"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2557
 
14 กรกฏาคม 2557
 
All Blogs
 
การให้ผลของกรรม (18) - พระพรหมคุณาภรณ์

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)



ปฏิกรรมนี้เป็นการนำหลักกรรมมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคน ด้วยการให้เขาพัฒนากรรมของเขาเอง โดยอย่างน้อยให้ปฏิกรรม คือแก้ไข เพื่อให้การกระทำครั้งต่อไปดียิ่งขึ้น หรือกลับร้ายกลายดี มิใช่ว่ากลัวจะมีกรรม ก็เลยไม่ทำอะไร เหมือนอย่างลัทธินิครนถ์

และที่สำคัญคือ ไม่ใช่ว่าทำผิดพลาดไปแล้วก็มัวครุ่นคิดหม่นหมอง ขุ่นข้อง คร่ำครวญ หวนละห้อย จมอยู่กับอดีต ซึ่งทางธรรมถือว่าเป็นการเสริมซ้ำบาปอกุศล และกีดกั้นกุศลให้เสียโอกาส เป็นการเพิ่มทุกข์ให้แก่ตนเอง

การที่ว่าเมื่อทำอะไรผิดพลาดไปแล้ว ตนมาตระหนักรู้ความผิดพลาดนั้น ก็ไม่มัวอยู่กับความรู้สึก ทั้งไม่มัวทุกข์ และทั้งไม่มัวนิ่งนอนใจ แต่หันไปหาความรู้ คือไปอยู่กับปัญญา ค้นหาพบข้อบกพร่องแล้วคิดที่จะแก้ไขปรับปรุง หรือคิดกลับตัวใหม่ ก็จะได้ปฏิกรรม กลับจากร้ายกลายเป็นดี เข้าหลักที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญนี้

อีกทั้งเข้าหลักเป็นความไม่ประมาทด้วย เท่ากับว่าปฏิกรรมมาหนุนย้ำความไม่ประมาท ที่เป็นหลักธรรมใหญ่ ทำให้บุคคลนั้นเจริญงอกงาม มีแต่ความก้าวหน้า พัฒนาสู่ความสมบูรณ์

ขอนำพุทธภาษิตในพระธรรมบท ซึ่งพระองคุลิมาลเมื่อกลับตัวกลับใจมาเกิดใหม่ในอริยวินัยแล้ว ครั้นบรรลุอรหัตตผล เสวยวิมุตติสุขอยู่ ก็ได้นำมากล่าว เท่ากับเป็นการเสริมย้ำความในเรื่องปฏิกรรม ดังนี้

"ผู้ใด ประมาทพลาดไปแล้วในกาลก่อน ครั้นภายหลัง (กลับตัวได้) ไม่ประมาท ผู้นั้น ย่อมทำโลกนี้ให้สว่างสดใส ดุจดังดวงจันทร์อันพ้นไปแล้วจากเมฆหมอก"

"ผู้ใด ได้ทำบาปกรรมไว้ มาปิดเลิกเสียได้ด้วยกุศล ผู้นั้น ย่อมทำโลกนี้ให้สว่างสดใส ดุจดังดวงจันทร์อันพ้นไปแล้วจากเมฆหมอก"



5) กรรม ที่ทำให้สิ้นกรรม

ในหัวข้อว่าด้วยประเภทของกรรมข้างต้น เฉพาะหมวดสุดท้าย ได้จำแนกกรรมเป็น 4 อย่าง ตามสภาพที่สัมพันธ์กับวิบากหรือการให้ผล คือ

1.กรรมดำ มีวิบากดำ
2.กรรมขาว มีวิบากขาว
3.กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว
4.กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม

เรื่องการให้ผลของกรรมเท่าที่บรรยายมานี้ จำกัดอยู่ในวงของกรรม 3 ข้อต้น ที่มีชื่อว่า กรรมดำ กรรมขาว และกรรมทั้งดำทั้งขาว หรืออาจเรียกง่ายๆ ว่า กรรมดี และกรรมชั่ว จึงยังเหลือกรรมอย่างที่ 4 ค้างอยู่

กรรมอย่างที่ 4 นี้มีลักษณะการให้ผลต่างออกไปจากกรรม 3 ข้อต้นอย่างสิ้นเชิง จึงแยกออกมาพูดไว้ต่างหาก

คนทั่วไป และแม้แต่ชาวพุทธส่วนมาก มักสนใจกันแต่เรื่องกรรม 3 อย่างแรก และมองข้ามกรรมข้อที่ 4 นี้ไปเสีย ทั้งๆ ที่กรรมข้อสุดท้ายนี้เป็นหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนา และเป็นข้อปฏิบัติที่นำไปสู่จุดหมายที่แท้จริงของพุทธธรรม

กรรมดำ และกรรมขาว หรือกรรมดี-กรรมชั่วโดยทั่วไปนั้น แสดงออกเป็นการกระทำในรูปแบบต่างๆ มากมาย ซึ่งประมวลลงได้ในขอบเขตของหลักที่เรียกว่าอกุศลกรรมบถ 10 และกุศลกรรมบถ 10 เช่น การทำลายชีวิต การละเมิดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน

ความประพฤติผิดทางเพศ การพูดชั่วหรือทำร้ายกันด้วยวาจา เป็นต้น และการทำความดีในทางตรงกันข้าม กรรมเหล่านี้เป็นเหตุให้ผู้กระทำประสบผลดีและผลร้ายต่างๆ ตามนัยที่กล่าวมาแล้ว เป็นเครื่องปรุงแต่งชีวิต พร้อมทั้งวิถีทางดำเนินของชีวิตนั้น ทำให้เขาทำกรรมดีและกรรมชั่วอื่นๆ ต่อไปอีก หมุนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ

ส่วนกรรมประเภทที่ 4 นี้ มีลักษณะการให้ผลในทางตรงข้าม คือ เป็นกรรมที่ไม่ทำให้เกิดกรรมสั่งสมต่อๆ ไป แต่เป็นกรรมที่ทำแล้วกลับทำให้สิ้นกรรม ทำให้หมดกรรม นำไปสู่ความดับกรรม หรือนำมาซึ่งความดับกรรม พูดง่ายๆ ว่า เป็นกรรมที่ทำแล้วไม่ทำให้เกิดมีกรรม

กรรมที่ทำให้สิ้นกรรม หรือกรรมที่สร้างภาวะปลอดกรรมนี้ ได้แก่การปฏิบัติตามหลักการที่นำไปสู่จุดหมายสูงสุดของพุทธธรรม ถ้ามองที่หลักอริยสัจ 4 ก็ได้แก่ ข้อที่ 4 ของอริยสัจนั้น คือ มรรคมีองค์ 8 ซึ่งอาจจะจัดรูปใหม่ เป็นข้อปฏิบัติที่เรียกชื่ออย่างอื่น เช่น โพชฌงค์ 7 หรือไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นต้น ก็ได้

บางทีท่านกล่าวถึงกรรมอย่างที่ 4 นี้ โดยสัมพันธ์กับกรรม 3 ข้อแรกว่า ได้แก่เจตนาเพื่อละกรรม 3 อย่างนั้น ซึ่งก็คือการกระทำหรือการปฏิบัติที่ประกอบด้วยเจตจำนง หรือความคิดในทางที่เป็นการทำให้กรรม 3 อย่างแรกไม่เกิดขึ้นนั่นเอง หรือถ้ากำหนดด้วยมูลเหตุก็เรียกว่า กรรมที่เกิดจากอโลภะ อโทสะ และอโมหะ

หน้า 27

ขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์

กราบนมัสการขอบพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์

สิริสวัสดิ์จันทรวารค่ะ     




Create Date : 14 กรกฎาคม 2557
Last Update : 14 กรกฎาคม 2557 8:08:11 น. 0 comments
Counter : 538 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.