"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2558
 
27 มีนาคม 2558
 
All Blogs
 
กรรม ตามนัยแห่งพุทธธรรม (51) - พระพรหมคุณาภรณ์

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


ดูง่ายๆ แค่ว่า คุณหมอสั่ง

แก่บุตรหญิงหรือบุตรชายของคนไข้ว่า กลับไปอยู่บ้านแล้ว ทุกวัน จัดน้ำบริสุทธิ์จืดสนิทให้คุณพ่อดื่ม วันละอย่างน้อย 1 ลิตรครึ่งนะ เอาเหยือกน้ำใหญ่ๆ ที่มีขีดบอกปริมาณน้ำด้วยก็จะดี

แค่ตามตัวอย่างนี้ ก็มีสมมติที่สื่อไปถึงของจริงในธรรมชาติ และวินัยที่จัดระบบให้มนุษย์ได้ประโยชน์ ทั้งจากสมมติและจากระบบปัจจัยสัมพันธ์ที่โยงลงไปถึงกฎแห่งธรรมดามากมาย ยิ่งคนที่เกี่ยวข้องมีปัญญาเข้าถึงธรรมชาติและธรรมดามากเท่าใด ก็ยิ่งเห็นชำแรกเข้าไปในระบบสัมพันธ์ที่โยงต่อไปกว้างลึกมากขึ้นเท่านั้น

ดังนั้น ถ้าเป็นมนุษย์ที่มีปัญญา ทำการด้วยความตระหนักรู้ มองเห็นความเป็นไปของปัจจัยสัมพันธ์ชัดเจน ก็ยิ่งทำการได้สัมฤทธิผลอย่างดี

ถึงตรงนี้ ก็มองเห็นได้ว่า มี 2 ระบบโยงกันอยู่ คือ


1.ระบบของธรรมชาติที่เป็นไปตามธรรมดาหรือตามกฎธรรมชาติ มนุษย์จะมีอยู่หรือไม่ และจะรู้ถึงมันหรือไม่ มันก็มีของมันอยู่อย่างนั้น ก็เป็นของมันอยู่เช่นนั้น ระบบนี้ เรียกสั้นๆ ว่า "ธรรม"

2.ระบบของสมมติที่มนุษย์ผู้ฉลาดจัดตั้งวางขึ้น ให้เป็นไปโดยสอดคล้องที่จะให้หมู่มนุษย์ที่เรียกว่าสังคม ได้สมประโยชน์ของตน จากธรรมชาติและจากกฎธรรมดานั้น เรียกสั้นๆ ว่า "วินัย"

เป็นอันว่า มี 2 ระบบ คือ ธรรม กับ วินัย และเห็นได้ชัดว่า ระบบสมมติแห่งวินัยของมนุษย์ ต้องตั้งอยู่บนฐานของธรรมที่เป็นระบบแห่งธรรมดาของธรรมชาติ จึงจะสมจริงและได้ผล แล้วพูดอีกด้านหนึ่งว่า ระบบสมมติแห่งวินัยนั้น มนุษย์จัดตั้งขึ้น ก็เพื่อให้ตนได้ประโยชน์จากธรรมชาติที่เป็นไปตามธรรมดาในระบบของธรรมนั่นเอง

พูดสั้นๆ ว่า วินัยตั้งอยู่บนฐานของธรรม และวินัยก็เพื่อธรรม โดยธรรมเป็นทั้งฐาน และเป็นวัตถุประสงค์ของวินัย

ถ้าพูดให้แคบลง และง่ายเข้า ก็บอกว่า กฎมนุษย์ต้องอยู่บนฐานของกฎธรรมชาติ ต้องสอดคล้องกับกฎธรรมชาติ จึงจะได้ผลที่ต้องการจากกฎธรรมชาติ

เมื่อมีความเข้าใจพื้นฐานอย่างนี้แล้ว เห็นควรพูดถึงเรื่องสำคัญบนพื้นฐานของความเข้าใจนี้ไว้สัก 2 อย่าง

เรื่องแรก ดังได้พูดแต่ต้นว่า สังคมมนุษย์เป็นไปได้ด้วยสมมติ หรือมติร่วม คือ การรับรู้ยอมรับตกลงกัน อันทำให้การติดต่อสื่อสารดำเนินไปได้ และวินัยคือการจัดตั้งวางระบบการทั้งหลายของสังคมก็เป็นไปได้

นี่คือการบอกชัดเจนอยู่ในตัวว่า สมมติที่ตกลงยอมรับร่วมกันนั้น ต้องอาศัยความพร้อมใจร่วมกันลงตัวเป็นอย่างหนึ่งอย่างเดียวกัน ที่เรียกว่าความ "สามัคคี" พูดง่ายๆ ว่า ในเรื่องของสังคมนี้ สมมติตั้งอยู่ได้ด้วยสามัคคี ตั้งแต่ตกลงแล้ว ก็ยอมรับ ร่วมรู้ แล้วก็ร่วมปฏิบัติตาม

โดยนัยนี้ สามัคคีจึงเป็นฐานรองรับสมมติไว้ ถ้าไม่มีสามัคคี สมมติก็อยู่ไม่ได้ อารยธรรมก็สั่นคลอน เพราะสังคมมนุษย์ดำเนินไปได้ด้วยสมมติ และสามัคคีก็รองรับสมมติไว้ โดยทำให้คนยอมรับตามสมมตินั้น

ถ้าคนไม่สามัคคีกัน ก็จะเกิดการไม่ยอม รับตามสมมติ เช่น ไม่ยอมรับกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นหรือของคู่กรณีที่ขัดแย้งกัน ไม่ยอมรับสิทธิต่างๆ ของคนพวกอื่นฝ่ายอื่นไม่ยอมรับกฎเกณฑ์กติกา ตลอดจนกฎหมาย จึงทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายระส่ำระสาย จนถึงอาจจะทำให้สังคมดำรงอยู่ไม่ได้

ในแง่นี้ สามัคคีจึงเป็นพื้นฐานของวินัย เป็นหลักประกันของสมมติ เป็นเครื่องรองรับและผนึกสังคมไว้ แต่ยิ่งกว่านั้นอีก เหนือขึ้นไปกว่านั้น สามัคคีทำให้สังคมเกิดมีคุณประโยชน์ตามความหมายของมัน โดยทำให้บุคคลทั้งหลายในสังคมนั้นๆ เป็นปัจจัยเกื้อกูลหนุนกัน และเป็นสภาพเอื้ออำนวยโอกาสแก่ทุกคนที่จะดำรงชีวิตของตนอยู่ด้วยดี สามารถพัฒนาชีวิตของตนให้เข้าถึงประโยชน์สุขยิ่งขึ้นไป

เฉพาะอย่างยิ่ง ในสังคมที่มีระบบชุมชนหรือการเมืองการปกครองแบบให้บรรดาสมาชิกมีส่วนร่วม อย่างเช่น สังฆะในพระ พุทธศาสนา และระบอบประชาธิปไตย ความสามัคคี คือความพร้อมเพรียงพร้อมใจ มีเอกภาพ จึงเป็นเหมือนหัวใจของระบบสังคมนั้น ดังที่พระพุทธเจ้าทรงเน้นย้ำหลักสังฆสามัคคี ที่ต้องมีอยู่คู่กับวินัยที่มั่นคง

ผู้บริหารหรือผู้ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคม ที่ฉลาด ต้องสามารถเอาปัญญามาใช้วินัยจัดแจงให้บรรดาบุคคลหรือสมาชิก ประสานเข้าด้วยกันเป็นสังฆสามัคคี หรือที่บางทีเรียกว่าคณสามัคคี

หน้า 27

     

ขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์

กราบนมัสการขอบพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์

สิริสวัสดิ์ศุกรวารค่ะ    




Create Date : 27 มีนาคม 2558
Last Update : 27 มีนาคม 2558 11:46:58 น. 0 comments
Counter : 367 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.