"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2557
 
26 มิถุนายน 2557
 
All Blogs
 
การให้ผลของกรรม (6) - พระพรหมคุณาภรณ์

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


เมื่อเจตนาที่ประกอบด้วยกุศลหรืออกุศลเกิดขึ้นในใจ ก็เป็นอันว่ากิจกรรมของจิตได้เริ่มต้นแล้ว จิตได้มีการเคลื่อนไหวหรือไหวตัวแล้ว เราอาจเลียนศัพท์ฝ่ายวัตถุมาใช้ และเรียกอาการนี้ว่าพลังแห่งเจตจำนง ได้เกิดขึ้นแล้ว

พลังนี้เป็นไปอย่างไร มีกระบวนการทำงานในระหว่างอย่างไร โดยอาศัยปัจจัยอื่นๆ อะไรอีกบ้าง เรามักไม่สู้เข้าใจ และไม่ใส่ใจที่จะรู้ แต่มักสนใจเฉพาะผลข้างปลายที่ปรากฏสำเร็จรูปออกมาแล้ว

โดยเฉพาะพลังแห่งเจตจำนง ที่แสดงผลออกไปในโลกแห่งวัตถุ และในสังคมมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่มองเห็นได้ชัด และพูดถึงได้ง่าย ผลสำเร็จแห่งพลังเจตจำนง ในโลกฝ่ายวัตถุมีตัวอย่างมากมาย โดยเฉพาะสิ่งประดิษฐ์ทั้งหลาย ตั้งแต่รองเท้าไปจนถึงยานอวกาศสู่ดวงดาวต่างๆ ตั้งแต่ขวานหินจนถึงระเบิดนิวเคลียร์ ตั้งแต่ไม้นับคะแนนจนถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

หรือในทางสังคม เช่น ระบบ ระบอบ และสถาบันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบอบการปกครองแบบต่างๆ ก็ตาม ระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ ก็ตาม สถาบันต่างๆ ของสังคมก็ตาม การจัดระเบียบกลไกการบริหารการปกครองรัฐ การจัดรูปองค์กรและระบบงานต่างๆ เป็นต้น

เป็นที่รู้กันดีว่าสิ่งเหล่านี้มีความละเอียดซับซ้อนยิ่งนัก ความข้อนี้ย่อมเป็นเครื่องส่องแสดงว่ากระบวนการแห่งเจตจำนง พร้อมด้วยกลไกของจิต ที่เป็นเวทีแสดง หรือเป็นโรงงานของมัน จะต้องมีความละเอียดซับซ้อนเป็นอย่างยิ่ง อย่างน้อยก็ไม่ด้อยไปกว่าระบบ ระบอบ หรือสิ่งประดิษฐ์ชนิดละเอียดซับซ้อนที่สุดที่มันเองได้คิดสร้างสรรค์ขึ้น

เรามีความรู้ที่นับได้ว่าดีมาก เกี่ยวกับความเป็นมาของสิ่งประดิษฐ์หรือระบบแบบแผนบางอย่าง ที่จิตอาศัยเจตจำนง สร้างสรรค์ขึ้น ว่าได้ดำเนินมาแต่แรกคิดจนสำเร็จผลอย่างไร แต่ในด้านสภาวะของชีวิตจิตใจอันเป็นที่อาศัยของเจตจำนงนั้น พร้อมทั้งวิถีความเป็นไปของชีวิตจิตใจที่ถูกเจตจำนงนั้นปรุงแต่ง

กระบวนการปรุงแต่งจะดำเนินไปอย่างไรบ้าง เรากลับมีความรู้น้อยเหลือเกิน อาจพูดได้ว่ายังเป็นความลับอันมืดมนสำหรับมนุษย์ทั่วไป ทั้งที่ความเป็นไปของชีวิตนั้นเป็นเรื่องของตัวเอง ที่เกี่ยวข้องใกล้ชิด มีส่วนได้ส่วนเสียมากที่สุด

ด้วยเหตุที่มีความมืดมัวไม่รู้เช่นนี้ เมื่อประสบภาวะหรือสถานการณ์ที่เป็นผลข้างปลายของการปรุงแต่ง มนุษย์จึงมักจับเหตุจับผลต้นปลายชนกันไม่ติด มองปัจจัยทั้งหลายที่เกี่ยวข้องไม่เห็นหรือไม่ทั่วถึง แล้วกล่าวโทษสิ่งโน้นสิ่งนี้ พานไม่ยอมรับกฎแห่งกรรม

ซึ่งก็คือไม่เชื่อกฎแห่งเหตุและผล หรือความเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัยนั่นเอง และการไม่ยอมรับก็ดี การมัวกล่าวโทษสิ่งโน้นสิ่งนี้ก็ดี ก็เป็นการทำกรรมขึ้นอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งจะมีผลเสียติดตามมา คือ การสูญเสียโอกาสที่จะแก้ไขปรับปรุงตน และการดัดแปลงแต่งแก้กระบวนวิธีที่จะทำผลให้สำเร็จตามต้องการ หรือหนักกว่านั้น อาจพาลพาโลด้วยโทสะ ทำกรรมร้ายอื่นที่มีผลเสียรุนแรงยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ดี ท่านยอมรับว่ากระบวนการให้ผลของกรรมนี้เป็นเรื่องละเอียดซับซ้อนยิ่ง พ้นวิสัยแห่งความคิด ไม่อาจคิดให้เห็นแจ่มแจ้ง บาลีจัดเป็นอจินไตย คือ สิ่งที่ไม่พึงคิดอย่างหนึ่ง ท่านว่าถ้าขืนครุ่นคิดก็มีส่วนที่จะอัดอั้นเป็นบ้า

ที่ท่านว่าอย่างนี้ มิใช่หมายความว่าพระพุทธเจ้าทรงห้ามไม่ให้เราคิด เพียงแต่ทรงแสดงความจริงไปตามธรรมดาว่า เรื่องนี้คิดเอาไม่ได้ หรือไม่อาจจะเข้าใจได้สำเร็จด้วยการคิดหาเหตุผล แต่เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ด้วยการรู้ และเมื่อคิดไปจะเกิดเป็นบ้าขึ้น ก็มิใช่เป็นเพราะพระพุทธเจ้าหรือใครลงโทษหรือทำให้บ้า แต่ผู้คิดเป็นบ้าไปตามธรรมดาของเขาเอง เพราะคิดอัดอั้นตันวุ่นไป

ถึงแม้จะเป็นอจินไตย ก็มิใช่ว่าเราจะแตะต้องไม่ได้ แง่ที่เราเกี่ยวข้องได้ ก็คือเกี่ยวข้องด้วยความรู้และเท่าที่เรารู้ แล้วมีความมั่นใจตามแนวความรู้นั้น โดยศึกษาพิจารณาสิ่งที่เราตามดูรู้เห็นได้ คือสิ่งที่กำลังเป็นไปอยู่จริงในปัจจุบัน จากส่วนย่อยหรือจุดเล็กที่สุดขยายออกไป

ได้แก่ กระบวนการแห่งความคิด หรือเจตจำนง ที่กล่าวมาแล้วนั้น เริ่มตั้งแต่ให้เห็นว่า เมื่อคิดดีเป็นกุศล ก็เกิดเป็นผลดีแก่ชีวิตจิตใจอย่างไร เมื่อคิดร้ายเป็นอกุศล เกิดเป็นผลร้าย ทำให้ชีวิตจิตใจเสียหายอย่างไร ผลนั้นออกไปภายนอก สู่ผู้อื่น สู่สังคม สู่โลก ในทางดีไม่ดีอย่างไร แล้วสะท้อนกลับเข้ามาหาตัวอีกในทางดีร้ายอย่างไร

หน้า 27


ขอบคุณ ข่วสดออนไลน์

กราบนมัสการขอบพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์

สวัสดิ์สิรชีววารค่ะ




Create Date : 26 มิถุนายน 2557
Last Update : 26 มิถุนายน 2557 10:14:37 น. 0 comments
Counter : 489 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.