ |
ให้เป็นสีเขียวตลอดวัน ให้ใส่มะนาวหรือของเปรี้ยวไปก่อนยกลงผักจะหวานไม่ขมพอเห็นพี่พะก่อ |
แกงเลย แปลงวิธีการนิดหน่อย |
บางครั้งการจำอะไรไม่ได้ดีเหมือนกัน ไม่รู้แม้แต่ชื่อ บ้านอยู่ไหนอาจจะรบกวนจิตใจนิดไม่ทุกข์ |
แสงตะเกียงน้ำมันหมูป่าให้แสงสว่างบนแคร่ไม้ไผ่ วับแวบรอบตัวมืด หมอกลอยเป้นแผ่น |
บนลำห้วยที่ส่งเสียงดังจุ๋งจิ๋ง |
เป็นความสุขของเราทั้งสามคน......หาที่เปรียบไม่ได้จริง ๆ |
หลังกินข้าวเช้านั่งพักบนแคร่ไม้หน้ากระท่อมหลังเล็ก แสงแดดสอดแสงผ่านแมกไม้บนดอย |
มัดฟ่อนข้าวเหลืองทองวางระเกะบนฟากดอย เม็ดน้ำค้างต้องแสงสีทองเป็นประกาย |
ลมพัดมาเบา ๆ หมอกเป็นแผ่นบางลอยเอื่อย ๆ ยามถูกโขดหินข้างลำห้วย แผ่นหมอกแตก |
เป็น สองทาง ผสมไอน้ำจากลำห้วยลอยขึ้นมารวมเป็นหมอกเข้าด้วยกันอีก |
เสียงน้ำในลำห้วยดังคลิก ๆ ยามไหลถูกกิ่งไม้หักทอดขวางลำห้วย |
พี่พะก่อ หมอกจะลอยแบบนี้ อีกกี่เดือนครับ |
งามเหรอ |
ครับ สวยจริง ๆ |
ถ้าเป็นหน้าเกี่ยวข้าว บนดินมีความร้อนอยู่บ้าง ผสมความชึ้นในต้นไม้กับห้วยจะเกิดหมอก |
ลอยตรงแอ่งดอยอีกประมาณสองเดือน |
ไป... เราไปแบกฟ่อนข้าวบนดอย ลงมาไว้ที่ลาน... พี่พะก่อชวน |
เอ้อ ก่ำ.. ยังไม่ต้องตามไป. เก็บจานชามของกินบนแคร่ไปเก็บให้เสร็จแล้วค่อยตามไปนะ |
เราเอาไม้คานทำด้วยไม้ไผ่ซาง หนาตรงกลาง ปลายสองข้างบาง |
ลง มีปลายแหลมสองข้าง พาดบ่าไปคนละอัน |
ไต่ตะลิ่งหน้าตูบ ลงลำห้วย ไอน้ำลอยเรี่ย ๆ ปลาตัวเล็ก ว่ายวิ่งไปมาคงจะกลัวยักษ์สองตนมาจับ |
เท้าเหยียบลงน้ำ ความอุ่นของน้ำทำให้สบายเท้า ไม่เย็นเหมือนนั่งกินข้าวเช้า เท้าสัมผัสกรวดกลม |
สีขาว ดำที่อยู่ใต้แผ่นน้ำ ดังเอี๊ยดอ๊าด น้ำลึกแค่เข่า จึงต้องดึงขากางเกงสะดอขึ้นมานิดไม่ให้เปียก |
|
ชายตลิ่งเป็นดินละเอียดปนทราบ นุ่มเท้ามีหญ้าขึ้นแซมบ้าง เราสองคนเดินขึ้นดอยชันต้องโน้ม |
ไปข้างหน้าให้รู้สึกว่าเสมอกับพื้นดอย..ผ่านก้อนหิน ตอไม้เก่า ไม่นานก็ถึงจุดวางฟ่อนข้าว |
|
|
ถ้าหมดแบบน้ำแกงไม่เหลือแสดงว่าอร่อยจริงเลยล่ะครับ^^
เดี๋ยวนี้ก็ยังมีหมอก แต่ช่วงหลังกลายเป็นควันฝุ่นเสียมากกว่า น่าห่วงจริงๆ