"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2557
 
3 มิถุนายน 2557
 
All Blogs
 
เกณฑ์วินิจฉัยกรรมดี-กรรมชั่ว (5) - พระพรหมคุณาภรณ์

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)



กล่าวได้ว่า บาปใช้ในความหมายเท่ากับอกุศล มากกว่าที่บุญใช้ในความหมายเท่ากับกุศล แต่ที่ปรากฏบ่อยก็คือ กุศลใช้ในความหมายเท่ากับบุญ ความที่ว่านี้เป็นอย่างไร พึงพิจารณาต่อไป

บาปที่ท่านใช้ในความหมายเท่ากับอกุศล แห่งสำคัญคือ ในสัมมัปปธาน 4 ข้อ 1 และข้อ 2 ซึ่งบาปมากับอกุศลธรรม ดังที่ว่า เพียรป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด และเพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว แต่ในข้อ 3 และข้อ 4 บุญไม่ได้มากับกุศลธรรมด้วย กล่าวถึงแต่กุศลธรรม ดังที่ว่า เพียรเจริญกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และเพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อมหายหากให้เพิ่มขึ้นไปจนไพบูลย์

พูดอย่างสรุปความสั้นๆ ว่า บุญมีความหมายไม่เท่ากับกุศล ถ้าแบ่งกุศลเป็น 2 ระดับ คือ โลกิยกุศล และโลกุตรกุศล โดยทั่วไป บุญใช้กับโลกิยกุศล หรือมิฉะนั้นถ้าจะหมายถึงระดับโลกุตระ ก็ใส่คำขยายกำกับไว้ด้วย เช่นว่า "โลกุตรบุญ" ซึ่งมิได้เป็นคำที่นิยมใช้แต่ประการใด (พบในอรรถกถาแห่งหนึ่ง และในฎีกาที่อธิบายต่อจากอรรถกถานั้นเท่านั้น)

มีบาลีหลายแห่งที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงโอปธิกบุญ คือบุญที่อำนวยผลแก่เบญจขันธ์ ซึ่งได้แก่บุญที่เป็นโลกิยะ ส่อความว่าน่าจะมีอโนปธิกบุญ หรือนิรูปธิบุญ ที่เป็นโลกุตระ เป็นคู่กัน แต่ก็มิได้ปรากฏมีชื่อ อโนปธิก-บุญ หรือนิรูปธิบุญ ในที่ใดเลย

ตรงกันข้าม แทนที่จะมีอโนปธิกบุญหรือนิรูปธิบุญ มาเข้าคู่เข้าชุดกับโอปธิกบุญ กลับกลายเป็นว่า ในพระบาลีแห่งหนึ่งของพระสูตรเดียวกัน มี นิรูปธิกุศล (กุศลที่เป็นโลกุตระ) มากับโอปธิกบุญ (บุญที่เป็นโลกิยะ) ขอยกมาให้ดู ดังนี้

"ท่านจงทำให้มาก ทั้งด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ ซึ่งนิรูปธิกุศล อันประมาณมิได้ แต่นั้น ครั้นทำโอปธิกบุญให้มากด้วยทานแล้ว ท่านจง [บำเพ็ญธรรมทาน] ชักจูงแม้คนอื่นๆ ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม ในพรหมจริยะ" 

เป็นอันว่า เมื่อมองดูโดยทั่วไปแล้ว ก็จะเห็นว่า คำว่า "บุญ" นั้น ท่านใช้ในความหมายของโอปธิกบุญนั่นเอง คือ ถึงจะไม่ได้เขียนคำว่า "โอปธิกะ" กำกับไว้ แต่ก็มีความหมายเท่ากับเขียนโอปธิกะอยู่ด้วย หมายความว่าตรงกับโลกิยกุศลนั่นเอง

ข้อนี้เท่ากับพูดว่า คำว่าบุญที่ใช้ทั่วไปมีความหมายอยู่เพียงขั้นโลกิยะ เท่ากับโลกิย-กุศล หรือ กุศลขั้นโลกีย์ บุญจึงเท่ากับเป็นความหมายส่วนหนึ่งของกุศล ไม่ครอบคลุมเท่ากับกุศล ซึ่งมีโลกุตร-กุศลด้วย และอรรถกถาน้อยแห่งเหลือเกินจะไขความบุญว่าเท่ากับกุศลทั้งหมด

พระอรรถกถาจารย์ท่านสังเกตการใช้คำว่าบุญ แล้วแสดงความหมายไว้ให้เห็นแง่ด้านที่ละเอียดลงไปอีก ดังในคัมภีร์ปรมัตถทีปนี อรรถกถาอิติวุตตกะ แสดงความหมายของคำว่า "บุญ" ไว้ 5 อย่าง คือ

1.หมายถึงผลบุญ คือผลของกุศล หรือผลของความดี เช่นในข้อความว่า เพราะการสมาทานกุศลธรรมทั้งหลายเป็นเหตุ บุญย่อมเจริญเพิ่มพูน

2.หมายถึงความประพฤติสุจริตในระดับกามาวจรและรูปาวจร เช่นในคำว่า คนตกอยู่ในอวิชชา หากปรุงแต่งสังขารที่เป็นบุญ (= ปุญญาภิสังขาร)

3.หมายถึงภพที่เกิดซึ่งเป็นสุคติพิเศษ เช่นในคำว่า วิญญาณที่เข้าถึงบุญ

4.หมายถึงกุศลเจตนา เช่น ในคำว่า บุญกิริยาวัตถุ (คือเท่ากับกุศลกรรม)

5.หมายถึงกุศลกรรมในภูมิสาม เช่นในคำว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ากลัวต่อบุญเลย" ข้อนี้ตรงกับคำว่าโลกิยกุศลนั่นเอง

ความจริง ข้อที่ 5 เป็นความหมายหลัก ตรงกับคำอธิบายในมหานิทเทสที่ว่า

"กุสลาภิสังขารในไตรธาตุ (คือกามธาตุ รูปธาตุ และอรูปธาตุ) อย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม เรียกว่าบุญ; อกุศลทั้งหมด เรียกว่า อบุญ (คือบาป)"

พูดด้วยคำที่เข้าใจง่ายว่า บุญ ได้แก่กุศลที่เป็นโลกีย์ บาป ได้แก่อกุศลทั้งหมด (กุศล มีทั้งโลกิยะ และโลกุตระ แต่ อกุศล มีเฉพาะโลกิยะอย่างเดียว, บุญ และบาป เป็นโลกิยะด้วยกันทั้งหมด; พูดยักย้ายอีกอย่างหนึ่งว่า บุญ มีแต่โลกิยะอย่างเดียว กุศล มีทั้งโลกิยะและโลกุตระ, บาปและอกุศล เป็นโลกิยะทั้งสิ้น)

ทั้งนี้ ได้ในคำว่า ไม่ติดในบุญและในบาป หรือละบุญละบาป ลอยบุญลอยบาปได้แล้ว ซึ่งเป็นลักษณะจิตของพระอรหันต์

พึงสังเกตด้วยว่า ตามคำอธิบายในมหานิทเทสนั้น คำกล่าวที่ว่า พระอรหันต์ละทั้งบุญและบาป ลอยบุญ ลอยบาปหมดแล้ว หรืออยู่เหนือความดีและความชั่วนั้น มี ความหมายว่า ละบาป และละบุญคือโลกิยกุศลเท่านั้น หาได้ละโลกุตร กุศลด้วยไม่

หน้า 27


ขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์

กราบนมัสการขอบพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์

สิริสวัสดิ์ภุมวารค่ะ




Create Date : 03 มิถุนายน 2557
Last Update : 3 มิถุนายน 2557 9:42:58 น. 0 comments
Counter : 499 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.