bloggang.com mainmenu search

วัดนครโกษา วัดบันไดหิน ลพบุรี

ลพบุรี เมืองประวัติศาสตร์ ลพบุรีเป็นเมืองโบราณที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดเมืองหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย อยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำลพบุรีและป่าสัก จากการที่มีสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์จึงเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และศาสนาตลอดมา โดยมีพัฒนาการที่ต่อเนื่องมาตามลำดับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยประวัติศาสตร์ จนถึงปัจจุบัน ดังนี้

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ ๔,๐๐๐ - ๑,๕๐๐ ปี มาแล้ว แหล่งโบราณคดีที่สำคัญ เช่น บ้านโคกเจริญ บ้านเนินอีแซว อ.ชัยบาดาล บริเวณศูนย์กลางทหารปืนใหญ่ลพบุรี หรือบ้านท่าแค อ.เมือง เป็นต้น มนุษย์สมัยนี้ มีการดำรงชีพแบบการล่าสัตว์ ทำการกสิกรรม และรู้จักการโลหกรรม

สมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖) เป็นชุมชนที่มีระบบสังคมซับซ้อน หรือเป็นสังคมระดับเมือง มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบพบหลักฐานที่เมืองลพบุรี อ.เมือง เมืองดงมะรุม อ.โคกสำโรง เมืองบ้านใหม่ไพศาลี อ.โคกเจริญ และเมืองซับจำปา อ.ท่าหลวง เป็นช่วงที่ได้รับวัฒนธรรมจากภายนอกเข้ามาผสมผสาน ที่เห็นได้ชัดเจนคือ อิทธิพลจากอินเดีย ในการนับถือพุทธศาสนา ลัทธิเถรวาท

สมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘) ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมขอมเข้ามาในสังคม มีการรับนับถือศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธ ลัทธิมหายาน มีโบราณสถานที่สร้างขึ้นในสมัยนี้เช่น ปรางค์แขก ปรางค์นางผมหอม และ ศาลพระกาฬ ปรางค์สามยอด

สมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๓) สมัยนี้เมืองลพบุรี เป็นศูนย์กลางสำคัญแห่งหนึ่งทางด้านการเมือง การค้า และในช่วงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีบทบาทเป็นเมืองราชธานีแห่งที่สอง

สมัยรัตนโกสินทร์ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์เมืองลพบุรีรวมทั้งสร้างที่ประทับในพระราชวัง และมีการบูรณะเมืองลพบุรีเรื่อยมา

ข้อมูลจาก แผ่นพับของสำนักศิลปากร ที่ ๔ ลพบุรี







ที่ยืนส่องนั่น ปะป๊าค่ะ












วัดนครโกษา ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของสถานีรถไฟลพบุรี ด้านตะวันออกใกล้กับศาลพระกาฬ ในท้องที่ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เป็นศาสนสถานที่สร้างซ้อนทับกันหลายสมัย เดิมคงเป็นเทวสถานของขอม มีพระปรางค์แบบลพบุรีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ อยู่ด้านหน้า แต่พระพุทธรูปปูนปั้นแบบอู่ทองบนปรางค์นั้นคงสร้างเพิ่มเติมขึ้นภายหลัง ได้พบเทวรูปหินขนาดใหญ่แบบลพบุรี ซึ่งมีร่องรอยดัดแปลงเป็นพระพุทธรูป ๒ องค์ (ปัจจุบัน นำไปไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์) ส่วนพระอุโบสถ วิหาร สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาในสมัยที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชสร้างเมืองลพบุรี และสันนิษฐานว่าเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) เป็นแม่งานดำเนินการในครั้งนั้นจึงได้ชื่อว่า "วัดนครโกษา" ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ - ๒๕๓๐ กรมศิลปากรทำการขุดแต่งที่ฐานเจดีย์องค์ใหญ่ ได้พบประติมากรรมในสมัยทวารวดี เช่น พระพุทธรูป รูปบุคคล ยักษ์ ลวดลายประกอบสถาปัตยกรรม และพระพิมพ์ดินเผา และได้รวบรวมเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ วัดนครโกษาได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญสำหรับชาติเมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย












พระพุทธรูปคาดว่าจะเป็นปางห้ามญาติ ที่ประดิษฐานประดับอยู่บนพระปรางค์










ลายปูนปั้นประดับ






















เดาไม่ถูกค่ะ ไม่รู้ตรงไหนโบสถ์ ตรงไหนวิหาร






















...ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ - ๒๕๓๐ กรมศิลปากรทำการขุดแต่งที่ฐานเจดีย์องค์ใหญ่




วัดบันไดหิน สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สิ่งก่อสร้างในวัดมีวิหาร ซึ่งเหลือแต่ผนังเพียงสองด้าน มีประตูหน้าต่างวงโค้งแหลมคล้ายกลีบบัว ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และเจดีย์เหลี่ยมย่อมุม ที่ได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากรแล้ว โบราณวัตถุส่วนใหญ่ที่พบภายในเขตโบราณสถานแห่งนี้ก็มักจัดอยู่ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ดังนั้นโบราณสถานวัดบันไดหินจึงอาจสร้างขึ้นช่วงใดช่วงหนึ่งระหว่างปี พ.ศ. ๒๒๐๙ – ๒๒๓๑ หรือราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓

โบราณสถานวัดบันไดหิน ตั้งอยู่ตรงข้ามสถานีรถไฟลพบุรี ถนน รอบวัดพระธาตุ อำเภอ เมืองลพบุรี จังหวัด ลพบุรี ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานสำหรับชาติ ลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๓ หน้า ๙๐๔ วันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๕




















ดอกหญ้าแถวนี้ล่ะค่ะ ไม่ค่อยชัดหรอก ขอเก็บไว้ในบล็อกนี้ด้วยละกัน






อยู่ใกล้สถานีรถไฟ






แวะเข้ามาหน่อยเนาะ


















จะเอาป้ายลพบุรี ขาเมฆเลยแหว่งไป






















ทริปนี้ยังไม่จบนะคะ ตัดภาพมาก่อนบางส่วน แต่เป็นตอนจะกลับแล้ว






๑๖.๔๐ น. วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๗






พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตั้งอยู่กลางวงเวียนเทพสตรีใกล้ศาลากลางจังหวัดลพบุรี ถ่ายผ่านกระจกรถค่ะ






ทริปนี้ยังเหลือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ ค่ะ






Create Date :15 ธันวาคม 2557 Last Update :15 ธันวาคม 2557 5:16:06 น. Counter : 6558 Pageviews. Comments :30