"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
 
เมษายน 2557
 
17 เมษายน 2557
 
All Blogs
 
วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม (26) - พระพรหมคุณาภรณ์

คอลัมน์ พระพรหมคุณาภรณ์
(ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


"เรานี้เอง ครั้งก่อน เมื่อยังเป็นผู้ครองเรือนอยู่ เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณทั้งห้า บำรุงบำเรอตน...ต่อมา เรานั้นทราบตามเป็นจริง ซึ่งเหตุเกิดขึ้น ซึ่งความดำรงอยู่ไม่ได้ ซึ่งส่วนดี ซึ่งส่วนเสีย และซึ่งทางออก ของกามทั้งหลาย จึงละกามตัณหา บรรเทาความเร่าร้อนกาม ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบภายใน เป็นอยู่"

"เรานั้น มองเห็นสัตว์เหล่าอื่น ผู้ยังไม่หมดราคะในกามทั้งหลาย ถูกกามตัณหาชอนไช ถูกความเร่าร้อนกามเร้ารุน เสพกามอยู่ เราก็หาใฝ่ทะยานต่อสัตว์เหล่านั้น หาพลอยอภิรมย์ในกามเหล่านั้นไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? ก็เพราะเรารื่นรมย์อยู่ด้วยความชื่นชมยินดี ที่ไม่ต้องมีกาม ไม่ต้องมีอกุศลธรรม จึงไม่ใฝ่ทะยานต่อความสุขที่ทรามกว่า ไม่นึกอภิรมย์ในความสุขที่ทรามกว่านั้น"

"ดูกรมหานาม ก่อนสัมโพธิ เมื่อยังเป็นโพธิสัตว์ ผู้ยังมิได้ตรัสรู้ เราได้เห็นเป็นอย่างดีด้วยสัมมาปัญญา ตามเป็นจริงว่า กามทั้งหลายมีอัสสาทะน้อย มีทุกข์มาก มีความคับข้องมาก อาทีนวะในกามนี้ยิ่งนัก แต่เรานั้นยังมิได้ประสบปีติสุข ที่ไม่อาศัยกาม ไม่ต้องมีอกุศลธรรมทั้งหลาย หรือปีติสุขอื่นที่ประณีตยิ่งกว่านั้น เราก็ยังปฏิญาณ (ยืนยัน) มิได้ก่อนว่า จะเป็นผู้ไม่วกเวียนมาหากามทั้งหลาย"

"แต่เมื่อใด เราได้มองเห็นอย่างดีด้วยสัมมาปัญญา ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามทั้งหลายมีอัสสาทะน้อย...และเรานั้น ได้ประสบปีติสุข อันปลอดจากกาม ปลอดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย พร้อมทั้งปีติสุขอื่นที่ประณีตยิ่งกว่านั้น เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณได้ว่า เป็นผู้ไม่วกเวียนมาหากามทั้งหลาย"

นี้เป็นตัวอย่างความจากบาลี พอเป็นเครื่องแสดงให้เห็นแนวความคิดแบบนี้ วิธีคิดแบบนี้ ใช้ได้กับเรื่องทั่วๆ ไป แม้แต่ข้อธรรม เช่น ในปฏิสัมภิทามัคค์ กล่าวถึงอัสสาทะ และอาทีนวะของอินทรีย์ 5

ดังเช่นที่ว่า ความไม่ปรากฏแห่งอุทธัจจะ ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ ความแกล้วกล้าเนื่องจากการดำเนินชีวิตโดยไม่ฟุ้งซ่าน และการประสบสุขวิหารธรรมอันประณีต เป็นอัสสาทะของสมาธิ การที่อุทธัจจะยังปรากฏขึ้นได้ การที่ความเร่าร้อนเนื่องจากอุทธัจจะยังปรากฏได้ ภาวะที่ยังเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นอาทีนวะของสมาธิ ดังนี้เป็นต้น

ในทางปฏิบัติระดับชีวิตประจำวัน โดยมากเป็นเพียงการเลือกระหว่างสิ่งที่มีโทษมากคุณน้อย กับสิ่งที่มีคุณมากโทษน้อย หรือแม้ได้นิสสรณะ ก็มักเป็นนิสสรณะแบบสัมพัทธ์ คือทางออกที่ดีที่สุดในกรณีนั้นๆ

ในภาวะเช่นนี้ ก็ไม่ควรลืมใช้วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก คือ ควรยอมรับส่วนดีของสิ่งหรือข้อปฏิบัติที่ตนละเว้น และไม่ควรมองข้ามเป็นอันขาด ซึ่งโทษ ข้อบกพร่อง จุดอ่อน ส่วนเสีย หรือช่องทางที่จะเสียของสิ่งหรือข้อปฏิบัติที่ตนเลือกรับเอา

การคิดมองตามความเป็นจริงเช่นนี้ จะทำให้ปฏิบัติได้ถูกต้องที่สุด มีความไม่ประมาท อาจนำเอาส่วนดีของสิ่งที่ตนละเว้นมาใช้ประโยชน์ได้ และสามารถหลีกเลี่ยง หรือมีโอกาสแก้ไขส่วนเสียส่วนบกพร่องที่ติดมากับสิ่งหรือข้อปฏิบัติที่ตนเลือกรับเอานั้นได้ด้วย.

ในการสั่งสอน ตัวอย่างแสดงแนวคิดแบบรู้ทันคุณโทษและทางออกนี้ ก็คือพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า อนุบุพพิกถา ซึ่งเป็นแนวการสอนธรรมแบบหลัก ที่ทรงใช้ทั่วไป หรือใช้เป็นประจำ โดยเฉพาะก่อนทรงแสดงอริยสัจ 4

อนุบุพพิกถา นั้น กล่าวถึงการครองชีวิตดีงามโอบอ้อมอารีช่วยเหลือกัน ดำรงตนในสุจริต ที่เรียกว่าทาน และศีล แล้วแสดงชีวิตที่มีความสุขความเอิบอิ่มพรั่งพร้อม ที่เป็นผลของการครองชีวิตดีงามเช่นนั้น เรียกว่า สัคคะ

จากนั้น แสดงแง่เสีย ข้อบกพร่อง โทษ ความไม่สมบูรณ์เพียงพอของความสุข ความพรั่งพร้อมเช่นนั้น เรียกว่ากามาทีนวะ และในที่สุด แสดงทางออก พร้อมทั้งผลดีต่างๆ ของทางออกนั้น เรียกว่าเนกขัมมานิสังสะ เมื่อผู้ฟังมองเห็นผลดีของทางออกนั้นแล้ว จึงทรงแสดงอริยสัจ 4 ต่อท้าย เป็นตอนจบ


7. วิธีคิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม

วิธีคิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม หรือ การพิจารณาเกี่ยวกับปฏิเสวนา คือ การใช้สอย หรือบริโภค เป็นวิธีคิดแบบสกัด หรือบรรเทาตัณหา เป็นขั้นฝึกหัดขัดเกลากิเลส หรือตัดทางไม่ให้กิเลสเข้ามาครอบงำจิตใจแล้วชักจูงพฤติกรรมต่อๆ ไป

หน้า 27


ขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์

กราบนมัสการขอบพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์

สวัสดิ์สิริชีววารค่ะ




Create Date : 17 เมษายน 2557
Last Update : 17 เมษายน 2557 10:50:44 น. 0 comments
Counter : 511 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.