"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2558
 
25 มีนาคม 2558
 
All Blogs
 

กรรม ตามนัยแห่งพุทธธรรม (49) - พระพรหมคุณาภรณ์

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


มองย้อนทวนความอีกครั้งหนึ่งว่า กรรมเป็นเรื่องของมนุษย์ หรือพูดให้ถูกต้องกว่านั้นว่า กรรมนี่แหละเป็นของมนุษย์ เรื่องของมนุษย์ หรือสิ่งที่เป็นของมนุษย์ ก็คือ ความคิด คำพูด และการเคลื่อนไหวทำการทั้งหลายของเขา จึงพูดว่าเรื่องของมนุษย์ก็คือกรรม หรือมีแต่กรรมเท่านั้นเอง นอกจากนี้แล้ว แม้แต่ที่มาเกี่ยวข้องกับมนุษย์ รวมทั้งในตัวเขาเองด้วย ก็เป็นเรื่องของกฎธรรมชาติด้านอื่น ที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยนั้นๆ

คำที่มีใครพูดว่า "กรรมของสังคม" นั้น มองให้ชัดก็เป็นคำพูดที่ลวงความคิด เราไม่ควรพูดอย่างนั้น เราพูดได้แต่ว่ากรรมของมนุษย์ แล้วก็ไปแยกเอาว่าเป็นกรรมด้านบุคคล และเป็นกรรมด้านสังคม หรือกรรมที่ออกผลแก่บุคคล และกรรมที่ออกผลแผ่ขยายออกไปปรากฏเป็นสภาพของสังคม

เมื่อมนุษย์มาอยู่ร่วมกัน ที่เรียกว่าเป็นสังคม เนื้อหาสาระความเป็นไปส่วนใหญ่ในสังคมนั้น ก็คือการกระทำหรือกรรมของมนุษย์ในการติดต่อเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในหมู่ของพวกเขา เพราะฉะนั้นเมื่อสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย เมื่อผลเกิดขึ้น เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน

ความเป็นไปของมนุษย์เหล่านั้น หรือสังคมของเขา จึงเป็นไปตามกรรมที่พวกเขาทำนั้น ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า โลกเป็นไปตามกรรม หรือสังคมเป็นไปตามการกระทำของมนุษย์ ที่เขาก่อความคิด การพูด การเคลื่อนไหวทำการทั้งหลายขึ้นมา ทำอย่างไร ก็ได้ผลตามเหตุปัจจัยที่เป็นไปนั้น

ดังได้กล่าวแล้วว่า ตัวแท้ของกรรมก็คือเจตนาหรือเจตจำนงของคน โลกคือสังคมมนุษย์จึงเป็นโลกของเจตจำนง ที่เจตจำนงของมนุษย์ปรุงปั้นจัดแต่งขึ้นมา กรรมแรกหรือกรรมหลักที่เจตจำนงของมนุษย์อาศัยปัญญากำหนดขึ้น เพื่อสนองความมุ่งหมายในการติดต่อสื่อสารสัมพันธ์กันของหมู่มนุษย์ ก็คือการจัดตั้งสมมติ อันได้แก่การวางข้อตกลงรู้ร่วมในการติดต่อสื่อสารสัมพันธ์กันนั้น

ด้วยเจตจำนงที่มีปัญญาส่องทางให้นั้น มนุษย์ก็สามารถเข้าไปร่วมเป็นปัจจัยเอกในกระบวนการทั้งหลายแห่งเหตุปัจจัยของธรรมชาติ เพื่อผันเบนกระบวนให้ออกผลมาอย่างที่ตนปรารถนา เฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการระบบสมมติอันเป็นสาระของสังคมที่พวกเขาตั้งวางขึ้น

พูดสั้นๆ ว่า ปัญญารู้ "ธรรม" คือความจริงที่เป็นธรรมดาของธรรมชาติ หรือกฎธรรม ชาติแล้ว เจตนาแห่งกรรมนิยามก็นำความรู้นั้นมา "วินัย" คือจัดตั้งวางกำหนดจัดสรรระบบสมมติของสังคมให้เป็นไปตามจำนง และได้รับผลเป็นไปตามขีดระดับของปัญญาและคุณภาพของจิตที่ประกอบเจตนานั้น

นี่คือเข้าสู่การบรรจบประสานของระบบแห่งธรรมของธรรมชาติ กับระบบแห่งวินัยต่อสมมติของมนุษย์ เฉพาะอย่างยิ่งกรรมนิยาม กับสมมตินิยาม กรรมของมนุษย์ที่เข้าถึงธรรมและวินัยนี่แหละ จึงจะสร้างอารยธรรมที่แท้ให้แก่โลกได้

คนกลุ่มหนึ่งอยู่ในตำแหน่งหน้าที่สาธารณะ เขาร่วมกันทำงานที่เรียกว่าของสังคม ด้วยเจตนาหาผลประโยชน์ส่วนตัว อีกบุคคลหนึ่ง ดำเนินชีวิตไปตามปกติของเขา ไม่อยู่ในวงงานสาธารณะใดๆ แต่เขามุ่งทำการต่างๆ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ในกรณีอย่างนี้ถ้าเข้าใจเรื่องกรรมของมนุษย์แล้ว ก็คงบอกได้เองว่า อันไหนเป็นกรรมของบุคคล อันไหนเป็นกรรมของสังคม หรือกรรมด้านบุคคล และกรรมด้านสังคมอยู่ตรงไหน



7) กรรม ตามสมมตินิยาม หรือกรรม ในกฎมนุษย์

เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกัน เป็นหมู่คน เป็นชุมชน เป็นสังคม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ทำการร่วมกัน ก็ต้องมีการติดต่อสื่อสาร และด้วยความฉลาดของมนุษย์ ก็มีการตั้งข้อรู้ร่วม และสร้างเครื่องรู้ร่วมขึ้นมา โดยมีการยอมรับร่วมกัน ร่วมรู้ ร่วมเข้าใจ และร่วมกันถือตาม ปฏิบัติตาม

ข้อรู้ร่วม ที่ตกลงกัน พร้อมกันยอมรับ หรือยอมรับด้วยกัน คือมติร่วม หรือ "สมมติ" นี้ เป็นหัวใจ เป็นแกน เป็นสาระของสังคม ที่จะให้สังคมดำรงอยู่ ดำเนินไป มีความ เจริญก้าวหน้างอกงาม จนถึงขั้นที่เรียกว่ามีวัฒนธรรม มีอารยธรรม พูดกลับกันว่า อารยธรรมของมนุษย์ ก็ตั้งอยู่บนสมมติ หรือสมมตินี้เอง

ข้อตกลง ข้อรู้ร่วม หรือสมมติแรก ที่สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งทำให้มนุษย์ติดต่อสื่อสารกันได้ ก็คือ ข้อรู้ร่วม หรือข้อตกลงเพื่อสื่อในการพูด เกิดเป็นถ้อยคำ คำพูดจา ภาษา เป็นทางหรือสื่อของการตอบโต้ แลกเปลี่ยน คือโวหาร แล้วก็มีการบัญญัติต่างๆ สำหรับเรียกขาน บนฐานของสมมตินั้น

หน้า 27


ขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์

กราบนมัสการขอบพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์

สิริสวัสดิ์วุธวารค่ะ    

 




 

Create Date : 25 มีนาคม 2558
0 comments
Last Update : 25 มีนาคม 2558 11:54:06 น.
Counter : 405 Pageviews.


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.