พุทธะ นิพพานบรรยาย ส่วน1 ตอน3

การรับ "พระธรรมหนึ่งกำมือ" นั้น ยังคงทำได้ ด้วยพระพุทธเจ้าทรงให้สัจวาจาไว้แก่ปวงสัตว์ทั้งหลายว่าจะทรงดูแลพระำพุทธศาสนาจนถึงอายุพุทธกาล ๕,๐๐๐ ปี และทรงยืนยันว่าพระอรหันต์จะไม่ขาดลงไปถ้าบุคคลตั้งใจใฝ่ในธรรมของพระพุทธองค์จริงๆ
ดังนั้น เราทุกคนสามารถขอรับ "พระธรรมหนึ่งกำมือ" ที่เหมาะสมเฉพาะแต่ละบุคคลได้ "เสมอ" และ "ตลอดเวลา" โดยไม่ต้องไปหาสังขารของพระพุทธเจ้าได้ที่ไหน ท่านทรงอยู่เหนือกาลเวลา, อยู่เหนือสังขาร, อยู่เหนือชาติภพใดๆ แล้ว (แต่ยังมีภาวะการดำรงอยู่ก็เท่านั้นเอง เมื่อหมดภาระหน้าที่ใน ๕,๐๐๐ ปีนี้แล้ว แม้่แต่ภาวะการดำีรงอยู่ ก็ไม่จำเป็น)
ขอเพียงบุคคลมีจิตศรัทธาตรงต่อพระพุทธเจ้าจริงๆ พระพุทธเจ้าแท้จริง ไม่ใช่พระพุทธรูปศักดิสิทธิ์ที่ ไ่หน, หลวงปู่ หลวงพ่อ ผู้เลิศอภิญญาคนใด, เจ้าลัทธินิกาย สายใด, วัดใด, ประเทศไหน ฯลฯ
เมื่อจิตมีศรัทธาตรงทางแล้ว ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง เพราะปวงสัตว์ทั้งหลายย่อมสามารถอาศัยบารมีพระพุทธเจ้าเป็น "สรณะ" ได้แน่นอน! (เรื่องนิพพาน พึ่งตนเองแค่เพียง ๒๐% ก็ได้ ที่เหลืออีก ๘๐% บารมีพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งได้ครับ แต่ถ้าเรื่องกรรมส่วนตัวเองที่นอกเหนือไปจากเรื่องนิพพาน ควรพึ่งตัวเอง ๘๐% ที่เหลือจึงพึ่งพระโพธิสัตว์)
กิเลสนิพพาน 
หมายถึง ธรรมชาติแห่งกิเลสอันบริสุทธิ์ แต่เดิมแท้ก่อนจะเกิดมีสมมุติและการเกิดดับ หรือ "รากเหง้าแห่งธรรมของกิเลส"
หมายถึงอะไร? อย่างแรก คำว่า "กิเลส" หมายถึง ธรรมอันเป็นเครื่องปรุงแต่งทำให้ใจเศร้าหมอง ไม่ผ่องใส และสุดท้าย ก็จะกลายเป็นทุกข์ เป็นโทษ ด้วยจะนำพาบุคคลที่มีกิเลสไปทำกรรมนานัปการ และไม่วายต้องเวียนว่ายไปเกิดเพื่อรับผลกรรมนั้น
นั่นคือ "กิเลส" ซึ่งเป็นธรรมชาติหนึ่งที่มีหน้าที่ขับดันให้ปวงสัตว์เวียนว่ายตายเกิดไปข้างหน้า นั่นเอง หมายความว่า ถ้าไม่มีกิเลส สัตว์ก็ไม่อยากที่จะทำกรรมอะไร และไม่มีแรงเวียนว่ายตายเกิด เพื่อเรียนรู้และพัฒนาจิตวิญญาณไปข้างหน้า ดังนั้น กิเลสจึงมีหน้าที่ของมันเช่นนี้้ เป็นเช่นนั้นเอง ไม่ใช่สิ่งที่ผิดหรือถูก, ดีหรือเลวร้ายอะไร เป็นธรรมอย่างหนึ่ง กลางๆ อันผู้มีปัญญาเห็นแล้ว ก็อุเบกขา วางเฉย และเป็นกลาง ย่อมไม่มีอคติหรือฉันทาคติต่อกิเลส เข้าถึงซึ่ง "รากเหง้าแห่งกิเลส" ที่เรียกว่า "กิเลสนิพพาน" อันเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง เท่านั้น
อันคำว่า "กิเลสนิพพาน" นี้ คือ รากเหง้าแห่งกิเลสที่หลุดพ้นแล้วจากภาวะเกิดดับ บางท่านเข้าใจผิดไปว่า "กิเลสนิพพาน" คือ "กิเลสดับหรือต้องไปดับกิเลส" นั่นเพราะไม่เ้ข้าใจความหมายของคำว่า "นิพพานที่หมายถึงหลุดพ้นแล้วจากภาวะเกิดและดับ" หากยังติดอยู่กับอาการดับจะเป็นนิพพานได้อย่างไร?
ดังนั้น  กิเลสนิพพาน จึงไม่ใช่ทั้งกิเลสดับ หรือกิเลสเกิด อาการกิเลสดับ และกิเลสเกิด นั้น เป็นอาการปกติของสมมุติทางโลกที่เรียกว่า "กิเลส" เป็นมายาหลอกหลอนดุจกลีบดอกไม้ที่ร่วงโรย เกิดมาแล้วดับไป ไม่จีรัง เป็นอนิจจัง ไม่ใช่นิพพาน เป็นธรรมอันวนอยู่ในวัฏฏสงสาร เป็นธรรมอันไม่หลุดพ้นไปจากวงจรปฏิจสมุปบาท จึงไม่อาจเรียกได้ว่า "กิเลสนิพพาน"
หากท่านพิจารณาเห็นกิเลสดับไป นั่น พึงเรียกได้แต่เพียงว่า "กิเลสดับ" ต่อเมื่อท่านเห็น "รากเหง้าในธรรมแท้แห่งกิเลส" อันไม่เกิดและไม่ดับแล้วนั้น จึงเรียกได้ว่า "กิเลสนิพพาน" ซึ่งจำต้องอาศัยช่วงจังหวะที่กิเลสดับลงก่อน ดุจเมฆที่บดบังดวงจันทร์ดับสิ้นลง ย่อมไม่มีสิ่งใดบดบังแสงจันทร์ได้อีก ท่านย่อมพิจารณาเห็นธรรมโดยง่าย ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำการดับกิเลส
อุปมาเหมือนไฟไหม้ฟืน เมื่อไม่มีผู้ใดไปดับ ฟืนย่อมถูกใหม้จนหมดเชื้อ เมื่อสิ้นเชื้อแล้ว แม้แต่ไฟและควัน ก็ไม่เหลืออีก ฟืนนั้นอุปมาดั่งกิเลส, ไฟอุปมาดั่งธรรม, ควันอุปมาดังความทุกข์ ฉะนั้น แต่หากท่าน "รีบดับไฟลงเสียก่อน" แล้ว ฟืนย่อมเหลือเชื้อ และจุดติดไฟได้อีกในวันหลัง อุปมา ดังคนที่รีบดับกิเลส ควันย่อมสิ้นลง ทุกข์ย่อมดับได้เพียงชั่วคราว ตราบใดยังเหลือเชื้่อ ย่อมติดไฟได้อีก ฉะนั้น ...ญาณ
หมายถึง ธรรมชาติแห่งการหยั่งรู้ที่พิเศษของร่างสังขารที่เื่ชื่อมโยงกับจิตวิญญาณอย่างเป็นหนึ่ง ความหมายนี้ค่อนข้างยาว ผมจะอธิบายขยายความเป็นข้อๆ ไป คือ

๑. ความเป็นธรรมชาติ กล่าวคือ ญาณ ก็เป็นเพียงธรรมชาติหนึ่งที่ไม่ต่างจากธรรมชาติทั่วไป ไม่อาจยึดมั่นถือมั่นได้, ไม่เที่ยง, ไม่จีรัง, ไม่ใช่ตัวตนของตน และนำพาบุคคลที่ลุ่มหลงไปสู่ความทุกข์ได้เช่นกัน กล่าวคือนำไปสู่การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฎจึงไม่ใช่ทางหลุดพ้นทุกข์ หากยึดติดในญาณทั้งหลายนั้น

๒. เป็นการหยั่งรู้พิเศษ เพราะแตกต่างจากปุุถุชนทั่วไำปที่ไม่มีญาณ จะไม่สามารถหยั่งรู้ได้เช่นนี้ จึงนับว่าพิเศษ เช่น ญาณหยั่งรู้ใจคน, ญาณหยั่งรู้ภาษาสัตว์ เป็นต้น ซึ่งญาณเหล่านี้มีความแตกต่างหลากหลายมากมาย แบ่งได้หลายชนิด แต่สามารถแบ่งกลุ่มใหญ่ๆ ได้สองกลุ่มคือ "โลกียญาณ" หรือญาณในแบบทางโลก และ "โลกุตรญาณ" หรือญาณในแบบทางธรรม

๓. ความเชื่อมโยงเป็นหนึ่ง ของจิตและร่างกาย หมายความว่าอย่างไร? หมายความว่าอย่างนี้่ครับ ปกติ จิตวิญญาณมีภาวะการหยั่งรู้ได้เหนือกายสังขาร อยู่แล้ว แต่หากจิตวิญญาณไม่อาจประสาน หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับร่างกายได้ มันก็ไม่สามารถสื่อสารให้ร่างกายรับรู้สิ่งที่มันรู้ได้ ในคนบางคน จิตวิญญาณรู้ว่าใครคือผู้มีธรรมทั้งยังเคารพนบนอมด้วย แต่สังขารของเขากลับไม่รู้และลบหลู่ก็ยังมี แต่ถ้าเมื่อใดที่จิตวิญญาณประสานการรับรู้ได้ดีกับร่างกายแล้ว ร่างกายนั้นก็จะทราบข้อมูลที่จิตวิญญาณของตนเองสื่อออกมาได้ ดังนั้น ญาณหยั่งรู้นี้ จึงเกิดจากความเป็นหนึ่งเดียวกันของจิตวิญญาณและสังขารด้วย
อนึ่ง ญาณเป็นผลมาจากการทำสมาธิหรือไม่ก็ได้ กล่าวคือ ในคนที่ทำสมาธิเจริญดี จนได้ผลเป็น "ญาณหยั่งรู้ต่างๆ" ก็มีได้ เป็นได้ แต่ก็ยังมีคนที่ไม่ได้ทำสมาธิแล้วเกิดญาณขึ้นก็มีเช่น บางคนที่ประสบอุบัติเหตุแล้วฟื้นขึ้นมากลายเป็นคนมีญาณหยั่งรู้พิเศษ ก็มีได้ เป็นได้ ปกติ ในคนที่ฝึกสมาธิ ย่อมฝึกสมาธิเืพื่อให้ได้ผลเป็น "ฌาน" คือ "ความสงบสุข" ก่อนจากนั้นจึงค่อยพัฒนาเป็น "ญาณ" คือ "การหยั่งรู้" ในภายหลัง ดังที่กล่าวแล้วว่า "ญาณหยั่งรู้" ไม่ได้มีต้นตอแห่งการหยั่งรู้มาจากฝ่ายสังขารเลย สังขารเป็นเพียงผู้รับที่ประสานกับต้นตอแหล่งข้อมูลความรู้ได้ ก็จะสามารถรู้ได้ แต่หากไม่สามารถประสานได้ ก็จะไม่สามารถรู้ได้เลย แต่ยังสามารถทำกิจได้เหมือนกับรู้เช่นกันเช่น อยู่ๆ เหมือนมีอะไรดลใจให้นำของไปให้คนบางคน  ซึ่งเป็นผู้มีบุญบารมีโดยไม่รู้ตัวว่าทำไปเพื่ออะไร, อยู่ๆ นึกชอบหรือสนใจใครบางคน ทั้งๆ ที่ไม่น่าจะชอบได้แต่ที่แท้จิตวิญญาณภายในขับดันให้เข้าไปหาผู้มีบุญบารมี เป็นต้น ดังที่เคยได้กล่่าวแล้วว่า "ต้นตอตัวรู้" มาจาก "ฝ่ายจิตวิญญาณ" อาจจะมาจากจิตวิญญาณภายในสังขารนั้นก็ได้ หรืออาจจะมาจากภายนอกที่ประสานเชื่อมโยงกันได้ ก็ได้ ไม่ว่าสังขารนั้นจะรับรู้โดยการเชื่อมโยงประสานกับตัวตนฝ่ายวิญญาณในแบบใด ก็นับว่ามี "ญาณ" หยั่งรู้ได้ทั้งสิ้น ในระดับที่ต่างกันไป ทั้งนี้ ในพระพุทธศาสนานับว่า "อาสวักขยญาณ" นับเป็น "ญาณหยั่งรู้" ที่เป็นที่สุด ถึงที่สุดแห่งธรรม ทำให้เกิดปัญญา หลุดพ้นจากทุกข์ได้แท้จริง
ฌาน 
หมายถึง สภาวธรรมชาติของจิตที่สงบระงับพ้นจากนิวรณ์ทั้งห้าได้เป็นองค์ฌานทั้งห้าแทนชั่วขณะ คือ ขณะที่ทำสมาธิหรือมีสมาธิเป็นบาทฐาน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า "สมาธิเป็นเหตุให้เกิดฌาน" แต่การมีสมาธิไม่ได้หมายความว่ามีฌานเสมอไป สมาธิระดับที่อ่อนมากๆ จะยังไม่ถึงขั้นมีฌาน จำต้องมีสมาํธิที่สูงขึ้นจึงจะมีฌานได้ ทั้งนี้ ระดับของฌานสูงมากเท่าไร อย่างหนึ่งก็พิจารณาจากการพ้นจากองค์ฌานทั้งห้าประการได้มากเท่าไร ยิ่งพ้นได้มาก ยิ่งเข้าสู่ฌานที่สูงขึ้น, ลึกขึ้น เมื่อถึงระดับที่เรียกว่า "ฌานหนึ่ง" ก็นับว่าพ้นจากนิวรณ์ทั้งห้าได้เบื้องต้นแต่ยังไม่พ้นจากองค์ฌานทั้งห้า (ยังอาศัยองค์ฌานทั้งห้าตัวเป็นเครื่องรวมจิต ยึดเหนี่ยวจิตไว้) ฌานในระดับที่ลึกขึ้นไปกว่าฌานสี่ก็มี ซึ่งในระดับที่ลึกขึ้นไปกว่าฌานสี่นั้น เราจะไม่ใช้ "องค์ฌาน" เป็นเครื่องวัดกำลังฌานหรือระดับของฌาน แต่จะมีสิ่งอื่นในการดูระดับของฌานแทน อนึ่ง "ฌานสี่ระดับต้น" เป็นสิ่งที่ไม่ยากเกินไป ถ้าบุคคลห่างไกลจากนิวรณ์ทั้งห้าได้เนืองๆ จะเข้าสู่ฌานสี่ได้ไม่ยาก แม้แต่การเพ่ง เช่น การเพ่งกสิณ ก็เข้าสู่ฌานสี่ได้ไม่ยากเกินไป แต่ฌานที่สูงกว่าฌานสี่ขึ้นไปจะยากขึ้น บางท่านจึงนับฌานสี่ระดับนี้ ให้อยู่ในส่วนที่เรียกว่า "รูปฌาน" ส่วนฌานที่สูงกว่านี้จะเีรียกว่า "อรูปฌาน" ก็มี นั่นคือหากบุคคลเพ่งภาพนิมิต ใช้ "รูป" เป็นนิมิตหมายเพื่อเข้าสู่ความสงบระงับแห่งจิต ย่อมเข้าถึงฌานได้สูงสุดคือ "ฌานสี่" แต่หากจะเข้าฌานระดับที่สูงกว่านั้น จำต้องพ้นไปจากนิมิตหมายหรือรูปต่างๆ เช่น หากยังเห็นนิมิตสวรรค์, ได้มโนมยิทธิเห็นนั่นนี่อยู่ ย่อมเข้าถึงฌานสี่ได้สูงสุด (รูปฌาน) แต่ไม่อาจเข้าสู่อรูปฌาน ซึ่งไม่มีรูปหรือนิมิตใดๆ เป็นหมายให้จิตรวมเป็นหนึ่ง สงบระงับได้ ทว่า "อรูปฌาน" นี้ แม้ไม่ได้ใช้รูปหรือนิมิตเป็นเครื่องหมายในการรวมจิต แต่ก็ยังมี "สิ่งที่ไร้รูป" เป็นเครื่องหมายไว้รวมจิตเช่นกัน เช่น บางท่านอาจใช้ความว่างเป็นอารมณ์ หมายไว้รวมสมาธิ ดังนั้น หากท่านเห็นใครที่มองเห็นสวรรค์ ใช้มโนมยิทธิถอดกายทิพย์ไปได้แล้วกล่าวว่าเขาได้ "ฌานแปด" หรือฌานที่สูงกว่าฌานสี่ นั้น "แสดงว่าไม่จริง" ไม่ว่าเขาจะเจตนาโกหกหรือไม่ได้เจตนาจะโกหกก็ตาม

ผลจาก "ฌาน" ทำให้เกิด "ญาณ" ขึ้นได้ เช่น ญาณหยั่งรู้อดีต, ญาณหยั่งรู้อนาคต ฯลฯ และที่สุดของญาณก็คือ "อาสวักขยญาญ" อันเป็น "ญาณที่ก่อให้เกิดปัญญา" รู้แจ้งถึงนิพพาน อันเป็นที่สุด นั่นเอง
------------------
จบตอนที่1 จากทั้งหมด 4ตอน---- ลึกลับ แต่บรรยายได้ดีครับ บางเรื่องไม่เหมือนคนในโลกเราเขียนครับ



Create Date : 31 สิงหาคม 2556
Last Update : 31 สิงหาคม 2556 0:35:55 น. 0 comments
Counter : 2102 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jesdath
Location :
เชียงราย Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 35 คน [?]




Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2556
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
31 สิงหาคม 2556
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add jesdath's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.