"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2557
 
12 พฤศจิกายน 2557
 
All Blogs
 
อริยสัจ 4 (15) - พระพรหมคุณาภรณ์

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


โดยนัยนี้ ศรัทธาที่มั่นคงในพระรัตนตรัย ความรู้ในอริยสัจ และการปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทา คือ มรรคามีองค์ 8 นี้ จึงเป็นเครื่องป้องกัน หรืออย่างน้อยก็บรรเทาการดำเนินชีวิต การปฏิบัติต่อความทุกข์ และการแก้ไขปัญหาในทางที่ผิดทุกอย่างทุกด้าน

ทั้งนี้ ไม่ว่าทางผิดนั้นจะมีมาในรูปแบบใดๆ เช่น ในรูปของการลืมสติหลงฟั่นเฟือนปล่อยตัวปล่อยใจให้เลื่อนลอยไหลไปตามอำนาจของความทุกข์ความคับแค้นโศกเศร้าบ้าง การหลอกตัวเองให้ลืมทุกข์ด้วยการกดตัวให้จมลึกลงไปในกามสุขมากยิ่งขึ้นบ้าง

การหันไปหวังพึ่งอำนาจเร้นลับภายนอก อ้อนวอนสิ่งดลบันดาล หรือรอคอยโชคชะตาบ้าง การประกอบทุจริตต่างๆ บ้าง การหันออกไปรุกรานระบายทุกข์แก่ผู้อื่น เที่ยวเบียดเบียนก่อความเดือดร้อนแก่คนทั้งหลายบ้าง การเคียดแค้นชิงชังเบื่อตัว หันกลับเข้ามาบีบคั้นทรมานลงโทษตนเองบ้าง


มรรค ซึ่งหนุนด้วยศรัทธาที่ถูกต้องนี้ ทำให้ดำรงอยู่ในสุจริต ประพฤติการที่เกื้อกูล เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ทำให้เผชิญสถานการณ์ต่างๆ ด้วยความเข้มแข็ง มั่นคง มีใจสงบ ดำเนินชีวิต แก้ไขปัญหา ดับทุกข์ได้ ด้วยความมีสติ ใช้ปัญญา และเพียรพยายามจัดการไปตามวิถีทางแห่งเหตุปัจจัย

แม้อย่างอ่อนแอที่สุด เมื่อไม่อาจช่วยตนเองได้ลำพัง ก็รู้จักเลือกหากัลยาณมิตร ที่จะช่วยปลุกเร้าใจให้กล้าหาญในกุศลธรรม และที่จะช่วยชี้แนะให้เกิดปัญญามองเห็นเหตุปัจจัย เพื่อแก้ไขได้โดยถูกทาง

กิจหรือหน้าที่ต่อมรรค ได้แก่ ภาวนา คือ การพัฒนา ฝึกปรือ ทำให้เป็น ให้มี ปฏิบัติ หรือลงมือทำ แต่การเรียกมรรค ว่าเป็นข้อปฏิบัติ หรือเป็นการปฏิบัติธรรม บางครั้ง ก็ทำให้เข้าใจความหมายของมรรคแคบเกินไป ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นความเข้าใจผิดอย่างหนึ่ง

ความจริงนั้น มรรคมีความหมายครอบคลุมธรรมภาคปฏิบัติทั้งหมดในพระพุทธศาสนา ครอบคลุมคำว่าจริยธรรม หรือเป็นระบบจริยธรรมทั้งหมด ครอบคลุมการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องดีงามทั้งหมด ดังชื่อที่ใช้เรียกมรรคอย่างหนึ่งว่า พรหมจริยะ หรือพรหมจรรย์ ซึ่งแปลได้ว่า การครองชีวิตประเสริฐ หรือ ชีวิตประเสริฐนั่นเอง

องค์ประกอบทั้ง 8 ของมรรค สามารถนำไปแยกแยะกระจายเนื้อหาออกและจัดรูปร่างระบบใหม่ โดยมีจุดเน้นจุดย้ำต่างแห่งต่างที่กัน ให้สอดคล้องเหมาะสมกับการดำเนินชีวิต และการปฏิบัติธรรมระดับนั้นๆ ดังตัวอย่างที่เห็นง่ายๆ เช่นว่า

- จัดให้เหมาะสำหรับประชาชนทั่วไป โดยเน้นความประพฤติที่แสดงออกภายนอกมากกว่าเรื่องทางจิตใจ ชุดหนึ่งเรียกว่า กุศลกรรมบถ 10

- จัดแสดงตามแนวการปฏิบัติชนิดที่มุ่งตรงเข้าสู่จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา โดยเน้นหลักธรรมระดับวิปัสสนาปัญญา ชุดหนึ่งเรียกว่า วิสุทธิ 7 อย่างนี้เป็นต้น


ฉ) เมื่อพระรัตนตรัย พาเข้าและคืบไปในไตรสิกขา มรรคก็พัฒนาสู่จุดหมาย

ในบรรดาหมวดธรรม ชุดธรรม หรือระบบการปฏิบัติที่จัดรูปออกมาจากองค์มรรคทั้งหมดนั้น หมวดธรรม หรือระบบปฏิบัติที่ถือได้ว่าเป็นระบบกลาง หรือเป็นพื้นฐาน กว้างขวางครอบคลุม และใช้เป็นมาตรฐานของการปฏิบัติมากที่สุด ก็คือ ระบบที่เรียกว่า สิกขา 3 หรือ ไตรสิกขา ซึ่งแปลง่ายๆ ก็คือ การศึกษา 3 ส่วน

แม้ว่าไตรสิกขาจะจัดรูปออกมาจากมรรค แต่ความสำคัญของไตรสิกขานั้น เข้าคู่เทียบเท่ากับมรรคเลยทีเดียว ดังจะเห็นว่า มรรค เป็นทางดำเนินชีวิตที่ดีงาม หรือระบบการดำเนินชีวิตที่ดีงาม หรือจะให้ตรงกว่านั้นว่า เป็นเนื้อหาของการดำเนินชีวิตที่ดีงาม ส่วนไตรสิกขา เป็นระบบการศึกษา หรือระบบการฝึกฝนอบรมพัฒนาคนให้มีชีวิตที่ดีงาม หรือให้มีการดำเนินชีวิตที่ดีงามนั้น

หลักทั้ง 2 นี้ เนื่องอยู่ด้วยกัน เพราะเมื่อมีการศึกษา มีการฝึกฝนอบรมพัฒนา ก็เกิดเป็นการดำเนินชีวิตที่ดี หรือการดำเนินชีวิตที่ดีก็เกิดมีขึ้น ดังนั้น เมื่อฝึกด้วยไตรสิกขา มรรคก็เกิดมีขึ้น หรือว่า เมื่อคนฝึกตนด้วยไตรสิกขา ชีวิตของเขาก็พัฒนาไปในมรรค เท่ากับพูดว่า การฝึกไตรสิกขา ก็เพื่อให้มรรคเกิดขึ้น

แท้จริงนั้น เนื้อหาสาระของมรรคและไตรสิกขา ก็อันเดียวกันนั่นเอง ฝึกอันใด ก็ได้อันนั้น หรือฝึกสิ่งใด สิ่งนั้นก็เจริญงอกงามขึ้น และการฝึกหรือการศึกษานั้น ก็ไม่แยกจากการดำเนินชีวิต แต่เนื่องอยู่ด้วยกันกับการดำเนินชีวิต การศึกษาเป็นการพัฒนาชีวิต หรือที่แท้ ชีวิตที่ดี ก็คือชีวิตที่ศึกษานั่นเอง

หน้า 27

     

ขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์

กราบนมัสการขอบพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์

สิริสวัสดิ์วุธวารค่ะ   




Create Date : 12 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2557 10:55:07 น. 0 comments
Counter : 512 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.