โฮปเวล์ แท่งหินศักดิฺสิทธิ์ มีปัญหาจากอะไร


โครงการนี้การดำเนินการก่อสร้างตามโครงการจริงๆ เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลชวน 1 ในขณะที่ผมเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ฐานราก เสา คาน ในดินและบนดินที่เห็นเรียงรายอยู่เป็นทิวแถว มันเกิดขึ้นในสมัยผมเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และไม่มีเสาหรือคานแม้แต่ต้นเดียวเกิดขึ้นอีกเมื่อผมพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการคมนาคม

แปลว่าการก่อสร้างโครงการโฮปเวลมันมาพร้อมกับผมและก็หายไปพร้อมกับการอำลากระทรวงคมนาคมของผม มันสร้างความฉงนให้คนทั่วไปว่าโครงการนี้เป็นโครงการ Hopewell หรือ Hopeless กันแน่ แล้วมันจะมีโอกาส Hopeful บ้างไหม

มันมีความเป็นมาอย่างไร ?

โครงการนี้ ผู้อนุมัติโครงการคือ ท่านอดีตรัฐมนตรีคุณ มนตรี พงษ์พานิช เมื่อปี พ . ศ .2533 ในขณะท่านเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในขณะที่ท่านมนตรี อนุมัติโครงการนี้ ผมยังเป็นรองผู้ว่า กทม . และผมก็ยังไม่รู้รายละเอียดว่าโครงการโฮปเวลเป็นแบบไหนอย่างไร

ต่อจากนั้นปี พ . ศ .2534 ท่านนายก อานันท์ ปันยารชุน เป็นคนว่างศิลาฤกษ์โครงการโฮปเวลบริเวณสถานีรถไฟบางซื่อ จนกระทั้งประมาณปี 2535 ผมเข้าไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ต่อจากท่านนุกูล ประจวบเหมาะ จึงได้มีโอกาสศึกษาถึงรายละเอียดของโครงการโฮปเวล พอสรุปได้ว่าโครงการโฮปเวลเป็นโครงการขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นโครงการยกระดับ 3 ชั้น (Three levels)

ชั้น 1 อยู่บนพื้นดินเป็นถนน 4 เลน

ชั้น 2 เป็นรถไปลอยฟ้า

ชั้น 3 เป็นทางด่วนลอยฟ้า เหมือนโครงการดอยเมืองโทลเวย์

จุดศูนย์กลางของโครงการโฮปเวล อยู่บริเวณมักกะสันใกล้ ๆ กับยมราช จากจุดศูนย์กลางโครงการนี้ จ ะไปทางทิศเหนือ ถึงดอนเมือง และไปจนถึงสถานีรถไฟรังสิต ทางตะวันออกจะไปถึงสถานีหัวหมาก ซึ่งใกล้ๆ กับสนามบินสุวรรณภูมิ ส่วนทางทิศใต้และตะวันตกจะข้ามไปถึงฝั่งธน ซึ่งถ้ามองไปแล้วทางทิศเหนือ และทิศตะวันออกจะเป็นการเชื่อมกันระหว่างทั้งสองสนามบิน ดอนเมืองและสุวรรณภูมิ

ย้อนกลับไปในสมัยผมเป็นรองผู้ว่า กทม . ขณะช่วยพี่จำลอง ศรีเมืองทำงาน เรามีปัญหาการจราจรใน กทม . ซึ่งเป็นปัญหาที่หนักอกมากๆ ตอนนั้นพี่จำลองกับผมและคณะผู้บริหารช่วยกันทำโครงการรถไฟฟ้า BTS ซึ่งก็เป็นระบบขนส่งมวลชนชนิดรถไฟลอยฟ้า ดังที่เห็นและใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

เมื่อผมมาเห็นระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่อย่างโฮปเวล ซึ่งเป็นทั้งรถไฟลอยฟ้าและทางด่วนลอยฟ้า ก็ชอบในแนวความคิด เพราะผมคิดว่าโครงการนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยในการแก้ปัญหาการจราจรให้คน กทม . และโฮปเวลมันก็มีความละม้ายคล้ายคลึงกับ BTS เพราะเป็นรถไฟลอยฟ้าเหมือนกัน

ผมเห็นว่าเป็นแนวคิดที่ดีในการแก้ปัญหาการจราจรให้คนกรุงเทพฯ และที่สำคัญ รัฐบาลไทยไม่ต้องควักกระเป๋า ไม่ต้องจ่ายเงิน ทางผู้ลงทุนมิสเตอร์ กอร์ดอน วู ลงทุนเองทั้งหมด ทั้งระบบราง และตัวรถไฟขนส่ง และตามสัญญาสัมปทาน เขาจะสร้างแฟลตให้พนักงานรถไฟอยู่บริเวณสถานีรถไฟบางซื่อ จัดให้มีโรงเรียนบริเวณสถานีรถไฟบางซื่อ ผมอยากให้พนักงานรถไฟมีสวัสดิการดี ๆ มีบ้านพักดี ๆ อยู่ ก็พลอยเห็นดีไปด้วย

หลายคนตำหนิคุณมนตรี พงษ์พานิชว่าให้สัมปทานโครงการยักษ์ ๆ อย่างนี้รวดเร็วทันใจเหลือเกิน และเป็นเชิงตำหนิว่าอะไรได้มาไวมันก็อันตรธานไว หรือมาไวหายไว ผมอยากให้ความเป็นธรรมกับท่านมนตรีบ้าง สมัยโน้น ( ปี 2533) ในขณะคุณมนตรีให้สัมปทาน ตอนนั้นยังไม่มีพรบ . การร่วมทุน พรบ . การร่วมทุนมามีปี 2535 สมัยท่านนายกอานันท์ ซึ่งพรบ . ร่วมทุนปี 2535 ทำให้การทำอภิมหาโครงการต้องรอบคอบ หลายหน่วยงานต้องให้ความเห็นชอบก่อนจะอนุมัติได้ มีขั้นตอนมากมายและใช้เวลามากในการพิจารณาอนุมัติโครงการ ด้วยเหตุนี้กระมังที่คุณมนตรีจึงอนุมัติโครงการได้เร็วดุจสายฟ้าแลบ ส่วนตื้นลึกหนาบางอย่างอื่นระหว่างคุณมนตรีกับโฮปเวล อย่าถามผม ผมไม่ทราบ และตอนที่ผมเขียนหนังสือนี้คุณมนตรีก็เสียชีวิตไปนานแล้ว ผมชอบแนวคิดการแก้ปัญหาการจราจรของคุณมนตรี จึงเอาโฮปเวลซึ่งคุณมนตรีเป็นคนคิดคนให้สัมปทานมาดำเนินการ ในขณะคุณมนตรีมีชีวิตอยู่ตอนผมทำพิธีตอกเสาเข็มโฮปเวลต้นปฐมฤกษ์ที่บริเวณวัดเสมียนนารี ผมยังเชิญคุณมนตรีไปเป็นประธานร่วม ผมให้เกียรติคนต้นคิดอะไรดีๆ และไม่ลืมคนต้นคิด

โครงการนี้เป็นโครงการ Turn key ซึ่งหมายความว่า ฝ่ายไทยกำหนดอะไร ๆ ที่เราอยากได้ อยากใช้ เรากำหนด What แล้วผู้รับสัมปทานรับผิดชอบการออกแบบและก่อสร้างและจัดหาให้ โครงการโฮปเวลนี้ผู้รับสัมปทานเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ส่วนผลตอบแทน ( ตามสัญญาสัมปทาน ) คือการพัฒนาที่ดินริมทางรถไฟ ( หรือริมโครงการโฮปเวล )

ก่อนเริ่มดำเนินการก่อสร้างตามโครงการ ผมเชิญมิสเตอร์ กอร์ดอน วู ผู้รับสัมปทานไปประชุมที่หัวลำโพง ( รฟท .) ฝ่ายเราก็มีผมและผู้บริหารกระทรวงคมนาคมในยุคนั้นหลายท่าน ฝ่ายกอร์ดอน วู ก็มีกรรมการบริหารของบริษัทของเขา ผมเชิญสื่อมวลชนไปเป็นสักขีพยาน สาระการประชุม 2 ฝ่ายวันนั้นคือ ผมบอกมิสเตอร์ กอร์ดอน วู ว่าผมเปิดไฟเขียวให้โครงการดำเนินการได้ ถ้าเขาจะทำโครงการก็ให้เริ่มทำ ถ้าไม่ทำก็บอกมา อย่าเสียเวลา เพราะตั้งแต่มิสเตอร์ กอร์ดอน วู ได้รับสัมปทานมาประมาณ 2 ปี ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้างอะไรให้เห็นเลย

ผมเป็นทหารเก่า พูดอะไรก็ตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อมให้เสียเวลา ผมมีศักดิ์ศรี ไม่แบมือขอใคร ลำพังแค่เงินเดือนก็พอกินพอใช้ได้ไม่เดือดร้อนเพราะอยู่อย่างง่าย ๆ สบาย ๆ ไม่หรูหรา ฟุ้งเฟ้อ แต่สิ่งที่ต้องการสูงสุดคือ งาน งาน และงาน เพื่อแก้ปัญหามวลชน โดยเฉพาะการจราจรในกทม . ซึ่งยังเป็นความฝังใจที่ยังข้องใจจนทุกวันนี้

จากการประชุมร่วมโดยเปิดเผย ตรงไปตรงมาที่ รฟท . ( หัวลำโพง ) มิสเตอร์ กอร์ดอน วู เริ่มสตาร์ทเครื่องเต็มสูบ เสาเข็มของโครงการต้นมหึมา ราคาต้นละประมาณ 4 แสนบาท เสียบลงไปในดินตามแนวโครงการ เสาโผล่ขึ้น คานก็พาดเรียงรายให้เห็นเป็นพันต้น แนวแรกที่โครงการนี้ดำเนินการไปคือแนวทิศเหนือจนถึงดอนเมือง รังสิต และแนวตะวันออกไปทางสถานีรถไฟหัวหมากและไปใกล้ๆ สนามบินสุวรรณภูมิ

เสาและคานโฮปเวลก็เรียงรายให้ท่านได้เห็นอยู่ ด้วยประการฉะนี้

เมื่อผมพ้นความเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โครงการนี้ก็วูบ การก่อสร้างหยุดชะงัก เพราะอะไรผมไม่ทราบ

ในระหว่างผมเป็นรัฐมนตรี มิสเตอร์ กอร์ดอน วู เคยไปเยี่ยมหารือผมที่กระทรวงอยู่บ้าง ผมก็ถือโอกาสเลี้ยงเขาด้วยก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง ไอศกรีมแบบไทย ๆ และจะมีสื่อมวลชนเป็นพยาน เขาเคยเชิญผมไปฮ่องกง ไปประเทศจีน ผมปฏิเสธและขอบคุณเขา เมื่อผมพ้นกระทรวงคมนาคม เราไม่เคยเจอกันอีกเลย เหลือแต่โครงการค้างเติ่ง เข็มเสาและคานที่ผมขมขื่นและสะเทือนใจ

คนมองว่ามันเป็นอนุสรณ์ของความล้มเหลว

คนมองว่า Hopeless

และคนเข้าใจผิดคิดว่าโครงการนี้เป็นการผลาญเงินรัฐบาล ทั้ง ๆ ที่ทุกบาททุกสตางค์ เขา - ผู้รับสัมปทานเป็นคนเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งผมคาดว่าเขาคงจะลงทุนไปสัก 6-7 พันล้านบาท ( ผมไม่รู้เขาหมดสตางค์ไปเท่าใด ได้แต่คาดเอาว่าคงประมาณ ๆ นั้น ซึ่งอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ได้ )

เมื่อพ . ต . ท . ทักษิณ ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่ ๆ คุณทักษิณคิดจะทุบเสาทุบคานโฮปเวลทิ้ง ผมก็ออกมาคัดค้านหัวชนฝา ผมบอกว่าเสาและคานเป็น Asset เป็นสมบัติของแผ่นดิน มูลค่าวันนี้อาจจะเป็นหมื่นล้าน หน้าที่ของรัฐบาลคือเอารางรถไฟขึ้นพาดบนเสาบนคาน ไม่มีประเทศไหนที่รถไฟและรถยนต์อยู่บนพื้นดินระดับเดียวกันโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ รถไฟต้องลอยฟ้าหรือมุดลงดิน รถยนต์จะได้ไม่ติดรถไฟ การจราจร จะได้ลื่นไหล

ผมค้านคุณทักษิณเรื่องท่านจะทุบเสาโฮปเวล จนคนกรุงเทพฯ มีความเห็นด้วยกับผม (85% เห็นด้วย ) ว่าไม่ควรทุบทิ้งแต่หาทางเอารางรถไฟยกขึ้นไปบนคานโฮปเวลเสีย

มิสเตอร์ กอร์ดอน วู ทำโครงการโฮปเวลแล้วเท่าที่เราเห็น แม้จะมีข้อพิพาทฟ้องร้องกับรัฐบาลไทย โครงการต้องหยุดชะงัก แต่เขาก็ม้วนแผ่นดินเราไปไหนไม่ได้ เสาและคานโฮปเวล ต้องอยู่ในแผ่นดินของเรา เมื่อสร้างในแผ่นดินเรา เราต้องหาทางใช้ประโยชน์

ผมเขียนบทความโฮปเวล ลงในหนังสือพิมพ์หลายฉบับเพื่อให้คนรู้ คนเข้าใจ

เมื่อกลางเดือนมิ.ย. 50 ท่านอลงกรณ์ พลบุตร รองหน . พรรคประชาธิปัตย์ ส่งผมไปร่วมสัมมนากับกระทรวงคมนาคม เรื่อง Transportation และ Logistics ผมมีโอกาสอภิปรายในที่สัมมนาซึ่งมีผู้ร่วมสัมมนาประมาณ 2-3 ร้อยคน โดยผมก็แนะนำว่ากระทรวง ( โดยเฉพาะ รฟท .) ควรใช้ประโยชน์จากเสาและคานโฮปเวล เอารางรถไฟซึ่งอยู่ ณ พื้นดินขึ้นพาดบนคานโฮปเวลเสีย เพื่อแก้ปัญหาการจราจรในกทม .

ผมดีใจมาก ดีใจจริง ๆ ที่ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ( คุณ สรรเสริญ วงศ์ชอุ่ม ) ยืนยันว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ระหว่างบางซื่อ - ดอนเมือง - รังสิต จะเอาเสาและคานโฮปเวล มาใช้ประโยชน์แน่นอน และผมก็ได้รับคำยืนยันจากผู้ใหญ่ใน ( สนข .) กระทรวงคมนาคมด้วยเช่นกัน ว่าเสาและคานโฮปเวลไม่สูญเปล่าแน่นอน

Hopewell กลายเป็น Hopeless และเปลี่ยนมาเป็น Hopeful อย่างนี้เอง

มันเป็นบทพิสูจน์เจตนาดี กว่าจะบรรลุผลอาจจะพบอุปสรรคนานัปการ อย่างน้อยที่สุดหลายฝ่าย หลายคนที่ทุ่มเททำงานด้วยกัน ด้วยหวังที่จะแก้ปัญหาให้มวลชน งานนั้นไม่สูญเปล่า เป็นเจตนาดีและเจตนาบริสุทธิ์ ผลงานนั้นก็ยังประโยชน์ให้มวลชนในที่สุด

Hopeful

ขอวิญญาณคุณมนตรี พงษ์พานิชได้รับทราบด้วยความภาคภูมิใจด้วย เพราะเขาคือคนคิด ผมเพียงแต่เห็นด้วยกับเขาแล้วก็เอามาดำเนินการตามสัมปทานที่เขาให้กับมิสเตอร์ กอร์ดอน วู

บทความทั้งหมด
ธงนำ
คิดรอบด้าน
บัญญัติวิเคราะห์
เวทีทรรศนะ
กรุงเทพฯของเรา
บันทึกไว้

หน้าแรก ข่าว บทความ เบื้องหลังผลงานประชาธิปัตย์ เมกะโปรเจค คมนาคม
--------------------------จาก เว็ป พรรค ปชป.--------------------------
(นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นรองนายก สมัยทักษิญ ปัจจุบันถูกเว้นวรรค 5 ปี (ทุจริตคลองด่าน นายวัฒณา อัศวเหม ปัจจุบันหลบหนีคดีไปต่างประเทศ)
------------------------------------
โครงการโฮปเวลล์มีปัญหาจากอะไร?
เงินเขาไม่ถึงจริง ๆ แล้วมาแหยม
หรือโดนสกัดดาวรุ่งจากฝ่ายตรงข้าม
เห็นเสาตอม่อแล้วคิดได้หลายอย่าง

เอาหมวดนี้เพราะไม่มีหมวดที่เกี่ยวกับการคมนาคม
แจ้งลบ
1 ปี ผ่านไป แจ้งลบ


yoon cho hong
คำตอบที่ดีที่สุด - เลือกโดยเจ้าของคำถาม
ปัญหาใหญ่ๆคือการคอรัปชั่นของนักการเมืองและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง
โฮปเวลล์เป็นโครงการใหญ่ มีระยะเวลาดำเนินการก่อสร้างนาน และทุกความคืบหน้าต้องเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย ประกอบกับสัญญาที่หละหลวม
การเกี่ยวข้องหลายฝ่าย กลายเป็นปัญหาทางคอรรัปชั่น ที่โฮปเวลล์ต้องจ่ายไม่รู้จบ
จ่ายเบี้ยรายทางตลอด จากคนนั้นก็ต้องมาจ่ายฝ่ายนี้ ฝ่ายนี้ได้ไม่พอใจก็ดึงเรื่องเอาใว้
การดึงเรื่องเพื่อต่อรองเงินใต้โต๊ะ มีทั้ง
เซ็นอุมัติแผน
การเข้าใช้พื้นที่
การส่งมอบงาน
การส่งมอบเครื่องจักร์
ทุกขั้นตอนต้องมีใต้โต๊ะตลอด
จนโฮปเวลจ่ายไม่ไหว และประกอบกับเห็นช่องทางที่จะได้ค่าโง่หากรัฐบอกเลิกสัญญา
จนเวลาผ่านมาถึง7ปี แต่ได้ความคืบหน้าเพียง20กว่าเปอร์เซ็นจากทั้งหมด80กว่าเปอร์เซ็น
จนรัฐบอกเลิกสัญญา ซึ่งก็เป็นไปตามแผนของโฮปเวลล์
แจ้งลบ
1 ปี ผ่านไป แจ้งลบ
1 จัดเรตสิ่งนี้ว่า ดี
เรตติ้งจากผู้ถาม:

ความคิดเห็นจากเจ้าของคำถาม
เอ หรือว่าเขาไม่คิดจะสร้างให้มันสำเร็จแต่แรกแล้ว

ยังไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง? ลอง Yahoo! Search
ค้นหา Yahoo! สำหรับ
ค้นหา
คำตอบอื่นๆ (3)

นายช่างห...
ที่สงสัยมา ถูกหมด

เริ่มต้นด้วยความไม่โปร่งใส ฝ่ายตรงข้าม(จริงๆน่าจะเรียกว่า ทั้งฝ่ายค้าน ฝ่านเสียผลประโยชน์ ฝ่ายรักชาติรักบ้านเมือง) ก็จัดการถล่มเลย เรื่องยังคาราคาซังอยู่ในศาลเลย
----------------------------------------------------------------------------------

THEPOco
ใช่เลยที่คุณตั้งคําถามนั้นถูกหมดนะครับ เมื่อก่อนมีดาวรุ่งคิดบังอาจทาบรัศมีพรรคใหญ่ เลยโดนสกัดซะ
แจ้งลบ
1 ปี ผ่านไป แจ้งลบ
1 จัดเรตสิ่งนี้ว่า ดี


kinc
เกิดจากความไม่แน่นอนของการเมืองไทย
แจ้งลบ
1 ปี ผ่านไป
-------------------------------------------------------------
ปัญหาโฮปเวล เขาว่า มาจาก เชขื้อพระวงศ์ หรือพวกอำมาตย์ขัดขวางไว้---(อาจมีส่วน)
-------------------------------------------------------------
โครงการโฮปเวลล์ หรือ โครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร (อังกฤษ: Bangkok Elevated Road and Train System - BERTS) เป็นโครงการก่อสร้างถนน ทางรถไฟ และรถไฟฟ้ายกระดับ บนพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินการโดยบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) ในเครือโฮปเวลล์โฮลดิงส์ บริษัทสัญชาติฮ่องกง ของนายกอร์ดอน วู

โครงการก่อสร้างประกอบด้วย โครงสร้างยกระดับทางรถไฟขึ้นไปเหนือผิวการจราจร เพื่อลดจุดตัดกับทางรถยนต์ (Grade Crossing) เพื่อลดปัญหาการให้รถยนต์ต้องหยุดรอรถไฟ ก่อสร้างคร่อมทางรถไฟที่มีอยู่ในปัจจุบัน ระยะทางทั้งสิ้น 60.1 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 80,000 ล้านบาท และให้ผลตอบแทนรายปี 30 ปี รวม 53,810 ล้านบาท โดยโฮปเวลล์จะได้รับสิทธิสร้างถนนยกระดับ เรียกเก็บค่าผ่านทาง คู่ขนานกับทางรถไฟยกระดับ และได้รับสัมปทานเดินรถบนทางรถไฟยกระดับด้วย และสามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่ใต้ทางรถไฟยกระดับ และอสังหาริมทรัพย์สองข้างทาง คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 600 ไร่ [1]เนื้อหา [ซ่อน]
1 ประวัติ
2 โลคอลโรด
3 โครงการระบบขนส่งมวลชนในปัจจุบันตามแนวเส้นทางโฮปเวลล์
4 ดูเพิ่ม
5 อ้างอิง
6 แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ประวัติ

โครงการโฮปเวลล์เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยมีการเปิดประมูลสัมปทานก่อสร้างทางยกระดับ เพื่อแก้ปัญหาการจราจร โดยผู้รับสัมปทานจะมีรายได้จากค่าโดยสารรถไฟฟ้า ค่าผ่านทาง และรายได้จากอสังหาริมทรัพย์ตลอดเส้นทาง ผลการประมูล บริษัทโฮปเวลล์โฮลดิงส์ ของนายกอร์ดอน วู เป็นผู้ชนะเหนือคู่แข่งคือ บริษัทลาวาลิน (SNC-Lavalin) จากแคนาดา มีการลงนามในสัญญาโดยนายมนตรี พงษ์พานิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จากพรรคกิจสังคม กับบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 [2] อายุของสัมปทาน 30 ปี มีกำหนดตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2534 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ในระยะแรกใช้ชื่อโครงการว่า Railways Mass Transit (Community Train) and Urban Free System (RAMTUFS)

แผนงานการก่อสร้าง แบ่งเป็น 5 ระยะ ระยะทางรวมทั้งสิ้น 60.1 กิโลเมตร ประกอบด้วย [3]
ช่วงที่ 1 ยมราช-ดอนเมือง ระยะทาง 18.8 กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538
ช่วงที่ 2 ยมราช-หัวลำโพง-หัวหมาก และ มักกะสัน-แม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 18.5 กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2539
ช่วงที่ 3 ดอนเมือง-รังสิต ระยะทาง 7 กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2540
ช่วงที่ 4 หัวลำโพง-วงเวียนใหญ่ และ ยมราช-บางกอกน้อย ระยะทาง 6.7 กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 7 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2541
ช่วงที่ 5 วงเวียนใหญ่-โพธินิมิตร และ ตลิ่งชัน-บางกอกน้อย ระยะทาง 9.1 กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 8 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542

การก่อสร้างโครงการโฮปเวลล์ เป็นไปอย่างล่าช้า เนื่องจากประสบปัญหาในการส่งมอบพื้นที่บริเวณริมทางรถไฟ ประกอบกับเศรษฐกิจของไทยไม่เติบโตเท่าที่ควร เหมือนในช่วงแรกของรัฐบาลชาติชาย ทำให้แนวโน้มการลงทุนธุรกิจในอสังหาริมทรัพย์ซบเซาลง ปัญหาเรื่องจุดตัดกับโครงการถนนยกระดับวิภาวดีรังสิต (ดอนเมืองโทลล์เวย์) และการก่อสร้างล่าช้าจนอัตราคืบหน้าของงานไม่เป็นไปตามสัญญาที่ทำไว้กับรัฐบาล

ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ได้เข้ามาตรวจสอบสัญญาสัมปทานทั้งหมดที่มีเงื่อนไขการผูกขาด โครงการโฮปเวลล์ ก็เป็นโครงการหนึ่งที่ถูกตรวจสอบโดยนายนุกูล ประจวบเหมาะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น และได้ประกาศล้มโครงการโฮปเวลล์ พร้อมกับโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน และจัดตั้งองค์การรถไฟฟ้ามหานคร ขึ้นมาดำเนินการแทน เมื่อ พ.ศ. 2535

ในรัฐบาลชวน หลีกภัย สมัยที่ 1 โครงการโฮปเวลล์ได้รับการผลักดันต่อโดยพันเอกวินัย สมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แต่ยังประสบปัญหาสำคัญ 2 ประการ คือ ปัญหาเรื่องเงินทุน แหล่งเงินกู้ หลักทรัพย์ค้ำประกันสัญญา และปัญหาเรื่องแบบก่อสร้าง ระยะห่างระหว่างรางรถไฟ กับไหล่ทางมีน้อยเกินไปเพราะข้อจำกัดของพื้นที่ และไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัยสากล [ต้องการอ้างอิง] ต่อมาในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ให้ความเห็นชอบบอกเลิกสัญญากับโฮปเวลล์ หลังจากบริษัทโฮปเวลล์หยุดการก่อสร้างอย่างสิ้นเชิง ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540 [4]

เสาตอม่อที่ยังสร้างไม่เสร็จทิ้งร้างอยู่

โครงการการก่อสร้างโครงการโฮปเวลล์ สิ้นสุดลงในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย สมัยที่ 2 หลังดำเนินการก่อสร้างเป็นเวลา 7 ปี มีความคืบหน้าเพียง 13.77 % ขณะที่แผนงานกำหนดว่าควรจะมีความคืบหน้า 89.75% กระทรวงคมนาคมได้บอกเลิกสัญญาสัมปทานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 มกราคม พศ. 2541 โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วย ภายหลังจากบอกเลิกสัญญา การรถไฟแห่งประเทศไทยถือว่าโครงสร้างทุกอย่างตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟ และได้มีความพยายามนำโครงสร้างที่สร้างเสร็จแล้วมาพัฒนาต่อ จากผลการศึกษาสรุปว่าจะนำโครงสร้างบางส่วนมาใช้ประโยชน์ในรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต

บริษัทโฮปเวลล์โฮลดิ้ง ได้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในการยกเลิกสัญญาจากกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นค่าใช้จากการเข้ามาลงทุนเป็นเงิน 56,000 ล้านบาท ในขณะที่การรถไฟฯ ก็เรียกร้องค่าเสียโอกาสในการใช้ประโยชน์จากโครงการ เป็นเงินกว่า 200,000 ล้านบาท

คณะอนุญาโตตุลาการประกอบด้วย นายสมศักดิ์ บุญทอง รองอัยการสูงสุด ในฐานะตัวแทนจากการรถไฟแห่งประเทศไทย, รองศาสตราจารย์วีระพงษ์ บุญโญภาส อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นตัวแทนจากโฮปเวลล์ฯ และนายถวิล อินทรักษา อดีตผู้พิพากษา เป็นประธานคณะอนุญาโตตุลาการ [5] ได้วินิจฉัยชี้ขาดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย คืนเงินชดเชยให้โฮปเวลล์โฮลดิงส์ เนื่องจากการบอกเลิกสัญญาไม่เป็นธรรม เป็นเงิน 11,888.75 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินค่าก่อสร้าง 9,000 ล้านบาท เงินค่าตอบแทนจากการใช้ประโยชน์ที่ดินที่บริษัทชำระไปแล้ว 2,850 ล้านบาท และเงินค่าออกหนังสือค้ำประกัน 38,749,800 บาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี และคืนหนังสือค้ำประกันมูลค่า 500 ล้านบาท ให้กับบริษัท [6]
[แก้]
โลคอลโรด

ถนนเลียบโครงการโฮปเวลล์ หรือ โลคอลโรด เป็นถนนที่ก่อสร้างในเขตทางรถไฟ เส้นทางเลียบไปกับโครงสร้างของโครงการโฮปเวลล์ ก่อสร้างโดยงบประมาณของกรมทางหลวง เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2542 ส่วนเลียบทางรถไฟสายเหนือ-อีสาน มีชื่อเป็นทางการว่า ถนนกำแพงเพชร 5 และถนนกำแพงเพชร 6 และส่วนเลียบทางรถไฟสายตะวันออก มีชื่อเป็นทางการว่า ถนนกำแพงเพชร 7 ตั้งชื่อตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
[แก้]
โครงการระบบขนส่งมวลชนในปัจจุบันตามแนวเส้นทางโฮปเวลล์
หัวลำโพง-ดอนเมือง-รังสิต : รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต และหัวลำโพง-บางซื่อ
ยมราช-มักกะสัน-หัวหมาก : รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก
มักกะสัน-แม่น้ำเจ้าพระยา : ไม่มีโครงการระบบขนส่งมวลชน
หัวลำโพง-วงเวียนใหญ่-โพธินิมิตร : รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงหัวลำโพง-ตลาดพลู
ยมราช-ธนบุรี : รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-พรานนก
ธนบุรี-โพธินิมิตร : รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน ช่วงสถานีแยกไฟฉาย-ท่าพระ
บางซื่อ-ตลิ่งชัน-ธนบุรี : รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน
บางซื่อ-คลองตัน : รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงสถานีลาดพร้าว-ศูนย์วัฒนธรรมฯ
[แก้]
ดูเพิ่ม
โครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน
รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม
[แก้]
อ้างอิง
^ นิตยสารผู้จัดการ เดือนกุมภาพันธ์ 2540
^ A Timeline of Thai Railways 2bangkok.com
^ ตามดู ‘โฮปเวลล์’ โครงการข้ามทศวรรษ
^ THE HOPEWELL PROJECT, A defunct Thai mass transit project 2bangkok.com
^ ศึกคดีโฮปเวลล์ฟ้องยังไม่จบ การรถไฟมีลุ้นหวังใช้ช่องโหว่ทางข้อสัญญา-อายุความพร้อมร้องคณะอนุญาโตฯ ทบทวนอำนาจ ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2334 26 มิ.ย. - 28 มิ.ย. 2551
^ ช็อก! ชี้ขาดรถไฟพ่าย “โฮปเวลล์” ไทยรัฐ, 11 พฤศจิกายน 2551
[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น
ย้อนอดีต Bangkok Elevated Road & Trains System (โฮปเวลล์)
History of Thailand's Infrastructure
-------------------------------------------------------------
ร.ฟ.ท.เตรียมทุบทิ้ง411ตอม่อโฮปเวลล์-ส่งมอบพื้นที่"สายสีแดง"
Monday, 20 September 2010 05:46
การรถไฟฯทุบทิ้ง 411 ตอม่อโครงสร้างโฮปเวลล์ 411 ตอม่อ เหลือใช้งานแค่ 121 ตอม่อ หลังพบกีดขวางการก่อสร้างรถไฟสายสีแดง "บางซื่อ-รังสิต" ด้านรับเหมาหวั่นงานรื้อย้ายชุมชนและระบบสาธารณูปโภคฉุดงานก่อสร้างล่าช้า จี้แก้ปัญหา ขอขยายเวลาก่อสร้างเพิ่ม แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อวันที่ 13 กันยายนที่ผ่านมา ได้เชิญผู้รับเหมาทั้ง 10 รายที่ซื้อเอกสารประกวดราคาก่อสร้างงานโยธา 2 สัญญา โครงการรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร ลงสำรวจพื้นที่ก่อสร้างจริง "ปรากฏว่ามีบริษัทรับเหมาบางรายกังวล ใจเรื่องของการรื้อย้ายชุมชนบุกรุกตามแนวเขตทางรถไฟ และระบบสาธารณูปโภคที่กีดขวางการก่อสร้าง เช่น ท่อก๊าซ ท่อน้ำมัน เสาตอม่อโฮปเวลล์เดิม เกรงว่าจะเกิดปัญหาทำให้งานก่อสร้างล่าช้า อาจจะทำให้การก่อสร้างแล้วเสร็จไม่ทันกำหนด ถ้าล่าช้าจริง จะสามารถขยายเวลาก่อสร้างได้หรือไม่"
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม การรถไฟฯยังไม่ได้ให้คำตอบกับผู้รับเหมา แต่อาจจะต้องพิจารณาตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ในส่วนของการรื้อย้ายชุมชนตามเขตทางรถไฟ ขณะนี้ได้บริษัทเอกชนมารื้อย้ายแล้ว คือบริษัท เอสที เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด วงเงินกว่า 69 ล้านบาท จะต้องรื้อย้ายให้เสร็จภายใน 450 วัน นับจากวันเซ็นสัญญาจ้าง
สำหรับการรื้อย้ายตลอดแนวเส้นทาง มี 2 บัญชี คือผู้บุกรุกบัญชีเดิม มีโรงเก็บของ 53 หลัง เพิงจอดรถ 153 หลัง ที่พักอาศัยทั่วไป 1 ชั้น 654 หลัง ที่พักอาศัย 2 ชั้น ไม้ผนังสังกะสี 21 หลัง ที่พักอาศัย 2 ชั้น ครึ่งตึกครึ่งไม้ 16 หลัง ร้านค้าคละแบบ 125 หลัง อาคารคอนกรีต 1 ชั้น+ร้านค้า 48 หลัง อาคารไม้ 1 ชั้น หลังคาสังกะสี+ ร้านค้า 82 หลัง ห้องน้ำผนังสังกะสี 19 หลัง
ลานจอดรถคอนกรีต 5 หลัง และอาคารคอนกรีต 1 ชั้น ที่พักอาศัย 49 หลัง ส่วนรายการผู้บุกรุกบัญชีเพิ่มเติม 154 หลัง มีโรงเก็บของ 1 หลัง เพิงจอดรถ 9 หลัง ที่พักอาศัยทั่วไป 1 ชั้น 136 หลัง อาคารไม้ 1 ชั้น หลังคาสังกะสี+ร้านค้า 1 หลัง ห้องน้ำผนังสังกะสี 7 หลัง
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ในส่วนของ โครงสร้างโฮปเวลล์เดิม จากการสำรวจเมื่อปี 2548 ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ตลอดเส้นทาง มีทั้งหมด 532 ตอม่อ เมื่อทดสอบแล้ว จะต้องทุบทิ้ง 411 ตอม่อ เนื่องจากใช้การไม่ได้และกีดขวางการก่อสร้าง ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณทิศตะวันตกของรางรถไฟฝั่งถนนโลคอลโรด เหลือใช้งานแค่ 23% หรือจำนวน 121 ตอม่อ
หน้า 10--จบ--

--ประชาชาติธุรกิจฉบับวันที่ 20 - 22 ก.ย. 2553--
--------------------------------------------------------------
วิธีบริหารงานแบบประชาธิปัตย์ ตอน โฮปเวลล์ [การเมือง]
คะแนน: 5 3 คำตอบ มีการดู 356 ครั้ง
6

แดง จริงๆใช้แทนไอดีที่ถูกแบน

3 ต.ค. 2553, 20:23:23
แจ้งการละเมิด
โฮปเวลล์

ในรัฐบาลชวน หลีกภัย สมัยที่ 1 โครงการโฮปเวลล์ได้รับการผลักดันต่อโดยพันเอกวินัย สมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

โครงการการก่อสร้างโครงการโฮปเวลล์ สิ้นสุดลงในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย สมัยที่ 2 หลังดำเนินการก่อสร้างเป็นเวลา 7 ปี มีความคืบหน้าเพียง 13.77 % ขณะที่แผนงานกำหนดว่าควรจะมีความคืบหน้า 89.75% กระทรวงคมนาคมได้บอกเลิกสัญญาสัมปทานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 มกราคม พศ. 2541 โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

คณะอนุญาโตตุลาการ [5] ได้วินิจฉัยชี้ขาดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย คืนเงินชดเชยให้โฮปเวลล์โฮลดิงส์ เนื่องจากการบอกเลิกสัญญาไม่เป็นธรรม เป็นเงิน 11,888.75 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินค่าก่อสร้าง 9,000 ล้านบาท เงินค่าตอบแทนจากการใช้ประโยชน์ที่ดินที่บริษัทชำระไปแล้ว 2,850 ล้านบาท และเงินค่าออกหนังสือค้ำประกัน 38,749,800 บาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี และคืนหนังสือค้ำประกันมูลค่า 500 ล้านบาท ให้กับบริษัท
----------------------------------------------------------------


Create Date : 22 มีนาคม 2554
Last Update : 22 มีนาคม 2554 1:33:39 น. 0 comments
Counter : 8253 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jesdath
Location :
เชียงราย Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 35 คน [?]




Group Blog
 
<<
มีนาคม 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
22 มีนาคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add jesdath's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.