พุทธะ--นิพพาน--บรรยาย ส่วน 1 ตอน1

บทความ Mouth Bhuddhaนี้ำ พี่สาวส่งมาให้ครับ มาแบบลึกลับ ผมไม่ทันดู สั่งลบไปแล้วด้วย พอดีมันค้างๆจึงยังอยู่ครับ พอทำตัวหนังสือใหญ่ๆ ปรากฏว่าเยอะมากครับ
--ไม่ต้องง นอกจากเล่มสีม่วง ยังมี ปาโก้ ราบาน กำลังมันส์ ถึงตอนกำเนิดมนุษย
์ ---แบบติดเ้รทนิดๆครับ---
ช่วงนี้ก็มี3แหล่งแค่นี้ เขียนสลับไปมา คนอ่านคงไม่งงนะครับ--คนเขียนยังไม่งงเยย
สมาธิ 
คือ ภาวะจิตรวมเป็นหนึ่ง ผ่องใส ไม่ฟุ้งซ่านซัดส่ายไป, ไม่ห่อเหี่ยวหดหู่, ไม่ซึมเซาสลึมสลือ, ไม่เพลิดเพลินไปในอารมณ์หรือเสพอารมณ์, ไม่เป็นลบอยู่กับสิ่งใดๆ, ไม่เคลือบแคลงระแวงใจ แต่สามารถสงสัยใคร่รู้ได้ (บุคคลที่สงสัยใคร่รู้ แต่ไม่ได้เึคลือบแคลงระแวงใจ นับว่ามีสมาธิ ไม่ได้ตกอยู่ภายใต้ของอำนาจแห่งวิจิกิจฉา)
ทั้งนี้ "สมาธิ" เป็นคำกว้างๆ กลางๆ สามารถใช้ได้ทั่วไป เช่น ในฤษีก็มีสมาธิื, ในคนทั่วไปก็มีสมาธิได้ สมาธิจึงมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับพื้นๆ ตื้นๆ อันเป็นระดับเบื้องต้นเรียกว่า "ขณิกสมาธิ" ซึ่งเป็นระีดับที่ "มนุษย์โลกทั้งหลาย" ล้วนสามารถมีได้ แม้ไม่ได้ฝึกสมาธิ แม้ไม่ได้เป็นฤษี แม้ไม่ได้เรียนในสำนักฝึกสมาธิใดๆ เป็นสมาธิที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ขณะกำลังทำงานจดจ่อ ก็มีสมาธิเช่นนี้ได้ ในทางพระพุทธศาสนา นับว่าเป็นสมาธิที่มากพอแก่การบรรลุธรรมแล้ว แต่หากบุคคลมีความปรารถนาที่จะได้ฌาน, ญาณหยั่งรู้, อภิญญา, อิทธิฤทธิ์ ฯลฯ อันมากขึ้นไปกว่าแค่การบรรลุธรรมแล้ว บุคคลเหล่านั้น ไม่อาจอาศัย "ขณิกสมาธิ" นี้เป็นประโยชน์ได้ จำต้องฝึกสมาธิเพิ่มเติมให้มากขึ้นไปกว่านี้ ก็จะได้สมาธิที่มากขึ้นไปอีก เช่น อุปจารสมาธิ อันเป็นสมาธิระดับกลางที่พอเกื้อกูลยังประโยชน์ให้เกิดผลเป็นสิ่งที่มากไปกว่าการบรรลุธรรมทั่วไปได้ เช่น เป็นพื้นฐานไปสู่ฌานและญาณ เป็นต้น และท้ายที่สุด คือ สมาธิระดับสูง ที่มีแล้ว เกิดผลแล้วในผู้ปฏิบัติ แล้วได้ฌานและญาณ เป็นต้น ซึ่งก็ึคือ "อัปปนาสมาธิ" นั่นเอง

นอกจากนี้ สมาธิยังมีได้ทั้งสองฝ่ายคือ ฝ่ายธรรมะ และฝ่ายอธรรม แต่ทั้งสองฝ่ายนี้ ยังไม่ใช่สมาธิแบบที่เป็นกลางอันแท้จริง ที่เรียกว่า "สัมมาสมาธิ" อนึ่ง ในบุคคลที่กระทำกรรมให้เกิดสมาธิมากๆ จนได้ฌานขั้นต่างๆ ย่อมก่อเกิดผลกรรมดีสืบชาติต่อภพไปยัง "พรหมโลก" ยังมิใช่หนทางนิพพาน นับว่าเป็นการก่อกรรมดีมากเกินสภาวะเป็นกลางไป
เมื่อใดที่บุุคคลเหล่านี้ "ปล่อยวาง" การกระทำ เพียงสมาธิพื้นฐานที่มีก็ส่งผลให้เื้อื้อต่อการบรรลุธรรมได้ ด้วยจิตน้อมตรงต่อธรรมอันเป็นกลาง เข้าสู่ทางสัมมาสมาธิ นั่นเอง
ในทางตรงข้าม คนบางกลุ่มก็ไม่มีสมาธิเลย หรือค่อนข้างเป็นไปในเชิงลบ เช่นนี้ ก็ไม่เป็นกลางอีกเช่นกัน ยังไม่ใช่สัมมาสมาธิ จำต้องหลุดพ้นออกจากภาวะเป็นลบต่อสมาธิ จึงจะเข้าสู่ภาวะเป็นกลางต่อสมาธิ และก่อให้เกิดสมาธิที่เป็นกลาง คือ สัมมาสมาธิ ได้
อนึ่ง พึงเข้าใจว่า "สมาธิระดับสูง" เป็นสมาธิแบบฤษี หรือชาวพรหมโลก เป็นส่วนใหญ่ แต่นั่นไม่ใช่บรรทัดฐานที่จะนำมาวัดว่าปวงสัตว์ทั้งหลายนั้นจะเข้าถึงนิพพานได้ จะต้องมีสมาธิระดับสูงเช่น ฤษี หรือ ชาวพรหมโลก นั้น ด้วยสัตว์ทั้งหลายล้วนเข้าถึงซึ่งนิพพานได้ ไม่แตกต่างกัน หากมีระดับจิตวิญญาณตั้งแต่มนุษย์ขึ้นไป ก็สามารถเข้าถึงธรรมได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเทพ, เทวดา, พรหม ก็ล้วนบรรลุธรรมได้ไม่ต่างกัน ปวงสัตว์แต่ละเหล่าจึงมี "วิถีเข้าสู่ธรรม" ที่ต่างกันออกไป ไม่มีใครถูกหรือผิด แต่อย่างใด ในกลุ่มฤษีอาจบรรลุธรรมได้ด้วยการปฏิบัติสมาธิมากเป็นพื้นฐานก่อน ทว่า ในกลุ่มเทพ อาจบรรลุธรรมได้โดยไม่ต้องฝึกสมาธิ แต่ทำหน้าที่ของตนจนเกิดสมาธิขึ้นเอง เช่นนี้ ก็มีได้ เป็นได้ เช่นกัน ทว่า ชนบางเหล่าอาจใช้ "สมาธิขั้นสูง" มาเป็นเครื่องมือสร้างอำนาจหรือความเหนือกว่าสัตว์เหล่าอื่น เพื่อแสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าตนเหนือกว่า ย่อมอ้างเอาสมาธิที่เหนือกว่านั้น ในการกดข่มผู้อื่นให้ยอมจำนน หรืออาจหลอกลวงว่า "จะไม่ได้นิพพาน หากไม่เรียนสมาธิกับตน ก็มี
สติ 
หมายถึง สภาวะจิตตื่นโพล่ง, โล่ง, หลุดจากอาการสลึมสลือ, จากอาการจมปลักอยู่, จากอาการหลงวนอยู่ ส่งผลให้รู้เท่าทัน "ธรรมแท้จริง" อันไม่จำกัดกาล อันมิใช่อยู่แต่เพียงอดีต, ปัจจุบัน หรืออนาคต
ในคนที่ฝึกจิตให้ฝังจมกับปัจจุบัน ติดกับดักปัจจุบัน ยังไม่นับว่ามีสติแท้จริง เพียงแต่มีจิตไวมากต่อปัจจุบันขณะก็เท่านั้น
เมื่อใดที่เขามี "สติ" ตื่นโพล่ง, โล่ง, หลุด ออกมาจากการจมปลักในปัจจุบันขณะนั้นได้ เขาก็จะเข้าใจ "ธรรมอันไม่จำกัดกาล" (อกาลิโก) ได้ในที่สุด อันเป็นผลตามมาหลังจากเกิดสติ ก็คือ ปัญญา
หากจะเปรียบสติเหมือน "ประกายไฟ" แล้ว "ปัญญา" ก็เปรียบเหมือนเปลวไฟโชติช่วง นั่นเอง
การที่จะมีเปลวไฟแห่งปัญญาโชติช่วงสว่างไสวได้นั้น จำต้องเกิด "ประกายไฟ" ขึ้นมาก่อน
ในบางท่าน เกิดอาการ "ปิ๊งแว้บ" เหมือนจะประกายโพล่ง, โล่ง, หลุดแต่ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร ตอบไม่ถูกว่าเมื่อกี้่เกิดอะไรขึ้นแต่หลุดพ้นจากอาการหลงวนเดิมๆ อะไรที่ไม่ใช่, อะไรที่หลง, อะไรที่ติดหล่ม, อะไรที่จมปลัก ฯลฯ ก็เท่าทันหมด ก็นับเป็นลักษณะหนึ่งของการเกิด "สติ" ตามมาด้วย "ปัญญา" เพียงแต่ไม่มีความสามารถพิเศษในการ "อธิบายขยายความ" ก็เท่านั้น เฉพาะท่านที่มีความสามารถในการอธิบายขยายความย่อมจะสามารถขยายความธรรมได้หลังเกิดปัญญาขึ้น แต่ในท่านที่ไม่มีเช่นนี้ ก็ไม่แปลก ถ้าไม่สามารถอธิบายธรรมได้

"สติ" เป็นคำกว้างๆ มีใช้ได้ทั่วไป เช่น ถ้าปุถุชนหลงลืมตัว แล้วได้รับการเตือนจนได้สติขึ้นมาแต่ไม่ถึงกับเกิดปัญญาทางธรรม นั่นก็นับว่าเ็ป็นสติ ได้เหมือนกัน
ดังนั้น จึงมีอีกคำหนึ่งใช้เรียกสำหรับทางธรรม นั่นก็คือ "สัมมาสติ" อันหมายถึง "สติที่เป็นกลาง, ตรงต่อธรรมอันนำไปสู่การบรรลุธรรมได้" ไม่เอนเอียงไปในทางอื่นทางใด เป็นสติที่เป็นธรรมะ ธรรมชาติ มิใช่การปรุงแต่ง, สร้างทำ หรือก่อกรรมให้เกิดขึ้นด้วยเหตุอันใด ประหนึ่งคล้ายบุคคลสะดุ้งตื่น แต่มิใช่ฝันว่าตื่นอยู่ตลอดเวลาด้วยการหล่อเลี้ยงความคิดตัวเองว่าตื่นอยู่
อนึ่ง การฝึกเจริญสติแบบพราหมณ์ก็สามารถทำให้สติพละแก่กล้าขึ้นมาได้แต่ยังไม่ใ่ช่ "สัมมาสติ" อุปมาเหมือนการฝันว่าตัวเองตื่นอยู่ตลอดเวลา ในความฝันนั้นก็พยายามทำให้ตัวเองตื่น ไม่ให้หลับลงแต่แท้แล้วเขายังไม่เคยสะดุ้งตื่นขึ้นมาจริงๆ เลย ดังนั้น ปัญญาจึงไม่เกิดขึ้นได้เสียทีจากการฝึกสตินั้นฯ

วิริยะ 
หมายถึง ความเพียร ซึ่งไม่ได้หมายความแต่ว่าทำให้มาก หรือทำให้เยอะ แต่หมายถึง ทำอย่างต่ิอ เนื่อง สม่ำเสมอ ไม่ขาดสาย แม้ไม่ได้เร่งรีบ, ไม่ได้ทำเกินกว่าเดิม, ไม่ได้ทำมากขึ้น ด้วยความสม่ำเสมอนั้น ก็นับว่าคือ "ความเพียร"
อนึ่ง ในทางโลกคำว่า "วิริยะ" ใช้ในความหมายกว้างมาก ไม่ว่าจะเป็นการทำอย่างเร่งรีบ, มากล้น, เกินกว่าปกติ ก็นับเข้าว่าเป็นวิริยะได้เหมือนกัน
ดังนั้น ในทางธรรม จึงมีคำที่ใช้ในความหมายที่แคบลงเฉพาะเจาะจงลงไปอีกคำหนึ่งว่า "สัมมาวายามะ" หมายถึง "ความเพียรอันเป็นกลาง ตรงต่อธรรม" นั่นเอง ซึ่งแตกต่างจากความเพียรในทางโลกมาก เช่น ถ้าบุคคลเพียรจับปลาไปขาย เขาก็ย่อมนับได้ว่ามีความเพียรในการประกอบอาชีพทางโลกแต่ในทางธรรมแล้วอย่างนี้ไม่ใช่ "สัมมาวายามะ"  เพราะเป็นการทำกรรมเพิ่ม ไม่ตรงต่อธรรม
ตรงกันข้าม บุคคลที่ไม่ทำกรรมเลย ไม่จับปลาไปขายเลย นั้น กลับมี "สัมมาวายามะ" มากกว่า คือ "ความเพียรพยายามที่จะไม่ก่อกรรมเพิ่ม" นั่นเอง
ดังนั้น คำว่าความเพียรในทางโลกจึงสวนทางกับความเพียรในทางธรรม
ส่วนคำว่า "วิริยะ" นั้นเป็นคำกว้างๆ ใช้ได้ไม่ว่าทั้งความเพียรในทางโลกหรือความเพียรในทางธรรม เช่น คนที่ขยันจับปลา ก็นับว่ามีวิริยะในทางโลก ส่วนคนที่ไม่ทำอะไรเลย ไม่จับปลาไปขาย ก็นับว่ามีวิริยะในการละเว้นจากการฆ่าสัตว์เช่นกัน ทว่า ในคนแรกย่อมไม่นับว่ามี "สัมมาวายามะ" แต่คนหลัง นับได้ว่ามี "สัมมาวายามะ" ต่างกันดังนี้
ไม่ต่างกับความเพียรของฤษี ที่ยิ่งพากเพียรในการทำกรรมฐาน, เข้าฌานสมาบัติ ฯลฯ กลับยิ่งก่อให้เกิดชาติสืบภพไปมากยิ่งขึ้น นับว่าเป็น "วิริยะ" ที่เป็น "ความเพียรจม" ไม่ใช่ "สัมมาวายามะ" เลย

นอกจากนี้ ยังมีำคำว่า "ความเพียรจม" อันหมายถึง ความเพียรพยายามที่ทำไปแล้ว ก็ไม่ทำให้หลุดพ้นได้ ตรงข้ามกลับยิ่งหลงวน, ยึดติด, ติดหล่ม, จมปลัก ฯลฯ ไม่อาจนำไปสู่ความหลุดพ้นได้ อันเป็นความเพียรที่ตรงกันข้ามกับ "สัมมาวายามะ" 
อนึ่ง ปวงสัตว์ทั้งหลายมักมี "วิริยะ" ขึ้นมาก่อน อันเป็นความเพียรกว้างๆ ทำให้มี "วิริยะพละ" เจริญดี วิริยะพละนี้ ย่อมเป็นกำลังช่วยให้เกิดการบรรลุธรรมได้ แต่หากยังไม่เข้าทาง ยังไม่ตรง "มรรค" ย่อมไม่มีทางบรรลุธรรม ย่อมกลายเป็น "ความเพียรจม" ไป
เมื่อเกิดมี "สัมมาทิฐิ" แล้ว มีจิตตรงต่อธรรมแล้ว ย่อมดำเนินไปตามมรรคาแห่งธรรม จนเข้าถึง "สัมมาวายามะ" อันเป็นการทำลายล้างความเพียรจมนั้น ให้สิ้นลงไปได้ในที่สุด อันเป็นธรรมที่ทำให้เกิดความเพียรในการลดละการก่อกรรม อันเป็นธรรมที่ทำให้เกิดความเพียรในการทำให้แจ้งในธรรม มีปัญญาสว่างไสว เข้าถึงซึ่งนิพพาน นั่นเอง
ศรัทธา
แปลตรงๆ ก็หมายถึง "ความเชื่อ" แต่หากมองหลายๆ มุมก็จะได้รายละเอียดอันบ่งบอกถึงลักษณะของ "ศรัทธา" ในอีกหลายแง่มุม ได้แก่ ความนิยม-ชื่นชม, ความไว้วางใจ, การเปิดใจรับ-การยอมรับ ฯลฯทั้งหมดนี้เป็นไปเพื่อ "ก้าวข้ามความไม่รู้" ที่ไม่อาจเข้าถึงได้ด้วยปัญญาของตน ก็ดี, ไม่อาจพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ด้วยวิธีการอื่นใด ก็ดี, ไม่อาจใช้เหตุผลหรือตรรกะใดสนับสนุนได้ ก็ดี, ไม่อาจหาข้อมูลใด ทำให้ดูน่าเชื่อถือได้ ก็ดี
แต่ "ศรัทธา" นั้น ก็ทำให้บุคคลก้าวข้ามขีดจำกัดหรืออุปสรรคที่ขัดขวางเหล่านี้ไปได้ ก็ด้วยศรัทธานั้นๆ โดยเมื่อเกิดศรัทธาแล้ว จะทำให้บุคคลเปิดใจรับฟัง, ยอมรับ และเชื่อโดยง่าย
ดังนั้น คำว่าศรัทธา จึงไม่มีในมรรคแปดโดยตรง ไม่มีแยกว่า "สัมมาศรัทธา" เหมือนกับพละห้าบางตัว (เช่น วิริยะ, สติ, สมาธิ) นั่นหมายความว่า "ศรัทธา" ในทางโลก ก็ใช้ได้กับทางธรรมเช่นกัน เหมือนกัน ไม่ต่างกัน ต่างกับก็เพียงแต่ว่า "ศรัทธาอะไร, ศรัทธาใคร" ก็เท่านั้น
อุปมาเหมือนการยิงธนูก็ต้องมีการเล็งเป้า ถ้าเล็งเป้าตรง (ศรัทธาตรงคน, ตรงเรื่อง, ตรงทาง) โอกาสยิงถูกเป้าย่อมสูง แต่ถ้าศรัทธาไม่ตรงแล้ว ย่อมพลาดเป้าแน่นอน
อนึ่ง แม้ว่าศรัทธาจะไม่ต่างกันในความหมายทางโลกและทางธรรมดังธรรมตัวอื่น ทว่า ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากอย่างยิ่ง ดังที่กล่าวไว้แล้วว่าเหมือนการเล็งเป้าธนู นั่นเอง คนที่เล็งตรงเป้า แม้มีกำลังแขนในการยิงธนูไม่มาก แต่โอกาสเข้าใกล้เป้าก็ยังมากกว่าคนที่มีกำลังมาก แต่เล็งไปผิดทาง
ดังนั้น ศรัทธาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถึงขั้นกำหนดวาระนิพพานของบุคคลได้เลย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าท่านศรัทธาพระโพธิสัตว์ที่จะได้ตรัสรู้ลำดับที่หนึ่ง ท่านก็มีโอกาสสูงที่จะได้นิพพานในยุคที่หนึ่งนั้นด้วย แต่ถ้าท่านหลงศรัทธาพระโพธิสัตว์ที่จะตรัสรู้เป็นลำดับที่ห้าหรือหกเข้า ท่านอาจจะต้องรอไปอีกเป็นกัปเลยทีเดียว กว่าที่ท่านจะได้นิพพาน (ระหว่างนั้น ท่านยังอาจตกนรกได้ ไม่รู้อีกกี่ชาติ) ดังนี้ ศรัทธาจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นธรรมตัวแรกที่จะนำทางบุคคลไปสู่ "สัมมาทิฐิ" ได้ หากบุคคลนั้นศรัทธาตรงต่อผู้มีธรรมอันแท้จริง

อนึ่ง ในสมัยพุทธกาล ยังมีพระพุทธเจ้าที่ทรงขันธ์อยู่ บุคคลใดได้ยินข่าวการเกิดและตรัสรู้ของท่าน ก็ไปหาท่านได้ เมื่อเกิดศรัทธาได้ฟังธรรมมีจิตตรงเกิด "สัมมาทิฐิ" ได้ง่าย เมื่อพระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานไปแล้ว บุคคลทั้งหลายไม่อาจไปหาท่านได้โดยตรงอีก แม้ผู้คนมากมายจะศรัทธาในคำว่าพระพุทธเจ้า แต่หากจิตของเขาไม่ตรงทางจริง ก็เหมือนบุคคลที่ได้ยินข่าวการเกิด, การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า แต่ไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าอยู่หนใด เดินท่องไปหา "ผิดที่ผิดทาง" แล้วคิดเอาว่าตนเองมาทางถูกแล้ว ได้พบท่านแน่แล้ว (เพราะคิดว่าเพียงแค่เชื่อในคำว่าพระพุทธเจ้า แล้วย่อมตรงทาง ไม่มีผิด) ก็อาจประมาทพลาดพลั้งหลงทางได้ 
ไม่ต่างอะไรกับ "กามนิต" ที่ได้ฟังธรรมจากพระโอษฐ์ของพระพุทธองค์แล้วไม่ได้บรรลุธรรมอันใด ด้วยเพราะจิตของเขายึดมั่นแต่คำว่า "พระพุทธเจ้า" จะเชื่อ, จะไปหา, จะไปฟังธรรม จากพระพุทธองค์เท่านั้น และคิดว่ารุ่งเช้าจะไปหาพระพุทธเจ้าตามข่าวที่ตนได้รับมา หรือใครอีกมากมายหลายคนที่เป็นเ่ช่นนี้ จิตใจคิดว่าศรัทธาตรงต่อพระพุทธเจ้าแล้ว แต่กลับไม่ต่างจากกามนิต คิดว่าตนได้ธรรม ได้บรรลุแล้ว ทั้งยังนำพาปวงสัตว์มากมายให้ตามตนมาอีกโดยมาก บุคคลเหล่านั้นเมื่อหลงเดินตามกันไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าที่แท้จริงที่ตนบอกว่าศรัทธานั้นเป็นอย่างไร สุดท้าย จึงได้รับผลไม่ต่างจากกามนิตนั่นเอง
สัมมาทิฏฐิ 
คือ ความคิดเห็นที่เป็นกลาง ตรงต่อธรรม ไม่เอนเอียงไปเพราะความรักหรือชัง, อคติหรือฉันทาคติ ด้วยมีจิตศรัทธาตรงต่อพระพุทธ, พระธรรม, พระอริยสงฆ์แท้แล้วเข้าถึงซึ่งมรรคแปดประการแรก จึงมี "สัมมาทิฏฐิ" เป็นผล
ในพระอริยบุคคลขั้นต้น คือ "พระโสดาบัน" ย่อมมีปัญญาแจ้งและเข้าสู่มรรคแปดนี้ได้เต็มที่เพียง ๕ องค์ธรรม คือ สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, และสัมมาอาชีวะ คือ ความคิดเห็นชอบ, การดำริชอบ (ตั้งใจ-ตั้งเจตนาทำสิ่งใดๆ), เอ่ยวาจาชอบ, การกระทำชอบ และอาชีพชอบ
เมื่อได้เข้าสู่ธรรมที่ลึกซึ้งขึ้น บรรลุเป็นพระอริยบุคคลขั้นสูงขึ้น ก็จะเข้าสู่มรรคมีองค์แปดในลำดับถัดด้วย
อนึ่ง ปวงสัตว์ที่มี "ความคิดเห็นชอบ" (สัมมาทิฏฐิ) โดยธรรมชาตินั้นก็มีอยู่ ซึ่งมีคำเรียกว่า "เทวดาฝ่ายสัมมาทิฏฐิ" หรือ เหล่าเทพทั้งหลาย (ส่วนเทวดาฝ่ายมิจฉาทิฏฐิคือ มาร นั่นเอง) กล่าวคือ ท่านที่เป็นฝ่ายสัมมาทิฏฐินี้ ล้วนสร้างบุญกรรมมาแต่ปางก่อน ทำให้ได้เสวยบุญเป็นฝ่ายสัมมาทิฏฐิ ดังนั้น "สัมมาทิฏฐิ" นี้ จึงเกิดได้ด้วยอำนาจแห่งผลบุญด้วย แต่ท่านจะได้เพียงมรรคแปดองค์แรก ยังไม่ได้มรรคแปดองค์ต่อๆ ไป เช่น สัมมาสังกัปปะ เป็นต้น
ดังนั้น แม้จะมีความคิดเห็นสอดคล้องตรงต่อธรรม แต่อาจมีการดำริำ, คิดจะทำ, เจตนากระทำ ฯลฯ ในทางที่ไม่ตรงนิพพานได้ เช่นกัน หากยังไม่ได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล ทั้งนี้ นอกจากเทวดาแล้ว มนุษย์ก็อาจมีคนที่มี "สัมมาทิฏฐิ" โดยธรรมชาติได้เช่นกัน แต่มีน้อยกว่าเหล่าเทวดา หรือแม้แต่ในสัตว์ที่ต่ำกว่ามนุษย์ ก็มีกลุ่มที่เป็นสัมมาทิฏฐิได้ ทว่า ด้วยผลกรรมที่ทำให้เกิดในภพต่ำกว่ามนุษย์ จึงไม่อาจรับฟังธรรมแล้วบรรลุมรรคผลได้ นั่นเอง

สัมมาทิฏฐินี้ เป็นความคิดเห็นชอบ อันน้อมตรงต่อธรรม เป็นกลางไม่เอนเอียงไปด้วยความรัก, ความชัง จะเกิดขึ้นได้เมื่อบุคคลมี "ศรัทธาตรงต่อผู้มีธรรมแท้" เสียก่อน หรือมีศรัทธาต่อเจ้านายของตน ซึ่งเจ้านายนั้นมีศรัทธาตรงต่อผู้มีธรรมแท้อีกที เช่นนี้ ก็จัดเข้าอยู่ในกลุ่มของสัมมาทิฏฐิได้เ่ช่นกัน
ดังนั้น การที่เราจะศรัทธาใครนั้น จึงควรพิจารณาให้มาก เพราะมีผลต่อจิตใจของเราให้มีสัมมาทิฏฐิหรือมิจฉาทิฏฐิ
ในบางครั้ง "หากเราใจง่าย รักและศรัทธาคนง่ายเกินไป" โดยไม่ได้พิจารณาให้รอบคอบว่าบุคคลผู้นั้นแม้มีคุณงามความดีมากมายเป็นที่ประจักษ์ก็จริง แต่เขาอาจไม่ได้มีจิตตรงต่อผู้มีธรรมเลย (เช่น จิตศรัทธาแต่ตนเองเท่านั้น ไม่ได้ศรัทธาตรงต่อพระพุทธเจ้าจริงๆ แม้เปลือกนอกจะดูเหมือนว่าศรัทธาพระพุทธเจ้ามากมายก็ตาม) ย่อมส่งผลให้เรากลายเป็นกลุ่มที่ไม่ใช่ฝ่ายสัมมาทิฏฐิไปด้วย ทั้งปวงสัตว์ทั้งหลายที่แห่ศรัทธาบุคคลผู้นั้น ตามๆ กันไป ก็ล้วนไม่ไ่ด้อยู่ในกลุ่มสัมมาทิฏฐิด้วย เมื่อมีผู้มีธรรม แสดงธรรมอะไรให้พวกเขาๆ ก็ย่อมตามืดบอด มองไม่เห็นธรรม โดยอาจติดเพียงเปลือกนอกว่าผู้แสดงธรรมนั้น ไม่น่าเชื่อถือ, ไม่น่าศรัทธา, มีเปลือกนอกที่ดูไม่ดี ด้วยยึดมั่นศรัทธาในนายของตนผู้มิใช่ฝ่ายสัมมาทิฏฐินั้น
ดังนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงเลือกสัตว์ก่อนโปรดหรือแสดงธรรม ด้วยเพราะ "ธรรมชาติพื้นฐาน" บางอย่าง อันมีมาด้วยเหตุแห่งบุญทำกรรมแต่ง ทำให้สัตว์เหล่านั้น เป็นฝ่ายสัมมาทิฏฐิ หรือฝ่ายมิจฉาทิฏฐิ
ทั้งนี้ ยังมีสัตว์บางเหล่าที่มีจิตตรงต่อผู้มีธรรมแท้ แต่ด้วยอำนาจแห่งกรรมตัดรอน ทำให้มีระดับจิตวิญญาณต่ำเกินไป กว่าที่จะโปรดได้ เ่ช่น ยักษ์ เป็นต้น (อสูร มีสองกลุ่ม ๑. กลุ่มอสูรสัมมาทิฏฐิ เรียกว่า "ยักษ์" ๒. อสูรกลุ่มมิจฉาทิฏฐิ เรียกว่า "อสุรกาย")
หรือแม้แต่เหล่าเทพเอง ปกติแล้ว ได้เกิดเป็นฝ่ายสัมมาทิฏฐิ แต่เมื่อใดที่ทำผิดกฏสวรรค์แล้วไม่ยอมรับกฏสวรรค์ ไม่รับการลงทัณฑ์ หนีจากสวรรค์ลงมาตั้งตัวอยู่เอง ไม่ยอมขึ้นตรงต่อเจ้าสวรรค์ ย่อมกลายเป็น "เทพฝ่ายมืด" ซึ่งก็ไม่ใช่กลุ่ม "สัมมาทิฏฐิ" อีกต่อไป แม้จะมีกายทิพย์เป็นเทพก็ตาม ดังนี้แล้ว การพิจารณาปวงสัตว์จึงต้องมีฌานอันละเอียด จึงจะแยกแยะฝ่ายสัมมาทิฏฐิได้
สักกายทิฏฐิ 
หมายถึง ความถือตัวถือตนเป็นใหญ่ จนกลายเป็นเครื่องขวางกั้นการเปิดใจเรียนรู้ธรรมะ เช่น ถือว่าตนอายุมากกว่า, เรียนมาก่อน, ความรู้มากกว่า, จดจำได้มากกว่า, อ่านมามากกว่า, ได้เปรียญธรรมขั้นสูงกว่า, ได้คะแนนสอบมากกว่า, ฐานะสูงกว่า ฯลฯ
ความถือตัวถือตนเป็นใหญ่เหล่านี้ นับเฉพาะส่วนที่ "ติดกับกาย" เท่านั้น
หมายความว่าอะไร? ในบางคน จิตวิญญาณของเขามีสภาวะ "รู้" จิตวิญญาณเป็นตัวรู้ และรู้ว่าใครมีธรรมจริง เมื่อพบผู้มีธรรมจริง จิตวิญญาณของเขาก็รู้ แต่กายสังขารไม่รู้ เพราะยังมีสิ่งนี้ที่เรียกว่า "สักกายทิฏฐิ"
หลายครั้งจิตวิญญาณพยายามสื่อสารให้ร่างกายเลิกหลงเสียทีแต่ก็ไม่สำเร็จเพราะสิ่งนี้ "สักกายทิฏฐิ"
บางครั้ง พระพุทธเจ้าใช้วิธี "จิตสู่จิต" สื่อจิตสู่จิต ธรรมสู่ธรรม โปรดทางจิต จนจิตของผู้คนมากมายได้เข้าถึงธรรมระดับหนึ่งแล้ว แต่เพราะกายสังขารนั้นยังไม่ไ่ด้รับธรรม ทำให้กายสังขารนั้นก็ยังมีความหลงตัวเองอยู่
เมื่อจิตวิญญาณที่พร้อมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว แต่อยู่ในกายสังขารที่ยังมีสักกายทิฏฐิอยู่ ได้พร้อมยอมจำนนละความถือตัว ถือตน ยอมเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เข้ามาบวช แม้ยังไม่ได้ฟังธรรม เพียงแค่ปลงผมหรือห่มจีวรเท่านั้น ก็บรรลุ "อรหันตผล" ได้ทันที (เรื่องการบรรลุธรรมโดยที่ยังไม่ไ่ด้ฟังธรรมนี้ มีเขียนไว้ในพระไตรปิฎกด้วย) เรียกว่า จิตวิญญาณพร้อมเป็นพระอรหันต์แล้ว ทำลายสังโยชน์ตัวอื่นๆ ได้หมดพร้อมมูลแล้ว ประดุจ "บัวบาน" เหลือเพียงสักกายทิฏฐิเท่านั้น ก็บรรลุอรหันต์ได้ทันที นั่นเอง
ดังนั้น เรื่องสักกายทิฏฐิจึงเป็นเรื่องในส่วนของกาย ไม่ใช่ส่วนของจิตวิญญาณ
มีผู้คนอยู่ไม่น้อยที่เป็นเช่นนี้ หลายครั้งจิตวิญญาณของเขารับรู้ได้ (จิตวิญญาณเป็นธาตุรู้) ถึงว่าผู้ใดมีธรรมแท้จริงแต่เพราะมี "สักกายทิฏฐิ" เหลืออยู่ กายสังขารจึงไม่เชื่อ ไม่รู้ดังเช่นจิตวิญญาณ 
อนึ่ง การที่บุคคลหนึ่งใดไม่เชื่อเรา แล้วเราจะสรุปว่าเขามีสักกายทิฏฐินั้น "หาได้ไม่" เพราะเขาอาจเชื่อพระพุทธเจ้าและได้มรรคผลอยู่แล้ว เพียงแต่เขาไม่เชื่อเรา ก็ได้
หลายคนที่ชอบตั้งตัวเป็นครูอาจารย์ มักวัดหรือตัดสินผู้อื่นแต่เพียงว่าเขาไม่เชื่อตนเองแล้วจะต้องเป็นพวกมีสักกายทิฏฐิมาก "ซึ่งไม่เป็นความจริงเลย"

สักกายทิฏฐินั้น เมื่อถูกทำลายแล้วจะมีผลมากต่อจิตวิญญาณภายใน หากถูกทำลายโดยผู้มีธรรมจริงแล้วได้ธรรมอย่างน้อยขั้นต่ำ เช่น พระโสดาบัน จะไม่มีปัญหาอะไร แต่หากถูกทำลายโดยผู้ที่ไม่มีธรรมแล้ว ก็จะเกิดปัญหาขึ้นได้ เช่น เสียเซลฟ์, เสียความมั่นใจในตัวเอง, เคว้งคว้าง, ไร้จุดยืน, สูญเสียความมั่นใจทั้งหมดไป บางรายอาจมีอาการแย่กว่านั้น
หลายครั้งที่บุคคลถูกทำลายสักกายทิฏฐิโดยผู้มีธรรมแล้ว แต่ "บางสิ่ง" ขัดขวางอยู่ พยายามครอบงำหรือดลใจ ให้เขาไม่อาจทรงอยู่ในธรรมได้ เขาจะเกิดอาการเป๋ เหมือนนักมวยที่ถูกชกอย่างหนัก แม้จะมีผู้มีธรรมอยู่ตรงหน้า รอให้ธรรมอยู่ตรงหน้า แต่เพราะบางสิ่งที่ครอบงำเขาอยู่ หรือจิตใจของเขาที่ไม่ศรัทธาผู้มีธรรม จะยิ่งทำให้เขาเป๋ แปรปรวน และมีอาการคล้ายๆ จะเป็นคนบ้า ก็ยังได้ (หากเขายอมศรัทธาแต่โดยดี จะไม่เป็นเช่นนี้ และจะเกิดปัญญา บรรลุธรรมได้เลย)
ดังนั้น ผู้มีธรรมจึงต้องมีทั้งการทำลายสักกายทิฏฐิให้แก่ผู้อื่นแล้วยังต้องอาศัยศรัทธาของคนผู้นั้น เพื่อให้เขาน้อมรับธรรมด้วย ไม่เช่นนั้นจะส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ที่ถูกทำลายสักกายทิฏฐิได้
ทั้งนี้ สักกายทิฏฐิ เป็นสิ่งที่ไม่อาจทำลายได้ด้วยวิธีจิตสู่จิต แต่จะหมดสิ้นได้เมื่อผู้นั้นยอมจำนนโดยธรรมอย่างแท้จริง



Create Date : 31 สิงหาคม 2556
Last Update : 31 สิงหาคม 2556 0:31:07 น. 0 comments
Counter : 1314 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jesdath
Location :
เชียงราย Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 35 คน [?]




Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2556
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
31 สิงหาคม 2556
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add jesdath's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.