ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

รู้จักกับ 'โรคไข้กาฬหลังแอ่น'



จากกรณีการเสียชีวิตของหญิงสาวชาวกัมพูชาที่มาทำงานอยู่ที่จังหวัดฉะเชิงเทราโดยพบว่าป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่น ซึ่งอธิบดีกรมควบคุมโรคได้ยืนยันว่า ประเทศไทยไม่มีไข้กาฬหลังแอ่นแพร่ระบาด

โรคไข้กาฬหลังแอ่นเป็นอย่างไร มีคำตอบค่ะ

โรคไข้กาฬหลังแอ่นเป็นโรคติดต่อทางระบบหายใจ มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Neisseria meningitidis ที่มีแหล่งสะสมตามธรรมชาติคือ คนสามารถพบในบริเวณลำคอโดยไม่ทำให้เกิดโรคในลักษณะที่เรียกว่า พาหะ (Carrier) เนื่องจากผู้ที่เป็นพาหะ มีภูมิคุ้มกันที่สร้างไว้ในวัยเด็กหลงเหลืออยู่ โดยสามารถต้านเชื้อชนิดที่ก่อโรครุนแรงได้ แต่มีผู้ป่วยบางคนที่เชื้อนี้เข้ากระแสเลือด และทำให้เกิดโรค โดยมากจะเป็นกับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และช่วงอายุ 15-24 ปี เป็นโรคที่พบไม่บ่อย แต่อันตรายถึงกับเสียชีวิต อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 5-10 แม้ว่าจะให้การรักษาเต็มที่แล้วก็ตาม

ไข้กาฬหลังแอ่น เป็นโรคที่พบมีการระบาดทั่วไปในประเทศแถบตะวันออกกลาง (ซาอุดิอาระเบีย) แอฟริกา อเมริกา และในประเทศแถบเอเชีย (พม่า กัมพูชา เวียดนาม) เชื้อตัวนี้แบ่งออกเป็น 13 กลุ่ม แต่กลุ่มที่ทำให้เกิดโรคได้บ่อยได้แก่ชนิด group B และ C สำหรับในประเทศไทย พบได้เฉลี่ย 20-50 รายต่อปี และจำนวนผู้ป่วยค่อนข้างคงที่ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ในปี พ.ศ. 2554 ล่าสุด พบผู้ป่วยจำนวน 22 ราย เสียชีวิต 2 ราย เชื้อที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากชนิดย่อย B โดยพบผู้ป่วยกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ และเกิดประ ปรายตลอดปี ไม่มีการระบาดเฉพาะตามพื้นที่

ส่วนการติดเชื้อมีได้ 2 กรณีคือ

- กรณีที่เชื้อแบ่งตัวอย่างช้าๆในกระแสเลือด เชื้อจะเดินทางเข้าไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ที่พบบ่อยคือ เยื่อหุ้มสมอง ที่พบได้เป็นส่วนน้อย คือ ข้อต่อต่างๆ และเยื่อหุ้มหัวใจ และทำให้เกิดรอยโรคที่บริเวณนั้นๆเช่น การติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบ Meningitis อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 3

- กรณีที่เชื้อเกิดการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วในกระแสเลือด ผู้ป่วยจะเกิดอาการของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Meningococcemia) และเชื้ออาจเข้าไปอยู่ที่เยื่อหุ้มสมองด้วย ทำให้เกิดอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบร่วมด้วย อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 50 กรณีที่เชื้อมีการแบ่งตัวในกระแสเลือดอย่างรวดเร็วมาก ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่รุนแรง (Fulminant meningococcemia)

ลักษณะการติดต่อนั้น จะเกิดเฉพาะจากคนสู่คน ไม่มีสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคหรือเป็นแหล่งของโรค โดยการหายใจเอาเชื้อแบคทีเรียที่กระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย หรือของผู้ที่เป็นพาหะ หรือการสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งเหล่านี้แล้วนำมาสัมผัสกับเยื่อบุจมูก ตา หรือปากของเรา ผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วย หรืออาศัยอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่นที่เกิดภาวะติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด จะมีโอกาสติดเชื้อจากผู้ป่วยมากกว่า 400 เท่าเมื่อเทียบกับคนทั่วไปๆที่ไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย ซึ่งเชื้อนี้จะมีระยะการฝักตัวของโรคประมาณ 3-4 วันโดยเฉลี่ย 1-10 วัน

อาการของโรคไข้กาฬหลังแอ่น

ผู้ที่ติดเชื้อประมาณ 1 ใน 3 จะเกิดเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โดยไม่มีอาการของการติดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยบางส่วนจะเกิดอาการของการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดอย่างเดียว หรืออาจเกิดทั้ง 2 อย่างร่วมกัน และมีผู้ป่วยประมาณ 15% จะเกิดอาการของการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดชนิดที่มีอาการรุนแรง

ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Meningococcemia) ในช่วงแรก ผู้ป่วยจะแสดงอาการของการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนซึ่งไม่จำเพาะ ได้แก่ ไอ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ต่อมาจึงจะมีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย โดยอาการจะเป็นอยู่ 1-2 วัน แล้วตามด้วยการเกิดผื่นที่ผิวหนัง ซึ่งเป็นลักษณะที่ค่อนข้างจำเพาะของโรคนี้ คือเริ่มต้นจะเป็นผื่นแบบแบนราบสีแดงจางๆ ต่อมาจะเกิดจุดเลือดออกเล็กๆ สีแดงเข้ม ขนาด 1-2 มิลลิเมตร ในบริเวณผื่นเหล่านี้ ซึ่งเรียกว่า Petechiae โดยมักพบตามลำตัว ขา และบริเวณที่มีแรงกดบ่อยๆ เช่น ขอบกางเกง ขอบถุงเท้า บริเวณอื่นๆที่จะพบได้คือ ใบหน้า มือ แขน เยื่อบุตา เยื่อบุช่องปาก จุดเลือดออกเหล่านี้บางครั้งอาจกลายเป็นตุ่มน้ำขนาดใหญ่ที่มีเลือดออกเรียกว่า Hemorrhagic bullae ซึ่งอาจเกิดการเน่าและกลายเป็นเนื้อตายได้ หากผู้ป่วยเกิดเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบร่วมด้วย ก็จะมีอาการปวดต้นคอ คอแข็ง หลังแข็ง และซึมร่วมด้วย

ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดที่มีอาการรุนแรง (Fulminant meningococce mia) อาการจะคล้ายกับผู้ป่วยกลุ่มข้างต้น แต่จะรุนแรงกว่า คือจะมีไข้สูง อ่อนเพลียมาก จุดเลือดออกจะขยายเป็นจ้ำเลือดขนาดใหญ่มีสีแดง หรือม่วงคล้ำ เรียกว่า Purpura และจะเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำจนช็อกได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง เกิดการล้มเหลวของการทำงานของอวัยวะต่างๆ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที ก็จะเสียชีวิตได้ภายใน 24 - 48 ชั่วโมง

ขอบคุณข้อมูลจาก siamhealth.net และ ศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อและพาหะนำโรค


Create Date : 09 มีนาคม 2558
Last Update : 9 มีนาคม 2558 16:51:34 น. 0 comments
Counter : 1252 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sitcomthai
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 53 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add sitcomthai's blog to your web]