Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง
 
พฤศจิกายน 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
28 พฤศจิกายน 2551

Progression กับ สิ่งที่ทำได้






Progression กับ สิ่งที่ทำได้


วอร์ดศัลยศาสตร์เป็นวอร์ดสุดท้ายของปี 4 สำหรับฉัน เมื่อมาถึงจุดนี้ของปี ฉันสร้างความกล้าให้กับตัวเองในการเดินเข้าหาคนไข้ทุกๆวันได้แล้ว แม้ว่าหลายครั้ง จะต้องกลับมานั่งทบทวนว่าควรเขียนอะไรลงไปให้เป็น progress note (บันทึกความก้าวหน้า) ที่ดีประจำวัน

ความไม่รู้เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้การเข้าหาผู้ป่วยเป็นไปด้วยความยากลำบาก..ทางใจ ฉันรู้สึกว่าไม่มีประโยชน์เอาเสียเลย ถ้าเราให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่ผู้ป่วยไม่ได้ บางครั้งการเข้าไปพูดคุยของฉันดูจะสร้างความรำคาญ หรือลำบากใจแก่ผู้ป่วยมากกว่า

และแล้วในวันหนึ่งของช่วงอาทิตย์ที่แสนยุ่งและเหน็ดเหนื่อย คุณป้าเบาหวานจากศัลยศาสตร์หลอดเลือดท่านหนึ่งที่ฉันรับดูแลอยู่ ได้มอบความทรงจำที่เป็นกำลังใจสำคัญให้กับฉัน ความทรงจำจากเหตุการณ์เล็กๆที่ฉันมั่นใจว่าไม่มีวันลืมลง

ในตอนนั้น ฉันมีคนไข้ที่รับดูแลอยู่ 3 คน ป้าเป็นคนที่อยู่กับฉันมานานที่สุด คุยเข้าใจยากที่สุด และฉันเองรู้เรื่องการรักษาของป้าน้อยที่สุด จริงๆแล้ว ป้ามีแผล amputate ส่วนนิ้วเท้าที่เกิดการติดเชื้อมาก่อนหน้านี้นานมาก และเป็นแผลที่ฉันไม่เคยได้เห็นเลย ทั้งนี้มาจากความบกพร่องของฉันเองที่ไม่สามารถมาให้ทันพี่ extern ทำแผลของป้าในช่วงเช้าได้

ทุกๆวันที่ฉันเข้าไปพูดคุยกับป้า ป้าจะบ่นเรื่องแผล อาการปวด และเล่าว่าตนเองอยากกลับบ้าน ฉันตอบอะไรไม่ได้มากนัก ถามจากพี่ๆก็บอกได้เพียงว่าจำเป็นต้องรักษาให้แผลหายติดเชื้อเสียก่อน จึงวางแผนเรื่องกลับบ้านได้ ทุกๆวันเมื่อฉันตอบกลับไปเช่นนี้ ดูเหมือนจะไม่ทำให้ป้าเข้าใจนัก ป้าอยากรู้ว่ามันสักกี่วัน นานสักเท่าไร คำถาม.. ที่ฉันลำบากใจทุกครั้งที่ได้ยิน

อย่างไรก็ตาม ฉันแวะไปพูดคุยกับป้าทุกวันเท่าที่ทำได้ ด้วยความรู้สึกเหมือนมาเยี่ยมคนรู้จักมากกว่าเป็นผู้ให้การรักษา ฟังดูน่ารักใช่ไหมคะ แต่ความจริงแล้วนั่นเป็นเพราะฉันไม่รู้ว่าควรทำตัวเป็นผู้ให้การรักษาที่ดีอย่างไรเป็นหลัก สิ่งที่ทำได้ขณะนั้น คือมาคุยกับป้าให้คลายกังวลในแต่ละวัน หายเหงาได้บ้าง

ย้อนมาดูในตอนนี้ ก็ดูเป็นสิ่งดีๆที่นศพ.สักคนจะทำให้กับผู้ป่วยของตนได้ แต่ฉันในยามนั้น กลับเต็มไปด้วยความไม่สบายใจ รู้สึกเหมือนไม่ได้ดูแลป้าอย่างที่ควรทำ

เหตุการณ์วันนั้นเริ่มต้นไม่ต่างจากเกือบ 2 อาทิตย์ ที่ฉันและป้าได้รู้จักกันก่อนนัก ฉันถาม ป้าตอบบ้างไม่ตอบบ้าง แผลของป้าฉันก็ยังไม่ได้เห็นเช่นเคย แต่เรื่องเล่าข้างล่างนี้ ฉันกลับมาบันทึกไว้ทันทีในคืนวันนั้น หลังจากที่ห่างหายจากการเขียนบันทึกประจำวันมานาน

“.. สุดท้าย ก็ตัดสินใจไปหาป้า... คุณป้า gen C (ศัลยศาสตร์หลอดเลือด) ที่คุยด้วยยากที่สุดเลย.. ก็เป็นหมอที่แย่มากอ่ะ ไม่ค่อยรู้อะไรเกี่ยวกับแผลป้าเอาเลย ต้องคอยให้ป้าเล่าแทน..

มาสะดุดใจตอนที่กำลังจะไป แล้วมีพยาบาลเอายามาให้ป้า ป้าบอกออกมาว่า “ขอบคุณ”

ฟังแล้วมันทำเอาใจแป่วพิกล ไม่ได้คิดว่าตัวเองจะต้องเด่นดีอะไรกว่าพยาบาลนะ อย่าเข้าใจผิด แต่รู้สึกไร้ค่า ไร้ความหมายอย่างแรง.. ไม่เข้าใจว่าเป็นนศพ.(อย่างชั้น) จะทำอะไรดีๆให้คนไข้รู้สึกดีบ้างไม่ได้หรือไง..
ก็คิดไปอย่างนั้นแหละ แต่ก็ปลงไปด้วย

สุดท้ายก็คุยกับป้าไปอีกพักนึง แล้วก็ขอตัวกลับ ตอนนั้นหละ ขณะที่เดินอ้อมม่านออกมา

ป้า บอกออกมาว่า “ขอบคุณมาก..แล้วอย่าลืมมาอีกหละ..”

ปลื้มใจ..เหมือนมีพลังบางอย่างเข้ามาทดแทนให้ความเหนื่อยล้ามันหายไปได้เป็น ปลิดทิ้ง นี่แหละมั้ง..“อะไร”บางอย่างที่ทำให้เรารักที่จะทำอาชีพที่สังคมเริ่มกังขาอย่างนี้ได้อีกต่อๆ ไป..

ฉันว่า.. " ฉันเริ่มเรียนรู้เสี้ยวหนึ่งของสิ่งที่หล่อเลี้ยงแพทย์ พยาบาล บุคคลากร(ทางสาธารณสุข).. ให้ทำงานได้ต่อไป แม้จะเหน็ดเหนื่อย แต่ก็เป็นสุขได้.. ในขณะเดียวกัน”


บันทึกของฉันในคืนวันนั้นจบลงเพียงเท่านี้ ..

จวบจนทุกวันนี้ ความประทับใจที่ฝังอยู่ในความทรงจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ครั้งนั้น ก็ได้ให้กำลังใจแก่ฉันทุกครั้งที่เปิดอ่าน ยามใดที่อ่อนล้า เหนื่อยหนักจากหน้าที่และความรับผิดชอบในแต่ละวัน เมื่อได้อ่านข้อความที่บันทึกไว้ ความรู้สึกไร้ค่าที่มีอยู่ก็ดูเบาบางลงไป ยังมีบางสิ่งที่เราทำได้ แม้จะเป็นเพียงเรื่องราวเล็กๆ

ฉันหวังเหลือเกินว่า ต่อไปเมื่อฉันเติบโต และทำหลายสิ่งที่”ยิ่งใหญ่” เหมาะกับความเป็นแพทย์ได้มากขึ้น ฉันจะยังคงระลึกถึง”สิ่งเล็กน้อย”เหล่านี้ได้

ขอบคุณ Progress note; แผ่นกระดาษ และหน้าที่เล็กๆ ที่สอนบทเรียนนี้แก่ฉัน

Progress note ประจำปี

S: ตื่นดี roundทัน ตอนนี้ไม่ใช่แค่ดูแผลแล้ว แต่มาทำแผลกะเค้าด้วย

O: ร่างกายเริ่มออกอาการหย่อนยานเล็กน้อย ทั้งจากอดนอนและขาดออกกำลัง

A&P: โดยรวมแล้วถือว่าพัฒนาไปกว่าปีที่ผ่านมาบ้าง แต่ที่สำคัญต้องอย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองด้วย ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐสำหรับ (หมอ) ทุกคน



นศพ. ภัสรี พัฒนสุวรรณา ชั้นปีที่ 5 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล





Create Date : 28 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 28 พฤศจิกายน 2551 17:56:15 น. 0 comments
Counter : 1479 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]