"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2557
 
30 ตุลาคม 2557
 
All Blogs
 
อริยสัจ 4 (5) - พระพรหมคุณาภรณ์

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


ส่วนผู้พิจารณาความในพระสูตร เฉพาะเหตุการณ์ตอนตรัสรู้วิชชา 3 และจับเฉพาะวิชชาที่ 3 อันเป็นตัวการตรัสรู้แท้ๆ (เฉพาะวิชชา 2 อย่างแรก ยังนับไม่ได้ว่าเป็นการตรัสรู้ และไม่จำเป็นสำหรับนิพพาน) ก็ได้ความหมายว่า ตรัสรู้อริยสัจ 4 จึงหลุดพ้นจากอาสวะ

อย่างไรก็ดี คำตอบทั้งสองนั้นแม้จะถูกต้องทั้งคู่ แต่ก็มีความหมายบางอย่างที่เป็นพิเศษกว่ากัน และขอบเขตบางแง่ที่กว้างขวางกว่ากัน ซึ่งควรทำความเข้าใจ เพื่อมองเห็นเหตุผลในการแยกแสดงเป็นคนละหลัก

ความหมายที่ตรงกันของหลักใหญ่ทั้งสองนี้ มองเห็นได้ง่าย เพื่อความรวบรัด ขอให้ดูหลักอริยสัจ เทียบกับหลักปฏิจจสมุปบาท ดังนี้

1.สมุทยวาร : อวิชชาเกิด สังขารเกิด ฯลฯ ชาติเกิด ชรามรณะ โสกะ ฯลฯ อุปายาส เกิด

2.นิโรธวาร : อวิชชาดับ สังขารดับ ฯลฯ ชาติดับ ชรามรณะ โสกะ ฯลฯ อุปายาส ดับ

ข้อ 1 คือ ปฏิจจสมุปบาทสมุทยวาร แสดง กระบวนการเกิดทุกข์ เท่ากับรวมอริยสัจข้อ 1 (ทุกข์) และ 2 (สมุทัย) ไว้ในข้อเดียวกัน แต่ในอริยสัจ แยกเป็น 2 ข้อ เพราะแยกเอาท่อนท้าย (ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ฯลฯ) ที่เป็นผลปรากฏออกไปตั้งต่างหาก เป็นอริยสัจข้อแรก ในฐานะเป็นปัญหาที่ประสบ ซึ่งจะต้องแก้ไข แล้วจึงย้อนกลับมาหาท่อนที่เป็นกระบวนการทั้งหมด ตั้งเป็นข้อที่ 2 ในฐานะเป็นการสืบสาวหาต้นเหตุของปัญหา

ข้อ 2 คือ ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร แสดง กระบวนการดับทุกข์ เท่ากับ อริยสัจข้อที่ 3 (นิโรธ) แสดงให้เห็นว่า เมื่อแก้ปัญหาถูกต้องตรงสาเหตุแล้ว ปัญหานั้นจะดับไปได้อย่างไรตามแนวทางของเหตุปัจจัย

แม้ว่าโดยตรง ปฏิจจสมุปบาทนัยนี้จะตรงกับอริยสัจข้อที่ 4 แต่ก็ถือว่ากินความรวมถึงอริยสัจข้อที่ 4 ได้ด้วย เพราะกระบวนการดับสลายตัวของปัญหา ย่อมบ่งชี้แนวทางดำเนินการ หรือวิธีการทั่วไป ที่จะต้องลงมือปฏิบัติ ในการจัดการแก้ปัญหานั้นไปด้วยในตัว กล่าวคือชี้ให้เห็นว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ณ จุดใดๆ

เมื่อสรุปอริยสัจ ให้เหลือน้อยลงอีก ก็ได้ 2 ข้อ คือ


- ฝ่ายมีทุกข์ (ข้อ 1 และ 2) กับ
- ฝ่ายหมดทุกข์ (ข้อ 3 และ 4)

ปฏิจจสมุปบาท 2 นัยนั้น ในที่บางแห่ง เป็นคำจำกัดความของอริยสัจข้อที่ 2 และ 3 ตามลำดับ คือ

- ปฏิจจสมุปบาท สมุทยวาร ถือเป็นคำจำกัดความของอริยสัจ ข้อที่ 2 (สมุทัย)
- ปฏิจจสมุปบาท นิโรธวาร เป็นคำจำกัดความของอริยสัจ ข้อที่ 3 (นิโรธ)

แต่ในคำจำกัดความข้างต้น แสดงเฉพาะตัณหาอย่างเดียว ว่าเป็นสมุทัย และการดับตัณหา ว่าเป็นนิโรธ ทั้งนี้ เพราะตัณหาเป็นกิเลสตัวเด่น เป็นตัวแสดงที่ปรากฏชัด หรือเป็นขั้นออกโรงแสดงบทบาท จึงจับเอาเป็นจุดที่พุ่งความสนใจ อย่างไรก็ดี กระบวนการที่พร้อมทั้งโรง รวมถึงหลังฉาก หรือหลังเวทีด้วย ย่อมเป็นไปตามกระบวนการปฏิจจสมุปบาทนั้นเอง

ส่วนแง่ที่ปฏิจจสมุปบาท กับอริยสัจ พิเศษ หรือแปลกจากกัน พอสรุปได้ดังนี้

1.หลักธรรมทั้งสอง เป็นการแสดงความจริงในรูปแบบที่ต่างกัน ด้วยวัตถุประสงค์คนละอย่าง

- ปฏิจสมุปบาท แสดงความจริง ตามกระบวนการของมันเอง ตามที่เป็นไปโดยธรรมชาติล้วนๆ

- อริยสัจ เป็นหลักความจริง ในรูปแบบที่เสนอตัวต่อปัญญามนุษย์ ในการที่จะสืบสวนค้นคว้า และทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติ

โดยนัยนี้ อริยสัจ จึงเป็นหลักธรรมที่แสดงโดยสอดคล้องกับประวัติการแสวงหาสัจธรรมของพระพุทธเจ้า เริ่มแต่การเผชิญความทุกข์ ที่ปรากฏเป็นปัญหา แล้วสืบสาวหาสาเหตุ พบว่ามีทางแก้ไข ไม่หมดหวัง จึงกำหนดรายละเอียด หรือจุดที่ต้องแก้ไข และกำหนดเป้าหมายให้ชัด แล้วดำเนินการแก้ไขตามวิธีการ จนบรรลุเป้าหมายที่ต้องการนั้น

แล้วโดยนัยเดียวกัน จึงเป็นหลักธรรมที่ยกขึ้นมาใช้ในการสั่งสอน เพื่อให้ผู้รับคำสอนทำความเข้าใจอย่างมีระเบียบ มุ่งให้เกิดผลสำเร็จทั้งการสั่งสอนของผู้สอน และการประพฤติปฏิบัติของผู้รับคำสอน

ส่วนปฏิจจสมุปบาท เป็นตัวกระบวนธรรมแกนกลางของอริยสัจ และเป็นเนื้อหาทางวิชาการ ที่จะต้องศึกษา ในเมื่อต้องการเข้าใจอริยสัจให้ชัดเจนถึงที่สุด จึงเป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาทบทวนหลังจากตรัสรู้ใหม่ๆ

1.ข้อที่แปลก หรือพิเศษกว่ากัน อย่างสำคัญ อยู่ที่ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาร ซึ่งตรงกับอริยสัจ ข้อที่ 3 และ 4 (นิโรธ และมรรค)

หน้า 27

     

ขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์

กราบนมัสการขอบพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ 

สวัสดิ์สิริชีววารค่ะ




Create Date : 30 ตุลาคม 2557
Last Update : 30 ตุลาคม 2557 17:53:57 น. 0 comments
Counter : 306 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.