"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
 
เมษายน 2557
 
25 เมษายน 2557
 
All Blogs
 
วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม (32) - พระพรหมคุณาภรณ์

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


8.พึงพิจารณาแบบจำแนกแยกธาตุ ให้มองเห็นความจริงว่า ที่คิดโกรธวุ่นวายกันไป ความจริงก็มีแต่สิ่งสมมติ คิดว่าเป็นสัตว์บุคคล เป็นผู้นั้นผู้นี้ ที่จริงมีแต่อาการ 32 เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง มีแต่ธาตุต่างๆ มีแต่ขันธ์ 5 มีแต่อายตนะ 12 มาประชุมกัน จะโกรธอะไร ส่วนไหน ความโกรธนั้นไม่มีฐานที่ตั้งอะไรเลย; ถ้าพิจารณาแง่นี้แล้ว ยังไม่หายโกรธ

9.พึงแสดงออกภายนอก ในทางปฏิบัติ ด้วยการให้สิ่งของ คือ หาสิ่งของมาให้แสดงไมตรีจิต และรับของให้ตอบแทนแก่กัน เพราะทานช่วยให้คนใจอ่อนโยนเข้าหากัน และพูดจากัน พ่วงเอาปิยวาจามาด้วย จึงเป็นเครื่องระงับอาฆาตที่ได้ผลยิ่ง

เท่าที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงตัวอย่างแสดงให้เห็นแนววิธีพิจารณา ที่จัดอยู่ในพวกโยนิโสมนสิการแบบเร้ากุศล เป็นตัวอย่างวิธีพิจารณาที่ใช้ได้ทั่วๆ ไปบ้าง ใช้ได้กับกุศลธรรมเฉพาะอย่างบ้าง ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า เมื่อเข้าใจหลักการและแนววิธีทั่วๆ ไปดีแล้ว

ผู้ฉลาดในอุบาย อาจคิดค้นปรุงแต่งรายละเอียดแบบต่างๆ ของวิธีคิดแบบนี้ได้เพิ่มมากขึ้น เพื่อใช้ให้เหมาะสมกับการสร้างเสริมกุศลหรือคุณธรรมเฉพาะแต่ละอย่าง และสอดคล้องทันกับกระบวนความคิดของมนุษย์ในกาลสมัยนั้นๆ อันจะทำให้ใช้ปฏิบัติได้ผลดียิ่งขึ้น

กล่าวได้ว่า วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรมนี้ เป็นวิธีที่เปิดกว้างที่สุดสำหรับการขยายดัดแปลง และสรรหาวิธีการปลีกย่อยต่างๆ มาใช้ได้อย่างมากมายกว้างขวาง สุดแต่จะให้ได้ผลดีแก่จริต อัธยาศัยของบุคคลที่แตกต่างกัน และเข้ากับสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงแปลกกันไปตามถิ่นฐานกาลสมัย

นอกจากหลักการทั่วไปที่กล่าวข้างต้นแล้ว ควรกล่าวย้ำถึง องค์ประกอบสำคัญที่คอยพยุงความคิดให้อยู่ในโยนิโสมนสิการ อันได้แก่สติ

สติช่วยยั้งหยุดความคิดที่หลงลอยไปเป็นอโยนิโสมนสิการ และช่วยเหนี่ยวรั้งหรือดึงให้กลับมาตั้งต้นในแนวทางของโยนิโสมนสิการได้ใหม่ จึงเป็นองค์ธรรมที่ผู้มีโยนิโสมนสิการจะต้องใช้อยู่เรื่อยไป

อนึ่ง โยนิโสมนสิการแบบต่างๆ ซึ่งสรุปได้เป็น 2 คือ โยนิโสมนสิการเพื่อความรู้ตามสภาวะ และโยนิโสมนสิการเพื่อเสริมสร้างกุศลธรรมนั้น มีจุดแยกอยู่ที่ขณะตั้งต้นความคิด และสติอาจมีบทบาทสำคัญในการเลือกทางแยกที่จุดตั้งต้นระหว่างโยนิโสมนสิการแบบต่างๆ นี้ เช่นเดียวกับที่สติสามารถเลือกระหว่างโยนิโสมนสิการกับอโยนิโสมนสิการ

ดังเช่นว่า เมื่อรับรู้อารมณ์แล้ว มีสติกำหนดมุ่งเพื่อจะรู้ตามความเป็นจริง ก็เข้าแนวโยนิโสมนสิการเพื่อความรู้ตามสภาวะ แต่ถ้าสติกำหนดกุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นที่หมาย หรือระลึกถึงภาพความคิดที่ดีงามบางอย่างไว้ในใจ ก็เดินเข้าสู่โยนิโสมนสิการเพื่อเสริมสร้างกุศลธรรม

โยนิโสมนสิการเพื่อรู้ตามสภาวะนั้น ขึ้นต่อความจริงที่เป็นไปอยู่ตามธรรมดา จึงมีลักษณะแน่นอนเป็นอย่างเดียว ส่วนโยนิโสมนสิการเพื่อเสริมสร้างกุศลธรรม ยังเป็นเรื่องของการปรุงแต่งในใจตามวิสัยของสังขาร จึงมีลักษณะแผกผันไปได้หลากหลาย


9.วิธีคิดแบบอยู่กับปัจจุบัน

วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน หรือวิธีคิดแบบมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ เรียกสั้นๆ ว่า วิธีคิดแบบอยู่กับปัจจุบัน อันจัดเป็นวิธีคิดแบบที่ 9 นี้ เป็นเพียงการมองอีกด้านหนึ่งของการคิด แบบอื่นๆ จะว่าแทรกหรือคลุมวิธีคิดแบบก่อนๆ ที่กล่าวมาแล้ว ก็ได้ แต่ที่แยกออกมาแสดงเป็นอีกข้อหนึ่งต่างหาก ก็เพราะมีแง่ที่ควรทำความเข้าใจพิเศษ และมีความสำคัญโดยลำพังตัวของมันเอง

อนึ่ง วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบันนี้ มีเนื้อหารวมอยู่ในสติปัฏฐาน 4 ซึ่งจะกล่าวถึงในองค์มรรคข้อที่ 7 คือ สัมมาสติด้วย แต่ที่แยกบรรยาย ก็เพราะเพ่งความหมายคนละแง่ กล่าวคือ ในสติปัฏฐาน การบรรยายเพ่งถึงการตั้งสติระลึกรู้เต็มตื่นอยู่กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น กำลังเป็นไปอยู่ กำลังรับรู้ หรือกำลังกระทำในปัจจุบันทันทุกๆ ขณะ ส่วนในที่นี้ การบรรยายเพ่งถึงการใช้ความคิด และเนื้อหาของความคิด ที่สติระลึกรู้กำหนดอยู่นั้น

ข้อที่จะต้องทำความเข้าใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับวิธีคิดแบบนี้ ก็คือ การที่มีผู้เข้าใจผิดเกี่ยวกับความหมายของการเป็นอยู่ในปัจจุบัน หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ โดยเห็นไปว่า พระพุทธศาสนาสอนให้คิดถึงสิ่งที่อยู่เฉพาะหน้า กำลังเป็นไปในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้คิดพิจารณา เกี่ยวกับอดีตหรืออนาคต ตลอดจนไม่ให้คิดเตรียมการหรือวางแผนงานเพื่อกาลภายหน้า

หน้า 27


ขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์

กราบนมัสการขอบพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์

สิริสวัสดิ์ศุกรวารค่ะ




Create Date : 25 เมษายน 2557
Last Update : 25 เมษายน 2557 10:19:57 น. 0 comments
Counter : 549 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.