"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
 
เมษายน 2557
 
23 เมษายน 2557
 
All Blogs
 
วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม (29 - 30) - พระพรหมคุณาภรณ์

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


(6) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้าน หรือตามชุมชน ได้โภชนะอย่างหมองหรือประณีตเต็มตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้าน หรือตามชุมชน ได้โภชนะอย่างหมองหรือประณีตเต็มตามต้องการแล้ว ร่างกายของเราก็หนักอึ้ง เป็นเหมือนดังถั่วหมัก ไม่เหมาะแก่งาน อย่ากระนั้นเลย เรานอนเสียเถิด; คิดดังนี้แล้ว เธอก็นอนเสีย...

(7) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเกิดมีอาพาธเล็กๆ น้อยๆ เธอมีความคิดดังนี้ว่า เราเกิดมีอาพาธเล็กน้อยขึ้นแล้ว มีเหตุผลสมควรที่จะนอนได้ อย่ากระนั้นเลย เรานอนพักเสียเถิด; คิดดังนี้แล้ว เธอก็นอนเสีย...

(8) อีกประการหนึ่ง ภิกษุหายป่วย ฟื้นจากไข้ไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายป่วย ฟื้นจากไข้ยังไม่นาน ร่างกายของเรายังอ่อนแอ ไม่เหมาะแก่งาน อย่ากระนั้นเลย เรานอนเสียเถิด; คิดดังนี้แล้ว เธอก็นอนเสีย...

กรณีเดียวกันทั้งหมดนี้ คิดอีกอย่างหนึ่ง กลับทำให้เริ่มระดมความเพียร ท่านเรียกว่า เรื่องที่จะเริ่มระดมเพียร (อารัพภวัตถุ) แสดงไว้ 8 ข้อเหมือนกัน ใจความดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย เรื่องที่จะให้เร่งเพียร (อารัพภวัตถุ) 8 อย่างเหล่านี้; 8 อย่าง คืออะไร?

(1) (กรณีจะต้องทำงาน)...ภิกษุคิดว่า เรามีงานที่จะต้องทำ และขณะเมื่อเราทำงาน การมนสิการคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย ก็จะทำไม่ได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราเริ่มระดมความเพียรเสียก่อนเถิด เพื่อจะได้บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อเข้าถึงธรรมที่ยังไม่เข้าถึง เพื่อประจักษ์แจ้งธรรมที่ยังไม่ประจักษ์แจ้ง, คิดดังนี้แล้ว ภิกษุนั้น ก็จึงเร่งระดมความเพียร...

(2) (กรณีทำงานเสร็จ)...ภิกษุคิดว่า เราได้ทำงานเสร็จแล้ว ก็แลขณะเมื่อทำงาน เรามิได้สามารถมนสิการคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย อย่ากระนั้นเลย เราเริ่มระดมความเพียรเถิด...

(3) (กรณีจะต้องเดินทาง)...ภิกษุคิดว่า เราจะต้องเดินทาง แลขณะเมื่อเราเดินทาง การมนสิการคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย ก็จะทำไม่ได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราเริ่มระดมความเพียรเสียก่อนเกิด...

(4) (กรณีเดินทางแล้ว)...ภิกษุคิดว่า เราเดินทางเสร็จแล้ว ก็แลขณะเมื่อเดินทาง เรามิได้สามารถมนสิการคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย อย่ากระนั้นเลย เราเริ่มระดมความเพียรเถิด...

(5) (กรณีบิณฑบาตไม่ได้อาหารเต็มต้องการ)...ภิกษุคิดว่า เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือตามนิคม ไม่ได้โภชนะอย่างหมองหรือประณีตเต็มตามต้องการ ร่างกายของเราก็คล่องเบาเหมาะแก่งาน อย่ากระนั้นเลย เราเริ่มระดมความเพียรเถิด...

(6) (กรณีบิณฑบาตได้อาหารเต็มต้องการ)...ภิกษุคิดว่า เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือตามชุมชน ได้โภชนะอย่างหมองหรืออย่างประณีตเต็มตามต้องการแล้ว ร่างกายของเราคล่องเบาเหมาะแก่งาน อย่ากระนั้นเลย เราเริ่มระดมความเพียรเถิด...

(7) (กรณีเกิดอาพาธเล็กน้อย)...ภิกษุคิดว่า เราเกิดมีอาพาธเล็กๆ น้อยๆ ขึ้นแล้ว เป็นไปได้ที่อาพาธของเราอาจหนักขึ้น อย่ากระนั้นเลย เราเริ่มระดมความเพียรเสียก่อนเถิด...

(8) (กรณีหายอาพาธ)...ภิกษุคิดว่า เราหายป่วย ยังฟื้นจากไข้ไม่นาน เป็นไปได้ที่อาพาธอาจหวนกลับเป็นใหม่อีก อย่ากระนั้นเลย เราเริ่มระดมความเพียรเสียก่อนเถิด..."

ในกรณีที่ความคิดอกุศลเกิดขึ้นแล้ว ท่านก็แนะนำวิธีแก้ไขไว้ และวิธีแก้ไขนั้น ส่วนมากก็ใช้วิธีโยนิโสมนสิการแบบเร้ากุศลนั่นเอง ดังตัวอย่างในวิตักกสัณฐานสูตร พระพุทธเจ้าทรงแนะนำหลักทั่วไปในการแก้ความคิดอกุศลไว้ 5 ขั้น มีใจความว่า ถ้าความคิดความดำริที่เป็นบาปเป็นอกุศล ประกอบด้วยฉันทะ หรือโทสะ หรือโมหะก็ตาม เกิดมีขึ้น อาจแก้ไขได้ดังนี้

1.มนสิการ คือคิดนึกใส่ใจถึงสิ่งอื่น ที่ดีงามเป็นกุศล หรือหาเอาสิ่งอื่นที่ดีงามมาคิดนึกใส่ใจแทน (เช่นนึกถึงสิ่งที่ทำให้เกิดเมตตา แทนสิ่งที่ทำให้เกิดโทสะเป็นต้น); ถ้าปฏิบัติอย่างนี้แล้ว ยังไม่หาย

2.พึงพิจารณาโทษของความคิดที่เป็นอกุศลเหล่านั้นว่า ไม่ดีไม่งาม ก่อผลร้าย นำความทุกข์มาให้อย่างไรๆ; ถ้ายังไม่หาย

3.พึงใช้วิธีต่อไป คือ ไม่คิดถึง ไม่ใส่ใจถึงความคิดชั่วร้ายที่เป็นอกุศลนั้นเลย เหมือนคนไม่อยากเห็นรูปอะไรที่อยู่ต่อตา ก็หลับตาเสีย หรือหันไปมองทางอื่น; ถ้ายังไม่หาย

4.พึงพิจารณาสังขารสัณฐานของความคิดเหล่านั้น คือจับเอาความคิดนั้นมาเป็นสิ่งสำหรับศึกษาในแง่ที่เป็นความรู้ ไม่ใช่เรื่องของตัวตน ว่าความคิดนั้นเป็นอย่างไร เกิดจากมูลเหตุปัจจัยอะไร; ถ้ายังไม่หาย

5.พึงขบฟัน เอาลิ้นดุนเพดาน อธิษฐานจิต คือ ตั้งใจแน่วแน่เด็ดเดี่ยว ข่มใจระงับความคิดนั้นเสีย

หน้า 27

วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม (30)


บางแห่ง ท่านแนะนำวิธีปฏิบัติสำหรับแก้ไขความคิดอกุศลเฉพาะอย่างไว้ก็มี เช่น แห่งหนึ่งพระพุทธเจ้าตรัสแนะนำวิธีแก้ไขกำจัดความอาฆาตไว้ว่า อาฆาตเกิดขึ้นต่อบุคคลใด พึงเจริญเมตตาที่บุคคลนั้น พึงเจริญกรุณา พึงเจริญอุเบกขาที่บุคคลนั้น หรือพึงไม่คิดถึง ไม่ใส่ใจถึงบุคคลนั้น หรือตั้งความคิดต่อบุคคลนั้น ตามหลักแห่งความที่แต่ละคนมีกรรมเป็นของตนว่า

ท่านผู้นี้ มีกรรมเป็นของของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นที่กำเนิด เป็นพวกพ้อง เป็นที่พึ่งพำนัก เขาทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ก็จักเป็นทายาทของกรรมนั้น

อนึ่ง พระสารีบุตรได้แนะนำวิธีแก้ไขกำจัดอาฆาต คือความอึดอัดขัดใจแค้นเคืองไว้อีก 5 อย่าง โดยให้รู้เข้าใจความจริงเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคลว่า

- บางคน ความประพฤติทางกายไม่เรียบร้อยหมดจด แต่ความประพฤติทางวาจาเรียบร้อยหมดจดก็มี

- บางคน ความประพฤติทางวาจาไม่เรียบร้อยหมดจด แต่ความประพฤติทางกายเรียบร้อยหมดจดก็มี

- บางคน ความประพฤติทางกายก็ไม่เรียบร้อยหมดจด ความประพฤติทางวาจาก็ไม่เรียบร้อยหมดจด แต่ทางใจยังปลอดโปร่งผ่องใสดีงามได้เป็นครั้งคราว

- บางคน ความประพฤติทางกายก็ไม่เรียบร้อยหมดจด ความประพฤติทางวาจาก็ไม่เรียบร้อยหมดจด ใจก็ไม่ได้ช่องโอกาสที่จะดีงามผ่องใสเป็นครั้งคราวบ้างเลย

- บางคน ความประพฤติทางกายก็เรียบร้อยหมดจดดี ความประพฤติทางวาจาก็เรียบร้อยหมดจดดี ใจก็ดีงามผ่องใสได้เรื่อยๆ


1.สำหรับคนที่เสียด้านความประพฤติอาการกิริยาทางกาย แต่ความประพฤติการแสดงออกทางวาจาเรียบร้อยดี เมื่อจะแก้ไขกำจัดอาฆาตนั้น ไม่พึงมนสิการคือใส่ใจคิดถึงความประพฤติไม่ดีทางกายของเขา พึงมนสิการเฉพาะแต่ความประพฤติดีงามทางวาจาของเขา เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถือธุดงค์ครองผ้าบังสุกุล เดินไปพบเศษผ้าเก่าบนท้องถนน เธอเอาเท้าซ้ายกด แล้วเอาเท้าขวาคลี่ผ้านั้นออก ส่วนใดยังดีใช้ได้ ก็ฉีกเอาแต่ส่วนนั้นไป

2.สำหรับคนที่เสียทางด้านความประพฤติหรือการแสดงออกทางวาจา แต่ความประพฤติทางกายเรียบร้อยดี ในเวลานั้น ก็ไม่พึงมนสิการถึงการที่เขามีความประพฤติเสียทางวาจา พึงมนสิการแต่การที่เขามีความประพฤติทางกายเรียบร้อยดี เปรียบเหมือนสระโบกขรณีมีสาหร่ายจอกแหนคลุมเต็มไปหมด คนเดินทางร้อนแดด เหน็ดเหนื่อย หิวกระหายมาถึงเข้า พึงลงไปยังสระโบกขรณีนั้น เอามือทั้งสองแหวกสาหร่ายจอกแหนออกแล้ว กระพุ่มมือกอบแต่น้ำขึ้นมาดื่มแล้ว เดินทางต่อไป

3.สำหรับคนที่เสียทั้งความประพฤติทางกายและการแสดงออกทางวาจา แต่ใจรู้จักปลอดโปร่งดีงามผ่องใสเป็นครั้งคราว ในเวลานั้น ไม่พึงมนสิการการที่เขามีความประพฤติทางกายและวาจาที่เสียหาย พึงมนสิการแต่การที่เขามีจิตใจเปิดช่องผ่องใสดีงามได้เป็นครั้งคราว เปรียบเหมือนมีน้ำขังอยู่เล็กน้อยในรอยเท้าโค คนผู้หนึ่งเดินทางร้อนแดด เหน็ดเหนื่อย หิวกระหาย มาถึงเข้า

เขาคิดว่า น้ำในรอยเท้าโคนี้มีเพียงนิดหน่อย ถ้าเราเอามือวักหรือใช้ภาชนะตักดื่ม น้ำก็จักกระเพื่อม และขุ่นคลั่กขึ้น ถึงกับทำให้ใช้ดื่มไม่ได้ ถ้ากระไร เราควรลงนั่งคุกเข่า เอามือยัน ก้มลงเอาปากดื่มอย่างวัวเถิด เขาคิดดังนั้นแล้ว ก็ลงนั่งคุกเข่า เอามือยัน ก้มลงทำอย่างโค เอาปากดื่มน้ำเสร็จแล้ว ก็หลีกไป

4.สำหรับคนที่เสียทั้งความประพฤติทางกายและการแสดงออกทางวาจา อีกทั้งจิตใจก็ไม่ปลอดโปร่งดีงามผ่องใสเป็นครั้งเป็นคราวได้เลย ในเวลานั้น ควรตั้งความเมตตาการุณย์ ความคิดอนุเคราะห์ช่วยเหลือต่อเขา โดยคิดว่า โอ้หนอ ขอให้ท่านผู้นี้ละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริตได้เถิด ขอให้ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริตได้เถิด

 ขอให้ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริตได้เถิด ขอท่านผู้นี้อย่าได้ตายไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรกเลย เปรียบเหมือนคนเจ็บไข้ ได้ทุกข์ ป่วยหนัก กำลังเดินทางไกล หมู่บ้านข้างหน้าก็ยังไกล หมู่บ้านข้างหลังก็อยู่ไกล เขาไม่อาจได้อาหารที่เหมาะ ไม่อาจได้ยาที่เหมาะ ไม่อาจได้คนพยาบาลที่เหมาะ ไม่อาจได้คนพาไปสู่ละแวกบ้าน

มีคนผู้หนึ่งเดินทางไกลมาเห็นเข้า เขาพึงเข้าไปตั้งความเมตตาการุณย์ ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือแก่คนที่เจ็บไข้นั้น ด้วยความคิดว่า โอ้หนอ ขอให้คนผู้นี้พึงได้อาหารที่เหมาะเถิด พึงได้ยาที่เหมาะเถิด พึงได้คนพยาบาลที่เหมาะเถิด พึงได้คนพาไปสู่ละแวกบ้านที่เหมาะเถิด ขออย่าให้คนผู้นี้ต้องถึงความพินาศเสีย ณ ที่นี้เลย

หน้า 27


ขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์

กราบนมัสการขอบพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์

สิริสวัสดิ์วุธวารค่ะ




Create Date : 23 เมษายน 2557
Last Update : 23 เมษายน 2557 10:05:13 น. 0 comments
Counter : 503 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.