อาตาปี สัมปชาโน สติมา
 
 

คิริมานนทสูตร ฉบับพระยาธรรมิกราช ความสุขในโลก (จบ)

 

ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลายผู้ที่จะรู้ว่าสุขทุกข์ติดกันอยู่นั้น หายากยิ่งนัก มีแต่เราตถาคตผู้ประกอบด้วยทศพลญาณนี้เท่านั้น บุคคลทั้งหลายที่เป็นปุถุชนคนโง่เขลานั้น ทำความเข้าใจว่า สุขก็มีอยู่ต่างหาก ทุกข์ก็มีอยู่ต่างหาก ครั้นเราถือเอาสุข เราก็ได้สุข เราก็ไม่ถือเอาทุกข์ ทุกข์ก็ไม่มีดังนี้เพราะเหตุที่เขาไม่รู้ว่าสุขกับทุกข์ติดกันอยู่ เขาจึงไม่พ้นทุกข์ เมื่อผู้ใดอยากพ้นทุกข์ให้วางสุขเสีย ก็เป็นอันละทุกข์ วางทุกข์ด้วยเหมือนกัน ใครเล่าจะมีความสามารถพรากสุขทุกข์ออกจากกันได้ แม้แต่เราตถาคตก็ไม่มีวิเศษที่จะพรากจากกันได้ ถ้าหากเราตถาคตพรากสุขและทุกข์ออกจากกันได้ เราจะปรารถนาเข้าสู่พระนิพพานทำไม เราจะถือเอาแต่สุขอย่างเดียว เสวยความสุขอยู่แต่ในโลก เท่านี้ก็เป็นอันสุขสบายพอแล้ว นี่ไม่เป็นเช่นนั้น เราแสวงหาความสุขโดยส่วนเดียว ไม่มีทางที่จะพึงได้ เราจึงวางสุขเสีย ครั้นวางสุขแล้ว ทุกข์ไม่ต้องวางก็หายไปเอง อยู่กับเราไม่ได้ เราจึงสำเร็จพระนิพพานพ้นจากกองทุกข์ ด้วยประการฉะนี้ฯ

ดูกร อานนท์ อันสุขในโลกีย์นั้น ถ้าตรวจตรองให้แน่นอนแล้ว ก็หากเป็นกองแห่งทุกข์นั่นเอง เขาหากเกิดมาเป็นมิตรติดกันอยู่ ไม่มีผู้ใดจักพรากออกจากกันได้ เราตถาคตกลัวทุกข์เป็นอย่างยิ่ง หาทางชนะทุกข์มิได้ จึงปรารถนาเข้าสู่พระนิพพาน เพราะเหตุกลัวทุกข์นั้นอย่างเดียว พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ ดังนี้แลฯ




 

Create Date : 09 เมษายน 2556   
Last Update : 9 เมษายน 2556 10:49:56 น.   
Counter : 1689 Pageviews.  


คิริมานนทสูตร ฉบับพระยาธรรมิกราช ความสุขทางโลก

ความสุขทางโลก

ตทน นฺตรํ ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ปรารถนาพระนิพพานแต่ยังปล่อยวางใจไม่ได้ ยังอาศัยถึงความสุขอยู่ คิดว่าพระนิพพานอยู่ในที่นั้นที่นี้ จะเอาจิตแห่งตนไปเป็นสุขในที่แห่งนั้น ครั้นจักปล่อยวางใจเสีย ก็กลัวว่าจะไม่มีอันใดนำไปให้เป็นสุข ถือใจอาลัยสุข เหตุนั้นจึงไม่ได้พ้นนิพพานพรหมฯ


ดูกรอานนท์ ผู้ที่จะนำตนไปให้เป็นสุขในพระนิพพาน ต้องวางเสียซึ่งความสุขในโลกีย์ ถ้าวางไม่ได้ ก็ไม่ได้ความสุขในพระนิพพานเลย ถ้าวางสุขในโลกีย์มิได้ก็ไม่พ้นทุกข์ ด้วยความสุขในโลกีย์เป็นความสุขที่เจืออยู่ด้วยทุกข์ ครั้นเมื่อเอาสุขคือถือเอาทุกข์นั้นเอง ครั้นไม่วางสุขก็คือไม่วางทุกข์นั้นเอง จะเข้าใจว่าเราจะถือเอาแต่สุข ทุกข์ไม่ต้องการดังนี้ไม่ได้เลย เพราะสุขทุกข์ เป็นของเนื่องอยู่ด้วยกัน ถ้าไม่วางสุขก็เป็นอันไม่พ้นทุกข์ฯ

ดูกร อานนท์ เมื่อจะถือเอาความสุขในพระนิพพานแล้ว ก็ให้วางใจในโลกีย์นี้เสียให้หมดสิ้น อันว่าความสุขในโลกีย์ก็มีอยู่แต่ในอินทรีย์ทั้ง ๖ นี้เท่านั้น ในอินทรีย์ทั้ง ๖ นั้น ยกเอาใจไว้เป็นเจ้า เอาประสาททั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายนั้นเป็นกามคุณทั้ง ๕ ประสาททั้ง ๕ นี้เอง เป็นผู้แต่งความสุขให้แก่เจ้าพระยาจิตตราช ประสาทตานั้น เขาได้เห็นได้ดูรูปวัตถุสิ่งของอันดีงามต่างๆ ก็นำความสุขไปให้แก่เจ้าพระยาจิตตราช ประสาทหูนั้น เมื่อเขาได้ยินได้ฟังศัพท์สำเนียง เสียงที่ไพเราะ เป็นที่ชื่นชมทั้งปวง ก็นำความสุขสนุกสนานไปให้แก่เจ้าพระยาจิตตราช ประสาทจมูกนั้น เมื่อเขาได้ดมกลิ่นสุคันธรสของหอมต่างๆ ก็นำความสุขไปให้แก่เจ้าพระยาจิตตราช ประสาทลิ้นนั้น เมื่อเขาบริโภคอาหารอันโอชา รสวิเศษต่างๆ ก็นำความสุขสนุกสนานไปให้แก่เจ้าพระยาจิตตราช ประสาทกายนั้น เมื่อเขาได้ถูกต้องฟูกเบาะเมาะหมอน และนุ่งห่มประดับประดาเครื่องกกุธภัณฑ์อันสวยงามและบริโภคกามคุณ ก็นำความสุขสนุกสนานไปให้แก่เจ้าพระยาจิตตราช เจ้าพระยาจิตตราชนั้นก็คือใจนั่นเอง ส่วนใจนั้นเป็นใหญ่ เป็นผู้คอยรับความสุขสนุกสนานอย่างเดียวเท่านั้นส่วนประสาททั้ง ๕ เป็นผู้สำหรับนำความสุขไปให้แก่ใจ ประสาททั้ง ๕ จึงชื่อว่ากามคุณ ส่วนความสุขในโลกนี้ มีแต่กามคุณทั้ง ๕ นี้เท่านั้น จะเป็นเจ้าประเทศราชในบ้านน้อยเมืองใหญ่ ตลอดขึ้นไปจนถึงเทวโลก ก็มีแต่กามคุณทั้ง ๕ เท่านั้นฯ
ดูกรอานนท์ อันว่าบุคคลที่ถือใจนั้น ย่อมเป็นคนมักโลภ มักโกรธ มักหลง บุคคลจำพวกใดที่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความโลภ ความโกรธ ความหลงนั้น จะเป็นนักบวชก็ตาม เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม ก็หาความสุขมิได้ เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็หาความสุขในมนุษย์และสวรรค์มิได้เลย ย่อมมีอบายเป็นที่ไป ณ เบื้องหน้าโดยแท้ฯ
ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลายผู้ปรารถนาเข้าสู่พระนิพพาน จงวางเสียซึ่งใจ อย่าอาลัยความสุข การวางใจก็คือวางสุขวางทุกข์ และบาปบุญคุณโทษร้ายดี ซึ่งเป็นของสำหรับโลกนี้เสียให้สิ้น สิ่งเหล่านี้สร้างไว้สำหรับโลกนี้เท่านั้น เมื่อต้องการพระนิพพานแล้ว ต้องปล่อยวางไว้ในโลกนี้สิ้นทั้งนั้น จึงจะได้ความสุขในพระนิพพาน ซึ่งเป็นความสุขอย่างยิ่ง เป็นความสุขอันหาส่วนเปรียบมิได้ฯ
ดูกร อานนท์ ผู้ที่วางใจทำตัวให้เป็นเหมือนแผ่นดินได้นั้น มีแต่บุคคลผู้เป็นนักปราชญ์ และเป็นสัตบุรุษจำพวกเดียวเท่านั้น เพราะท่านไม่ถือตน ถือตัว ท่านวางใจให้เป็นเหมือนแผ่นดินได้ ท่านจึงได้ถึงพระนิพพาน ส่วนพวกที่ถือตัวถือใจปล่อยวางมิได้นั้น ล้วนแต่เป็นคนโง่เขลาสิ้นทั้งนั้น บุคคลที่เป็นสัตบุรุษท่านเห็นแจ้งชัดซึ่งอนัตตา ท่านถือใจของท่านไว้ก็เพียงแต่ให้รู้บาปบุญคุณโทษ ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ รู้ศีลทานการกุศลและอกุศล รู้ทางสุขทางทุกข์ในมนุษย์ สวรรค์ และพระนิพพานเท่านั้น ครั้นถึงที่สุด ท่านก็ปล่อยวางเสียตามสภาวะแห่งอนัตตา ส่วนคนโง่นั้นถือตน ถือตัว ถือว่าร่างกายเป็นอัตตาตัวตน จึงปล่อยวางมิได้ฯ

ดูกร อานนท์ ผู้มิได้กระทำอริยมรรคปฏิปทาให้เต็มที่ ยังเป็นปุถุชนหนาไปด้วยกิเลส หาปัญญามิได้ และจักวางใจทำตัวให้เป็นเหมือนแผ่นดินนั้น ไม่อาจทำได้เลย เหตุที่เขาวางใจไม่ได้ ก็เพราะเขายังถือตัวถือใจอยู่ว่าเป็นของตัวแท้ จึงต้องทรมานทนทุกข์อยู่ในโลก เวียนว่ายตายเกิดแล้วๆ เล่าๆ ไม่มีสิ้นสุดฯ
ดูกรอานนท์ เราตถาคตแสดงว่าให้ปลงใจให้วางใจนั้น เราชี้ข้อสำคัญเอาที่สุดมาแสดง เพื่อให้รู้เข้าใจได้ง่าย การวางใจปลงใจนั้น คือวางสุข วางทุกข์ วางบาปบุญคุณโทษ วางโลภโกรธหลง วางลาภยศ นินทาสรรเสริญหมดทั้งสิ้น เหมือนดังไม่มีหัวใจ จึงชื่อว่าทำให้เหมือนแผ่นดิน ถ้ายังทำไม่ได้ อย่าหวังว่าจักได้โลกุตตรนิพพาน คงได้คงถึงในกาลนั้นโดยไม่ต้องสงสัย พระนิพพานเป็นของได้ด้วยยากยิ่งนัก แสนคนจะได้แต่ละคนก็ทั้งยากฯ




 

Create Date : 09 เมษายน 2556   
Last Update : 9 เมษายน 2556 10:51:54 น.   
Counter : 595 Pageviews.  


คิริมานนทสูตร ฉบับธรรมิกราช คนหลงและคนรู้ (ต่อ)

มีคำ สอดเข้ามาในที่นี้ว่า เหตุไฉนจึงมิให้ถือใจ เมื่อไม่ให้ถือเช่นนั้นจะให้เอาใจไปไว้ที่ไหน เพราะไม่ใช่ใจของคนอื่น เป็นใจของตัวแท้ๆ ที่จะเป็นอยู่ได้ทุกวันนี้ก็เพราะมีใจนี้เอง ถ้าไม่มีใจนี้แล้วก็ตายเท่านั้น จะให้วางใจเสียแล้ว จะรู้จะเห็นอะไร มีคำวิสัชนาไว้ว่า ผู้ที่เข้าใจว่าใจนั้นเป็นของๆ ตัวจริง ผู้นั้นก็เป็นคนหลง ความจริงไม่ใช่จิตของเราแท้ ถ้าหากเป็นจิตใจของเราแท้ ก็คงบังคับได้ตามประสงค์ว่า อย่าให้แก่ อย่าให้ตาย ก็คงจะได้สักอย่าง เพราะเป็นของตัว




ส่วนโลกุตตรนิพพานนั้นปราศจากวิญญาณ วิญญาณยังมีที่ใด ความเกิดแก่เจ็บตายก็มีอยู่ในที่นั้น โลกุตตรนิพพานปราศจากวิญญาณ จึงไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ ไม่มีตาย มีแต่ความสุขสบายปราศจากอามิส หาความสุขอันใดจะมาเปรียบด้วยพระนิพพานไม่มี ขึ้นชื่อว่าความเกิดความตาย ความร้ายความดี บาปบุญคุณโทษ สุขทุกข์ ความทุกข์ยากลำบากเข็ญใจ ทุกข์โศกโรคภัยไข้เจ็บ สิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่มีในพระนิพพานเลย พระพุทธเจ้าตรัสแก่ข้าฯ อานนท์ ดังนี้แล

ดูกร อานนท์ ผู้ที่หลงขึ้นไปอยู่ในอรูปพรหมแล้ว แลจักได้ถึงโลกกุตตรนิพพานนั้น ช้านานยิ่งนัก เพราะว่าอายุของอรูปพรหมนั้นยืนนัก จะนับว่าเท่านั้นเท่านี้มิอาจนับได้ จึงชื่อว่านิพพานโลกีย์ ต่างกันแต่มิได้ดับวิญญาณเท่านั้น ถ้าหากดับวิญญาณก็เป็นพระนิพพานโลกุตระได้ ส่วนความสุขความสำราญในพระนิพพานทั้ง ๒ นั้น ก็ประเสริฐเลิศโลกเสมอกันไม่ต่างกัน แต่นิพพานโลกีย์เป็นนิพพานที่ไม่สิ้นสุดเท่านั้น เมื่อสิ้นอำนาจของฌานแล้วยังต้องมีเกิดแก่เจ็บตาย ร้ายและดี คุณและโทษ สุขและทุกข์ ยังมีอยู่เต็มที่ เพราะเหตุนั้น ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งจะปรารถนานิพพานพรหม ไม่มีเลยย่อมมุ่งต่อโลกุตตรนิพพานด้วยกันทั้งนั้น แต่ไม่รู้จักปล่อยวางวิญญาณ จึงหลงไปเกิดเป็นอรูปพรหม
ตทนนฺตรํ ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลายที่หลงขึ้นไปบังเกิดในอรูปพรหมอันปราศจากความรู้นั้น ก็ล้วนแต่บุคคลผู้ปรารถนาพระนิพพาน แต่ไม่รู้จักวางใจให้สิ้นให้หมดทุกข์นั่นเอง ไม่รู้จักวางจิตวิญญาณ อันตนเข้ามาอาศัยอยู่ด้วยกับลมของโลก ทำความเข้าใจว่าเป็นจิตของตัว และเข้าใจว่าพระนิพพานมีอยู่ในเบื้องบนนั้น ตัวก็นึกเข้าใจเอาจิตของตัวขึ้นไปเป็นสุขอยู่ในที่นั้น ครั้นตายแล้วก็เลยพาเอาตัวขึ้นไปอยู่ในที่อันไม่มีรูปตามจิตตัวนึกไว้นั้นฯ
อันที่แท้จิตใจนั้นหากเป็นลมอันเกิดอยู่สำหรับโลก ไม่ใช่จิตใจของเราโลกเขาตั้งแต่งไว้ก่อนเรา เราจึงเข้ามาอาศัยอยู่กับลมจิตใจ ณ กาลเป็นภายหลัง ถ้าหากว่าเป็นจิตใจของเรา เราพาเอามาเกิด ครั้นเกิดขึ้นแล้วจิตในนั้นก็หมดไป ใครจะเกิดขึ้นมาได้อีก นี่ไม่ใช่จิตของใครสักคน เป็นของมีอยู่สำหรับโลก ผู้ใดจะเกิดก็ถือเอาลมนั้นเกิดขึ้น ครั้นได้แล้วก็เป็นจิตของตน ที่จริงเป็นของสำหรับโลกทั้งสิ้น ที่ว่าจิตของตนนั้น ก็เพียงให้รู้ซึ่งการบุญการกุศล การบาปการอกุศล และเพียงให้รู้ทุกข์สุข ถ้าถึงพระนิพพานแล้ว ต้องวางจิตไว้คืนแก่โลกตามเดิมเสียก่อน ถ้าวางไม่ได้ เป็นโทษ ไม่อาจถึงพระนิพพานได้ มีคำแก้ไว้อย่างนี้ฯ




 

Create Date : 09 เมษายน 2556   
Last Update : 9 เมษายน 2556 10:54:02 น.   
Counter : 693 Pageviews.  


คิริมานนทสูตร ฉบับพระยาธรรมิราช คนหลงและคนรู้ (ต่อ)

ดูกร อานนท์ อันว่าพระนิพพานนั้น พึงให้ดูอย่างแผ่นพระธรณีมีลักษณะอาการฉันใด ก็ให้ตัวเรามีลักษณะอาการฉันนั้น ถ้าทำได้เช่นนั้นก็ได้ชื่อว่าถึงพระนิพพานดิบ ถ้าทำไม่ได้แต่พูดว่าอยากได้ จะพูดมากมายเท่าไรๆ ก็ตาม ก็ไม่อาจที่จะได้จะถึงเลย

ถ้าปรารถนาจักถึงพระนิพพานแล้ว ต้องทำจิตทำใจของตนให้เป็นเหมือนกับแผ่นดินเสียก่อน ไม่ใช่เป็นของทำได้ด้วยง่าย ต้องพากเพียรลำบากยากยิ่งนักจึงจักได้ จะเข้าใจว่าปรารถนาเอาด้วยปากก็คงจักได้ อย่างนี้เป็นคนหลงไป ใช้ไม่ได้ ต้องทำตัวทำใจให้เหมือนแผ่นดินให้จงได้
ลักษณะของแผ่นดินนั้น คนและสัตว์ทั้งหลายจะทำร้ายทำดี กล่าวร้ายกล่าวดีประการใด มหาปฐพีนั้นก็มิได้รู้โกรธรู้เคือง ที่ว่าทำใจให้เหมือนแผ่นดินนั้น คือว่าให้วางใจเสีย อย่าเอื้อเฟื้ออาลัยว่าใจของตน ให้ระลึกอยู่ว่าตัวมาอาศัยอยู่ไปชั่วคราวเท่านั้น เขาจะนึกคิดอะไรก็อย่าตามเขาไป ให้เข้าใจอยู่ว่าเราอยู่ไปคอยวันตายเท่านั้น ประโยชน์อะไรกับวัตถุข้าวของและตัวตนอันเป็นของภายนอก แต่ใจซึ่งเป็นของภายในแลเป็นของสำคัญ ก็ยังต้องให้ปล่อยให้วาง อย่าถือเอาว่าเป็นของของตัว กล่าวไว้แต่พอเข้าใจเพียงเท่านี้โดยสังเขปฯ

ดูกร อานนท์ ผู้ที่หลงขึ้นไปอยู่ในอรูปพรหมแล้ว แลจักได้ถึงโลกกุตตรนิพพานนั้น ช้านานยิ่งนัก เพราะว่าอายุของอรูปพรหมนั้นยืนนัก จะนับว่าเท่านั้นเท่านี้มิอาจนับได้ จึงชื่อว่านิพพานโลกีย์ ต่างกันแต่มิได้ดับวิญญาณเท่านั้น ถ้าหากดับวิญญาณก็เป็นพระนิพพานโลกุตระได้ ส่วนความสุขความสำราญในพระนิพพานทั้ง ๒ นั้น ก็ประเสริฐเลิศโลกเสมอกันไม่ต่างกัน แต่นิพพานโลกีย์เป็นนิพพานที่ไม่สิ้นสุดเท่านั้น เมื่อสิ้นอำนาจของฌานแล้วยังต้องมีเกิดแก่เจ็บตาย ร้ายและดี คุณและโทษ สุขและทุกข์ ยังมีอยู่เต็มที่ เพราะเหตุนั้น ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งจะปรารถนานิพพานพรหม ไม่มีเลยย่อมมุ่งต่อโลกุตตรนิพพานด้วยกันทั้งนั้น แต่ไม่รู้จักปล่อยวางวิญญาณ จึงหลงไปเกิดเป็นอรูปพรหม ส่วนโลกุตตรนิพพานนั้นปราศจากวิญญาณ วิญญาณยังมีที่ใด ความเกิดแก่เจ็บตายก็มีอยู่ในที่นั้น โลกุตตรนิพพานปราศจากวิญญาณ จึงไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ ไม่มีตาย มีแต่ความสุขสบายปราศจากอามิส หาความสุขอันใดจะมาเปรียบด้วยพระนิพพานไม่มี ขึ้นชื่อว่าความเกิดความตาย ความร้ายความดี บาปบุญคุณโทษ สุขทุกข์ ความทุกข์ยากลำบากเข็ญใจ ทุกข์โศกโรคภัยไข้เจ็บ สิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่มีในพระนิพพานเลย พระพุทธเจ้าตรัสแก่ข้าฯ อานนท์ ดังนี้แล
ตทนนฺตรํ ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลายที่หลงขึ้นไปบังเกิดในอรูปพรหมอันปราศจากความรู้นั้น ก็ล้วนแต่บุคคลผู้ปรารถนาพระนิพพาน แต่ไม่รู้จักวางใจให้สิ้นให้หมดทุกข์นั่นเอง ไม่รู้จักวางจิตวิญญาณ อันตนเข้ามาอาศัยอยู่ด้วยกับลมของโลก ทำความเข้าใจว่าเป็นจิตของตัว และเข้าใจว่าพระนิพพานมีอยู่ในเบื้องบนนั้น ตัวก็นึกเข้าใจเอาจิตของตัวขึ้นไปเป็นสุขอยู่ในที่นั้น ครั้นตายแล้วก็เลยพาเอาตัวขึ้นไปอยู่ในที่อันไม่มีรูปตามจิตตัวนึกไว้นั้นฯ
มีคำ สอดเข้ามาในที่นี้ว่า เหตุไฉนจึงมิให้ถือใจ เมื่อไม่ให้ถือเช่นนั้นจะให้เอาใจไปไว้ที่ไหน เพราะไม่ใช่ใจของคนอื่น เป็นใจของตัวแท้ๆ ที่จะเป็นอยู่ได้ทุกวันนี้ก็เพราะมีใจนี้เอง ถ้าไม่มีใจนี้แล้วก็ตายเท่านั้น จะให้วางใจเสียแล้ว จะรู้จะเห็นอะไร มีคำวิสัชนาไว้ว่า ผู้ที่เข้าใจว่าใจนั้นเป็นของๆ ตัวจริง ผู้นั้นก็เป็นคนหลง ความจริงไม่ใช่จิตของเราแท้ ถ้าหากเป็นจิตใจของเราแท้ ก็คงบังคับได้ตามประสงค์ว่า อย่าให้แก่ อย่าให้ตาย ก็คงจะได้สักอย่าง เพราะเป็นของตัว
อันที่แท้จิตใจนั้นหากเป็นลมอันเกิดอยู่สำหรับโลก ไม่ใช่จิตใจของเราโลกเขาตั้งแต่งไว้ก่อนเรา เราจึงเข้ามาอาศัยอยู่กับลมจิตใจ ณ กาลเป็นภายหลัง ถ้าหากว่าเป็นจิตใจของเรา เราพาเอามาเกิด ครั้นเกิดขึ้นแล้วจิตในนั้นก็หมดไป ใครจะเกิดขึ้นมาได้อีก นี่ไม่่ใช่่จิตของใครสักคน เป็นของมีอยู่สำหรับโลก ผู้ใดจะเกิดก็ถือเอาลมนั้นเกิดขึ้น ครั้นได้แล้วก็เป็นจิตของตน ที่จริงเป็นของสำหรับโลกทั้งสิ้น ที่ว่าจิตของตนนั้น ก็เพียงให้รู้ซึ่งการบุญการกุศล การบาปการอกุศล และเพียงให้รู้ทุกข์สุข ถ้าถึงพระนิพพานแล้ว ต้องวางจิตไว้คืนแก่โลกตามเดิมเสียก่อน ถ้าวางไม่ได้ เป็นโทษ ไม่อาจถึงพระนิพพานได้ มีคำแก้ไว้อย่างนี้ฯ

ดูกร อานนท์ คำที่ว่าให้ปล่อยวางจิตใจนั้น คือว่าให้ละความโลภ ความโกรธ ความหลง ปลงเสียซึ่งการร้ายและการดีที่บุคคลนำมากล่าว มีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ นินทาสรรเสริญ สุขทุกข์ อย่ายินดีอย่ายินร้าย แม้ปัจจัยเครื่องบริโภคเป็นต้นว่า อาหารการกิน ผ้าผ่อนเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่ที่นอน และเภสัชสำหรับแก้โรค ก็ให้ละความโลภความหลงในปัจจัยเหล่านั้นเสีย ให้มีความมักน้อยในปัจจัยเท่านั้น คือว่าเมื่อได้อย่างดีอย่างประณีต ก็ให้บริโภคอย่างดีอย่างประณีต ได้อย่างเลวทรามต่ำช้า ก็บริโภคอย่างเลวทรามต่ำช้า ตามมีตามได้ ไม่ให้ใจขุ่นมัวด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง อย่างนี้แลชื่อว่าปล่อยวางใจเสียได้ ถ้ายังเลือกปัจจัยอยู่ คือ ปล่อยให้ความโลก ความโกรธ ความหลงเข้าครอบงำ เพราะเหตุแห่งปัจจัย ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ชื่อว่ายังถือจิตถือใจอยู่ ยังไม่ถึงพระนิพพานได้เลย ถ้าละความโลภโกรธหลงในปัจจัยนั้นได้แล้ว จึงชื่อว่าทำตัวให้เหมือนแผ่นดิน เป็นอันถึงพระนิพพานได้โดยแท้ฯ




 

Create Date : 08 เมษายน 2556   
Last Update : 9 เมษายน 2556 10:08:15 น.   
Counter : 526 Pageviews.  


คิริมานนทสูตร ฉบับพระยาธรรมิกราช คนหลงและคนรู้ (ต่อ)

“คนหลง” และ “คนรู้”

ตทนนฺตรํ ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์
บุคคลผู้ใดมิได้ทำบุญให้ทานรักษาศีลเป็นต้น ไว้สำหรับตัวเสียก่อนแต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ผู้นั้นก็เป็นคนหลง

พระนิพพานดิบนั้นเป็นของสำคัญ ควรให้รู้ ให้เห็น ให้ได้ ให้ถึงไว้เสียก่อนตาย ถ้าไม่ได้พระนิพพานดิบนี้แล้ว ตายไปก็จักได้พระนิพพานสุกนั้นไม่มีเลย ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจก็ยิ่งไม่มีทางได้ แต่รู้แล้วเป็นแล้ว พยายามจะให้ได้ให้ถึง ก็แสนยากแสนลำบากยิ่งนักหนาดูกรอานนท์ อันว่าความสุขในพระนิพพานนั้นมี ๒ ประเภท คือ ดิบ ๑ สุก ๑ ได้ความว่า เมื่อยังเป็นคนมีชีวิตอยู่ได้เสวยสุขในพระนิพพาน นั้นได้ชื่อว่า พระนิพพานดิบ เมื่อตายไปแล้วได้เสวยสุขในพระนิพพานนั้นชื่อว่า พระนิพพานสุก พระนิพพานมี ๒ ประเภทเท่านี้ นิพพานโลกีย์ นิพพานพรหม เป็นนิพพานหลง ไม่นับเข้าไปในที่นี้
บุคคล ผู้ในถือเสียว่า เมื่อยังเป็นคนมีชีวิตอยู่นี้ จะทุกข์ก็ดี จะสุขก็ดี จะชั่วก็ดี ก็ช่างเถิด ตายไปแล้วจักไปเป็นอะไรก็ช่างเถิด ใครจักตามไปรู้ไปเห็น ผู้นั้นก็เป็นคนหลงฯ

ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลายปรารถนาอยากพ้นทุกข์ หรือปรารถนาอยากได้สุขประเภทใด ก็ควรให้ได้ให้ถึงเสียแต่ในชาตินี้ ถ้าถือเอาภายหน้าเป็นประมาณแล้ว ชื่อว่าเป็นคนหลงทั้งสิ้น แม้ความสุขอย่างสูงคือพระนิพพาน ผู้ปรารถนาก็พึงรีบขวนขวายให้ได้ให้ถึงเสียแต่เมื่อยังเป็นคนมีชีวิตอยู่นี้
บุคคลผู้ใดถือเสียว่า เมื่อยังมีชีวิตอยู่นี้ ทุกข์ก็ช่างเถิดไม่เป็นไร ตายไปแล้วหากจักได้สุข ผู้นั้นก็เป็นคนหลง
บุคคลผู้ใดเข้าใจเสียว่า เมื่อยังเป็นคนมีชีวิตอยู่นี้ สุขก็ช่างเถิด ตายไปแล้วหากจักได้สุข ผู้นั้นก็เป็นคนหลง
บุคคล ผู้ใดเข้าใจเสียว่า เมื่อยังเป็นคนมีชีวิตอยู่นี้ ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ได้ ไม่เป็น ก็ช่างเถิดไม่เป็นไร ตายไปแล้วภายหน้าหากจักรู้ จักเห็น จักได้ จักเป็น ผู้นั้นก็เป็นคนหลง
บุคคลผู้ใดที่ทำความเข้าใจว่า เมื่อยังมีชีวิตอยู่นี้เป็นอย่างหนึ่ง ตายไปแล้วเป็นอีกอย่างหนึ่ง บุคคลนั้นก็เป็นคนหลง
บุคคล ผู้ใดอยากให้ตนพ้นทุกข์ แต่ไม่ได้กระทำตนให้พ้นทุกข์เสียแต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ เข้าใจเสียว่าตายไปแล้วจึงจักพ้นทุกข์ดังนี้ ผู้นั้นก็เป็นคนหลง ผู้ใดเห็นว่าพระ นิพพานมีอย่างเดียว ตายแล้วจึงจะได้ ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นคนหลง ส่วนพระนิพพานดิบนั้น จักจัดเอาความสุขอย่างละเอียดเหมือนอย่างพระนิพพานสุกนั้นไม่ได้ แต่ก็เป็นความสุขอันละเอียด สุขุม หาสิ่งเปรียบมิได้อยู่แล้ว แต่หากยังมีกลิ่นรสแห่งทุกข์กระทบถูกต้องอยู่ จึงไม่ละเอียดเหมือนพระนิพพานสุก เพราะพระนิพพานสุกไม่มีกลิ่นรสแห่งทุกข์จะมากล้ำกราย ปราศจากสรรพสิ่งทั้งปวง แต่พระนิพพานดิบนั้น ต้องให้ได้ไว้ก่อนตายฯ

(หมายเหตุ : นิพพานดิบหมายถึง สอุปทิเสสนิพพาน คือยังมีขันธ์อยู่ พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่, นิพพานสุก หมายถึง อุปทิเสสนิพพาน ดับขันธ์แล้ว)




 

Create Date : 08 เมษายน 2556   
Last Update : 9 เมษายน 2556 10:55:23 น.   
Counter : 559 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  

สติมา
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




อาตาปี สัมปชาโน สติมา
เพียรเผากิเลสด้วยความรู้สึกตัวมีสติ
[Add สติมา's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com