"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2557
 
14 พฤศจิกายน 2557
 
All Blogs
 
อริยสัจ 4 (17) - พระพรหมคุณาภรณ์

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


สิกขา 3 นี้ เนื่องกัน และช่วยเสริมกัน ซึ่งตามหลักพัฒนาการอย่างสมัยใหม่ ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ เช่น ความรู้เหตุผล ย่อมช่วยความเจริญทางอารมณ์ และช่วยเสริมการปฏิบัติตามวินัย ตลอดถึงความรับผิดชอบ และความสัมพันธ์ในทางสังคม ดังนั้น การฝึกฝนอบรมในสิกขา 3 หรือการให้เกิดพัฒนาการทั้งสามอย่าง จึงต้องดำเนินคู่เคียงกันไป

มิใช่แค่นั้น ถ้าดูให้ชัด ในพุทธศาสนา มีพัฒนาการทางกาย เรียกว่า "กายภาวนา" อยู่ในหลัก ภาวนา 4 (เป็นบุคคลเรียก ภาวิต 4) คือการพัฒนา 4 ด้าน แต่ความหมายต่างกัน โดยในพุทธศาสนา หมายถึงการพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ให้เกิดผลในทางที่เกื้อกูล ไม่ใช่หมายถึงพัฒนาตัวร่างกาย และกายภาวนานี้ใช้ในการวัดผล ส่วนในภาคปฏิบัติการของการฝึก การพัฒนากายนั้น จัดรวมไว้ในอธิศีลสิกขานั่นเอง

รวมความว่า ไตรสิกขาเป็นระบบการฝึกอบรมตามขั้นตอน จากภายนอก เข้าไปหาภายใน จากส่วนที่หยาบ เข้าไปหาส่วนที่ละเอียด และจากส่วนที่ง่ายกว่า เข้าไปหาส่วนที่ยากและลึกซึ้งกว่า

เมื่อแรกเริ่ม การฝึกอาศัยความเห็นชอบ หรือความรู้ความเข้าใจถูกต้อง ที่เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ เป็นเชื้อหรือเป็นเค้าให้เพียงเล็กน้อย พอให้รู้ว่าตัวจะไปไหน ทางอยู่ที่ไหน จะตั้งต้นที่ไหนเท่านั้น

การเข้าใจปัญหาและการมองโลกและชีวิตตามความเป็นจริงนั่นแหละ คือจุดเริ่มต้นที่ถูกต้อง และคือความหมายพื้นฐานของสัมมาทิฏฐิ

ส่วนในระหว่างการฝึก การฝึกส่วนหยาบภายนอกในขั้นศีล ช่วยเป็นฐานให้แก่การฝึกส่วนละเอียดภายใน ทำให้พร้อมและสะดวกที่จะฝึกในขั้นจิตและปัญญาให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

เมื่อฝึกขั้นละเอียดภายใน คือ ขั้นจิตและปัญญา ผลก็ส่งกลับออกมาช่วยการดำเนินชีวิตด้านนอก เช่น ทำให้มีความประพฤติสุจริตมั่นคง มีศีลที่เป็นไปโดยปกติธรรมดาของตนเอง ไม่ต้องฝืนใจหรือตั้งใจคอยควบคุมรักษา คิดแก้ปัญหาและทำกิจต่างๆ ด้วยปัญญาบริสุทธิ์ เป็นต้น โดยนัยที่กล่าวแล้ว

เมื่อฝึกตลอดระบบของสิกขาแล้ว ระบบการดำเนินชีวิตทั้งหมด ก็กลายเป็นระบบของมรรค สอดคล้องกันหมดทั้งภายนอกและภายใน

วิธีแก้ปัญหาแบบพุทธ

บางครั้งมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า พุทธศาสนาสอนให้แก้ปัญหาทุกอย่าง แม้แต่ปัญหาทางเศรษฐกิจ และสังคม ที่ภายในจิตใจเท่านั้น ซึ่งน่าจะไม่เป็นวิธีการแก้ปัญหาที่เพียงพอ หรือได้ผลแท้จริง

สำหรับข้อสังเกตนี้ ควรทำความเข้าใจแยกเป็น 2 ส่วน คือ ว่าโดยหลักการอย่างหนึ่ง ว่าโดยแง่เน้นของคำสอน หรือแง่ที่มีเนื้อหาคำสอนมากกว่า เด่นกว่า อย่างหนึ่ง

ว่าโดยหลักการ วิธีการแก้ปัญหาแบบพุทธ มีลักษณะสำคัญ 2 อย่าง คือ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุปัจจัยอย่างหนึ่ง เป็นการแก้ปัญหาของมนุษย์โดยฝีมือของมนุษย์เองอย่างหนึ่ง หรืออาจพูดรวมว่า เป็นการแก้ปัญหาของมนุษย์โดยมนุษย์เอง ที่ตรงตัวเหตุปัจจัย

ที่ว่าแก้ตรงเหตุปัจจัย ก็ว่าเป็นกลางๆ ไม่จำกัดเฉพาะข้างนอก หรือข้างใน

และที่ว่าแก้ปัญหาของมนุษย์โดยมนุษย์เอง ก็จะเห็นได้จากการที่พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้มนุษย์มองปัญหาของตนที่ตัวมนุษย์เอง ไม่ใช่มองหาเหตุและมองหาทางแก้ไปที่บนฟ้า หรือซัดทอดโชคชะตา และให้แก้ไขด้วยการลงมือทำ ด้วยความเพียรพยายามตามเหตุผล ไม่ใช่หวังพึ่งการอ้อนวอน หรือนอนคอยโชค เป็นต้น ดังได้เคยกล่าวแล้ว

ว่าโดยแง่เน้นของคำสอน หรือส่วนที่มีเนื้อหาคำสอนมากกว่า เด่นกว่า ควรจะย้ำไว้ก่อนว่า พระพุทธศาสนาสอนให้แก้ปัญหา ทั้งด้านนอกด้านใน ทั้งทางสังคมและทางจิตใจของบุคคล คือ มีคำสอนขั้นศีล เป็นด้านนอก กับขั้นจิตและปัญญาเป็นด้านใน

จากนี้จึงมาทำความเข้าใจกันต่อไปว่า เมื่อกล่าวตามแง่เน้นของคำสอนเท่าที่มีอยู่ เนื้อหาคำสอนที่บันทึกอยู่ในคัมภีร์ ส่วนที่ว่าด้วยการแก้ปัญหาด้านใน หรือด้านจิตปัญญา มีมากกว่าส่วนที่ว่าด้วยการแก้ปัญหาด้านนอก หรือปัญหาทางสังคม เป็นต้น

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า เนื้อหาคำสอน เน้นด้านแก้ปัญหาทางจิตใจ มากกว่าแก้ปัญหาทางสังคม หรือด้านภายนอกอย่างอื่น ที่เป็นเช่นนี้ เป็นเรื่องธรรมดาโดยเหตุผล และควรจะเป็นเช่นนั้น ขอแสดงเหตุผลบางอย่าง เช่น

โดยความคงตัวแห่งธรรมชาติของมนุษย์ : ปัญหาเกี่ยวกับชีวิตด้านใน หรือปัญหาทางจิตใจ เป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ล้วนๆ มากที่สุด คือ มนุษย์ทุกถิ่นฐานกาลสมัย มีธรรมชาติของปัญหาทางจิตใจเหมือนๆ กัน

ถึงจะต่างสังคม หรือสังคมจะต่างยุคสมัย ธรรมชาติทางจิตปัญญาของมนุษย์ ก็ยังคงเป็นอย่างเดิม คือ มนุษย์ก็ยังเป็นมนุษย์ ที่มีโลภ โกรธ หลง รักสุข เกลียดทุกข์ เป็นต้น อยู่อย่างเดียวกัน

หน้า 27

ขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์

กราบนมัสการขอบพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์

สิริสวัสดิ์ศุกรวารค่ะ     




Create Date : 14 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2557 11:03:05 น. 0 comments
Counter : 485 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.