"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
 
เมษายน 2557
 
29 เมษายน 2557
 
All Blogs
 
วิธีคิดตามหลัก พุทธธรรม (34) - พระพรหมคุณาภรณ์

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)




ความหมายแง่ต่างๆ เหล่านี้จะมองเห็นได้จากพุทธพจน์ ที่จะยกมาแสดงในที่นี้ แม้แต่พุทธพจน์ที่ตรัสแนะนำไม่ให้รำพึงหลัง ไม่ให้เพ้อหวังอนาคต ก็เป็นการตัดความรู้สึกฝ่ายนั้นออกไป โดยอยู่กับความตระหนักรู้ภาวะที่เป็นจริงในการทำกิจหน้าที่ ดังจะขอให้สังเกตจากบาลีที่ยกมาอ้างต่อไปนี้

"ไม่พึงหวนละห้อยถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่พึงเพ้อหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง, สิ่งใดเป็นอดีต สิ่งนั้นก็ล่วงเลยไปแล้ว สิ่งใดเป็นอนาคต สิ่งนั้นก็ยังไม่ถึง; ส่วนผู้ใดมองเห็นแจ้งชัด ซึ่งสิ่งที่เป็นปัจจุบันในกรณีนั้นๆ อันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ครั้นรู้ชัดแล้ว พึงบำเพ็ญสิ่งนั้น"

"ควรทำความเพียรเสียแต่วันนี้ ใครเล่ารู้ได้ว่าจะตายในวันพรุ่ง, กับพญามัจจุราชแม่ทัพใหญ่นั้น ไม่มีการผัดเพี้ยนได้เลย"

"ผู้ที่เป็นอยู่อย่างนี้ มีความเพียร ไม่ซึมเซาทั้งคืนวัน พระ สันตมุนีทรงเรียนขานว่า ผู้มีแต่ละวันเจริญดี"

อีกแห่งหนึ่งว่า

"ผู้ถึงธรรม ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มา ดำรงอยู่ด้วยสิ่งที่เป็นปัจจุบัน ฉะนั้นผิวพรรณจึงผ่องใส"

ส่วนเหล่าชนที่อ่อนปัญญา เฝ้าแต่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มา ละห้อยหาสิ่งที่ล่วงแล้ว จึงซูบซีดหม่นหมอง เหมือนต้นอ้อสด ที่เขาถอนทึ้งขึ้นทิ้งไว้ที่ในกลางแดด

พึงสังเกตการวางท่าทีของจิตใจเกี่ยวกับกาลเวลา ในแง่ที่ไม่เป็นไปตามอำนาจตัณหา ตามบาลีข้างต้นนี้ แล้วเทียบกับการปฏิบัติต่ออนาคตด้วยปัญญา ที่ใช้บำเพ็ญกิจตามบาลีข้อต่อๆ ไป เริ่มตั้งแต่คำสอนเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน ไปจนถึงการบำเพ็ญกิจของพระภิกษุ และเริ่มแต่การบำเพ็ญกิจส่วนตัว ไปจนถึงความรับผิดชอบต่อกิจการของส่วนรวม" ดังนี้

"พึงระแวงสิ่งที่ควรระแวง พึงป้องกันภัยที่ยังไม่มาถึง, ธีรชนตรวจตราโลกทั้งสอง เพราะคำนึงภัยที่ยังไม่มาถึง"

"เป็นคนควรหวังเรื่อยไป บัณฑิตไม่ควรท้อแท้ เราเห็นประจักษ์มากับตนเอง เราปรารถนาอย่างใด ก็ได้สมตามนั้น"

"เธอทั้งหลาย จงยังกิจ (ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น) ให้สำเร็จ ด้วยความไม่ประมาท"

ตัวอย่างการคำนึงอนาคตแล้วปฏิบัติตนเองของพระภิกษุ

"ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมองเห็นภัยอนาคต 5 ประการต่อไปนี้ ย่อมควรแท้ที่ภิกษุจะเป็นอยู่ โดยเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศตัวเด็ดเดี่ยว เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อเข้าถึงธรรมที่ยังไม่เข้าถึง เพื่อประจักษ์แจ้งธรรมที่ยังไม่ประจักษ์แจ้ง" 5 ประการ คืออะไร? ได้แก่

(1) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นดังนี้ว่า : เวลานี้ เรายังหนุ่ม ยังเยาว์ มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความหนุ่มแน่นยามปฐมวัย แต่ก็จะมีคราวสมัยที่ความชราจะเข้าต้องกายนี้ได้ ก็แลการที่คนแก่เฒ่า ถูกชราครอบงำแล้ว จะมนสิการคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย

ย่อมมิใช่จะทำได้โดยง่าย การที่จะเสพอาศัยเสนาสนะอันสงัดในราวป่าแดนไพร ก็มิใช่จะทำได้โดยง่าย อย่ากระนั้นเลย ก่อนที่สภาพอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าชอบใจ ไม่น่าพึงใจนั้น จะมาถึง เราเร่งเริ่มระดมความเพียรเสียก่อนเถิด เพื่อจะได้บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ...ซึ่งเมื่อเรามีพร้อมแล้ว แม้จะแก่เฒ่าลง ก็จักเป็นอยู่ผาสุก...


(2) อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นดังนี้ว่า : เวลานี้ เรามีอาพาธน้อย มีความเจ็บไข้น้อย ประกอบด้วยแรงไฟเผาผลาญย่อยอาหารที่สม่ำเสมอ ไม่เย็นเกินไป ไม่ร้อนเกินไป พอดี เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร แต่ก็จะมีคราวสมัยที่ความเจ็บไข้จะเข้าต้องกายนี้ได้ ฯลฯ เราจะเร่งเริ่มระดมความเพียร...แม้เจ็บไข้ ก็จักเป็นอยู่ผาสุก...


(3) อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นดังนี้ว่า : เวลานี้ ข้าวยังดี บิณฑบาตหาได้ง่าย การยังชีพด้วยการอุ้มบาตรเที่ยวไป ก็ยังทำได้ง่าย แต่ก็จะมีคราวสมัยที่อาหารขาดแคลน ข้าวไม่ดี หาบิณฑบาตได้ยาก การยังชีพด้วยการอุ้มบาตรเที่ยวไป มิใช่ทำได้ง่าย พวกประชาชนในที่หาอาหารได้ยาก ก็จะอพยพไปยังถิ่นที่หาอาหารได้ง่าย

วัดในถิ่นนั้นก็จะเป็นที่คับคั่งจอแจ ก็เมื่อวัดคับคั่งจอแจ การที่จะมนสิการคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย ย่อมมิใช่จะทำได้ง่าย การที่จะเข้าเสพอาศัยเสนาสนะอันสงัดในราวป่าแดนไพร ก็มิใช่จะทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย ฯลฯ เราจะเร่งเริ่มระดมความเพียร...แม้อาหารขาดแคลน ก็จักเป็นอยู่ผาสุก...

หน้า 27
 

ขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์

กราบนมัสการขอบพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์

สิริสวัสดิ์ภุมวารค่ะ    




Create Date : 29 เมษายน 2557
Last Update : 29 เมษายน 2557 12:48:14 น. 0 comments
Counter : 699 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.