"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2557
 
11 กรกฏาคม 2557
 
All Blogs
 
การให้ผลของกรรม (17) - พระพรหมคุณาภรณ์

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


เมื่อใช้เป็นศัพท์ในทางธรรม ปฏิกรรมมีสาระสำคัญ คือ ยอมรับความผิดพลาดที่ได้ทำไปแล้ว ละเลิกบาปอกุศลหรือการกระทำผิดพลาดเสียหายที่เคยทำนั้น เปลี่ยนไปทำกรรมที่ดีแทน หรือหันกลับจากความชั่วร้าย มาทำความดีงามถูกต้อง ทำบุญกุศล แก้ไขปรับปรุงตน เปลี่ยนแปรกรรมจากการทำความชั่วมาทำความดี ตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่อง เพื่อก้าวขึ้นไปสู่ความถูกต้องสมบูรณ์

ในพระธรรมวินัยนี้ สำหรับพระสงฆ์ พระพุทธเจ้าทรงนำหลักปฏิกรรมมาวางเป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งกำหนดเป็นวินัยที่มีผลบังคับให้ต้องปฏิบัติ จัดเป็นวินัยบัญญัติ 2 เรื่อง คือ อาปัตติปฏิกรรม และปวารณากรรม พร้อมกันนั้น ในวงกว้างออกไป สำหรับทุกคน

ไม่ว่าบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ ทรงเน้นย้ำให้บำเพ็ญปฏิกรรม ที่มากับความสำนึกและสารภาพความผิด (เรียกว่า อัจจยเทศนา) ถือว่าเป็นหลักปฏิบัติในแบบแผนของอารยชน (อริยวินัย)

รวมเป็นหลักปฏิกรรม ที่เป็นระบบวิธีปฏิบัติทางสังคมขั้นพื้นฐานในพระธรรมวินัยนี้ 3 ประการ คือ

1.อาปัตติปฏิกรรม ซึ่งแปลกันว่า การทำคืนอาบัติ หรือปลงอาบัติ เป็นวินัยบัญญัติ (สำหรับพระสงฆ์) มีสาระสำคัญว่า ทำความผิดแล้ว ก็รู้ตัว เปิดเผยความผิดนั้น และบอกว่าเลิกละ จะไม่ทำอีก คือการที่ภิกษุหรือภิกษุณีบอกแจ้งความผิดของตน เพื่อจะสังวรต่อไป

ทั้งนี้ แม้แต่แค่สงสัย ท่านก็วางวิธีปฏิบัติไว้ให้ ดังเช่น เมื่อถึงวันอุโบสถ ภิกษุรูปหนึ่งเกิดความสงสัยว่าตนอาจจะได้ต้องอาบัติ ก็บอกแจ้งแก่ภิกษุอื่นรูปหนึ่งว่า (เช่น วินย.4/186/246) "อหํ อาวุโส อิตฺถนฺนามาย อาปตฺติยา เวมติโก, ยทา นิพฺเพมติโก ภวิสฺสามิ, ตทา ตํ อาปตฺตึ ปฏิกฺริสฺสามิ"

(ท่านครับ ผมมีความสงสัยในอาบัติชื่อนี้ หายสงสัยเมื่อใด จักปฏิกรรมอาบัตินั้น เมื่อนั้น; รูปกริยาของปฏิกรรม คือ "ปฏิกร~" นิยมแปลกันมาว่า "ทำคืน" ในที่นี้ แปลทับศัพท์ว่า "ปฏิกรรม" เพื่อให้เห็นชัด)

2.ปวารณากรรม คือ การบอกเปิดโอกาสเชื้อเชิญให้ว่ากล่าวตักเตือน เป็นวินัยบัญญัติ (สำหรับพระสงฆ์) เป็นสังฆกรรมประจำปีตอนจบการจำพรรษา เรียกสั้นๆ ว่า "ปวารณา" มีหลักการว่า หลังจากอยู่ร่วมกันมาตลอดพรรษา ภิกษุหรือภิกษุณีทั้งหลายประชุมกัน และแต่ละรูปกล่าวคำเปิดโอกาสหรือเชิญชวนแก่ที่ประชุมโดยมีสาระว่า

ตามที่ได้อยู่ร่วมกันมาถึงบัดนี้ ถ้าได้เห็น ได้ยิน หรือมีเหตุให้น่าระแวงสงสัยว่าตนได้ผิดพลาดบกพร่องทำอะไรเสียหาย ก็ขอให้บอก ขอให้ว่ากล่าว เมื่อมองเห็นแล้ว ก็จะได้ปฏิกรรม ทำการแก้ไข

เริ่มด้วยรูปที่เป็นผู้ใหญ่ที่สุดว่า (วินย.4/226/314) "สงฺฆํ อาวุโส ปวาเรมิ ทิฏฺเฐน วา สุเตน วา ปริสงฺกาย วา, วทนฺตุ มํ อายสฺมนฺโต อนุกมฺปํ อุปาทาย, ปสฺสนฺโต ปฏิกฺริสฺ สามิ" (เธอทั้งหลาย ฉันปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่ จักปฏิกรรม)

3.อัจจยเทศนา เป็นหลักปฏิบัติอย่างหนึ่งในอริยวินัย (สำหรับทั้งพระสงฆ์และคฤหัสถ์) มีสาระสำคัญว่า เมื่อใดก็ตาม ถ้ามีใครทำการละเมิด ล่วงเกิน เข้าใจผิด หรือทำอะไรไม่ดีต่อผู้อื่น ต่อมา รู้ตัว หรือสำนึกได้ จะปฏิกรรมแก้ไขกลับตัว ก็ไปขอขมาอภัยเขา

การแสดงความยอมรับหรือสำนึกผิดในการที่ตนได้ทำความผิดละเมิดหรือล่วงเกินผู้อื่น และมาบอกขอให้เขายอมรับความสำนึกของตน เพื่อที่ตนจะได้ปฏิกรรม และสำรวมระวังต่อไปนั้น เป็นความเจริญงอกงามในอริยวินัย

ในพระไตรปิฎก มีเรื่องราวหลายกรณี ที่ชาวบ้านบางคน และพระบางรูปก็มี ทำผิดล่วงเกินแม้กระทั่งต่อพระพุทธเจ้า เมื่อสำนึกได้ ก็ไปสารภาพผิด กราบทูลขอขมาอภัยต่อพระองค์ พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า เมื่อได้ทำผิดพลาดล่วงเกินไปเพราะความหลงความเขลา

มองเห็นโทษแล้ว แก้ไขเสีย ก็ทรงรับขมา การที่ใครก็ตาม ทำผิดพลาดแล้ว มองเห็นโทษ มาปฏิกรรม กลับตัวแก้ไข ทำความสังวรต่อไปนั้น เป็นความเจริญงอกงามในวินัยของอารยชน

ดังเช่นในกรณีนายขมังธนูที่รับจ้างมาเพื่อสังหารพระพุทธเจ้า แล้วสำนึกผิด และเข้ามากราบทูลความสำนึกผิดของตน พระพุทธเจ้าได้ตรัสข้อความที่เป็นหลักในเรื่องนี้ว่า (วินย.7/369/180) "ยโต จ โข ตฺวํ อาวุโส อจฺจย อจฺจยโต ทิสฺวา ยถาธมฺม? ปฏิกโรสิ, ตนฺเต มยํ ปฏิคฺคณฺหาม, วุทฺธิ เหสา อาวุโส อริยสฺส วินเย, โย อจฺจย อจฺจยโต ทิสฺวา ยถาธมฺม ปฏิกโรติ, อายตึ สํวรํ อาปชฺชติ"

(เพราะการที่เธอมองเห็นโทษ โดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม เราจึงยอมรับโทษนั้นของเธอ การที่ผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วปฏิกรรมตามธรรม ถึงความสังวรต่อไป ข้อนั้น เป็นความเจริญในอริยวินัย)

หน้า 27


ขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์

กราบนมัสการขอบพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์

สิริสวัสดิ์ศุกรวารค่ะ    




Create Date : 11 กรกฎาคม 2557
Last Update : 11 กรกฎาคม 2557 11:52:34 น. 0 comments
Counter : 538 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.