รีวิวการ์ตูนไทย - Thai Comic Review
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2566
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
17 มิถุนายน 2566
 
All Blogs
 
(รีวิวการ์ตูนไทยเฉพาะกิจ) Luciel Xavier in the Academy of Madness (จิรัฏฐ์ บุญจูง (Lusan666))

   จากงานขายศิลปะออนไลน์ที่ซื้อได้ด้วยเหรียญคริปโต กลายมาเป็นเรื่องสั้นสุดป่วน 67 หน้า ที่ช่วยขยายเรื่องราวในแต่ละภาพให้ชัดเจนขึ้น -- จิรัฏฐ์ บุญจูง หรือในนามปากกา Lusan666 เจ้าของผลงาน Levana Violette หนึ่งในสมาชิกของ Basement Lab ในยุค NFT รุ่งเรือง ได้รวบรวมตัวละครออริของเหล่าเพื่อนนักวาดในทีม มาเล่นเป็นเด็กนักเรียนในสมาชิกชมรมต่างๆ ให้อี Luciel Xavier ได้เข้าไปก่อกวนจนง่อยเปลี้ยเสียไข -- บอกเล่าเรื่องราววีรกรรมสุดป่วนของ ลูซิเอล ซาเวียร์ เด็กสาวหัวชมพูที่ฉีกยิ้มตลอด 24 ชั่วโมง ได้เข้าไปสร้างความวุ่นวายให้กับชมรมต่างๆที่จัดขึ้นในงานโรงเรียนด้วยความสะใจ โดยที่ไม่สนว่าใครจะเป็นเดือดเป็นร้อนยังไง 

   ทักษะการวาดของ Lusan เริ่มที่จะพัฒนาขึ้นเล็กน้อยในบางส่วน แม้จะไม่ได้ดูตั้งใจวาดเหมือนงานช่วงแรกๆ แต่การเคลื่อนไหว-รีแอคชั่นตัวละครในรอบนี้ กลับถูกวาดออกมาได้อย่างลื่นไหลและเป็นธรรมชาติมากขึ้น ถ้าเทียบกับรวมเล่ม Levana Violette ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความเป็นการ์ตูนตลกมันส่งให้ต้องวาดรีแอคชั่นแรงๆด้วยล่ะมั้ง -- ซึ่งทั้งเล่ม จะถูกแบ่งในส่วนที่เป็นเนื้อเรื่องหลักด้วยภาพขาวดำ และฉากแกล้งคนที่วางขายแบบ NFT เป็นภาพสี คอยช่วยเสริมแต่ละภาพให้มีที่มาที่ไปมากขึ้น ด้วยบรรยากาศที่สนุกสนาน ไม่ค่อยซีเรียส มีบางมุกในเล่มที่รู้สึกชอบเป็นการส่วนตัว อย่างเช่นแก๊กป่วนห้องสมุด ที่นางเอกพับนกให้กับหัวหน้าชมรม แต่ที่ไหนได้ นกที่ว่า ดันมาจากกระดาษที่ฉีกจากหนังสือห้องสมุดอีกทีจนเละเทะ หัวหน้าก็เลยฟาดอีนี่ซะยับด้วยสันหนังสือ และถีบออกจากห้องสมุดโดยสวัสดิภาพ ซึ่งตอนนั้นนั่นเอง ที่รู้สึกว่ารีแอคชั่นมันโคตรฮาจริงๆ เผลอๆน่าจะฮามากที่สุดในเล่มซะด้วยซ้ำ (มีความเป็นไปได้ว่าที่มาของชื่อ Luciel Xavier นั้น น่าจะมาจากการตั้งชื่อจริงเต็มๆของ Lusan อีกทีนึงก็เป็นได้)

  แต่ด้วยความที่เซ็ตภาพ NFT หลายสิบภาพนั้น ได้ถูกวาดก่อนที่จะทำเรื่องสั้น -- Luciel Xavier ในโหมดเนื้อเรื่อง จึงให้ความรู้สึกเหมือนงานตัดแปะที่พยายามปะติดปะต่อเรื่องราวด้วยความฝืน พร้อมกับมุกแกล้งคนที่ไม่น่าสนใจ และเบาจนน่าใจหาย (ยกเว้นฉากห้องสมุดที่ฮาเพราะรีแอคชั่น) ความสนุกกรุบกริบแบบต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรก ดำเนินไปแบบเรื่อยๆจนแทบจะหลุดโฟกัสตอนอ่าน จนกระทั่งเนื้อเรื่องที่แท้จริงในช่วงครึ่งหลัง ได้กระแทกเข้าใส่หน้าคนอ่านแบบไม่ทันตั้งตัว สลับโทนเรื่องแบบ 180 องศา แต่ดูมีน้ำมีเนื้อกว่าช่วงครึ่งแรก (แม้จะแลดู heavy-handed ไปซักนิดก็เถอะ) กับประเด็น hidden potential ที่ใส่เข้ามาแบบตึงมือ จาก ลูซิเอล ซาเวียร์ สาวน้อย ม.ปลายที่นิสัยเหมือนเด็กประถม จริงๆแล้วกลับมีพรสวรรค์ในการเล่นเบสชนิดที่หาจับตัวได้ยาก -- ความเชื่อมั่นในตัวเด็กของอาจารย์ที่ปรึกษา ที่ปล่อยให้นางเอกได้แกล้งคนตามอำเภอใจ ก่อนที่จะชี้ให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ตามมา ก็ได้ทำให้นางเอกรู้สึกผิดกับสิ่งที่ตัวเองทำ และเริ่มต้นที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองในแบบถูกที่ถูกทางได้ในท้ายที่สุด (แม้สุดท้ายจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมอีกก็เถอะ)

  พอถึงช่วงงานแสดงของนางเอก นางเอกก็จะร้องเพลง โดยมีเพื่อนจากชมรมต่างๆมาช่วยเล่นดนตรีให้ แต่เนื้อเพลงกลับใช้ศัพท์แสงที่เข้าใจยาก ปรัชญาเกินเหตุจนคิดว่าถ้าทำออกมาเป็นเพลงจริงๆ ก็คงจะไม่ค่อยติดหูซักเท่าไหร่ แต่ก็พอจะแปลได้เลาๆว่า การทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อนนั้น สามารถสร้างความสุขได้มากกว่าการไปป่วนชาวบ้านแล้วสนุกเองคนเดียวซะอีก ซึ่งที่มีโชว์ร้องเพลงนั้น ก็เพราะว่าแท้จริงแล้ว นี่คือการโปรโมต Luciel Xavier ในฐานะวีทูบเบอร์ ไอดอลที่มาในรูปแบบของตัวการ์ตูนอนิเมะ -- ซึ่งเอาจริงๆผมเองก็ไม่ค่อยกล้าที่จะติดตามซักเท่าไหร่ 5555+ ไม่ใช่อะไร เพราะกลัวอีนี่มันจะไปป่วนยันแฟนคลับน่ะสิ 5555+ แบบโพสต์ลิ้งค์ขายสินค้าที่ระลึกตัวเอง แล้วพอกดออกไป กลับทำให้คอมติดไวรัสจนใช้งานไม่ได้ แบบนี้ก็ไม่เอานา 5555+ (คงไม่ถึงขนาดนั้นหรอกมั้ง)

   ในเรื่อง เราอาจจะมองว่า ลูซิเอล เป็นคนที่มีความสามารถทางด้านดนตรีในระดับมืออาชีพ แต่จริงๆแล้วมันมีมากกว่านั้น ในเมื่อเจ้าตัวสามารถสร้างสถานการณ์ที่วุ่นวายออกมาแล้วได้ผลทุกครั้ง แสดงว่าฝีไม้ลายมือต้องไม่ธรรมดา หากเอาทั้งเล่มมานั่งอ่านอีกรอบตั้งแต่ต้นจนจบ ก็จะพบว่านอกจากนั้นแล้ว นางเอกยังมีความสามารถพิเศษด้านการกระโดดยัดลูกบาสหน้าแป้นที่สูงมากได้เป็นสิบๆรอบ เข้าใจเวทมนตร์ได้ในทันที โยนคนได้ไกลหลายเมตร แถมยังสามารถวาดเอเลี่ยนปลาหมึกในเกม Metal Slug ออกมาได้สวยมากๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ มันคือศักยภาพในตัวนางเอกที่นักอ่านบางคนอาจจะมองข้ามระหว่างทาง และคิดว่านี่น่าจะเป็นแค่บางส่วนที่เผยออกมาซะด้วยซ้ำ

   บางที Lusan อาจไม่ได้ต้องการที่จะสร้างการ์ตูนตลกที่คลาสสิก นอกจากสร้างเรื่องนี้ขึ้นเพื่อต้องการแนะนำตัวละครวีทูบเบอร์ของตัวเองให้ชาวโลกได้รู้จัก ด้วยบรรยากาศที่สบายๆ แบบไม่คิดอะไรมาก มุกตลกส่วนใหญ่ก็เลยเบา เหมือนรีบคิดรีบใส่ ซึ่งโชคดีที่อย่างน้อยทั้งเล่มก็ยังพอรู้สึกที่จะอ่านสนุกได้อยู่ -- แต่น่าเสียดาย ที่จนมาถึงตอนนี้ ก็ยังไม่มีการ์ตูนวีทูบเบอร์ในไทยเรื่องไหนเลย ที่เขียนออกมาได้แบบน่าสนใจจริงๆซักเรื่อง นอกจากสร้างความสนุกได้ในระดับพอกล้อมแกล้มเท่านั้น บางทีหมัดเด็ดที่แท้จริงของลูซังอาจจะอยู่ในผลงานเรื่องต่อไปก็ได้ ยังติดตามผลงานชิ้นต่อไปอยู่นะ

(สรุป 5/10)

(ตีพิมพ์ครั้งแรกในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565)

ติดตามเพจที่ https://www.facebook.com/ThaiComicReview/




Create Date : 17 มิถุนายน 2566
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2566 19:48:12 น. 0 comments
Counter : 909 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณhaiku


ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เรลกันคุง
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




สวัสดีครับ ผมเรลกันครับ ชอบอ่านการ์ตูนมากๆ หวังว่าจะสนุกกันนะครับ




Friends' blogs
[Add เรลกันคุง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.