ภัยแห่งสังสารวัฏนั้น น่ากลัวยิ่งกว่าภัยอื่นใด - อัสติสะ
Group Blog
 
All blogs
 
๐๕๓-พบพระศาสดา...(ในฝัน)



ความฝันนั้นเป็นสิ่งมหัศจรรย์ สิ่งหนึ่งทีเดียว
ข้าพเจ้าคิดว่าความฝันเป็นสิ่งที่อยู่ท่านกลาง การจินตนาการ และความเป็นจริง จะมีสักกี่คนกันที่เข้าใจที่ไปที่มาของความฝันได้ถ่องแท้
ทุกครั้งที่เราหลับ เราอาจจะไม่ได้ฝันในทุก ๆ คืน
แต่ส่วนใหญ่ทุกคนต้องยอมรับ ว่าเคยฝันกันทั้งนั้น
ไม่ว่าฝันนั้นจะเป็นเรื่องดี หรือร้ายก็ตาม
เมื่ออยู่ในความฝันเรามักจะควบคุมหรือบังคับตัวตนในความฝันไม่ค่อยได้ เราจะเหมือนเป็นผู้ดุละครฉากใหญ่
ที่บางครั้งตัวเองก็เป็นผู้แสดง หรือบางครั้งเราก็ดูผู้อื่นแสดง ซึ่งบางเรื่องก็ไม่เป็นไปตามที่เราหวังไว้ หรือต้องการให้มันเป็นไปตามที่เรามุ่งหมาย

เช้ามืดวันนี้มีฝนตกหนัก แต่ตกไม่นานก็หยุด อากาศเย็นไหลผ่านหน้าต่างมากระทบกายของข้าพเจ้า ผ้าห่มผืนบาง ๆ ดูจะไม่พอกับสถานการณ์เช่นนี้ แต่ก็ต้องนอนขดตัว เพื่ออาศัยไออุ่นจากร่างกายตัวเอง ระงับความหนาวเย็นนั้น...

ไม่นานก็ต้องหลับไปอีกครั้งด้วยความอ่อนเพลีย จากการทำงานหนักในช่วงกลางวัน

ภาพอารามแห่งหนึ่งผุดขึ้นมาต่อหน้าของข้าพเจ้า แวดล้อมไปด้วยป่าไผ่ และหมู่ไม้มากมาย ภายในอารามนั้นข้าพเจ้าเห็นภิกษุหมู่หนึ่งนั่งอยู่โดยอาการสงบ ท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น มีภิกษุอาวุโสรูปหนึ่ง
แม้ว่าร่างกายจะดูชราบ้าง ด้วยเนื่องจากอยู่ในปัจฉิมวัย
แต่ใบหน้าที่อิ่มเอิบ ร่างกายที่ผุดผ่องนั้นทำให้น่ามองน่าชมยิ่งนัก
และแล้วก็มีเสียงหนึ่งกระซิบข้างหูว่า
“นี่คือพระพุทธเจ้า สมณโคดม...”
ข้าพเจ้าจึงขยับร่างกายเข้าไปใกล้ ๆ พระพุทธองค์ และน้อมบังคมกราบ
ด้วยความนอบน้อม
ข้าง ๆ พระวรกายของพระพุทธเจ้านั้น มีพระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งดู จะอายุมากกว่าพระพุทธเจ้า แต่มีรูปร่าง คล้ายพระพุทธเจ้ามาก ข้าพเจ้า จึงสันนิษฐานว่า ว่าคงเป็นพระอานนท์ พุทธอุปัฏฐาก เป็นแน่
แต่พระอานนท์ดูจะแก่กว่าเล็กน้อย แม้ว่าพุทธประวัติ ท่านจะเกิดวันเดียวกับพระพุทธเจ้าก็ตาม

เมื่ออยู่ต่อหน้าพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าจึงมีคำถามที่อยากจะถามปัญหาเหมือนคนอื่น ๆ บ้าง

“ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของโลก ข้าพเจ้าจะขอถามปัญหา ขอพระองค์โปรดตรัสตอบปัญหาของข้าพเจ้าด้วยเถิด”
สีหน้าของพระพุทธองค์ดูเรียบเฉย ข้าพเจ้าจึงถามขึ้นว่า

“บัดนี้กาลเวลา สมัยแห่งพุทธศาสนาของพระองค์ ได้ดำเนินมาเลยกึ่งทางแล้ว ด้วยเหตุนี้เองผู้ปฏิบัติเข้าถึงนิพพาน นั้นดูจะลดน้อยลงมาก ข้าพเจ้าเองเป็นผู้หนึ่งที่อยู่ในจำนวนส่วนน้อยนั้น ข้าพเจ้าเองก็รู้สึกวิตกเหลือเกินว่าจะมีกำลังใจที่จะทำให้แจ้งต่อนิพพาน และดำรงศาสนาของพระพุทธองค์ได้มากน้อยเพียงใด อีกอย่างหนึ่งยุคสมัยนี้ วัดอารามนั้นมีมากมาย แต่ข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจต่อการปฏิบัติ และ รู้สึกผูกพันกับวัดอโศการาม ของท่านพ่อลี เป็นอย่างมาก ขอพระพุทธองค์ทรงกล่าวตรัส บุพกรรมในอดีตชาติของข้าพเจ้า เกียวกับความผูกพันนี้ด้วยเถิด”

เมื่อข้าพเจ้าถามจบ พระพุทธองค์จึงตรัสถามตอบว่า
“เธอยังสวดมนต์ ระลึกถึงคำสอนของตถาคตอยู่หรือ...”
“ยังปฏิบัติอยู่ทุกวันพระเจ้าข้า...” ข้าพเจ้าตอบ
“เธอยังฟังธรรมะ คำสั่งสอนของตถาคตอยู่หรือ...”
“ยังปฏิบัติอยู่ทุกวันพระเจ้าข้า...” ข้าพเจ้าตอบ
“เธอยังปฏิบัติวิปัสนากรรมฐาน ตามคำสอนของตถาคตอยู่หรือ...”
“ยังปฏิบัติอยู่ทุกวันพระเจ้าข้า...” ข้าพเจ้าตอบ
“งั้นก็ดีแล้ว...” พระพุทธเจ้าตรัสตอบ
.........
จากนั้นก็ตื่นนอนดูเวลาก็เกือบ ๗ โมงเช้า
ข้าพเจ้านอนคิดใคร่ควรในเรื่องที่ฝัน ทันทีและรู้สึกทราบซึ้งใจมากที่ ฝันเห็นพระพุทธเจ้า
มันไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นง่าย ๆ นัก ไม่ใช่ใครนึกจะฝันแล้วก็ฝันซะเมื่อไหร่
พระพุทธเจ้า ไม่ได้ตรัสตอบคำถามของข้าพเจ้าโดยนัยตรง
แต่กลับตรัสถามถึงสิ่งที่เป็นแก่นสารของเรื่อง นั่นคือการปฏิบัติธรรม เมื่อเข้าถึงธรรมะแล้ว เราก็คงจะรู้เอง และไม่จำเป็นที่จะต้องลังเล สงสัยหรือไตร่ถามผู้ใดอีก...ข้าพเจ้าคิดว่าอย่างนั้น


Create Date : 09 สิงหาคม 2551
Last Update : 9 สิงหาคม 2551 19:56:11 น. 2 comments
Counter : 549 Pageviews.

 





เป็นนิมิตรที่ดีนะครับ


โดย: ก๋าคุง (กะว่าก๋า ) วันที่: 18 กันยายน 2551 เวลา:9:22:27 น.  

 
เป็นฝันที่ดี อะคะ แต่ ย่าคงไม่สามารถตอบตามที่คุณตอบได้ อะค่ะ เพราะกรรมฐานก็ไม่ได้ทำมานานแล้ว

คงต้องตั้งใจปฎิบัติธรรมให้มากขึ้นแล้วละ ขอบคุณที่เตือนสติคร้า


โดย: ย่าชอบเล่า (ย่าชอบเล่า ) วันที่: 1 ตุลาคม 2551 เวลา:9:58:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อัสติสะ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




ทุกข์ใดจะทุกข์เท่า การเกิด
ดับทุกข์สิ่งประเสริฐ แน่แท้
ทางสู่นิพพานเลิศ เที่ยงแท้ แน่นา
คือมรรคมีองค์แก้ ดับสิ้นทุกข์ทน






Google



New Comments
Friends' blogs
[Add อัสติสะ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.