"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2557
 
3 ตุลาคม 2557
 
All Blogs
 
ศีลกับเจตนารมณ์ทางสังคม (2) - พระพรหมคุณาภรณ์

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)



ส่วนวินัยนั้น ในภาษาบาลีเดิม เป็นคำใหญ่มาก และมีความหมายกว้างขวางมากหลายนัย เช่นเป็นระบบใหญ่คู่กับธรรม ในคำว่า "ธรรมวินัย" ความหมายหลายอย่างของวินัยอยู่นอกชุด 3 ที่รวมกับศีลและสิกขาบทนั้น พอเข้ามาในภาษาไทย เพราะเป็นคำที่มีความหมายกว้างอย่างที่ว่า

และในชุดนี้เอง ก็เป็นคำที่อยู่กลาง ระหว่างศีลกับสิกขาบท ในเมื่อคำเหล่านี้ เวลาใช้อย่างหลวมๆ ก็พอแทนกันได้อยู่แล้ว คนจับที่คำต้นคือศีล กับคำท้ายคือสิกขาบท คงรู้สึกว่าพอแล้ว ก็เลยหยุดเอาแค่นั้น คำว่าวินัยก็เลยมีความหมายค่อนข้างพร่าๆ คลุมๆ

ยิ่งกว่านั้น ขณะที่ในวัดหรือในพระศาสนา วินัยใช้กันในความหมายแบบกว้างๆ คลุมๆ และพร่าด้วย คำนี้กลับออกไปเป็น คำที่ใช้มากในสังคมของชาวบ้านชาวเมือง ตลอดจนในวงงานกิจการสมัยใหม่ แต่มีความหมายแคบลงไปมาก

กลายเป็นเรื่องของการควบคุมตัวและควบคุมกันให้อยู่ในระเบียบ ให้ทำตามข้อบังคับ ให้เป็นไปตามกติกา เช่น วินัยจราจร และแถมว่า ในแง่หนึ่ง วินัยมีความหมายกลายเป็นคุณสมบัติของคน คือความเข้มแข็งที่สามารถบังคับควบคุมตนให้อยู่ให้ทำได้ตามหลักการ ตามกฎกติกา (ตรงนี้ก็สับสนกับศีลด้วย)

ถึงตอนนี้ เหมือนมีการแบ่งแยกกันออกไป คือ ทางฝ่ายวัด หรือทางพระศาสนา ใช้คำว่า "ศีล" ส่วนทางฝ่ายคนนอกวัด หรือทางบ้านเมือง และสังคมภายนอก ใช้คำว่า "วินัย" ดังที่ว่า เวลาพูดคำว่าศีลขึ้นมา คนไทยทั่วไปก็จะนึกว่าเป็นเรื่องไปที่วัด หรือทางศาสนา ทั้งที่ว่า ทั้งศีล และวินัย เป็นคำสำคัญทั้งคู่ในพระพุทธศาสนา

ทีนี้ เรื่องมิใช่แค่นั้น หันกลับมาดูที่วัด เมื่อคน (รวมทั้งพระ) ห่างเหินเนื้อหาสาระของพระธรรมวินัยออกไปๆ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับถ้อยคำทางธรรมวินัยนั้น ก็รางเลือนลงๆ แม้แต่สามคำในชุดที่พูดถึงนี้ ก็เสื่อมถอยจากวิถีชีวิตลงไปอีก

 กล่าวคือ ใน 3 คำนั้น จะเห็นว่า คำแรกคือศีล ที่เป็นคุณสมบัติในตัวคน หรือเป็นภาวะของคนนั้น ก็คือเป็นจุดหมายของ 2 คำหลัง เพราะที่ฝึกบุคคลด้วยสิกขาบท โดยควบคุมตรวจสอบให้เป็นไปพร้อมด้วยวินัยนั้น ก็เพื่อให้เขาเป็นคนมีศีล หรือเพื่อให้ศีลเกิดขึ้นในตัวคน

ไปๆ มาๆ ในที่สุด คำว่าศีลคำเดียว กลายเป็นใช้แทนได้หมด ทั้งแทนสิกขาบทก็ได้ แทนวินัยก็ได้ เลยเหลือแต่ศีลคำเดียว วินัยกับสิกขาบทเหมือนอยู่แค่หลังฉาก แต่พร้อมกับที่ศีลมีความหมายคลุมหมด ก็พร่ามัวไปด้วย

แล้วเรื่องก็ไม่ใช่เท่านั้นอีก ที่ว่าศีลเป็นจุดหมายนั้น หมายถึงเป็นจุดหมายในการพัฒนาคน ดังที่ในหลักการศึกษา คือไตรสิกขา มีศีลเป็นข้อต้นในชุดศีล สมาธิ และปัญญา เรียกให้เต็มว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา

แปลง่ายๆ รวบรัดว่า ศึกษาคือฝึกฝนพัฒนาให้มีศีลยิ่งขึ้นไป ให้จิตใจมีคุณภาพยิ่งขึ้นไป และให้มีปัญญายิ่งขึ้นไป ตรงนี้เป็นเรื่องของการศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องของคน ที่ว่าชีวิตคนจะดีได้ โลกมนุษย์จะดีได้ ก็ต้องพัฒนาคนให้ดี ให้สมบูรณ์ ให้มีคุณภาพสูงสุด อย่างน้อยคนก็เป็นผู้ไปทำกิจกรรมแม้แต่ในสังคม ศีลก็จึงมาอยู่ที่ตัวคน แล้วก็แยกเป็นแต่ละบุคคล

แต่มองย้อนออกไปดูในกระบวนการฝึกคนนั้น จะเห็นชัดว่า ในการพัฒนาคนแม้แต่ละคนๆ ให้เจริญงอกงามนั้น ต้องมีการรู้จักอยู่ร่วมสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ในสังคม มีการทำกิจกรรมในสังคมนั้น ทั้งแต่ละคนและร่วมกัน ตั้งแต่กิจกรรมเพื่อเจริญกาย จนถึงกิจกรรมเพื่อเจริญปัญญา มีการจัดสภาพแวดล้อม การจัดสรรแบ่งปันปัจจัยสี่และสรรพอามิส การกินอยู่ การประกอบอาชีพ การปกครอง ฯลฯ สารพัด นี่คือ วินัย

แม้ว่าวินัยจะเพื่อศีล อยู่ในชุดร่วมกับศีลก็ตาม แต่วินัยก็มีขอบข่ายเขตแดนแตกต่างจากศีล มิใช่เป็นเพียงคำที่ใช้แทนกันได้ หรือสับสนปนเป หรือพร่ามัว อย่างที่ความเข้าใจของคนได้เสื่อมลงไป

ได้อธิบายมาเพียงนี้ พอให้เข้าใจความหมายของถ้อยคำที่สำคัญ เพื่อเป็นฐานของการที่จะพูดเรื่องศีลกันต่อไป ในด้านหนึ่ง ก็จะได้รู้เข้าใจความหมายที่ แท้จริงให้ชัดเจน แต่พร้อมกันนั้น

ในอีกด้านหนึ่ง ก็จะได้ตระหนักถึงสภาพปัจจุบัน ที่ได้มีความเข้าใจความหมายของถ้อยคำเหล่านี้ไม่เพียงพอ โดยมองเห็นว่าความหมายได้คับแคบคลาดเคลื่อน ผิดเพี้ยนไปอย่างไร แล้วศึกษาอย่างรู้เท่าทันที่จะให้ได้ผลตามที่มุ่งหมาย

หน้า 27


ขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์

กราบนมัสการขอบพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์

สิริสวัสดิ์ศุกรวารค่ะ    




Create Date : 03 ตุลาคม 2557
Last Update : 3 ตุลาคม 2557 10:11:53 น. 0 comments
Counter : 459 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.