อาตาปี สัมปชาโน สติมา
 
นึกว่า "รู้"



การภาวนานั้น เมื่อภาวนามาระยะหนึ่ง มักจะเกิดการเคลื่อนออกจากกรรมฐานที่เราปฏิบัติ ซึ่งเป็นธรรมดา เพราะปกติของจิตนั้น เมื่ออยู่เฉยๆ ย่อมไหลลงต่ำ เพราะเรามักถูกกิเลสครอบงำ เหมือนที่ครูบาอาจารย์ ท่านบอกว่า เราเคยถูกกิเลสอบรมมานานนั่นเอง อยู่ๆ จะให้เรารอดพ้นจากกิเลสง่ายๆ คงเป็นได้ยาก ยกเว้นว่าได้เจริญสติฯ ไปเรื่อยๆ อย่าง เช่นการดูจิตก็ตามในขณะที่เรานึกว่าเราดูเรารู้อยู่นั้น กลายเป็นการนึกว่ารู้ นึกว่าดู ไม่ใช่การรู้สึกเข้าไปในสภาวะจริงๆ มัวไปติดอยู่ตรงความคิดนึก ซึ่งเป็นสังขารขันธ์อย่างนึงที่เราสร้างขึ้น กั้นการรู้อย่างซื่อๆ ไว้ซะเอง ด้วยการไปติดตรง
“นึกว่าดูกาย นึกว่าดูใจอยู่” แต่ไม่ได้แค่รู้สึกไปที่กาย รู้สึกไปที่ใจ อย่างธรรมดาๆ เวลาเราฟังธรรม ของครูบาอาจารย์ ใจก็นึกว่าเข้าใจ แต่ความเข้าใจของเรานั้น เป็นความเข้าในในระดับนึงเท่านั้นเอง

เพราะธรรมะนั้นย่อมลาดลึกลงไปตามลำดับเช่นกัน การที่เราเข้าใจในครั้งแรกๆ ที่ฟัง กับการเข้าใจ ในระดับต่อมานั้นเป็นการเข้าใจคนละระดับ เจ้าตัวย่อมเข้าใจดีในเรื่องนี้ เพราะผลของการภาวนา นั้นเป็นสิ่งที่เจ้าตัวย่อมประจักษ์ใจ หรือทราบได้ด้วยตนเอง ธรรมะที่ใจเราประจักษ์นั้น เป็นความ ซาบซึ้งในเฉพาะตน บางครั้งการถ่ายทอดออกมาแล้วนั้น เราจะรู้สึกว่า มันดูธรรมดาๆ เสียเหลือเกิน ไม่สามารถบรรยายความซาบซึ้งใจในธรรมที่ประจักษ์ได้เลย เพียงแต่อธิบายออกมาได้ในระดับนึงเท่านั้น

การภาวนานั้นเมื่อเราทราบเส้นทางของการภาวนา จากผลการภาวนาของตัวเอง เราก็ต้องหมั่นตรวจสอบ ด้วยโยนิโสมนสิการ และอาศัยกัลยาณมิตรครูบาอาจารย์ตรวจสอบการภาวนาว่า เรายังอยู่ในเส้นทางหรือไม่ หรือเริ่มเดินเบี่ยงออกไปทีละน้อยๆ ซึ่งจะทำให้เราเนิ่นช้าได้ ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวว่าการภาวนาเหมือน การพายเรือทวนน้ำ หยุดพายเมื่อไร ก็ถอยหลัง และถอยกันเป็นชาติๆ คือหมดเวลาในชาตินั้นไปเปล่าๆ การพายเรือทวนน้ำนั้นไม่ได้เป็นการทำอะไรมากไปกว่า การมีสติฯ รู้กายใจตัวเอง ดูเหมือนง่ายๆ ดูเหมือน ไม่ได้ทำอะไร เพียงแค่ตามรู้ ตามดูว่า กายเป็นอยู่อย่างไร จิตเป็นอยู่อย่างไร รู้ไปซื่อๆ ตรงๆ อย่างที่เป็น เท่านั้น แต่ก็น่าประหลาดใจไม่น้อยว่า เวลาส่วนใหญ่ของเรานั้น เราลืมกายลืมใจเราไปในโลกของ ความคิด โลกของการต้องวุ่นวายกับสิ่งภายนอก บุคคลต่างๆ เรื่องราวต่างๆ ที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง

เหตุนี้แหละท่านจึงให้เราปลีกวิเวก หรืออยู่ในที่ที่สัปปายะ คือ ทั้งสถานที่ บุคคล อาหาร การเป็นอยู่ อย่างไม่วุ่นวาย อยู่อย่างสงบแต่ไม่ได้หมายว่าต้องไปอยู่คนเดียวหลีกออกจากมนุษย์ทั้งหลาย แต่หมายถึง การได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะกัน สิ่งที่เกื้อกูล ช่วยสนับสนุนในการบำเพ็ญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วย ให้มีสมาธิตั้งมั่น ฉะนั้นการปลีกวิเวกคือการที่เราอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะกับการ ภาวนาสำหรับแต่ละบุคคลนั่นเอง




Create Date : 29 เมษายน 2553
Last Update : 29 เมษายน 2553 12:04:34 น. 3 comments
Counter : 712 Pageviews.  
 
 
 
 
อนุโมทนาคะ
 
 

โดย: vj01 วันที่: 29 เมษายน 2553 เวลา:14:47:16 น.  

 
 
 
 
 

โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 29 เมษายน 2553 เวลา:15:07:02 น.  

 
 
 
สวัสดียามเช้าครับ
 
 

โดย: อัสติสะ วันที่: 30 เมษายน 2553 เวลา:7:59:30 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

สติมา
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




อาตาปี สัมปชาโน สติมา
เพียรเผากิเลสด้วยความรู้สึกตัวมีสติ
[Add สติมา's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com