บันทึกรัฐพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ พุทธศตวรรษที่10-12
เป็น ครั้งแรกที่ประวัติศาสตร์จีนเปิดเผยให้ทราบอย่างเป็นทางการว่ากษัตริย์ในดิน แดนคาบสมุทรทางภาคใต้ของประเทศไทย ทรงนับถือศาสนาพุทธแตกต่างกับกษัตริย์ในประเทศกัมพูชาที่นับถือศาสนาพราหมณ์ ตลอดจนกล่าวถึงการสืบราชบัลลังก์ของราชวงศ์โคตมะ อันเป็นราชวงศ์ของพระพุทธเจ้า ซึ่งสอดรับกับตำนานสุวรรณปุระวงศ์ของ ประเทศศรีลังกา ซึ่งอ้างถึงการเสด็จมาของ“เจ้าชายสุมนะ” หรือ “เจ้าชายสุมิตร” สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเผยแผ่พุทธศาสนาเข้ามายังสุวรรณภูมิ แม้ว่าไม่มีหลักฐานชัดเจนเพียงพอที่จะยืนยันในเรื่องนี้ แต่หลักฐานความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศจีนในยุคที่อาณาจักรอีสานปุระ เรืองอำนาจอยู่ในประเทศกัมพูชา และบุกเข้ามายึดครองดินแดนในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตลอดจนแผ่ขยายอำนาจเข้าไปในประเทศ รวมทั้งข้อสงสัยในเรื่องอำนาจทางการเมืองของอาณาจักรทวารวดี จดหมายเหตุราชทูตเสียง-จุ่น ได้บอกให้ทราบว่าประเทศชื่อ-ถู-กวั่ว หรือประเทศเชียะ-โท้วเป็นศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองเศรษฐกิจ สังคม การทหาร และศิลปวัฒนธรรมของสหพันธรัฐศาสนาพุทธยังมีอธิปไตยสมบูรณ์อยู่ในทะเลใต้

……เพื่อทราบถึงความหมายอันน่าสนใจของคำว่า ประเทศดินแดง อันเป็นการขนานนามบ้านเมืองของตนตามแบบชาวภารตะในประเทศอินเดียที่เรียกชื่อ ประเทศตนเองว่าชมพูทวีปนั้น นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าอาจหมายถึง “เมืองตมะลี” หรือ “เมืองกมะลี” ในคัมภีร์เก่าแก่ของชาวอินเดียสมัยพุทธศตวรรษที่ 5 ต่อมาศิลาจารึกหลักที่ 24 กล่าวถึงชื่อ “กรุงตามพรลิงค์” มีนักประวัติศาสตร์บางท่านพยายามให้คำอธิบายว่าหมายถึง “ศิวลึงค์สีแดง” ซึ่งเป็นรูปเคารพของศาสนาพราหมณ์ แต่บ้านเมืองเหล่านี้ล้วนแต่นับถือศาสนาพุทธ ชื่อประเทศดินแดงได้รับการยืนยันเมื่อนายทหารอังกฤษชื่อ พันเอกเยมส์ โลว์ พบแผ่นอิฐจารึกที่เมืองสวินเวสเลย์ รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย ตรงกลางแผนจารึกนั้นทำเป็นรูปเจดีย์ทรงบาตรคว่ำ มียอดฉัตร 7 ชั้น ด้านข้างจารึกตัวอักษรภาษาสันสกฤตสันนิษฐานกันว่า มีอายุเก่าแก่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 10 มีข้อความว่า
…… “มหานาวิกะนามพุทธคุปต์ ผู้มีภูมิลำเนาอยู่ที่ภูมิรักตะมฤติกา ขอให้การเดินทางประสบความสำเร็จ”

……ในปีที่ 16 รัชการพระจ้าเจิ้น-กวนแห่งราชวงศ์ถัง ตรงกับพ.ศ.1185 คณะทูตของประเทศต้า-หม่า-หลิง เชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระจักรพรรดิ ราชทูตทูลรายงานว่า ประเทศของตนถูกรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้าน เรือสินค้าถูกรบกวนปล้นสะดมจึงขอความคุ้มครองจากพระจักรพรรดิ ทั้งทูลขอผ่อนผันข้อจำกัดทางการค้าเป็นกรณีพิเศษแก่พวกพ่อค้าที่ไปจากประเทศ โฮ-ลิง

……

จดหมายเหตุของภิกษุนักจาริกจีน ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังอีกรูปหนึ่งมีชื่อว่า “หลวงจีนอี้-จิง” ซึ่งเคยเดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาในประเทศอินเดียโดยทางเรือทั้งขาไปและขากลับ ผ่านทะเลจีนใต้ระหว่าง พ.ศ. 1214 ถึง พ.ศ. 1236 ท่านได้เดินทางไปยังแคว้นสมทัตหรือบังกลาเทศ เหมือนกับเมื่อครั้งหลวงจีนยวน-ฉ่าง หรือ พระถังซำจั๋งเคยไปเยือนเมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 11 ท่านจดบันทึกถึงดินแดนสุวรรณภูมิไว้ว่า ..
…… “ดิน แดนทางตะวันออกของมหาวิทยาลัยนาลันทาไกลออกไป 500 โยชน์ เรียกว่า ปัจระประเทศฝ่ายตะวันออก ณ ที่สุดถึงเทือกภูเขาดำใหญ่ซึ่งอาจเป็นพรมแดนฝ่ายใต้ของตะรุ ฟัน(ประเทศทิเบต) กล่าวกันว่าเทือกเขานี้(ภูเขาหิมาลัย) อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลจก(มณฑลเสฉวน) เราอาจเดินทางไปถึงภูเขานี้ได้ในเวลากว่า 1 เดือน ทางใต้จากนี้ไป มีบ้านเมืองจดทะเลเรียกว่า ประเทศซิด-หลี-ซ่า-ต้า-ล้อ (อาณาจักรศรีเกษตร ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศพม่า) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศนี้เป็นประเทศหลั่ง-เจีย-สู(อาณาจักรคามลังกา) ต่อมาทางตะวันออกคือ ประเทศตู-โห-โป-ติ (อาณาจักรทวารวดี) ต่อไปทางตะวันออกในที่สุดถึงประเทศลิน-ยี่ (อาณาจักรจามปา ในประเทศเวียดนาม) พลเมืองของประเทศเหล่านี้นับถือพระรัตนตรัยอย่างดี...”
สมัยต้นพุทธ ศตวรรษที่ 12 กล่าวว่าพระวาสุเทพฤาษีได้เนรมิตเมืองหนึ่งมีชื่อว่า “มิคสังฆะนคร”ให้แก่ “เจ้ากุนกุมาร” เป็นกษัตริย์ปกครอง ต่อมาได้สร้าง“เมืองบุรณนคร” “เมืองอวิทุระนคร ” “เมืองรมยะนคร” ให้บรรดาลูกหลานสืบราชวงภายหลังกษัตริย์ปกครองไม่เป็นธรรม เทพยดาทั้งหลายพากันดิโรธจึงบันดาลให้น้ำท่วม บ้านเมืองได้พินาศล่มจมไปพระวาสุเทพฤาษีจึงไปปรึกษากับพระสุกทันตฤาษี ซึ่งจำศิลภาวนาอยู่ที่เมืองละโว้ มีความเห็นร่วมกันว่าควรสร้างบ้านเมืองขึ้นใหม่เพื่อสืบพระพุทธศาสนาบนแผ่น ดินที่สูงกว่าที่แห่งใดริมฝั่งแม่น้ำปิง เมื่อช่วยกันเนรมิตพระนครใหม่เสร็จสิ้นแล้ว จึงขนานนามว่า เมืองลำพูน แล้วร่วมกันพิจารณาหาผู้มีปัญญาสามารถและตั้งอยู่ในศีลสุจริตมาเป็นผู้ ปกครอง ต่างมีความเห็นร่วมกันว่า“พระนางจามเทวี” ราชธิดากษัตริย์กรุงละโว้ ทรงเป็นขัตติยนารี ดำรงอยู่ในศีลบริสุทธิ์ มีสติปัญญาและอัธยาศัยอันงามพร้อม สมควรเป็นกษัตริย์ปกครองสืบไป


……

อ่านเพิ่มเติม : ตามพรลิงค์ อาณาจักรที่ถูกลืม เรียบเรียง โดย พลตำรวจตรี สรรเพชร ธรรมาธิกูล





Create Date : 02 พฤษภาคม 2556
Last Update : 2 พฤษภาคม 2556 7:53:19 น.
Counter : 2188 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
พฤษภาคม 2556

 
 
 
1
3
8
11
12
14
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
28
29
30
31
 
 
All Blog