ภัยแห่งสังสารวัฏนั้น น่ากลัวยิ่งกว่าภัยอื่นใด - อัสติสะ
Group Blog
 
All blogs
 
๑๙๐-ชักกะเย่อ



สภาวะจิตของนักปฏิบัตินั้น ไม่ต่างอะไรกับการเล่นชักกะเย่อกับกิเลส บางครั้งมันก็ดึงเราจะหัวทิ่มหัวตำ บางเราก็สามารถฉุดยื้อดึงมันได้สำเร็จ ด้วยอำนาจของสติเป็นหลักใหญ่ ส่วนปัญญาคือตัวรู้ หมายถึงรู้วิธีการที่จะทำอย่างไร ที่เราจะสามารถดึงเอาชนะกิเลสตัณหานี้ได้

แน่นอนว่ามันไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใคร ๆ ก็นึกได้แล้วก็สามารถทำได้ ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเริ่มด้วยการฝึกฝน ใช้ความเพียรเป็นหลัก หากเรายังไม่มีสติ ปัญญา กล้าแข็งเพียงพอ อย่างน้อยเรามีความเพียรไม่ลดละความพยายาม เรก็ต้องชนะในเกมชักกะเย่อสักวันหนึ่งอย่างแน่นอน

เพราะการปฎิบัติธรรมตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่การนั่งหลับตามทำสมาธิ แต่อยู่ที่การวางใจ การแก้ไขปัญหาทางจิต โดยการอาศัยสิ่งที่เข้ามากระทบทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย ซึ่งเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันต่างหาก นั่นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด หากเราฝึกปฏิบัติมาอย่างดี เรียนรู้กายใจของตนเองได้ การมีชีวิตกับโลกวันนี้ก็สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ เช่นเดียวกับนักบวชที่ห่มผ้าขาว หรือ ผ้าเหลือง อย่างนี้เรียกว่า การบวชใจ คือการรู้จักยับยั้งใจไม่ให้หลงไปตามกิเลส หรือ สิ่งมากระทบ อันที่จะเป็นไปในการสร้างภพสร้างชาติต่อเนื่องไปอีก

พระพุทธเจ้าให้ความหมายของภิกษุ คือ “ผู้เห็นภัยในสังสารวัฎ” ดังนั้นไม่ว่าใครก็ตามที่เห็นโทษเห็นพิษภัยจากการเวียนว่ายตายเกิด ผู้นั้นเรียกว่า ภิกษุทั้งสิ้น ไม่ว่าเขาผู้นั้นจะแต่งกายด้วยชุดสีอะไร เสื้อผ้าจะเก่าขาดหรือรกรุงรังมากแค่ไหนก็ตามที

ข้าพเจ้าไม่สามารถระลึกชาติได้ แต่ก็รู้ได้ตามคำสอนของพระพุทธองค์ ช่วงนี้มีข่าวกระแสเรื่องการระลึกชาติอยู่พอสมควร ไม่ว่าเรื่องราวที่มีคนนำมาเล่านั้นจะจริง เท็จอย่างไร สิ่งนั้นคงไม่เกี่ยวหรือมีส่วนกระทบต่อความเชื่อของข้าพเจ้า เพราะหากมีการพิสูจน์ภายหลังว่าเรื่องราวนั้นเป็นเรื่องแต่งขึ้นมา ก็ไม่ได้ทำให้ข้าพเจ้าหมดสิ้นศรัทธา ไปจากพระพุทธเจ้าและหลักคำสอนไปได้

เพราะเรื่องราวการระลึกชาตินั้น เปรียบได้แค่เพียงเปลือกของต้นไม้ก็เท่านั้น วันหนึ่งก็ต้องหลุดร่อนออกไปอยู่ดี เอาไปใช้ประโยชน์ได้เพียงชั่วคราว เพราะหัวใจสำคัญของพุทธศาสนาคือ หยุดวงจรการเวียนว่ายตายเกิด น่าเสียดายที่คนที่ระลึกชาติได้ ก็ยังคงมีแววตาอันเป็นไป ในความลังเลสงสัยอยู่อีก และเชื่อบางคนก็ยังปรารถนาการเกิดอยู่นั่นเอง

ข้าพเจ้าเองก็รู้สึกว่าน่าเสียดายอยู่ เพราะเขาเองได้มีโอกาสได้โอกาสสัมผัส สิ่งที่พุทธศาสนากล่าวสอนไว้โดยตรง น่าจะใช้ประสบการณ์ของตนนี้ ให้เป็นไปเพื่อสวรรค์ เพื่อนิพพานตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้นะครับ



ขอบคุณรูปภาพจาก //medya.todayszaman.com


Create Date : 02 ตุลาคม 2552
Last Update : 2 ตุลาคม 2552 8:32:55 น. 8 comments
Counter : 780 Pageviews.

 
อิอิอิ


189 กับ 500 ไม่ห่างกันนะครับ
เขียนๆไปเรื่อยๆ
เดี๋ยวก็ถึงครับ

ผมเชื่อว่าน้องอัสติสะเขียนได้แน่นอนอยู่แล้วครับ

จากที่อ่านๆมา
ผมเชื่อว่าในการปฏิบัติและในการคิด
ยังมีอีกหลายเรื่องราวให้เขียนแน่นอนครับ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 2 ตุลาคม 2552 เวลา:11:39:14 น.  

 
การต่อสู้กับกิเลสในตัวนั้น เป็นการต่อสู้อันยิ่งใหญ่ "ชนะตนเองได้คือยอดคน" เป็นคำพูดที่ใช้กันทั่วไป แต่ใครสักกี่คนที่ทำได้จริง...


โดย: yosa วันที่: 2 ตุลาคม 2552 เวลา:12:30:48 น.  

 
Tags Maker is a Text Image Generator to write Messages, Comments or Tags on Pictures

หวัดดีค่ะคุณอัส
พรุ่งนี้ออกพรรษาแล้วค่ะ
บุญรักษา พระคุ้มครอง นะคะ


โดย: มินทิวา วันที่: 3 ตุลาคม 2552 เวลา:6:59:39 น.  

 
สวัสดีตอนเช้าค่ะ.....

มีความสุขกับวันหยุดพักผ่อนนะค่ะ...



อนุโมทนาค่ะ....
ช่วงนี้กำลังฝึกตามแนวนี้อยู่พอดีค่ะ....


โดย: นุ่มณอ่อนนุช วันที่: 3 ตุลาคม 2552 เวลา:7:06:57 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับ









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 3 ตุลาคม 2552 เวลา:7:40:10 น.  

 
สวัสดี...เช้าวันพระออกพรรษาค่ะ

ขอพระคุ้มครอง.....

ให้เย็นกาย เย็นใจ นะค่ะ....



โดย: นุ่มณอ่อนนุช วันที่: 4 ตุลาคม 2552 เวลา:7:15:08 น.  

 
ย้อนกลับมาอ่านแบบไม่รู้จักเบื่อ
สาธุ...


โดย: nathanon วันที่: 20 ธันวาคม 2552 เวลา:15:42:20 น.  

 
uhiuh



โดย: ฮารูน IP: 223.207.196.101 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:22:57:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อัสติสะ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




ทุกข์ใดจะทุกข์เท่า การเกิด
ดับทุกข์สิ่งประเสริฐ แน่แท้
ทางสู่นิพพานเลิศ เที่ยงแท้ แน่นา
คือมรรคมีองค์แก้ ดับสิ้นทุกข์ทน






Google



New Comments
Friends' blogs
[Add อัสติสะ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.