"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2557
 
22 ตุลาคม 2557
 
All Blogs
 
ศีลกับเจตนารมณ์ทางสังคม (15) - พระพรหมคุณาภรณ์

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


ในระบบสังคมที่ว่านี้ แม้จะมีสิ่งที่เรียกว่าการศึกษา ก็เป็นเพียงการพัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถในศิลป์ในศาสตร์ ที่จะใช้ ประกอบกิจการงานอาชีพให้ได้ผลดียิ่งขึ้น เพื่อสนองความต้องการโดยจำเป็นของสังคมอย่างที่ว่านั้น

การที่พระพุทธศาสนาเกิดขึ้น มีความหมายสำคัญตรงที่ทำให้วินัยคือการชี้นำจัดการกับมนุษย์นี้เปลี่ยนพลิกไป พูดไม่ให้ยาว นักว่า การจัดการกับมนุษย์ที่สืบเนื่องจากความจำเป็นทางสังคมเพื่อให้เขาอยู่ร่วมกันได้ด้วยดี โดยมีการปกครองเป็นหลักเป็นแกนนี้ เป็นการจัดการกับมนุษย์ด้วยวิธีการทางสังคมจากภายนอกบีบเข้ามาให้จำต้องทำ ไม่เพียงพอ และไม่ดีจริง ควรก้าวต่อไปสู่การจัดการที่ตัวมนุษย์เองโดยตรง

โดยมองเห็นว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้ เปลี่ยนจากร้ายให้เป็นดี จากหยาบร้ายให้กลายเป็นนุ่มนวลประณีต มีศักยภาพที่จะพัฒนาให้มีคุณภาพสูงสุด ทั้งด้านความประพฤติดีงามในความสัมพันธ์ปฏิบัติต่อคนต่อของ ทั้งด้านภายในทางจิตใจที่จะให้เข้มแข็งมีคุณธรรมมีความสุข และด้านปัญญาที่จะให้เฉลียวฉลาดสามารถสร้างสรรค์แก้ปัญหาจนแม้เข้าถึงสัจธรรมได้

มนุษย์นี่แหละเป็นตัวทำการ สังคมมนุษย์เป็นโลกแห่งกรรม เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เป็นไปตามเจตจำนงในการกระทำของเขา จึงต้องจัดการที่ตัวมนุษย์นี้ โดยให้เขาพัฒนาตนขึ้นไป

วินัยคือการชี้นำจัดการกับมนุษย์ที่ตัวมนุษย์นี้ เป็นการชี้นำให้มนุษย์จัดการกับตัวเขาเอง ด้วยการพัฒนาศีล จิตใจ และปัญญาขึ้นไป โดยผู้ชี้นำเป็นกัลยาณมิตรให้ และนี่เองคือพระพุทธศาสนา

ถึงตอนนี้ คือในพระพุทธศาสนานี้ วินัยจึงกลายเป็นการชี้นำจัดการมนุษย์ในความหมายของการศึกษา และจากนั้น เพื่อให้การศึกษาดำเนินไปได้และก้าวไปดี วินัยในความหมายของการปกครอง การวางกฎระเบียบ ข้อฝึก ข้อปฏิบัติ ตลอดจนกระบวนการที่นิยมเรียกว่ายุติธรรมทั้งหมด (รวมอยู่ในการระงับอธิกรณ์) ก็พรั่งพร้อมเข้ามาเป็นเครื่องมือของการศึกษานั้น

โดยนัยนี้ วินัยจึงมีความหมายเป็นการศึกษา หรือระบบการจัดการ มนุษย์โดยมีการศึกษาเป็นหลักเป็นแกน แวดล้อมด้วยวินัยแห่งการปกครอง แห่งวินัยบัญญัติ และแห่งวินัยวินิจฉัย ที่ได้กล่าวแล้ว เฉพาะอย่างยิ่งให้เป็นการปกครองโดยไม่ต้องใช้อาชญา และข้อบัญญัติทั้งหลาย มิใช่เป็นข้อบังคับ แต่เป็น "สิกขาบท" คือข้อฝึกข้อศึกษา

เมื่อได้ทำความเข้าใจในหลักทั่วไปดังนี้แล้ว ก็ขอย้อนมาพูดถึงความหมายของคำว่าวินัย เป็นการสำทับความอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ขอกล่าวถึงความหมายโดยพยัญชนะ

คำว่า "วินัย" มีความหมายตามรูปศัพท์ที่แปลกันสืบมาว่า การนำไปให้วิเศษ แปลเป็นไทยให้สมสมัย ก็คือ การชี้นำอย่างวิเศษ และการจัดการให้ดีนั่นเอง โดยเฉพาะ จัดการบุคคล ให้เจริญดีงามเป็นคนที่สมบูรณ์หมดทุกข์หมดปัญหา จัดการสังคม คือคนที่มารวมกันอยู่ให้สงบสุขเรียบร้อยมั่นคง จัดการเรื่องราว ให้เรียบร้อยเสร็จสิ้นไปด้วยดี

วินัยนี้ ในรูปคุณศัพท์ที่เป็น "วินีต" (วินิต, เป็นคำกริยาช่องสาม) มีใช้บ่อย โดยมากใช้กับบุคคลหรือหมู่ชน แปลว่าอันนำไปให้ วิเศษแล้ว หมายความว่า ฝึกดีมีการศึกษาแล้วนั่นเอง ถ้าเป็น เรื่องราว (อย่างในคำว่า วินีต-วัตถุ) ก็คือเป็นเรื่องราว หรือกรณี ที่ได้ดำเนินการตัดสินวินิจฉัยให้เรียบร้อยเสร็จสิ้นไปด้วยดีแล้ว

พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์จะยังไม่ปรินิพพาน จนกว่าบรรดาสาวกทั้ง 4 บริษัท จะเป็นผู้ "วินีต" คือมีการศึกษาดีแล้ว อรรถกถาหลายแห่งก็อธิบายว่า วินัย ได้แก่ สิกขา 3 (ไตรสิกขา, การศึกษาครบ 3 ด้าน)

ทั้งนี้ ความหมายของวินัยจะชัดแจ้งสมบูรณ์ ต่อเมื่อสัมพันธ์เชื่อมต่อกับความหมายของธรรม

ธรรม เป็นส่วนเนื้อหาและหลักการ ตั้งแต่ความจริงของธรรมชาติตามกฎธรรมดา มาจนถึงหลักความประพฤติ และความเป็นอยู่ที่เป็นวิถีชีวิตอันประเสริฐ วินัย เป็นภาคปฏิบัติที่นำเอาเนื้อหา และหลักการนั้นไปจัดสรรให้ความประพฤติและความเป็นอยู่แห่งวิถีชีวิตอันประเสริฐคือพรหมจริยะนั้น เกิดมีเป็นรูปร่างจริงจังขึ้น และสามารถแผ่ขยายกว้างขวางออกไปในสังคมมนุษย์

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า วินัยคือเครื่องมือของธรรม สำหรับจัดสรรสังคมหรือชุมชน ให้เป็นไปตามหลักการและความมุ่งหมายของธรรม หรือเป็นเครื่องมือสำหรับจัดระบบแห่งวิถีชีวิตอันประเสริฐให้เกิดมีเป็นจริงขึ้น

ธรรมมุ่งเนื้อหา เน้นที่บุคคล วินัยมุ่งรูปแบบ เน้นที่ระบบ

หน้า 27


ขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์

กราบนมัสการขอบพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์

สิริสวัสดิ์วุธวารค่ะ




Create Date : 22 ตุลาคม 2557
Last Update : 22 ตุลาคม 2557 10:15:50 น. 0 comments
Counter : 439 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.